https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
เนื้อหา เรื่องชนิดและหน้าที่ของคำ เนื้อหาชนิดและหน้าที่ของคำ แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องชนิดและหน้าที่ของคำในภาษาไทย MUSLIMTHAIPOST

 

เนื้อหา เรื่องชนิดและหน้าที่ของคำ เนื้อหาชนิดและหน้าที่ของคำ แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องชนิดและหน้าที่ของคำในภาษาไทย


782 ผู้ชม


เนื้อหา เรื่องชนิดและหน้าที่ของคำ เนื้อหาชนิดและหน้าที่ของคำ แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องชนิดและหน้าที่ของคำในภาษาไทย

 

แผนการจัดการเรียนรู้ที่2

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาภาษาไทย                                                                                                  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2

เรื่อง  คำและหน้าที่ของคำในภาษาไทย                                                                                         เวลา  4  คาบ

วันที่………….เดือน………………………..พ.ศ………………….

สาระสำคัญ

                คำที่ใช้กันในภาษาไทยมีทั้งหมด  7  ชนิด  คือ  คำนาม  คำสรรพนาม  คำกริยา  คำวิเศษณ์  คำสันธาน คำบุพบท และคำอุทาน  คำแต่ละชนิดจะมีลักษณะเฉพาะของตนเอง  มีหน้าที่และวิธีการใช้ที่แตกต่างกัน  จึงต้องศึกษาให้เกิดความรู้  ความเข้าใจ  สามารถนำมาใช้ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม  เพื่อช่วยให้ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

1.  รู้  เข้าใจ  และจำแนกประเภทของคำชนิดต่าง ๆ ได้

2.  บอกหน้าที่ของคำแต่ละชนิด  พร้อมทั้งยกตัวอย่างได้

3.  เมื่อกำหนดสถานการณ์ให้  สามารถใช้คำแต่ละชนิดได้ถูกต้องเหมาะสม

เนื้อหาสาระ

1.  คำนาม

2.  คำสรรพนาม

3.  คำกริยา

4.  คำวิเศษณ์

5. คำบุพบท

6.  คำสันธาน

 7.  คำอุทาน

กระบวนการจัดการเรียนรู้

การจัดการเรียนรู้ครั้งที่  1  คำนาม คำสรรพนาม  และคำกริยา  เวลา  2  คาบ

ขั้นนำ    1.  ครูซักถามนักเรียนในเรื่องของการใช้คำในชีวิตประจำวัน  ว่านักเรียนได้ใช้คำอะไรบ้าง

                2.  ครูนำบัตรคำ  20  คำ   โดยให้มีทั้งคำนาม คำสรรพนามและคำกริยา  แล้วให้นักเรียนช่วยกันตอบที่ละคำว่าเป็นคำชนิดใด

                3.  ครูแจ้งผลการเรียนที่คาดหวัง

ขั้นสอน  4. ให้นักเรียนทบทวนลักษณะของคำนาม  คำสรรพนามและคำกริยาว่ามีลักษณะอย่างไร

                5.  แบ่งนักเรียนออกเป็น 3 กลุ่ม เท่าๆกัน  โดยกลุ่มที่ 1 ศึกษาเรื่อง คำนาม  กลุ่มที่ 2 ศึกษาเรื่อง  คำสรรพนาม  กลุ่มที่  3  ศึกษาเรื่อง  คำกริยา  ให้แต่ละกลุ่มระดมสมองตามประเด็นต่อไปนี้  ที่ครูกำหนด

                                1.  ชนิดของคำนั้น ๆ

                                2.  หน้าที่ของคำชนิดนั้น ๆ

                                3.  ตัวอย่างประโยคของคำชนิดนั้น ๆ

                6.  ให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน

                7.  ให้แต่ละกลุ่มร่วมกันสรุปลักษณะของคำนาม คำสรรพนามและคำกริยา

ขั้นสรุป 8.นักเรียนร่วมกันสรุปลักษณะของคำนาม คำสรรพนาม และคำกริยา

การจัดการเรียนรู้ครั้งที่  2  คำวิเศษณ์และคำสันธาน  เวลา  1  คาบ

ขั้นนำ    1.  ครูนำบัตรคำคำวิเศษณ์และคำสันธานติดแผ่นป้ายหน้าชั้นเรียน  ให้นักเรียนเลือกบัตรคำ  ชนิดละ 1 คำ แต่งประโยคคำละประโยค  1  ประโยค  แล้วร่วมกันพิจารณาทีละประโยคว่าคำวิเศษณ์หรือคำสันธานทำหน้าที่อะไรในประโยค

ขั้นสอน 2.  ให้นักเรียนทบทวนเรื่อง  ลักษณะและชนิดของคำวิเศษณ์และคำสันธาน

3.  แบ่งนักเรียนแบ่งออกเป็นกลุ่มละ  3-4  คน  ให้แต่ละคนศึกษาหน้าที่ของคำวิเศษณ์และคำสันธาน  แล้วช่วยกันแต่งประโยคโดยใช้คำวิเศษณ์และคำสันธานชนิดละ  5  ประโยค

                4.  ให้แต่ละกลุ่มนำประโยคที่แต่งมาอภิปรายให้เพื่อนคนอื่นฟังว่าคำวิเศษณ์และคำสันธานในประโยคนั้นๆ  ทำหน้าที่อะไรในประโยค  จนครบ  10  ประโยค

                5.  ครูและเพื่อนร่วมกันตรวจสอบความถูกต้อง  ประโยคใดที่ไม่ถูกต้องให้แก้ไขให้ถูกต้อง

                6.  ให้นักเรียนทำกิจกรรมตามใบงานที่  2

ขั้นสรุป 7.  ให้นักเรียนร่วมกันสรุปลักษณะ  ชนิด  และหน้าที่ของคำวิเศษณ์และคำสันธาน

สื่อการเรียนรู้

1.  หนังสือเรียนภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

 2.  บัตรคำ

3.   กิจกรรม/ใบงาน

การวัดและประเมินผลการเรียนรู้

1. วิธีวัด

                -  สังเกตพฤติกรรมรายบุคคล

                -  การทำกิจกรรม/ใบงาน

                -  การทำแบบประเมินผลการเรียนรู้ก่อน-หลังเรียน

2.  เครื่องมือวัด

                -  แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานรายกลุ่ม

                -  แบบสังเกตพฤติกรรมรายบุคคล

                -  แบบประเมินการตรวจผลงาน

                -  แบบประเมินกิจกรรม-ใบงาน

                -  การทำแบบประเมินผลการเรียนรู้ก่อน-หลังเรียน

บันทึกผลการจัดการเรียนรู้

1.  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….

2.   ปัญหาอุปสรรค

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….

  1. 1.       ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….


แหล่งที่มา :  stks.or.th

อัพเดทล่าสุด