หน้าที่ของฟันประเภทต่างๆ ลักษณะและหน้าที่ของฟัน หน้าที่ของฟัน MUSLIMTHAIPOST

 

หน้าที่ของฟันประเภทต่างๆ ลักษณะและหน้าที่ของฟัน หน้าที่ของฟัน


1,538 ผู้ชม


หน้าที่ของฟันประเภทต่างๆ ลักษณะและหน้าที่ของฟัน หน้าที่ของฟัน

 

ฟันของเรามีกี่ชุด
หน้าที่ของฟันประเภทต่างๆ ลักษณะและหน้าที่ของฟัน หน้าที่ของฟัน

หน้าที่ของฟันประเภทต่างๆ ลักษณะและหน้าที่ของฟัน หน้าที่ของฟัน

หน้าที่ของฟันประเภทต่างๆ ลักษณะและหน้าที่ของฟัน หน้าที่ของฟัน
[ ขยายดูภาพใหญ่ ]

ฟันของเรามี ๒ ชุด คือฟันชุดแรก เรียกว่า ฟันน้ำนมฟันชุดที่สอง เรียกว่า ฟันแท้ฟันน้ำนมมี ๒๐ ซี่ แบ่งอยู่ในขากรรไกรบน ๑๐ ซี่ และอยู่ในขากรรไกรล่าง ๑๐ ซี่ ในแต่ละขากรรไกรจะมีฟันหน้าหรือฟันตัด (incisor) ๔ ซี่ ฟันเขี้ยว (canine) ๒ ซี่ และฟันกราม (molar) ๔ ซี่ ฟันน้ำนมซี่แรกจะปรากฏให้เห็นในช่องปากเป็นฟันตัด เมื่ออายุได้ประมาณ ๖ เดือน การขึ้นของฟันน้ำนมจะดำเนินเรื่อยไปและขึ้นครบทุกซี่เมื่ออายุได้ประมาณ ๒ ขวบครึ่งฟันแท้มี ๓๒ ซี่ แบ่งอยู่ในขากรรไกรบน ๑๖ ซี่ และอยู่ในขากรรไกรล่าง ๑๖ ซี่ ในแต่ละขากรรไกรมีฟันหน้าหรือฟันตัด ๔ ซี่ ฟันเขี้ยว ๒ ซี่ ฟันกรามน้อย (premolar) 4 ซี่ และฟันกราม 6 ซี่ ฟันแท้ซี่แรกขึ้นปรากฏให้เห็นในช่องปาก เป็นฟันกรามซี่ที่หนึ่ง ซึ่งขึ้นเรียงต่อจากฟันกรามน้ำนมเมื่อเด็กอายุได้ประมาณ ๖ ปี ฟันน้ำนมซี่แรกคือ ฟันหน้า จะเริ่มหลุดและมีฟันแท้ซึ่งเป็นฟันหน้าเช่นกันขึ้นแทนที่เมื่อเด็กอายุได้ประมาณ ๗ ขวบ สีของฟันแท้จะเหลืองเข้มกว่าสีของฟันน้ำนมสังเกตเห็นได้ชัดเจน การหลุดของฟันน้ำนมและมีฟันแท้ขึ้นมาแทนที่ จะดำเนินไปจนอายุได้ประมาณ ๑๑ ปี ฟันน้ำนมก็หลุดหมด และมีฟันแท้ขึ้นแทนครบทุกซี่ การขึ้นของฟันแท้จะดำเนินไปจนครบทุกซี่เมื่ออายุได้ประมาณ ๑๘-๒๐ ปี แต่บางคนฟันกรามซี่ที่ ๓ ไม่สามารถจะขึ้นได้ เนื่องจากมีเนื้อที่ไม่พอ เรียกว่าฟันชนหรือฟันคุด (impacted teeth) แต่บางคนก็ไม่มีฟันกรามซี่ที่ 3 ดังกล่าว เนื่องจากไม่มีหน่อฟัน (tooth bud)โครงสร้างของฟันฟันแต่ละซี่จะประกอบขึ้นด้วยเนื้อเยื่อ ๔ ชนิดเคลือบฟัน คือ เนื้อเยื้อแข็งชั้นนอกสุดของตัวฟัน จะมีสีขาวปนเหลือง ผิวเป็นทัน จัดว่าเป็นส่วนที่แข็งที่สุดของร่างกายเคลือบรากฟัน จะมีส่วนประกอบคล้ายกับกระดูกของมนุษย์ แต่ไม่แข็งมากเหมือนเคลือบฟัน เคลือบรากฟันนี้จะปกคลุมส่วนรากทั้งหมดเนื้อฟัน เป็นเนื้อเยื่อแข็งอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งประกอบเป็นตัวฟันทั้งซี่ มีสีขาวนวลคล้ายงาช้างประสาทฟันหรือพัลป์ เป็นเนื้อเยื่ออ่อน ประกอบด้วยเส้นประสาท เส้นโลหิต ระบบน้ำเหลือง และเนื้อเยื่อยึดต่อ เนื้อเยื่อที่ประกอบเป็นพลัป์นี้จะติดต่อภายนอกตัวฟันทางรูปเปิดเล็ก ๆ ตรงบริเวณปลายรากฟัน
รูปร่างและหน้าที่ของฟันเป็นอย่างไร
[ ขยายดูภาพใหญ่ ] ฟันแต่ละซี่แบ่งออกเป็น ๓ ส่วน คือตัวฟัน คือ ส่วนของฟัน ซึ่งงอกขึ้นมาปรากฏในช่องปาก สามารถมองเห็นได้คอฟัน คือ ส่วนที่ต่อระหว่างตัวฟันและรากฟันซึ่งเป็นส่วนของฟันที่มีเหงือกมาสัมผัสอยู่รากฟัน เป็นส่วนหนึ่งของฟัน ซึ่งฝังอยู่ในกระดูกเบ้ารากฟันของขากรรไกร รากฟันนี้จะยึดต่อกับกระดูกเบ้ารากฟันด้วยเส้นใยยึดต่อที่เรียกว่า เอ็นปริทันต์ (periodontal ligament) เอ็นปริทันต์นี้ทำหน้าที่คล้ายเบาะรองรับและถ่ายทอดแรงบดเคี้ยวจากฟันไปสู่กระดูกขากรรไกร เอ็นปริทันต์ที่อยู่ล้อมรอบรากฟันพร้อมด้วยเส้นโลหิตและเส้นประสาทรวมเรียกว่า เยื่อปริทันต์ฟันแต่ละซี่ จะมีลักษณะและหน้าที่แตกต่างกันกล่าวคือ ฟันตัด มีลักษณะแบนและบาง มีขอบหน้าคมทำหน้าที่ตัดหรือกัดฟันเขี้ยว มีลักษณะซี่ใหญ่ หนา แข็งแรง มียอดปลายแหลม สำหรับฉีกและดึงฟันกรามน้อยและฟันกราม จะมียอดหรือปุ่ม (cusp) หลายปุ่ม สำหรับขมและบดอาหารให้ละเอียดทำหน้าที่คล้ายโม่
การเจริญเติบโตของฟันเป็นอย่างไร
[ ขยายดูภาพใหญ่ ] ฟันน้ำนมและฟันแท้ จะเจริญเติบโตมาจากตุ่มหรือหน่อฟัน (tooth bud) ซึ่งหน่อฟันนี้จะเจริญเติบโตมาจากการพัฒนาตัวเองของเนื้อเยื่อบางส่วนในช่องปากได้งอกเข้าไปในขากรรไกร หน่อฟันนี้เริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่เด็กอยู่ท้องของแม่ มีอายุได้ ๖ สัปดาห์ หน่อฟันนี้จะมีทั้งของฟันน้ำนมและของฟันแท้ การเจริญเติบโตของหน่อฟัน ครั้งแรกจะเริ่มเป็นเนื้อเยื่ออ่อนก่อนแล้วจะเปลี่ยนไปเป็นเนื้อเยื่อชนิดแข็ง การเจริญเติบโตจะค่อยเป็นค่อยไป โดยส่วนของตัวฟันจะเริ่มขึ้นก่อน ขณะที่เด็กคลอดนั้น ส่วนที่เป็นตัวฟันน้ำนมจะสร้างเป็นเนื้อเยื่อแข็งหมดแล้วทุกซี่ แต่ยังฝังตัวอยู่ในกระดูกขากรรไกรส่วนที่เป็นรากฟันยังไม่สมบูรณ์ เมื่อเด็กคลอดได้อายุประมาณ ๖ เดือน ฟันน้ำนมซี่หน้าหรือฟันตัดในขากรรไกรล่างจะงอกพ้นขอบเหงือกให้แลเห็นได้ในช่องปาก


แหล่งที่มา : kanchanapisek.or.th

อัพเดทล่าสุด