https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
โครงสร้างและหน้าที่ระบบประสาท โครงสร้างและหน้าที่ระบบประสาทและต่อมไร้ท่อ โครงสร้างและหน้าที่ระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อ MUSLIMTHAIPOST

 

โครงสร้างและหน้าที่ระบบประสาท โครงสร้างและหน้าที่ระบบประสาทและต่อมไร้ท่อ โครงสร้างและหน้าที่ระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อ


462 ผู้ชม


โครงสร้างและหน้าที่ระบบประสาท โครงสร้างและหน้าที่ระบบประสาทและต่อมไร้ท่อ โครงสร้างและหน้าที่ระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อ

 

ความสำคัญของระบบประสาท และระบบต่อมไร้ท่อที่มีผลต่อสุขภาพ ครูพุทธชาติ โรงเรียนกมลาไสย อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุิ์node/97183 

ระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อมีผลต่อสุขภาพวัยรุ่น  การทำงานของระบบต่างๆในร่างกายของคนเรามีคความสัมพันธุ์กัน  ไม่สามารถที่จะแยกออกจากกันได้ และการดำรงชีวิตของมนูษย์  ก็ขึ้อยู่กับการทำงานของระบบต่างๆ  ในร่างกายหากระบบใดระบบหนึ่งหรือหลายๆระบบทำงานได้ไม่ดี  ย่อมส่งผลให้สภาวะสุขภาพโดยรวมเกิดปัญหาขึ้นได้

  ระบบทุกระบบในร่างกาย  ล้วนแต่มีความสำคัญต่อร่างกายด้วยกันทั้งนั้น  แต่ระบบที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์โดยเฉพาะในช่วงวัยรุ่นมากที่สุดนั่นก็คือ  ระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อ

ระบบประสาท ( Nervous System ) ระบบประสาทเป็นระบบที่ควบคุมการทำงานของส่วนต่างๆ  ทุกระบบในร่างกายให้ประสานสัมพันธุ์กัน  เพื่อให้ร่างกายสามารถปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อม  และสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน  คือ ระบบประสาทส่วนกลาง  และระบบประสาทส่วนปลาย

     1. ระบบประสาทส่วนกลาง ( Central Nervous System )  ประกอบด้วยสมองและไขสันหลัง  ซึ้งเป็นศูนย์กลางในการประสานการทำงานของอวัยวะต่างๆ  ของร่างกาย  ให้อวัยวะต่างๆ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ   

       1.1   สมอง ( Brain ) เป็นอวัยวะที่สำคัญและสลับซับซ้อนมาก  ประกอบด้วยกลุ่มเนื้อเยื่อที่มีที่มีความอ่อนนุ่ม  บรรจุอยู่ในกะโหลกศรีษะ  มีขนาดใหญ่กว่าส่วนอื่นๆของระบบประสาทส่วนกลาง  สมองจะเริ่มเจริญเติบโตตั้งแต่เป็นตัวอ่อนในครรภ์มารดา  พอช่วงอายุ 1- 9 ปี   สมองจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว  และจะเจริญเติบโตเต็มที่เมื่ออายุ  18 - 20  ปี  โดยสมองแบ่งออกเป็น  3  ส่วน  ซึ่งมีมีหน้าที่แตกต่างกัน

         1.2  ไขสันหลัง  ( Spinal  Cord )  เป็นส่วนหนึ่งของระบบประสาทส่วนกลาง  อยู่ภายในช่องกระดูกสันหลังตลอดความยาวของลำตัว  ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย  เป็นตัวเชื่อมระหว่างอวัยวะความรู้สึกไปยังสมอง  และส่งความรู้สึกจากสมองไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย  รวมถึงควบคุมการเจริญเติบโตของอวัยวะและส่วนต่างๆ  ที่มีเส้นประสาทไขสันหลังต่อสมอง

      2 . ระบบประสาทส่วนปลาย  ( Peripheral Nervous System )  เป็นระบบประสาทที่เชื่อมต่อจากส่วนต่างๆ  ของสมองและไขสันหลัง  ไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายซึ่งประกอบด้วย

    2.1  ระบบประสาทสมองและไขสันหลัง

      1.  เส้นประสาทสมอง มี  12 คู่ ทอดออกจากพื้นล่างของสมอง  ผ่านไปยังรูต่างๆ  ที่พื้นของกะโหลกศรีษะ  โดยเส้นประสาทสมองบางคู่จะทำหน้าที่รับความรู้สึก  บางคู่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว  และบางคู่จะทำหน้าที่รวม คือ  ทั้งรับความรู้สึกและทำการเคลื่อนไหว

      2.  เส้นประสาทไขสันหลัง  เป็นเส้นประสาทที่ออกจากสันหลัง  มีจำนวนทั้งหมด  31  คู่  ทุกคู่จะทำหน้าที่รวมคือ  ทั้งรับความรู้สึกและทำการเคลื่อนไหว

   2.2  ระบบประสาทอัตโนมัติ  ( Automomic Nerve System )  เป็นระบบประสาทที่ทำงานอยู่นอกเหนืออำนาจการบังคับ  และควบคุมของจิตใจ  ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะภายในร่างกายให้เป็นปกติ  เช่น  ควบคุมการไหลเวียนของโลหิต  การย่อยอาหาร  การหายใจ  การกำจัดของเสียออกจากร่างกาย  โดยระบบประสาทอัตโนมัติแบ่งเป็น  2  ส่วน

   1. ระบบประสาทซิมพาเทติก  ( Sympathetic Nerve System )  เป็นระบบประสาทที่มีการทำงานแบบเกิดขึ้นทันทีทันใด เช่น  ในขณะตื่นเต้น  ประสบภาวะฉุกเฉิน  หรือในระยะเจ็บป่วย  โดยจะส่งผลให้หัวใจเต้นเร็ว  รูม่านตาขยาย  เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของร่างกายต่อสถานการณ์นั้นๆ

  2.  ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก  ( Parasympathetic Nerve System )  เป็นระบบประสาทที่มีใยประสาทมาจากไขสันหลังส่วนกระเบนเหน็บ  ก้นกบ  และเมดัลลาออบลองกาตา  (Medulla Oblongata ) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะภายใน  เส้นเลือดและต่อมต่างๆ  ให้อยู่ในสภาพที่พร้อมจะทำงานได้ เช่น  ทำให้หัวใจเต้นชช้าลง  เส้นเลือดคลายตัว  ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ร่างกายทำงานมากเกินไป

   ระบบประสาทอัตโนมัติท้ัง  2  ส่วนนี้ จะทำหน้าที่ในทิศทางที่ตรงกันข้ามเสมอ เช่น  ระบบประสาทซิมพาเทติกจะทำหน้าที่กระตุ้นให้หัวใจเต้นเร็ว  แต่ระบบประสาทพาราซิมพาเทติกจะทำหน้าที่ให้หัวใจเต้นช้าลง  ทั้งนี้เพื่อรักษาความสมดุลของร่างกายให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติ


แหล่งที่มา : thaigoodview.com

อัพเดทล่าสุด