https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ข้อสอบโครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอกพร้อมเฉลย แนวข้อสอบโครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก หน้าที่ของพืช ป.5 MUSLIMTHAIPOST

 

ข้อสอบโครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอกพร้อมเฉลย แนวข้อสอบโครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก หน้าที่ของพืช ป.5


992 ผู้ชม


ข้อสอบโครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอกพร้อมเฉลย แนวข้อสอบโครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก หน้าที่ของพืช ป.5

 

 

แบบทดสอบ เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก

คำชี้แจง  :  ให้เลือกคำตอบที่ถูกที่สุด

1. ปากใบมีหน้าที่
    ก. คายน้ำปล่อยออกซิเจน
    ข. คายน้ำปล่อยออกซิเจนรับคาร์บอนไดออกไซด์
    ค. คายคาร์บอนไดออกไซด์รับออกซิเจน
    ง. คายน้ำ


2. ใบไม้ทั่วๆ ไปด้านหลังใบสีเขียวเข้มกว่าด้านท้องใบ เนื่องจาก
    ก. ชั้นเอพิเดอร์มิสด้านหลังใบสีเขียวเข้มกว่าด้านท้องใบ
    ข. ชั้นคิวติเคิลของด้านท้องใบหน้ามากกว่าด้านหลังใบ
    ค. คลอโรพลาสต์ด้านหลังใบจะมีมากกว่าด้านท้องใบ
    ง. คลอโรพลาสต์ด้านหลังใบมีสีเข้มมากกว่าด้านท้องใบ


3. เซลล์คุมและเอพิเดอร์มิสด้านล่างของใบนั้นเป็นเซลล์แถวเดียวกัน แตกต่างกัน คือ
    ก. เอพิเดอร์มิสมีนิวเคลียส  เซลล์คุมไม่มีนิวเคลียส
    ข. เอพิเดอร์มิสไม่มีนิวเคลียส  เซลล์คุมมีนิวเคลียส
    ค. เอพิเดอร์มิสมีคลอโรพลาสต์  เซลล์คุมไม่มีคลอโรพลาสต์  
    ง. เอพิเดอร์มิสไม่มีคลอโรพลาสต์  เซลล์คุมมีคลอโรพลาสต์


4. เซลล์คุมเปลี่ยนแปลงจากเซลล์ใด
    ก. stoma        ข. parenchyma
    ค. cutin          ค. epidermis


5. ลักษณะใดของใบที่เหมาะสำหรับการทำหน้าที่สร้างอาหารมากที่สุด
    ก. ใบมีลักษณะเป็นเส้นบางๆ กระจายไปทั่วกิ่ง
    ข. ใบแบนบาง มีความหนาและมีพาลิเสดเซลล์กันหลายๆ ชั้น
    ค. ใบแบนบาง พื้นที่ผิวมาก ใบแผ่ออกแต่ละใบไม่ซ้อนกัน
    ง. ใบหนามีขนาดใหญ่ แต่ละใบเรียงซ้อนๆ กันหลายๆ ชั้น


6. วงปี (annual ring) ของพืชเกิดขึ้นได้
    ก. ทั้งในลำต้นและในรากพืชใบเลี้ยงคู่
    ข. เฉพาะในลำต้นของใบพืชใบเลี้ยงคู่เท่านั้น
    ค. ในลำต้น รากพืชใบเลี้ยงคู่ทุกชนิด และในลำต้นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวบางชนิด
    ง. ในลำต้นของพืชจำพวกสน


7. ส่วนของรากที่เป็นอุปสรรคมากที่สุดต่อการลำเลียงน้ำคือ
    ก. เอนโดเดอร์มิส   ข. คอร์เทกซ์
    ค. เอพิเดอร์มิส      ง. เพริไซเคิล


8. เมื่อดูชิ้นส่วนที่ตัดตามขวางของพืชด้วยกล้องจุลทรรศน์และพบว่าใจกลางชิ้นส่วนนั้นเป็นเนื้อเยื่อไซเลม แสดงว่าชิ้นส่วนนั้นเป็นส่วนของ
    ก. ลำต้นของพืชใบเลี้ยงคู่       ข. รากของพืชใบเลี้ยงคู่
    ค. ลำต้นของพืชใบเลี้ยงเดี่ยว   ง. รากของพืชใบเลี้ยงเดี่ยว


9. ถ้าพบวงปีของลำต้นพืชมีเซลล์ไซเลมใหญ่แถบกว้างและสีจางแสดงว่า
    ก. วาสคิวลาร์แคมเบียมมีผนังเซลล์หนา
    ข. วาสคิวลาร์แคมเบียมขนาดใหญ่
    ค. วาสคิวลาร์แคมเบียมเจริญในฤดูน้ำมาก
    ง. เนื้อเยื่อเจริญในฤดูน้ำน้อย


10. เนื้อเยื่อไซเลมประกอบด้วยเซลล์ชนิดต่างๆ คือ
    ก. คอมพาเนียนเซลล์กับเทรคีด
    ข. เทรคีดกับเวสเซล
    ค. เวสเซลเมมเบอร์กับซีฟทิวบ์เมมเบอร์
    ง. ซีฟทิวบ์เมมเบอร์กับคอมพาเนียนเซลล์


11. ขนราก (Root hair) หมายถึง
    ก. เซลล์     ข. เนื้อเยื่อ
    ค. อวัยวะ    ง. ระบบ


12. ถ้าตัดต้นไม้ยืนต้นตามขวางซึ่งมีอายุ 1 ปี พบว่ามีเนื้อเยื่อชนิดต่างๆ เรียงลำดับจากชั้นในสุดออกมาด้านนอกดังนี้
    ก. ไซเลม  โฟลเอ็ม  แคมเบียม   ข. ไซเลม  แคมเบียม  โฟลเอ็ม
    ค. โฟลเอ็ม  แคมเบียม  ไซเลม   ง. ไซเลม  โฟลเอ็ม  ไซเลม


13. ในกลุ่มท่อน้ำท่ออาหารของพืช มีเซลล์ชนิดหนึ่งที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการลำเลียงน้ำและอาหาร เซลล์ชนิดนี้คือ
    ก. เซลล์คอมพาเนียน    ข. เซลล์ไฟเบอร์
    ค. เซลล์เทรคีด          ง. เซลล์ซีฟทิวบ์เมมเบอร์


14. โครงสร้างของพืชที่ทำหน้าที่เปรียบเทียบได้กับทางเดินอาหารในสัตว์คือ
    ก. ราก                    ข. ไซเลม
    ค. วาสคิวลาร์บันเดิล    ง. โฟลเอ็ม


15. โครงสร้างใดของพืชใบเลี้ยงคู่ที่ไม่มีเยื่อแคมเบียม
    ก. ใบและขนราก    ข. รากแขนงและกิ่งก้าน
    ค. ใบและกิ่งก้าน    ง. ใบและราก

 

แหล่งที่มา : thaigoodview.com

อัพเดทล่าสุด