https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
อารยธรรมญี่ปุ่นโบราณ แหล่งอารยธรรมญี่ปุ่น powerpoint เรื่อง อารยธรรมญี่ปุ่น MUSLIMTHAIPOST

 

อารยธรรมญี่ปุ่นโบราณ แหล่งอารยธรรมญี่ปุ่น powerpoint เรื่อง อารยธรรมญี่ปุ่น


2,627 ผู้ชม


อารยธรรมญี่ปุ่นโบราณ แหล่งอารยธรรมญี่ปุ่น powerpoint เรื่อง อารยธรรมญี่ปุ่น

 

อารยธรรมญี่ปุ่นโบราณ แหล่งอารยธรรมญี่ปุ่น powerpoint เรื่อง อารยธรรมญี่ปุ่น ยุคก่อนประวัติศาสตร์และยุคโบราณ (8,000 ปีก่อนคริสตกาล – ศตวรรษที่ 11)
ยุคนี้เริ่มจากการรวบรวมชนเผ่าเล็ก ๆ ขึ้นมาเป็นจักรวรรดิ และปกครองโดยใช้ระบบของจีนที่เรียกว่า ริทสึเรียว (ritsuryou : การใช้กฎหมายและหลักจริยธรรมตามแบบราชวงศ์สุยกับราชวงศ์ถัง) แต่เกิดมีความขัดแย้งขึ้นมาจนลุกลามออกไป หัวเมืองที่อยู่ห่างไกลแยกตัวจากรัฐบาลกลาง และก่อตั้งเป็นกลุ่มทหารกลุ่มต่าง ๆ 
สมัยโจมน (Joumon) (8,000 – 300 ปีก่อนคริสตกาล)
   ที่หมู่เกาะญี่ปุ่นมีผู้คนอาศัยมาตั้งแต่สมัยยุคหินเก่า แต่ก็เชื่อกันว่าชนชาติญี่ปุ่น และต้นกำเนิดของภาษาญี่ปุ่นได้เกิดขึ้นมาในสมัยโจมน คือ เมื่อประมาณหนึ่งหมื่นปีก่อนจนถึง 300 ปีก่อนคริสตกาล กล่าวกันว่า ผู้คนในยุคนั้นจะขุดหลุมเป็นบ้าน และอาศัยอยู่กันหลังละเกือบสิบคน ยังชีพโดยการล่าสัตว์ จับปลาหาอาหาร อีกทั้งไม่มีความจนความรวยความเหลื่อมล้ำในสังคมยุคนี้ อย่างไรก็ตามการขุดพบซากหมู่บ้านขนาดใหญ่ที่ ซันไน มะรุยะมะ (Sannai Maruyama) ในจังหวัดอะโอะโมะริ (Aomori) ได้ทำให้ผู้คนหันมาสนใจในแนวความคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้ใหม่
สมัยยะโยะอิ (Yaoi) (300 ปีก่อนคริสตกาล – ค.ศ.300)
   เมื่อประมาณ 300 ปีก่อนคริสตกาล การปลูกข้าวกับวิทยาการการใช้เครื่องใช้โลหะได้ถูกนำเข้ามาทางตอนเหนือของคิวชู โดยผ่านคาบสมุทรเกาหลี สิ่งเหล่านี้นำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในสังคม เช่น การเพิ่มผลผลิต ความแตกต่างความรวยความจน การแบ่งชนชั้น การปรับกลุ่มชาวนาให้เป็นกลุ่มนักปกครอง เป็นต้น ความเชื่อระเบียบแบบแผนธรรมเนียมปฏิบัติของชาวนาแพร่หลายออกไป จนกลายเป็นต้นแบบทางวัฒนธรรมญี่ปุ่นสืบไป วัฒนธรรมสมัยยะโยะอิมีความรุ่งเรืองต่อเนื่องจนถึงราว ๆ ปี ค.ศ.300 และในช่วงปลายก็ได้แพร่ขยายจนถึงภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่นด้วย

สมัยสุสานโบราณ (Kofun) (ค.ศ.300 – 700)

   เมื่อประมาณกลางศตวรรษที่ 4 ชนเผ่าอิสระกลุ่มต่าง ๆ ได้ถูกรวบรวมโดยชนเผ่า ยะมะโตะ (Yamato) ขณะเดียวกันสุสานที่มีลักษณะพิเศษเป็นรูปกุญแจก็ถูกสร้างขึ้นทั่วไป ความรู้ และวิทยาการต่าง ๆ จากจีนได้หลั่งไหลเข้ามาเป็นจำนวนมากในสมัยนี้ ในศตวรรษที่ 4 ชนเผ่ายะมะโตะได้ขึ้นไปคาบสมุทรเกาหลีและรับเอาวัฒนธรรมการผลิตเครื่องใช้ของภาคพื้นทวีปมา ต่อมาในสมัยศตวรรษที่ 5 ชาวเกาหลีได้นำวิทยาการต่าง ๆ เข้ามา เช่น การผลิตเครื่องโลหะ เครื่องปั้นดินเผา การทอผ้า การถลุงเหล็ก และวิศวกรรมโยธา รวมทั้งมีการเริ่มใช้อักษรคันจิซึ่งเป็นตัวอักษรของจีนด้วย และเมื่อเข้าสู่ศตวรรษที่ 6 ลัทธิขงจื้อ กับศาสนาพุทธก็ได้แพร่หลายเข้ามาในญี่ปุ่นเช่นกัน
ในศตวรรษที่ 7 เจ้าชายโชะโทะคุ (Shoutoku) จัดวางระบบการปกครองโดยรวมอำนาจไว้ที่จักรพรรดิตามแบบราชวงศ์สุยกับราชวงศ์ถังของจีนได้สำเร็จเมื่อครั้งปฏิรูปการปกครองไทขะ (Taika) และมีการส่งทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีจนถึงปลายศตวรรษที่ 9 ถึงสิบกว่าครั้ง
สมัยนะระ (Nara) (ค.ศ.710 – 794)
    เมื่อปี ค.ศ.710 ขณะที่บ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองด้วยหลักกฎหมายและจริยธรรม (ritsuryou) ก็ได้ย้ายเมืองหลวงมาที่เฮโจเคียว (Heijoukyou) หรือเมืองนะระและบริเวณใกล้เคียงในปัจจุบัน แต่ในเวลาต่อมาก็เริ่มเกิดความวุ่นวายเมื่อระบบโคฉิโคมิน (Kouchi-koumin : ระบบที่รัฐบาลกลางครอบครองที่ดินทั้งหมดและปันส่วนให้กับขุนนางและชาวนา โดยที่ชาวนาต้องเสียภาษีที่ดิน) เสื่อมลงเนื่องจากมีที่ดินที่ได้รับยกเว้นภาษี (Shoen) อยู่เป็นจำนวนมาก รวมถึงความยากจนไร้ที่อยู่อาศัยของชาวนา ในสมัยนี้ศาสนาพุทธได้รับการทำนุบำรุงอย่างดี ทำให้วัฒนธรรมหรือศิลปะทางพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาก เริ่มจากวัฒนธรรมอะสุขะ (Asuka) ซึ่งเป็นวัฒนธรรมทางพุทธศาสนาอันดับแรกของญี่ปุ่นในต้นศตวรรษที่ 7 หรือวัฒนธรรมฮะคุโฮะ (Hakuhou) ในครึ่งหลังของศตวรรษที่ 7 ที่แสดงให้เห็นความทุกข์ยากของมนุษย์ จนถึงวัฒนธรรมเท็มเปียว (Tenpyou) ในกลางศตวรรษที่ 8 ที่แสดงถึงความรู้สึกของมนุษย์ที่สมบูรณ์ตามที่เป็นจริง ซึ่งรับอิทธิพลทางวัฒนธรรมในยุคที่รุ่งเรืองที่สุดของราชวงศ์ถัง
   “มันโยชู” (Man’youshuu) คือ งานชิ้นเอกแห่งยุค ซึ่งเป็นการรวบรวมบทกวีของคนทุกระดับชั้นตั้งแต่สามัญชนจนถึงจักรพรรดิไว้ประมาณ 4,500 บท โดยใช้เวลารวบรวมจนถึงกลางศตวรรษที่ 8 รวมเป็นเวลาถึง 400 ปี ใน “มันโยชู” ได้รับบรรยายความรู้สึกของการใช้ชีวิตอย่างสมถะของคนญี่ปุ่นในสมัยโบราณได้อย่างตรงไปตรงมา และยังคงเป็นที่ประทับใจของคนญี่ปุ่นจำนวนมากในปัจจุบันนี้ นอกจากนี้ ยังมี “โคะจิขิ” (Kojiki) ซึ่งเป็นบันทึกประวัติศาสตร์ฉบับเก่าแก่ที่สุดเท่าที่มีอยู่ (ค.ศ.712) “นิฮงโชะขิ” (Nihonshoki) ซึ่งเป็นบันทึกเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ตามลำดับเวลาฉบับเก่าแก่ที่สุด (ค.ศ.720) และหนังสือรวมบทกวี “ไคฟูโซ” (kaifuusou) ฉบับเก่าแก่ที่สุด (ค.ศ.751) ซึ่งเป็นครั้งแรกของการรวมบทกวีจีนของนักกวีญี่ปุ่น

สมัยเฮอัน (Heian) (ค.ศ.794 – 1185) 

    ในปลายศตวรรษที่ 8 มีการย้ายเมืองหลวงไปที่ เฮอันเ คียว (Heiankyou) หรือเมืองเกียวโตในปัจจุบัน และมีความพยายามจะนำระบบ ริทสึเรียว (Ritsuryou) กลับมาใช้แต่เนื่องจากระบบโคฉิโคมินเสื่อมลง ทำให้บ้านเมืองขาดแคลนเงินทอง จนไม่สามารถส่งทูตไปจีนได้อีกภายหลังจากที่ส่งไปครั้งสุดท้าย เมื่อปี ค.ศ.894 ซึ่งเป็นผลให้การรับวัฒนธรรมจากแผ่นดินใหญ่ยุติลงไปด้วย
   ตระกูลฟุจิวะระ (Fujiwara) เป็นตระกูลทหารที่มีอำนาจปกครองญี่ปุ่นในศตวรรษที่ 10-11 และนำเอาระบบการจัดสรรปันส่วนที่ดิน โดยมีการยกเว้นภาษีที่ดินแก่คนบางกลุ่ม (Shoen) มาใช้ แต่การดูแลหัวเมืองในภูมิภาคที่อยู่ห่างไกลเป็นไปด้วยความยากลำบาก จึงเกิดการจราจลแยกตัวออกไปก่อตั้งตระกูลทหารขึ้นใน ตอนปลายศตวรรษที่ 11 ตระกูลฟุจิวะระถูกขัดขวางโดยฝ่ายอินเซ (Insei : จักรพรรดิผู้ที่ทรงสละราชบังลังก์แล้วแต่ยังทรงกุมอำนาจอยู่) ขณะที่ทหารเริ่มเข้ามามีบทบาทในการปกครองมากขึ้น
   วัฒนธรรมที่เป็นรูปแบบของญี่ปุ่นโดดเด่นมากในสมัยเฮอันในศตวรรษที่ 9 ญี่ปุ่นยังคงรับวัฒนธรรมของราชวงศ์ถังอยู่ พุทธศาสนานิกายมิเคียว (Mikkyou) กับการเขียนรูปประโยคแบบจีนแพร่หลายมาก พอเข้าสู่ศตวรรษที่ 10 หลังจากที่ญี่ปุ่นไม่ได้ติดต่อโดยตรงกับภาคพื้นทวีปแล้ว ได้เกิดวัฒนธรรมชนชั้นสูงที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะของญี่ปุ่นเอง วรรณกรรมที่เด่นในเวลานี้ อาทิ “โคะคินวะคะชู” (Kokinwakashuu) เป็นหนังสือรวมกวีนิพนธ์ญี่ปุ่นเล่มแรกตามพระราชโองการของจักรพรรดิ (ในต้นศตวรรษที่ 10) “เกนจิ โมะโนะงะตะริ” (Genji Monogatari) นวนิยายเรื่องยาวที่เก่าที่สุดในโลก (ประมาณต้นศตวรรษที่ 11) และ “มะคุระโนะ โชชิ” (Makura no Soshi) หนังสือข้างหมอน (ประมาณ ค.ศ. 1000) วรรณกรรมเหล่านี้เขียนด้วยตัวอักษร “คะนะ” (Kana) ซึ่งคนญี่ปุ่นคิดประดิษฐ์จากตัวอักษรคันจิ และสามารถใช้เขียนคำศัพท์ญี่ปุ่น เพื่อสื่อความรู้สึกของชาวญี่ปุ่นได้เป็นครั้งแรก อีกทั้งยังนำไปสู่โลกวรรณกรรมสตรีอีกด้วย
   ตั้งแต่ช่วงหลังศตวรรษที่ 10 เป็นต้นมา พุทธศาสนานิกายโจโดะ (Joudo) ซึ่งมุ่งหวังความสุขในชาติหน้าเป็นที่นับถืออย่างแพร่หลายเช่นเดียวกับนิกายมิคเคียว ที่หวังผลประโยชน์เฉพาะในชาตินี้ และเราจะเห็นถึงความมีเอกลักษณ์แบบญี่ปุ่นปรากฏอยู่ในวรรณกรรมกับงานศิลปะ เช่น สถาปัตยกรรม การเขียนภาพ การแกะสลัก เป็นต้น

แหล่งที่มา : siamkane.com

อัพเดทล่าสุด