https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
อารยธรรมเอเชียไมเนอร์และดินแดนใกล้เคียง อารยธรรมเอเชียไมเนอร์(ฟินิเชียน ฮีบรู) อารยธรรมเอเชียไมเนอร์(ฟินิเชียน,ฮีบรู) MUSLIMTHAIPOST

 

อารยธรรมเอเชียไมเนอร์และดินแดนใกล้เคียง อารยธรรมเอเชียไมเนอร์(ฟินิเชียน ฮีบรู) อารยธรรมเอเชียไมเนอร์(ฟินิเชียน,ฮีบรู)


14,336 ผู้ชม


อารยธรรมเอเชียไมเนอร์และดินแดนใกล้เคียง อารยธรรมเอเชียไมเนอร์(ฟินิเชียน ฮีบรู) อารยธรรมเอเชียไมเนอร์(ฟินิเชียน,ฮีบรู)

 

อารยธรรมในเอเชียไมเนอร์และแอฟริกาเหนือ :รากเหง้าความเจริญของชาวตะวันตก

รากเหง้าดั้งเดิมของอารยธรรมตะวันตกในแอฟริกาเหนือและเอเชียไมเนอร์ ก่อตัวขึ้นเมื่อ 4,000 B.C. พื้นที่สำคัญ 2 ภูมิภาค คือดินแดนเมโปเตเมียในลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรติส ในเอเชียไมเนอร์

ศิลปวัฒนธรรมในดินแดนเมโสโปเตเมีย

ดินแดนเมโสโปเตเมีย หรือดินแดนแห่งแถบลุ่มแม่น้ำทั้งสอง (คือแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรติส)เป็นดินแดนแห่งศิลปวัฒนธรรมที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในโลก เมื่อ 4,000 B.C.

ดินแดนเมโสโปเตเมียมีลักษณะภูมิประเทศที่เปิดโล่งปราศจากปราการธรรมชาติจึงมักถูกชนเผ่าต่างๆรุกราน ชนเผ่าต่างๆที่เคยมีอำนาจและสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมเหนือดินแดนเมโสโปเตเมีย ได้แก่ ชาวสุเมเรียน ชาวอัคคาเดียน ชาวอะเมอไรต์ และชาวอัสซีเรียน เป็นต้น

ชาวสุเมเรียน

ชาวสุเมเรียนเป็นคนกลุ่มแรกที่มีอำนาจปกครองชนเผ่าต่างๆเหนือดินแดนเมโสโปเมีย สภาพภูมิอากาศแบบกึ่งทะเลทราย มีธรรมชาติที่แปรปรวนไม่เอื้อต่อการดำรงชีวิตเท่าใดนัก บางครั้งก็ร้อนจัดติดต่อกัน มีพายุรุนแรง บางครั้งทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน บางครั้งหิมะจากเทือกเขาอะเมเนียนก็ละลายลงมาท่วมซ้ำ ทำให้ชาวเมโสโปเตเมียเป็นพวกมองโลกในแง่ร้ายไม่เห็นคุณค่าของชีวิตในโลกปัจจุบันมองตนเองเป็นเพียงทาสรับใช้หรือเครื่องตอบสนองความพึงพอใจของพระเจ้า

การปกครองและสภาพสังคมสุเมเรียน

ชาวสุเมเรียนทุกคนเชื่อเรื่องการยกย่องและยำเกรงพระเจ้า มีหน้าที่ต้องซื่อสัตย์และรับใช้พระเจ้า เพื่อเป็นหลักประกันให้ได้รับความเมตตาจากพระองค์

หลักฐานทางวัฒนธรรมของชาวสุเมเรียนส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับศาสนา พวกเขามักสร้างศาสนสถานด้วยอิฐตากแห้ง ลักษณะคล้ายภูเขาขนาดใหญ่กลางเมืองเพื่อเป็นที่ประทับของเทพเจ้า เรียกว่า ซิกเกอแรต (Ziggurat) ชาวสุเมเรียนไม่นิยมสร้างพระราชวังขนาดใหญ่

 

                                                     ซิกเกอร์แรตแห่งเออร์

นักบวชเป็นชนชั้นสูงสุดในอาณาจักรสุเมเรียน ระยะแรก ปกครองโดยสภาของผู้ชายที่บรรลุนิติภาวะ ระยะหลังปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย

การประดิษฐ์อักษรคูนิฟอร์มและความเจริญ

ชาวสุเมเรียนเป็นชนกลุ่มแรกที่รู้จักประดิษฐ์ลายลักษณ์อักษรเรียกว่า อักษรคูนิฟอร์มหรืออักษรลิ่ม มีอายุเก่าแก่ที่สุดในโลก  วรรณกรรมสำคัญของชาวสุเมเรียนคือ มหากาพย์กิลกามิช เป็นเรื่องการผจญภัยของวีรบุรุษที่แสวงหาชีวิตอมตะ ได้แนวความคิดเรื่องน้ำท่วมโลก ผู้คิดค้นหลักการอ่านอักษรคูนิฟอร์มคือ จี.เอฟ.กรอทเฟนด์

 

                                              ภาพการพัฒนาอักษรคูนิฟอร์ม

ความเสื่อมของอาณาจักรสุเมเรียน

ในช่วง 2,370 B.C. กษัตริย์ซาร์กอนแห่งอาณาจักรอัคคัด(เซมิติก) ได้รวบรวมเมืองในลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรติสเข้าด้วยกัน เรียกว่า อาณาจักรอัคเคเดียน ปี (1,799-1,750 B.C.) ชาวอะมอไรต์ ซึ่งเป็นชนเผ่าเซมิติกภายใต้การนำของพระเจ้าฮัมมูราบีจากทะเลทรายอาระเบียก็ยึดครองดินแดนเมโสโปเมียและตั้งอาณาจักรบาบิโลเนียขึ้น

มีประมวลกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรของพระเจ้าฮัมมูราบี ยึดหลักการแบบตาต่อตาฟันต่อฟันในการลงโทษ

 

                                      แผ่นหินจารึกประมวลกฎหมาย ฮัมมูราบี                         

จักรวรรดิอัสซีเรีย

มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองนิเนเวห์ ปกครองราษฎรด้วยวิธีการกดขี่ขูดรีดภาษีและโยกย้ายชาวเมืองดั้งเดิมออกไปจากถิ่นฐาน

     

                    สวนลอยแห่งกรุงบาบิโลน  (The Hanging Garden of  Badilon)

ศาสนาและความเชื่อของชาวอียิปต์

ชาวอียิปต์เชื่อว่าเทพเจ้าเป็นผู้มีเมตตาและยกย่องฟาโรห์เสมอเทพเจ้าฟาโรห์จึงศักดิ์สิทธิ์ถือเป็นกฏหมาย นิยมสร้างปิรามิด ปิรามิดที่สำคัญคือ The Great Pyramid of Gizeh อุทิศแด่ฟาโรห์คีออปส์ มีรูปสิงโตหน้าคนที่เรียกว่า Sphinx

 

มหาปิรามิดที่เมืองกีเวห์ องค์ซ้ายอุทิศแด่ฟาโรห์ไมเซรินัส 2,575 ปี B.C. องค์กลางอุทิศแด่ฟาโรห์คีออฟ 2,650 ปี B.C. องค์อุทิศแด่ฟาโรห์เชเฟรน 2,600 ปี B.C.

ความเจริญด้านอักษรศาสตร์ของอียิปต์

ชาวอียิปต์ประดิษฐ์อักษรภาพเรียกว่าอักษรไก่เขี่ยหรืออักษรเฮียโรกลิฟิก เพื่อบันทึกเรื่องราวทางศาสนาโดยเขียนบนกระดาษปาปิรุส อักษรไก่เขี่ยพัฒนาเป็นอักษรเฮียราติก ฌอง ฟรองซัวร์ ชองโปลิยอง เป็นผู้อ่านอักษรเฮียโรกลิฟิกจากจารึกบนแผ่นหินโรเซ็ทตา เมื่อค.ศ.1882

  

ชาวฟีนิเชียน

ชาวฟีนิเชียนเป็นชนเผ่าเซมิติก เดิมเรียกว่าพวก Canaanitesอาศัยอยู่บริเวณคะนาอันเมื่อประมาณ 2,000 BC. มีรากฐานมาจากดินแดนเมโสโปเตเมียและอียิปต์ สภาพแวดล้อมริมฝั่งทะเลทำให้ชาวฟีนิเชียนเชี่ยวชาญการเดินเรือและการค้า พ่อค้าชาวฟีนิเชียนเดินเรือนำอารยธรรมมาจากตะวันออกไปยังแดนต่างๆ ในมหาสมุทรแอตแลนติกและอังกฤษเป็นพวกแรก สามารถตั้งอาณานิคมบนเกาะซิซิลีและเมืองคาร์เทจทางเหนือของแอฟริกา ในช่วงปี 750 BC.ชาวแอสซีเรียนได้ยึดครองดินแดนของชาวฟีนิเชียน เกือบหมดเหลือเมืองคาร์เทจเท่านั้น ในปี146BC. เมืองคาร์เทจก็ถูกทำลายโดยจักวรรดิโรมัน

ชาวฮิบรู

ชาวฮิบรูเป็นชนเผ่าเร่ร่อนในทะเลทราย เมื่อประมาณ 1,400BC.ชนเผ่านี้มีโมเสสเป็นผู้นำในการปลดแอกจากการเป็นทาสขงอียิปต์

ในสมัยพระเจ้าเดวิดชาวฮิบรูก่อตั้งอาณาจักรอิสราเอลขึ้นเป็นครั้งแรก ในสมัยพระเจ้าโซโลมอนอาณาจักรอิสราเอลสามารถขยายตัวเป็นจักรวรรดิ แต่ไม่นานก็แตกแยกเป็นอาณาจักรอิสราเอลทางทิศเหนือและอาณาจักรจูดาร์ทางทิศใต้ และในที่สุดอาณาจักรอิสราเอลก็ถูกทำลายโดยชาวแอสซีเรียน การพ่ายแพ้ครั้งนี้ทำให้ชาวฮิบรูถูกกวาดต้อนไปยังบาบิโลเนียใหม่ เรียกเหตุการณ์นี้ว่า “The Babylonian Captivity” จากนั้นชาวฮิบรูก็ตกอยู่ภายใต้การปกครองของเปอร์เซีย กรีก โรมันตามลำดับ

ในปีค.ศ.70ชาวฮิบรูก่อการกบฏต่อจักรวรรดิโรมัน ทำให้ดินแดนปาเลสไตน์ถูกทหารโรมันทำลายชาวฮิบรูกลายเป็นชนเผ่าเร่ร่อน

ศาสนายูดาย เป็นศาสนาที่นับถือพระเจ้าองค์เดียว คือ พระยะโฮวา ทรงเลือกชาวฮิบรูเป็นประชาชนของพระองค์ พระคัมภีร์เก่าของศาสนายูดาย ระบุถึงกำเนิดของศาสนายูดาย

ชาวเปอร์เซียน

ชาวเปอร์เซียนเป็นชนเผ่าอินโด-ยูโรเปียนเดิมอาศัยอยู่ทางเหนือของทะเลดำครั้นถึงปีที่ 1,200BC.จึงอพยพสู่ที่ราบสูงอิหร่านระยะแรกถูกปกครองโดยชาวมิเดสต่อมาพระเจ้าไซรัสได้สถาปนาอาณาจักรเปอร์เซียขึ้นในปี 549BC. แล้วขยายอำนาจครอบคลุมตั้งแต่อินเดียถึงปาเลสไตน์ เมโสโปเตเมีย ลิเดีย ซีเรียและอียิปต์ ในสมัยพระเจ้าดาริอุสจักรวรรดิเปอร์เซียปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

ศิลปะและศาสนาของชาวเปอร์เซียน

ศิลปะเปอร์เซียเกิดจากการผสมผสานอย่างหลากหลาย หลักฐานสำคัญคือพระราชวังเปอร์ซิโพลิสมีเสาหินสูงเพรียวอ่อนช้อย ทำหัวเสาเป็นรูปสิงโตหรือวัวอย่างกลมกลืนกับโครงสร้าง มีหินเป็นวัสดุก่อสร้างในเอเชียไมเนอร์และเมโสโปเตเมียนยมใช้อิฐ

ชาวเปอร์เซียนนับถือาสนาโซโรแอสเตอร์เรียกอีกอย่างว่าลัทธิบูชาไฟ ศาสดาชื่อโซโรแอสเตอร์นับถือพระเจ้าองค์เดียวคืออาหุรา มาสดา เทพแห่งความดีหรือเทพแห่งแสงสว่าง ชาวเปอร์เซียมีหน้าที่ช่วยเทพแห่งความดีต่อสู้กับอาหริมานหรือซาตานแห่งความชั่ว

แหล่งที่มา : kunanyazii.blogspot.com

อัพเดทล่าสุด