https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
บทความการพัฒนาบุคลากร - การพัฒนาสมรรถนะ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของบุคลากร ตอนที่ 1: กรอบความคิด MUSLIMTHAIPOST

 

บทความการพัฒนาบุคลากร - การพัฒนาสมรรถนะ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของบุคลากร ตอนที่ 1: กรอบความคิด


1,297 ผู้ชม


การพัฒนาสมรรถนะ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของบุคลากร ตอนที่ 1: กรอบความคิด




การพัฒนาสมรรถนะ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของบุคลากร

Developing Competency for Performance Enhancement

 

 

ตอนที่ 1: กรอบความคิดในภาพรวมเกี่ยวกับบทความนี้

บทความนี้เป็นการสรุปแนวคิดและวิธีการบริหารทรัพยากรบุคคลอันเป็นแบบอย่างปฏิบัติที่ดี (Best Practices) สำหรับองค์กรภาครัฐ โดยใช้แนววิธีการปฏิบัติที่ดำเนินการสำเร็จโดยกรมราชทัณฑ์เป็นตัวอย่าง

บุคลากรที่มีประสิทธิภาพเป็นที่ต้องการขององค์กรในทุกยุคทุกสมัย ไม่ว่าจะเป็นองค์กรภาครัฐหรือองค์กรภาคเอกชน ดังนั้นการพัฒนาคนเพื่อให้กลายเป็นผู้ปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับองค์กรเสมอ นี่เป็นเหตุให้องค์กรทั้งหลายทุ่มเทงบประมาณเพื่อการพัฒนาบุคลากรของตนมากขึ้นทุกขณะ ถึงกับมีการกำหนดสัดส่วนของงบประมาณเพื่อการพัฒนาบุคลกรที่ชัดเจน ไม่เว้นแม้แต่ในองค์กรภาครัฐ

คำถามคืองบประมาณและทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดในองค์กรภาครัฐนั้น ถูกใช้ไปเพื่อการพัฒนาบุคลากรอย่างคุ้มค่าหรือไม่ ที่สำคัญก็คือในแต่ละส่วนราชการจะมีร่องรอยและหลักฐานใดที่จะยืนยัน และสร้างความมั่นใจได้ว่าข้าราชการได้รับการพัฒนาให้สอดคล้องไปกับผลการปฏิบัติงานที่องค์กรต้องการอย่างแท้จริง

 สำหรับแบบอย่างการปฏิบัติขององค์กรภาครัฐ ที่จะนำเสนอในครั้งนี้ เป็นแบบอย่างจากการดำเนินงานของกรมราชทัณฑ์  ในการยกระดับระบบการพัฒนาบุคลากรให้สอดคล้องกับผลการปฏิบัติงานที่เป็นที่ต้องการขององค์กร โดยมุ่งที่สมรรถนะซึ่งเป็นต้นแบบ (Competency Model) ที่มีพื้นฐานมาจากพฤติกรรมของบุคลากรที่มีผลการปฏิบัติงานสูง (Key Performers) ภายในองค์กร

ทำไมต้อง  Competency

 การพัฒนารายการสมรรถนะต้นแบบ (Competency Model) สำหรับการใช้งานในองค์กรนั้น เริ่มต้นโดยเน้นถึงความสอดคล้องกับความต้องการขององค์กรเป็นสำคัญ โดยใช้หลักการ การวิเคราะห์ผลการปฏิบัติงาน  (Performance Analysis) วิเคราะห์ผลลัพธ์ที่องค์กรมุ่งหวัง เพื่อให้ยุทธศาสตร์และวัฒนธรรมองค์กรประสบความสำเร็จ  ผ่านการกำหนด “บทบาท” หรือกลุ่มงานต่าง ๆ ของกรมฯให้ชัดเจน แล้วกำหนดผลลัพธ์หรือผลสำเร็จของงานของแต่ละบทบาท เพื่อเป็นจุดมุ่งของการกำหนดสมรรถนะหรือพฤติกรรมการทำงาน

หลักการที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ การวิเคราะห์สมรรถนะของผู้ปฏิบัติงาน  (Key  Performer  Analysis)  วิเคราะห์สมรรถนะของผู้ปฏิบัติงานที่มีผลการปฏิบัติงานสูงในแต่ละบทบาทหรือกลุ่มงานในองค์กร แล้วนำเอาผลมาจัดทำเป็นรายการพฤติกรรมการทำงานโดยแบ่งเป็นหมวดหมู่ของสมรรถนะ   เลือกและยึดรายการพฤติกรรมที่นำมาซึ่งผลการ

ปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับความต้องการทางด้านยุทธศาสตร์และวัฒนธรรมขององค์กรเท่านั้น ด้วยหลักการทั้งสองประการ ทำให้สมรรถนะต้นแบบที่ได้เชื่อมโยงกับทิศทางและความต้องการขององค์กร และมีพื้นฐานมาจากการปฏิบัติงานจริงของผู้ปฏิบัติงานที่มีผลการปฏิบัติงานสูง(Key Performers) องค์กรสามารถใช้รายการสมรรถนะที่ได้นี้เป็นแนวทางในการพัฒนาบุคลากรอย่างมีทิศทาง ผ่านการประเมินสมรรถนะแบบรอบด้าน (Multi-raters Assessment) และการจัดทำแผนพัฒนารายบุคคล (Individual Development Plan) สำหรับผู้ปฏิบัติงานแต่ละคน ภายใต้การเอื้ออำนวยกระบวนการโดยเจ้าหน้าที่ทรัพยากรบุคคลและพัฒนาระบบฯ

แผนพัฒนารายบุคคล (Individual Development Plan) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการด้านสมรรถนะ (Competency Management) นี้เองที่จะกำหนดกรอบการพัฒนาสำหรับบุคลากรแต่ละคนอย่างเป็นรูปธรรม เป็นระบบและสอดคล้องกับความต้องการขององค์กร อย่างแท้จริง

นอกจากนี้การใช้สมรรถนะต้นแบบขององค์กรนี้ยังเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการพัฒนาบุคลากรอย่างมีบูรณาการต่อไป ทั้งระหว่างการฝึกอบรม (Training) การพัฒนาอาชีพ (Career Development) และการเลื่อนตำแหน่ง  (Promotion)  ตลอดจนสามารถบูรณาการกิจกรรมการบริหารทรัพยากรบุคคลภายในองค์กรเกือบทั้งหมดเข้าด้วยกัน  ไม่ว่าจะเป็นการคัดสรร (Recruitment  and  Selection)   การวางแผนกำลังคน (ManpowerPlanning)  การพัฒนาคน  (Training  and  Development) การบริหารผลการปฏิบัติงาน (Performance Management) การวางแผนสืบทอดตำแหน่ง  (Succession  Planning) และการบริหารบุคลากรสมรรถนะสูง (Talent Management) อีกด้วย

อัพเดทล่าสุด