แบบฟอร์มลดหย่อนบิดามารดา - หลักเกณฑ์การหักลดหย่อนภาษีลูกกตัญญู MUSLIMTHAIPOST

 

แบบฟอร์มลดหย่อนบิดามารดา - หลักเกณฑ์การหักลดหย่อนภาษีลูกกตัญญู


6,038 ผู้ชม


 หลักเกณฑ์การหักลดหย่อนภาษีลูกกตัญญู
      การหักลดหย่อนภาษีลูกกตัญญู เป็นการอนุญาตให้บุคคลธรรมดาที่มีรายได้ และมีการอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของผู้มีเงินได้ รวมทั้งบิดามารดาของสามี หรือภรรยา ของผู้มีเงินได้ โดยให้หักค่าอุปการะเลี้ยงดูเป็นค่าใช้จ่ายได้คนละ 30,000 บาท โดยที่บิดามารดาดังกล่าว จะต้องมีอายุ 60 ปีขึ้นไป และมีรายได้ไม่เพียงพอต่อการยังชีพ และอยู่ในความเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้ โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้
          1.ให้หักลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท สำหรับบิดามารดาที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และอยู่ในการเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้ แต่บิดามารดาต้องมีรายได้ในปีที่ใช้สิทธิ ไม่เกิน 30,000 บาท หากบิดามารดามีรายได้เกิน ก็ใช้สิทธิไม่ได้
          2.ต้องเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฏหมายของบิดามารดา ของผู้มีเงินได้ที่ขอใช้สิทธิหักลดหย่อน
( ต้องเป็นบิดามารดาที่แท้จริง หรือหากเป็นบิดามารดาบุญธรรม ต้องมีการจดทะเบียนบิดามารดาให้ถูกต้องตามกฏหมาย จึงจะสามารถหักลดหย่อนได้)
          3.กรณีที่ผู้มีเงินได้หลายคนจะขอใช้สิทธิอุปการะบิดามารดาคนเดียวกัน ให้ผู้มีเงินได้คนใดคนหนึ่ง เพียงคนเดียวที่มีหลักฐานรับรองการอุปการะเลี้ยงดู เป็นผู้มีสิทธิในการหักลดหย่อนค่าอุปการะได้ในแต่ละปีภาษี (หมายถึง ใครมีหลักฐานการเซ็นชื่อของบิดามารดาในเอกสาร ลย.03 คนนั้นย่อมได้สิทธิลดหย่อนนั้นไป)
         4.การหักลดหย่อน ให้สามารถหักค่าลดหย่อนได้ทั้งจำนวน แม้ว่าจะมีการเลี้ยงดูไม่ตลอดปีภาษีที่ยื่นขอก็ตาม
         5.กรณีสามีหรือภรรยาเป็นผู้มีเงินได้ เพียงคนเดียว ก็ให้หักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของสามีหรือภรรยา ก็ได้คนละ30,000 บาท
         6.กรณีผู้มีเงินได้ซึ่งเดิมใช้สิทธิหักลดหย่อนอยู่เดิมแล้ว ต่อมาแต่งงานกัน ก็ให้ใช้เกณฑ์การลดหย่อนดังนี้         
             (ก)หากเป็นสามีภรรยากันไม่ครบปีภาษีที่ขอใช้สิทธิ ก็ให้ต่างคนต่างลดหย่อนค่าเลี้ยงดูบิดามารดาของตนได้คนละ 30,000 บาท
             (ข) หากเป็นสามีภรรยากันครบปีภาษีที่ขอใช้สิทธิ และภรรยาไม่ได้แยกยื่นแบบภาษีเงินได้ต่างหากจากสามี ก็ให้สามารถหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูได้ทั้งบิดามารดาของผู้มีเงินได้ และบิดามารดาของภรรยาของผู้มีเงินได้ คนละ 30,000 บาท
             (ค) หากเป็นสามีภรรยากันครบปีภาษีที่ขอใช้สิทธิ และภรรยาขอแยกยื่นแบบภาษีเงินได้ต่างหากจากสามี ก็ให้สามีและภรรยา ต่างคนต่างหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของตนได้คนละ 30,000 บาท
         7.กรณีผู้มีเงินได้ไม่ได้อยู่ในประเทศไทย ให้หักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูได้เฉพาะบิดามารดาที่อยู่ในประเทศไทยเท่านั้น
         8.การหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดู ต้องระบุเลขบัตรประจำตัวประชาชนของบิดามารดาที่ใช้ขอใช้สิทธิ ในแบบที่ยื่นภาษีเงินได้ด้วย
         9.การหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูนี้ ต้องมีหลักฐานรับรองการอุปการะเลี้ยงดู (แบบ ลย.03) โดยให้กรอกข้อมูลตามแบบฟอร์มที่กำหนด โดยให้ถือว่าแบบฟอร์ม ลย.03 ดังกล่าวเป็นหนังสือรับรองได้ การกรอกข้อความต้องกรอกเป็นภาษาไทย หากเป็นภาษาอื่นต้องมีคำแปล และต้องขออนุญาตต่ออธิบดีกรมสรรพากรด้วย

         เมื่อท่านเห็นว่าท่านเป็นผู้หนึ่งที่มีสิทธิดังกล่าว ก็ให้รีบดำเนินการแต่เนินๆ เมื่อใกล้เวลายื่นภาษีเงินได้ในแต่ละปี หากมีปัญหาจะได้แก้ไขทันท่วงที

สรุปจากประมวลรัษฎากรฯโดย MichaelShaw 

บทความโดย : MichaelShaw
ที่มา  :  www.ThaiTaxINFO.com

---------------------

การหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา

ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร

เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 136)

เรื่อง    กำหนด หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของผู้มีเงินได้ รวมทั้งบิดามารดาของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ ตามมาตรา 47(1)(ญ) แห่งประมวลรัษฎากร

 

            อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 47(1)(ญ) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 36) พ.ศ. 2548 อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของผู้มีเงินได้รวม ทั้งบิดามารดาของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ ดังต่อไปนี้ 

            ข้อ   1   การ หักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของผู้มีเงินได้ รวมทั้งบิดามารดาของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ ตามมาตรา 47(1)(ญ) แห่งประมวลรัษฎากร ให้หักลดหย่อนได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขดังนี้ 

                            (1)  ให้หักลดหย่อนได้ คนละ 30,000 บาท สำหรับบิดามารดาที่มีอายุหกสิบปีขึ้นไป และอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้ แต่มิให้หักลดหย่อนสำหรับบิดามารดาดังกล่าวที่มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษี ที่ขอหักลดหย่อนเกิน 30,000 บาทขึ้นไป

                            (2)  ผู้มีเงินได้หรือสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้จะต้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ของบิดามารดาที่ผู้มีเงินได้ใช้สิทธิหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดู
                            (3)  กรณีผู้มีเงินได้หลายคนอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาคนเดียวกัน ให้ผู้มีเงินได้คนใดคนหนึ่งเพียงคนเดียวที่มีหลักฐานรับรองการอุปการะเลี้ยง ดูจากบิดามารดาดังกล่าวเป็นผู้มีสิทธิหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดา มารดาดังกล่าวนั้นในแต่ละปีภาษี
                            (4)  การหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาดังกล่าวให้หักได้ตลอดปีภาษี ไม่ว่ากรณีที่จะหักลดหย่อนได้นั้นจะมีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่
                            (5)  กรณีสามีหรือภริยาเป็นผู้มีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้ผู้มีเงินได้หักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของสามีหรือภริยาของ ผู้มีเงินได้คนละ 30,000 บาท
                            (6)  กรณีผู้มีเงินได้ซึ่งมีสิทธิหักลดหย่อนอยู่แล้ว ต่อมาได้สมรสกันให้ยังคงหักลดหย่อนได้ดังนี้ 
                                  (ก) ถ้าความเป็นสามีภริยามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษีที่ขอหักลดหย่อนให้ต่างฝ่ายต่าง หักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของตนคนละ 30,000 บาท
                                  (ข) ถ้าความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษีที่ขอหักลดหย่อน และภริยาไม่ใช้สิทธิแยกยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากสามีตามมาตรา 57 เบญจ แห่งประมวลรัษฎากร ให้หักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของผู้มีเงินได้ รวมทั้งบิดามารดาของภริยาของผู้มีเงินได้คนละ 30,000 บาท
                                  (ค) ถ้าความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษีที่ขอหักลดหย่อน และภริยาใช้สิทธิแยกยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากสามีตามมาตรา 57 เบญจ แห่งประมวลรัษฎากร ให้สามีและภริยาต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของตนคน ละ 30,000 บาท 

                            (7) กรณีผู้มีเงินได้มิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทยให้หักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยง ดูบิดามารดาได้เฉพาะบิดามารดาที่อยู่ในประเทศไทย

            ข้อ   2   การ หักลดหย่อนตามประกาศนี้ ผู้มีเงินได้ต้องระบุเลขประจำตัวประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรของ บิดามารดาที่ผู้มีเงินได้ใช้สิทธิหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูในแบบแสดง รายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย
            ข้อ   3   การ หักลดหย่อนตามประกาศนี้ ผู้มีเงินได้ต้องมีหลักฐานรับรองการอุปการะเลี้ยงดูจากบิดามารดาที่ผู้มี เงินได้ใช้สิทธิหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดู
            ข้อ   4   ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป

 

ประกาศ ณ วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2548

ศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์
(นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์) 

อธิบดีกรมสรรพากร

การหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา
[8 ตุลาคม 2551 21:15 น.] จำนวนผู้เข้าชม 4896 คน

   
 
Tax Knowleage
- การหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา [8 ตุลาคม 2551 21:15 น.]
- มาตรการลดหย่อนภาษีให้ 1 ได้ถึง 2 [8 ตุลาคม 2551 21:07 น.]
- เลือกรูปแบบองค์กรและประเภทธุรกิจอย่างไร จึงจะมีประโยชน์สูงสุด ? [8 ตุลาคม 2551 20:24 น.]
- จ่ายค่ารับรองอย่างไร ไม่ถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม?? [21 กันยายน 2551 10:47 น.]
- รู้หรือไม่ ทุกวันนี้คุณชำระภาษีร้อยละเท่าไรของรายได้ [21 สิงหาคม 2551 04:21 น.]
- 8 กลวิธี 'ลดภาษี เพิ่มผลตอบแทน' ข้อที่ (8) [21 สิงหาคม 2551 03:29 น.]
- 8 กลวิธี 'ลดภาษี เพิ่มผลตอบแทน' ข้อที่ (7) [21 สิงหาคม 2551 03:26 น.]
- 8 กลวิธี 'ลดภาษี เพิ่มผลตอบแทน' ข้อที่ (6) [21 สิงหาคม 2551 03:23 น.]
- 8 กลวิธี 'ลดภาษี เพิ่มผลตอบแทน' ข้อที่ (5) [21 สิงหาคม 2551 03:21 น.]
- 8 กลวิธี 'ลดภาษี เพิ่มผลตอบแทน' ข้อที่ (4) [21 สิงหาคม 2551 03:18 น.]
ดูทั้งหมด
ดาวน์โหลด แบบฟอร์มลดหย่อนบิดามารดา และฟอร์มอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

อัพเดทล่าสุด