https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
กฏหมายคนรับใช้ ออกใหม่ล่าสุด MUSLIMTHAIPOST

 

กฏหมายคนรับใช้ ออกใหม่ล่าสุด


613 ผู้ชม


กระทรวงแรงงาน ออกกฎเพิ่มสิทธิให้คนรับใช้ในบ้าน โดยนายจ้างต้องให้ลูกจ้างมีวันหยุดประจำสัปดาห์ และวันพักร้อน ได้ 6 วัน/ปี และต้องหยุดตามประเพณี ปีละไม่น้อยกว่า 13 วัน

          เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา นายสุรพงษ์ กองจันทึก ประธานอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านชนชาติ ผู้ไร้สัญชาติ แรงงานข้ามชาติและผู้พลัดถิ่น สภาทนายความ กล่าวว่า กระทรวงแรงงานได้ออกกฎกระทรวงแรงงาน ฉบับที่ 14 (2555) ออกตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2555 เพื่อคุ้มครองผู้ใช้แรงงานรับใช้ในบ้าน โดยไม่เลือกว่าจะเป็นแรงงานที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ก็ตาม รวมทั้งครอบคลุมแรงงานทั้งชาวไทยและแรงงานข้ามชาติ

          ทั้งนี้ แรงงานรับใช้ในบ้านจะได้รับสิทธิคุ้มครองเพิ่มเติม 7 ข้อ ด้วยกัน ดังนี้

          1. ลูกจ้างต้องมีวันหยุดประจำสัปดาห์ ไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 1 วัน

          2. นายจ้างต้องกำหนดวันหยุดตามประเพณี ปีละไม่น้อยกว่า 13 วัน ซึ่งรวมวันแรงงานแห่งชาติด้วย และหากวันหยุดตามประเพณีตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์ ให้ลูกจ้างหยุดเป็นวันหยุดชดเชยเพิ่มอีก 1 วัน

          3. ลูกจ้างที่ทำงานครบ 1 ปี มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี ปีละไม่เกิน 6 วันทำงาน

          4. ลูกจ้างมีสิทธิ์ลาป่วยตามที่ป่วยจริงได้ และหากลา 3 วันขึ้นไป นายจ้างสามารถขอใบรับรองแพทย์ยืนยันจ้างลูกจ้างได้

          5. กรณีลูกจ้างเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างให้กับเด็กโดยตรง

          6.ลูกจ้างที่ทำงานในวันหยุด ต้องได้รับเงินค่าจ้างด้วย 
          7.ลูกจ้างต้องได้ค่าจ้างในวันที่ลาป่วย โดยไม่เกิน 30 วันทำงาน

          นายสุรพงษ์ กล่าวต่อว่า แม้ ผู้ใช้แรงงานในบ้านจะได้รับสิทธิเพิ่มเติม 7 ข้อ แต่ใน พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ยังมีอยู่หลายข้อที่จำกัดสิทธิผู้ใช้แรงงานในบ้าน เช่น เรื่องค่าแรงขั้นต่ำ การคุ้มครองการทำงานไม่เกินวันละ 8 ชั่วโมง การลากิจ เป็นต้น ซึ่ง เรื่องเหล่านี้อาจทำให้ประเทศไทยถูกจับตามองจากต่างชาติว่าละเมิดสิทธิมนุษย ชน และอาจมีผลกระทบเรื่องการค้า และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

 

อัพเดทล่าสุด