https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ธุรกิจ กิจการ บริหารธุรกิจ ทำไงดี ถ้าคุณกำลัง จะเป็นหนึ่งในคนตกงาน MUSLIMTHAIPOST

 

ธุรกิจ กิจการ บริหารธุรกิจ ทำไงดี ถ้าคุณกำลัง จะเป็นหนึ่งในคนตกงาน


749 ผู้ชม


ประเทศไทยมีรายได้หลักจากการท่องเที่ยวและส่งออก แต่ด้วยสงครามม้วนเดียวจบ ก็จบจริงๆ เหตุการณ์ปิดสนามบินสุวรรณภูมิพลิกไฮซีซัน 30 วันสุดท้ายของปี ให้กลายเป็นโลว์ซีซันไปแบบเห็นๆ รายได้ 4-5 แสนล้านบาทหายวับ ประเมินด้วยส้นมือแล้ว ปีหน้าของพี่น้องทุกท่านอาจลำบากกว่าที่คาดคิด

เพราะคาดการณ์ตัวเลขคนตกงานจะไม่ต่ำกว่า 1 ล้านคน ไม่อยากคิดแต่ต้องคิด เพราะเราทุกคนมีสิทธิเป็นหนึ่งในล้านคนตกงานปีหน้าด้วยกันทั้งนั้น...ฮา (ไม่ค่อยออก)

เตรียมรับมือภาวะตกงาน

ดร.สุวรรณ วลัยเสถียร ประธานชมรมคนออมเงิน ในฐานะกูรูเรื่องเงินๆ ทองๆ กล่าวว่า สิ่งสำคัญอันดับแรกที่ต้องทำก็คือ การพยายามทำตัวเองไม่ให้ตกงานเสียก่อน

1.ต้องทำงานให้มากกว่ามาตรฐานของงาน ยกคุณภาพการทำงานให้เหนือระดับ เพื่อสร้างความแตกต่างให้ตัวเองด้วยการเป็นพนักงานเกรดเอ เช่น ในเรื่องของเวลาการทำงาน สมมติออฟฟิศเข้างาน 08.00 น. เลิกงาน 17.00 น. ก็ต้องเปลี่ยนตัวเองให้มาทำงาน 07.00 น. เลิกงาน 18.00 น. ทำฟรี ไม่ต้องขอค่าล่วงเวลา

ถ้าเป็นอย่างนี้แล้ว หากบริษัทจำเป็นต้องให้พนักงานออกจริงๆ เขาก็อาจพิจารณาเริ่มต้นจากพนักงานที่ทำงานเช้าชามเย็นชามก่อน ตัวเราก็จะปลอดภัยในระดับหนึ่ง

2.ขยันทำงาน และเก่งในงานที่ทำ หมายถึงว่า มาตรฐานของงานปกติก็ไม่บกพร่อง ขณะเดียวกันเราต้องขวนขวายปรับปรุงตนในทักษะหนึ่งทักษะใด เพื่อให้สอดคล้องกับงานที่ทำ เช่น ทำงานบริษัททัวร์ ต้องมีความสามารถในภาษาหลายภาษา ตั้งแต่ภาษาอังกฤษ ภาษาที่สอง ภาษาที่สาม เป็นต้น เมื่อมีความรู้ความชำนาญพิเศษในงาน ก็ยากที่บริษัทจะเอาเราออก เพราะเขาจำเป็นต้องพึ่งพาในทักษะหรือความเชี่ยวชาญพิเศษที่เรามี แต่พนักงานคนอื่นไม่มี

3.ลดโอกาสหรือปิดช่องไม่ให้มีการตกงาน พนักงานทุกคนต้องร่วมแรงร่วมใจช่วยองค์กร หรือบริษัทให้มีลูกค้ามากๆ บริษัทมีรายได้ ก็จะมีเงินมาจ่ายเงินเดือนพนักงาน ต้องมีความคิดริเริ่ม หาโอกาสและช่องทางสร้างรายได้ใหม่ๆ ให้บริษัท กระตือรือร้น เรียกง่ายๆ ว่า ต้องเก่งมากกว่าที่เขาอยากได้ 
ตั้งสำรองเงินสด 1 ปี!!

แต่ถ้าเคราะห์หามยามร้าย เป็นหนึ่งในล้านคนตกงานปีหน้าขึ้นมาจริงๆ กูรูการเงินกล่าวแนะว่า สิ่งที่ต้องทำมี 2 เรื่อง

1.หางานใหม่ให้เร็วที่สุด

2.วางแผนทางการเงิน ตั้งสำรองเงินสดเพิ่มจาก 3-6 เดือน เป็น 6 เดือน-1 ปี

สำหรับเรื่องแรก-การหางานใหม่ ภาวะปัจจุบันอาจไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะในช่วงเดือนมี.ค.-เม.ย. ของทุกปี ซึ่งจะมีบัณทิตจบใหม่เพิ่มในตลาดแรงงานอีกไม่ต่ำกว่า 1 แสนคน เพราะฉะนั้นหากต้องการหางานใหม่ให้เร็ว ก็ต้องยอมทำงานแบบหนักเอาเบาสู้ คือไม่เลือกงาน งานอะไรมีก็ทำไว้ก่อน หรือยอมทำงานในอัตราเงินเดือนที่ถูกลง


ส่วนการวางแผนทางการเงิน ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำอย่างยิ่ง (แม้ไม่ใช่ในภาวะตกงาน) การบริหารจัดการทางการเงิน ต้องทำทั้งเงินในกระเป๋าของตัวเองและกระเป๋าของครอบครัว สำหรับช่วงวิกฤตเลิกจ้างปีหน้ามีคำแนะนำดังนี้

1.กันเงินสดสำรองไว้อย่างน้อยเท่ากับรายจ่าย (จริง) 6-12 เดือน จากภาวะเศรษฐกิจปกติอาจตั้งสำรองเพียง 3-6 เดือนได้ แต่ในยามที่โลกมีวิกฤตการเงินและแนวโน้มยืดเยื้อถึงปลายปีหน้า ก็จำเป็นต้องตั้งสำรองเพิ่มขึ้นเท่าตัว เช่น ถ้าคุณมีรายจ่ายประจำเดือนละ 1.5 หมื่นบาท ก็ต้องตั้งสำรองเงินสดไว้ไม่ต่ำกว่า 1.8 แสนบาท เงินก้อนนี้ต้องสัญญากับตัวเองว่าจะไม่นำออกมาใช้ เสมือนเป็นเงินนอกบัญชีที่จะนำมาใช้ยามฉุกเฉิน ซึ่งก็คือยามที่จะต้องตกงานขึ้นมาจริงๆ นี่แหละ

2.อย่าเป็นหนี้บัตรเครดิต ถ้ามีต้องรีบชำระให้หมด เนื่องจากดอกเบี้ยบัตรเครดิตสูงมาก และในภายหลังจะกลายเป็นหนี้ที่ยากสลัดตัดทิ้ง

3.คิดให้ถ้วนถี่ก่อนก่อหนี้ระยะยาว ทางที่ดีรอจนกว่าเศรษฐกิจมีแนวโน้มชัดเจนกว่านี้ คนที่ยังไม่มีภาระผ่อนบ้าน เลิกคิดเรื่องซื้อบ้านไปก่อนชั่วคราว ส่วนคนที่มีภาระอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นภาระผ่อนบ้านผ่อนรถ ผ่อนมือถือ โทรทัศน์จอแบน ฯลฯ ต้องตัดสินใจให้ดีว่าอะไรสำคัญกับชีวิต บ้านสำคัญแน่ เพราะถ้าไม่มีบ้านจะไปอยู่ที่ไหน แต่นอกเหนือจากนี้อะไรที่ไม่สำคัญอาจต้องยอมให้เขายึดไป เพื่อลดภาระ

4.ควบคุมรายจ่ายที่ไม่จำเป็น อะไรประหยัดได้ต้องประหยัด เรื่องน้ำไฟไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย ต้องช่วยกันทั้งบ้าน ดูแลค่าใช้จ่ายเป็นรายตัว อะไรที่ไม่จำเป็นต้องตัดทิ้ง ในแง่ของการลงทุน LTF หรือ RMF จะลงทุนก็ต่อเมื่อเรามีเงินออม ในช่วงนี้จึงอาจต้องหยุดไปก่อน RMF คงซื้อได้ขั้นต่ำหรือพักได้ปีเว้นปี

6.หารายได้เสริม เพราะรายได้หลักก็หายไปแล้ว ทำเท่าที่จะทำได้

7.ในยามนี้สุขภาพสำคัญที่สุด ดูแลสุขภาพและดูแลเรื่องประกันสุขภาพ

8.เปิดหูเปิดตาติดตามข้อมูลทางการเงินเสมอ

ถ้าคุณเป็นนายจ้าง 
ในฝ่ายของนายจ้าง ต้องดูใน 2 เรื่อง

1.ดูแลธุรกิจ เพิ่มยอดขายลดรายจ่าย ปรับตัวเพื่อความอยู่รอด ขณะเดียวกันต้องพยายามสงวนกระแสเงินสดเอาไว้ให้มากที่สุด ต้องคิดให้ได้ว่าเราจะอยู่รอดได้อย่างไร เช่น ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ตอาจต้องปรับธุรกิจใหม่ จากที่มีรายได้ค่าห้องพัก ก็หันมาเน้นด้านอื่นแทน เช่น รายได้จากการจัดเลี้ยง หรืออาหารเครื่องดื่ม ปรับเมนูใหม่ให้สอดคล้องกับลูกค้า ปรับคุณภาพอาหาร หรือลดราคาลงมา เป็นต้น

2.ดูแลพนักงาน นายจ้างต้องแฟร์ และให้ความเป็นธรรมกับลูกจ้าง นายจ้างบางรายทำหนังสือเลิกจ้างไว้ หรือบีบให้ลูกจ้างเซ็นใบลาออกเอง เพราะอยากรักษาหน้าตัวเองว่าไม่ได้ทำธุรกิจล้มเหลว ทั้งๆ ที่การทำเช่นนั้นทำให้ลูกจ้างได้รับเงินประกันสังคมลดลงหลายสิบเปอร์เซ็นต์ หากมีความจำเป็นให้พนักงานออกจริงๆ ควรเห็นใจอกเขาอกเรา ดูแลเขาตามสมควร เลิกจ้างแบบตรงไปตรงมาดีที่สุด และน่านับถือที่สุด
ที่มา https://guru.thaibizcenter.com/articledetail.asp?kid=1229

อัพเดทล่าสุด