https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ธุรกิจ บริหารธุรกิจ กลยุทธ์ 7 วิธีต่อสู้ กับ วิกฤติเศรษฐกิจ MUSLIMTHAIPOST

 

ธุรกิจ บริหารธุรกิจ กลยุทธ์ 7 วิธีต่อสู้ กับ วิกฤติเศรษฐกิจ


670 ผู้ชม


   ในช่วงเศรษฐกิจที่ตกต่ำทั่วโลกเช่นนี้ คงต้องยอมรับความจริงที่ว่า ความต้องการในตลาดลดลงทำให้ธุรกิจหลายรายประสบความล้มเหลว ถึงขั้นต้องปิดกิจการ ลองมาดูเกร็ดความรู้ที่อาจจะช่วยได้ในยามนี้
 
ธุรกิจ บริหารธุรกิจ กลยุทธ์ 7 วิธีต่อสู้ กับ วิกฤติเศรษฐกิจ
       1. พยายามรักษาการไหลเวียนของเงินสดไว้ให้ดี (Protect your cash flow) กระแสเงินสดเปรียบเสมือนเลือดที่หล่อเลี้ยงธุรกิจ เพื่อให้ธุรกิจยังคงมีชีวิตอยู่ได้ เงินสดจำเป็นต้องมีการไหลเวียนอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเจอกับวิกฤติเช่นใดก็ตาม เพราะฉะนั้น ในช่วงนี้ธุรกิจต้องให้ความสำคัญอย่างมากกับการดำเนินกลยุทธ์เพื่อคงสภาพของกระแสเงินสดไว้ให้มีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา
       
       2. ทบทวนวิธีปฎิบัติเกี่ยวกับการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง (Review your inventory management practices) เพื่อเป็นการลดต้นทุนทางธุรกิจโดยไม่ต้องลดคุณภาพของสินค้าและบริการ หรือลดการอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า สิ่งที่ต้องทบทวนโดยการตอบคำถามที่ว่า ธุรกิจมีการสั่งซื้อสินค้าเข้ามามากเกินไปในแต่ละครั้งหรือไม่ ? รายการสินค้าที่ซื้อเข้ามานั้นมีที่อื่นที่จะสามารถซื้อมาได้ในราคาถูกกว่าหรือไม่ ?
       มีวิธีการอื่นไหมในการส่งสินค้าที่ช่วยลดขั้นตอนการขนส่งและลดต้นทุนสินค้าคงคลัง ? ถึงเวลาที่ธุรกิจต้องทบทวนสิ่งเหล่านี้ โดยไม่จำเป็นที่จะต้องยึดติดอยู่กับซัพพลายเออร์เดิม หรือวิธีการเดิมในการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง ตราบใดที่สิ่งใหม่ๆ จะสามารถช่วยให้ประหยัดต้นทุนได้เพิ่มขึ้น
       
       3. เน้นเฉพาะสินค้าและบริการหลักของธุรกิจเท่านั้น (Focus on your core competencies) การสร้างให้เกิดความหลากหลายในสินค้าและบริการ ก็เป็นหลักการบริหารจัดการอีกวิธีหนึ่งที่มักจะมีการแนะนำเพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับธุรกิจ แต่ในภาวะที่ทุกอย่างต้องทำด้วยความระมัดระวังเช่นนี้ การทุ่มเวลาและทรัพยากรทั้งหมดที่มีอยู่มาให้ความสำคัญเฉพาะสิ่งที่ธุรกิจทำได้ดีที่สุด และสามารถทำกำไรให้ธุรกิจมากที่สุดดีกว่า
       4. พัฒนากลยุทธ์สำหรับการแย่งชิงลูกค้าจากคู่แข่งขัน (Develop and implement strategies to get your competition’s customers) ถ้าธุรกิจต้องการที่จะรุ่งโรจน์ในช่วงวิกฤติเช่นนี้ สิ่งหนึ่งที่จะต้องทำคือ การขยายลูกค้า หรือฐานลูกค้าออกไป ซึ่งนั่นหมายถึง การฉกฉวยเอาลูกค้าของคู่แข่งขันในธุรกิจมาไว้ในมือ สิ่งที่จะทำได้ก็โดยหาและสร้างสิ่งที่แตกต่างจากคู่แข่งขันให้ได้ มีการวิจัยเกี่ยวกับสถานการณ์การแข่งขัน โดยเฉพาะตัวคู่แข่งขัน เพื่อดูว่า อะไรที่จะสามารถนำเสนอแล้วดึงดูดความสนใจให้ลูกค้าหันมาใช้สินค้าและบริการของธุรกิจเรา การให้บริการที่ดีแก่ลูกค้าเพิ่มขึ้นอาจเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดวิธีหนึ่งในการฉกฉวยลูกค้ามาจากคู่แข่ง
       
       5. รักษาลูกค้าที่มีอยู่ไว้ให้มากที่สุด (Make the most of the customers/clients you have) การรักษาลูกค้าเดิมไว้นับเป็นสิ่งสำคัญในยุคปัจจุบัน ทั้งนี้เนื่องจาก โอกาสที่เขาและเธอจะเพิ่มยอดซื้อในสินค้ามีมากกว่าการที่จะเสียต้นทุนในการค้นหาลูกค้ารายใหม่ หลักการบริหารจัดการอันหนึ่งที่ถูกนำมาใช้ในกรณีนี้คือ การบริหารจัดการลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Relation Management : CRM)
       
       6. ทำการตลาดอย่างต่อเนื่อง (Continue to market your business) ในภาวะรัดเข็มขัด ธุรกิจหลายแห่งหันมาตัดงบประมาณทางด้านการโฆษณาลง ซึ่งหารู้ไม่ว่าในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจเช่นนี้ การตลาดเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะเป็นช่วงที่ผู้บริโภคกำลังอยู่ระหว่างการตัดสินใจที่จะเปลี่ยนแปลงการซื้อสินค้าและบริการ ธุรกิจจะต้องช่วยให้ผู้บริโภคได้หันมาสนใจและเลือกใช้สินค้าและบริการที่ธุรกิจมี มากกว่าที่จะปล่อยให้ผู้บริโภคตัดสินใจเอง ถ้าเป็นไปได้ ควรเพิ่มความพยายามในการทำการตลาดมากขึ้นกว่าเดิมเสียด้วยซ้ำ
       
       7. รักษาเครดิตส่วนบุคคลไว้ให้คงอยู่ (Keep your personal credit in good shape) ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ การกู้ยืมเงินโดยเฉพาะกับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ดูจะเป็นเรื่องยาก แต่ถ้าคุณมีเครดิตส่วนบุคคลที่ยังพอไปได้ อาจจะเป็นหนทางหนึ่งที่ช่วยให้ธุรกิจมีเงินทุนหมุนเวียนเพิ่มขึ้น

ที่มา https://guru.thaibizcenter.com/articledetail.asp?kid=1236

อัพเดทล่าสุด