https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
จีน เศรษฐกิจ พัฒนา ครบรอบ 60 ปี พัฒนาการทางเศรษฐกิจของจีน MUSLIMTHAIPOST

 

จีน เศรษฐกิจ พัฒนา ครบรอบ 60 ปี พัฒนาการทางเศรษฐกิจของจีน


1,056 ผู้ชม


 ภายหลังจากการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยในปี ค.ศ. 1911 (2454) เป็นสาธารณรัฐจีนโดยการนำของ ดร.ซุน ยัดเซน หัวหน้าพรรคก๊กมินตั๋ง ทำให้อำนาจการปกครองของราชวงศ์ชิงซึ่งเป็นราชวงศ์สุดท้ายของจีนสิ้นสุดลง ในช่วงต่อมา จีนยังคงเผชิญกับสงครามกลางเมืองและการล่าอาณานิคม จนเมื่อภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติลง ในวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1949 (2492) เหมา เจ๋อตุง ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีน ได้ปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองอีกครั้งจากระบอบสาธารณรัฐประชาธิปไตย เข้าสู่ระบอบสังคมนิยมหรือคอมมิวนิสต์ เป็นสาธารณรัฐประชาชนจีน เริ่มพัฒนาโดยการใช้ระบบเศรษฐกิจแบบโซเวียตซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญต่อแผนพัฒนาการทางเศรษฐกิจของจีน โดยวางแผนตรงจากรัฐบาลกลางไปยังภูมิภาค ปฏิวัติการเกษตรในชนบทและขยายเข้าสู่เมือง ให้ความสำคัญกับชนชั้นผู้ใช้แรงงานและเกษตรกร เป็นศัตรูกับชนชั้นนายทุน ยึดที่ดินของเอกชนมาเป็นของรัฐและใช้ระบบการผลิตแบบนารวม (หรือคอมมูน) ชาวนามีฐานะเป็นแรงงานของรัฐ โดยไม่มีภาคเอกชนหรือระบอบทุนนิยม ซึ่งเป็นระบบที่สอดคล้องกับการกำหนดนโยบายด้านแรงงาน วัตถุดิบและการเงินต่อการพัฒนาเศรษฐกิจระดับมหภาคในขณะนั้น เพื่อสนองตอบความเป็นอยู่ของประชากรที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก รวมถึงวางโครงสร้างปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นต่อการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมเหล็ก เครื่องจักรกล เคมี ส่งผลให้ตัวเลขทางเศรษฐกิจจีนเติบโตเพิ่มขึ้น เป็นนโยบายก้าวกระโดดไกลเพื่อผลักดันให้จีนเป็นประเทศสังคมคอมมิวนิสต์ที่ทันสมัยและก้าวหน้าทางอุตสาหกรรม อย่างไรก็ดี ระบบดังกล่าวทำให้ละเลยต่อกลไกทางตลาด ทำให้ประชาชนขาดความกระตือรือล้นเพราะได้รับค่าตอบแทนเท่ากัน มีสภาพความเป็นอยู่ส่วนใหญ่ลำบากยากจนเหมือนกัน รัฐเข้าไปควบคุมและบริหารจัดการหน่วยงานรัฐวิสาหกิจมากเกินไป ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานถดถอยลงในภาวะที่เรียกว่า “คอขวด” เกิดการขาดแคลนวัตถุดิบในการผลิต เช่น ถ่านหิน ไฟฟ้า ก๊าซธรรมชาติ เหล็ก และการขนส่ง รวมทั้งขาดแคลนอาหารและสินค้าอุปโภคและบริโภคด้วย ระบบเศรษฐกิจแบบนี้ จึงได้กลายเป็นความหมายของความยากจนและการถอยหลังเข้าคลอง

สังคมนิยมระบบทุนนิยม : ค.ศ. 1978 (2521)-ปัจจุบัน

          เติ้ง เสี่ยวผิง ผู้นำจีนคนต่อมา เปลี่ยนนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจควบคู่กับการปรับโครงสร้างทางสังคมและเปิดสู่โลกภายนอกมากขึ้น เปลี่ยนแปลงวิธีการบริหารงานและแนวคิด เริ่มสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับสหรัฐอเมริกา ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1979 (2522) การปฏิรูปเศรษฐกิจเริ่มจากสังคมเกษตรกรรมโดยยกเลิกการควบคุมจากรัฐบาลกลาง ให้อิสระแก่เกษตรกรในการใช้ที่ดินเพื่อการเกษตร กำหนดแผนการเพาะปลูกพืชและจัดจำหน่ายได้เองให้เป็นไปตามราคากลไกของตลาดโดยรัฐให้ความช่วยเหลือด้านการเงิน ต่อมาจีนได้ขยายการปฏิรูปมาสู่สังคมเมืองในภาคอุตสาหกรรมสาขาต่างๆ ส่งผลให้สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจปรับปรุงไปในทิศทางที่ดีขึ้น แต่ยังคงระบบการปกครองเป็นสังคมนิยมเหมือนเดิม เพียงแต่ให้ความสำคัญและยอมรับระบบตลาดทุนนิยมมากขึ้น เปลี่ยนแปลงการควบคุมโดยตรงเป็นโดยอ้อม เช่น เปิดรับการลงทุนจากต่างชาติเพื่อให้คนจีนมีงานทำ อนุญาตให้2

          ภาคเอกชนดำเนินธุรกิจได้อิสระ ทำให้เกิดการเชื่อมโยงทั้งจากตลาดในชนบทและในเมือง ตลาดภายในและต่างประเทศ เกิดการหมุนเวียนของสินค้า เงินทุน แรงงาน บริการและเทคโนโลยี นอกจากนี้ ยังได้ปฏิรูปรัฐวิสาหกิจโดยมุ่งเน้นไปที่วิสาหกิจขนาดใหญ่เป็นสำคัญ เพื่อให้เป็นเสาหลักทางเศรษฐกิจให้แข่งขันได้ในตลาดโลก สำหรับรัฐวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็กที่ประสบปัญหา จีนได้เข้าไปฟื้นฟูโดยการปรับโครงสร้างกิจการด้วยการให้เช่าหรือขาย สำหรับบางกิจการที่ไม่สามารถแก้ไขได้ ได้ทำการควบรวมหรือยกเลิกกิจการ เพื่อให้ระบบเศรษฐกิจฟื้นตัวได้อย่างสมบูรณ์

นโยบายเศรษฐกิจจีนต่อการเปิดสู่โลกภายนอก

          จีนดำเนินนโยบายเปิดประตูสู่โลกภายนอกจากเริ่มจากพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ภาคตะวันออกเป็นสำคัญเนื่องจากมีพรมแดนติดทะเลเป็นแนวยาว ในปี ค.ศ.1980 (2523) จัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษเป็นครั้งแรกจำนวน 5 แห่ง ได้แก่ เซินเจิ้น จูไห่ ซัวเทา เซิ้ยะเหมิน และ ไหหลำ กระจายอำนาจให้แต่ละมณฑลบริหารงานได้อย่างอิสระภายใต้นโยบายของรัฐบาลกลาง ลักษณะสำคัญของเขตเศรษฐกิจพิเศษ คือ 1.สร้างปัจจัยพื้นฐานและสิ่งแวดล้อมที่จำเป็นเพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ 2.ลงทุนแบบรัฐร่วมทุนและหุ้นส่วนหรือต่างชาติเป็นเจ้าของ 3.ผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกเป็นหลัก 4.ระบบเศรษฐกิจเป็นไปตามกลไกของตลาด โดยจีนเร่งส่งเสริมการผลิตในอุตสาหกรรมที่สำคัญ คือ เหล็กและเหล็กกล้า อู่ต่อเรือ เหมืองถ่านหิน อิเล็กทรอนิกส์ เคมีภัณฑ์ พลาสติก ยานยนต์ สิ่งทอ และการขนส่ง ในปี ค.ศ.1984 (2527) จีนขยายเขตเศรษฐกิจพิเศษเพิ่มอีก 14 แห่ง และทยอยเปิดพื้นที่ชายแดนและที่ราบลุ่มแม่น้ำสายสำคัญเป็นเขตเศรษฐกิจ ได้แก่ เขตปลอดภาษี 15 แห่ง เขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีแห่งชาติ 47 แห่ง และเขตพัฒนาอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูง 53 แห่ง ในปี ค.ศ.1990 (2533) จีนพัฒนาเมืองเซี่ยงไฮ้ ผู่ตง เป็นพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญบริเวณลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง โดยอนุญาตให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนเพื่อการส่งออกและจัดตั้งสถาบันการเงินของต่างชาติ มอบอำนาจการปกครองแบบท้องถิ่นสำหรับการจัดตั้งตลาดหลักทรัพย์และส่งเสริมการลงทุนแก่ต่างชาติ เพื่อพึ่งพาการนำเข้าเทคโนโลยี โดยเลือกสิ่งที่ก้าวหน้าไม่มากนัก ซึ่งอาจดูล้าหลังในสากล แต่ถือว่าทันสมัยอย่างมากสำหรับจีน และได้รับความนิยมสูงในขณะนั้น เช่น รถยนต์ จักรยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน ตอมาจีนก้าวกระโดดนำเข้าเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้น เช่น ชีวภาพ อิเล็กทรอนิกส์ การสื่อสาร อวกาศ ซึ่งต่อมากลายเป็นความร่วมมือการพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมที่สำคัญในปัจจุบัน กล่าวกันว่า สิ่งของที่จำเป็นสำหรับชาวจีนในแต่ละยุค มีพัฒนาการตามรูปแบบทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน เช่น นาฬิกา จักรยาน และจักรเย็บผ้า สำหรับยุค 1960 โทรทัศน์ ตู้เย็น และวิทยุ สำหรับยุค 1970 คอมพิวเตอร์ รถยนต์ และบ้านพักอาศัย สำหรับยุค 1980 และ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ สินค้าฟุ่มเฟือย การท่องเที่ยว สำหรับยุคปัจจุบัน เป็นต้น นอกจากนี้ สิ่งสำคัญที่แสดงถึงการเปิดตัวสู่โลกภายนอก คือ การเข้าเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก (World Trade Organization : WTO) ของจีนในปี ค.ศ.2001 (2544) ส่งผลให้จีนต้องปรับตัวเพื่อเปิดเสรีการค้ากับต่างประเทศมากขึ้น อย่างไรก็ดี จีนไม่ได้ละเลยต่อภาคการเกษตร ยังคงให้ความสำคัญโดยการปรับโครงสร้างภาคเกษตรกรรม ลงทุนด้านการเงิน พัฒนาและวิจัยเทคโนโลยีการเกษตร รวมถึงการปรับปรุงระบบเพื่อปกป้องสินค้าเกษตรกรรม ดังนั้น ระบบเศรษฐกิจของจีนในปัจจุบันจึงมีความหลากหลายประกอบเข้าด้วยกันทั้งจากภาครัฐและเอกชน คือ 3

          หน่วยงาน/บริษัทที่รัฐเป็นเจ้าของ หน่วยงาน/บริษัทที่รัฐเข้าควบคุมหุ้น หน่วยงาน/บริษัทร่วมทุน บริษัทที่ลงทุนโดยต่างชาติ บริษัทที่ลงทุนโดยฮ่องกง มาเก๊าหรือไต้หวัน และบริษัทเอกชนโดยตรง เป็นต้น

ความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจในรอบ 60 ปี

 
          นับตั้งแต่เริ่มมีการพัฒนาทางเศรษฐกิจในช่วงเวลา 60 ปีพบว่า การลงทุนและการส่งออกของจีนเติบโตขึ้นถึง 70 เท่า ทำให้จีนกลายเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจที่เติบโตเร็วที่สุด ในปี ค.ศ.2008 (2551) ผลิตภัณฑ์มวลรวมของจีน (GDP) สูงเป็นอันดับสามของโลกที่ 4,327 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ อัตราการเติบโตอยู่ที่ร้อยละ 9.6 เป็นเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลกรองจากสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น แต่รายได้ต่อหัวมีค่าเฉลี่ยเพียง 3,259 เหรียญสหรัฐฯ ซึ่งยังคงตามหลังประเทศอื่นๆถึงอับดับที่ 104 เนื่องมาจากจำนวนประชากรที่มากถึง 1.33 พันล้านคน อย่างไรก็ดีมูลค่าเงินสำรองระหว่างประเทศของจีนมีมากที่สุดในโลกกว่า 1,800 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (อันดับ 1 เคยเป็นญี่ปุ่น) และนับตั้งแต่เข้าเป็นสมาชิกของ WTO จีนมีปริมาณการค้าในปี ค.ศ. 2008 (2551) สูงเป็นอันดับสามของโลกรองจากสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ด้วยมูลค่าการค้าระหว่างประเทศ 2,561 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แบ่งเป็นมูลค่าการส่งออก 1,428 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมูลค่าการนำเข้า 1,133 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีคู่ค้าที่สำคัญคือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ฮ่องกง เกาหลีใต้ สหภาพยุโรปและอาเซียนตามลำดับ และมีแนวโน้มการค้าที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยปริมาณการค้าร้อยละ 70 เป็นผลมาจากกระแสการลงทุนของบริษัทต่างประเทศ ที่ย้ายฐานการผลิตในเอเชียมายังจีนเพื่อผลิตสินค้าและส่งออกภายใต้ฉลาก “Made in China” โดยจีนเป็นประเทศยอดนิยมของการลงทุนจากต่างชาติอันดับ 2 ของโลก สามารถดึงเงินลงทุนได้มากกว่า 850 พันล้านเหรียญสหรัฐฯจาก 200 ประเทศ/ภูมิภาคทั่วโลก จีนมีนโยบายชัดเจนในการสร้างปัจจัยพื้นฐานและออกกฎหมาย/ระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่ออำนวยความสะดวกและสร้างบรรยายกาศที่เอื้อต่อการลงทุนจากต่างประเทศ โดยได้อนุมัติการลงทุนไปแล้วกว่า 6 แสนบริษัท ในส่วนของการลงทุนไปยังต่างประเทศ บริษัทของจีนได้ไปลงทุนแล้วกว่า 30,000 บริษัท ใน 170 ประเทศ/ภูมิภาคทั่วโลก โดยสาขาอุตสาหกรรมที่จีนส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไปลงทุน คือ โทรคมนาคม ยานยนต์ การก่อสร้างปัจจัยพื้นฐาน เช่น ถนน สะพาน การบรรเทาภัยพิบัติ และการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ทั้งนี้ เขตการค้าเสรี (FTA) คือกุญแจสำคัญสำหรับความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างจีนกับต่างประเทศ โดยให้ความสำคัญกับกลุ่มประเทศอาเซียนในฐานะประเทศเพื่อนบ้านที่ใกล้ชิดกันเป็นสำคัญ และได้จัดทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน (ASEAN-China Free Trade Agreement : ACFTA) เมื่อปี ค.ศ. 2004 (2547) นับเป็นข้อตกลงการค้าเสรีฉบับแรกของจีนที่เปิดประตูสู่ตลาดต่างประเทศ ซึ่งจีนคาดหวังประโยชน์จากอุตสาหกรรม ยานยนต์ เครื่องจักรกล อีเล็กทรอนิกส์ เหล็กและเหล็กกล้า เคมีภัณฑ์ และการต่อเรือ อย่างไรก็ดี พัฒนาการทางเศรษฐกิจที่ผ่าน จีนยังประสบปัญหาอยู่บ้าง เช่น การวิจัยและพัฒนาอยู่ในระดับไม่สูงมากนักเนื่องจากยังต้องพึ่งพาเทคโนโลยีและนวัตกรรมจากต่างประเทศ คุณภาพของสินค้าไม่ได้มาตรฐาน การลอกเลียนแบบสินค้าลิขสิทธิ์ และยังมีผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นป็นจำนวนมาก อีกด้วย 4

          ตลอด 60 ปีที่ผ่านมา การพัฒนาเศรษฐกิจและเปิดตัวสู่โลกภายนอกของจีนได้ผ่านการปรับโครงสร้างระบบเศรษฐกิจขนานใหญ่ เปลี่ยนแปลงการวางแผนพัฒนาจากรัฐบาลกลางสู่ระบบตลาดทุนนิยม จากสังคมเกษตรกรรมสู่สังคมอุตสาหกรรมและบริการ และจากการปิดตัวกับโลกภายนอกก้าวกระโดดเป็นส่วนสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจโลก โดยจีนได้วิเคราะห์ความสามารถของแต่ละอุตสาหกรรมที่มีอยู่และกำหนดนโยบายระยะยาวเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ซึ่งจีนยังคงไม่หยุดยั้งในการพัฒนาอีกหลายด้าน ก่อนก้าวสู่ความเป็นประเทศอุตสาหกรรมและทันสมัยของโลกอย่างแท้จริงต่อไป ซึ่งประเทศไทยควรใช้โอกาสจากความสัมพันธ์ที่มีกับจีนมายาวนานขยายความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจกับจีนมากกว่าที่จะแข่งขันกัน โดยสามารถประยุกต์แนวทางที่เป็นประโยชน์มาปรับใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจของไทยให้มีความก้าวหน้าเคียงคู่กันได้ต่อไป

ที่มา https://guru.thaibizcenter.com/articledetail.asp?kid=4678

อัพเดทล่าสุด