https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกชื่อว่าอะไร ความเป็นมาของคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลก MUSLIMTHAIPOST

 

เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกชื่อว่าอะไร ความเป็นมาของคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลก


1,589 ผู้ชม


เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกชื่อว่าอะไร ความเป็นมาของคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลก
ประวัติคอมพิวเตอร์เครื่องเเรกของโลก

คอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลก

   จอห์น ดับลิว มอชลีย์ (John W. Mauchly) และ เจ เพรสเพอร์ เอคเกิรต (J. Prespern Eckert) ได้รับทุนอุดหนุนจากกองทัพสหรัฐอเมริกา ในการสร้างเครื่องคำนวณ ENIAC เมื่อปี 1946 นับว่าเป็น "เครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรกของโลก หรือคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลก"
    ENIAC เป็นคำย่อของ Electronics Numerical Integrator and Computer เป็นเครื่องคำนวณที่มีจุดประสงค์เพื่อใช้งานในกองทัพ โดยใช้คำนวณตารางการยิงปืนใหญ่ วิถีกระสุนปืนใหญ่่ อาศัยหลอดสุญญากาศจำนวน 18,000 หลอด มีน้ำหนัก 30 ตัน ใช้เนื้อที่ห้อง 15,000 ตารางฟุต เวลาทำงานต้องใช้เวลาถึง 140 กิโลวัตต์ คำนวณในระบบเลขฐานสิบ เครื่อง ENIAC นี้มอชลีย์ ได้แนวคิดมาจากเครื่อง ABC ของอาตานาซอฟ
 

 เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกชื่อว่าอะไร ความเป็นมาของคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกชื่อว่าอะไร ความเป็นมาของคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลก

   ขนาดของเครื่อง ENIAC มีขนาดใหญ่เป็นกำลังสอง (Two orders of magnitude) เมื่อเทียบกับคอมพิวเตอร์ที่มีผลิตใช้งานในปัจจุบัน อีกทั้งยังทำงานได้ช้ากว่าคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมากกว่า 100,000 เท่า (Five orders of magnitude) โดยสามารถทำการบวกได้ 1,900 ครั้งต่อนาที เครื่อง ENIAC รองรับการทำงาน Conditional Jump และ สามารถโปรแกรมได้ ซึ่งเป็นข้อแตกต่างที่เด่นชัดเมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องคำนวณในยุคเดียวกัน การเขียนโปรแกรมทำโดยการเสียบสายต่อสายต่างๆ และการตั้งค่าตามสวิทช์ การป้อนข้อมูลทำโดยการใช้งานบัตรเจาะ การเขียนโปรแกรมแต่ละครั้งใช้เวลาตั้งแต่ครึ่งชั่วโมงถึงทั้งวัน เครื่อง ENIAC เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้งานได้หลากหลาย แต่มีข้อจำกัดเรื่องหน่วยความจำ และ การเขียนโปรแกรมที่ใช้เวลามาก

   ในปี 1944 John von Neumann ได้รับการชักชวนเข้าร่วมโครงการ ENIAC ระยะเวลาดังกล่าว กลุ่มนักวิจัยที่ทำงานได้มีการพูดคุยถึง วิธีการปรับปรุงการเขียน และบรรจุ โปรแกรมเข้าไปในเครื่อง และถึงแนวคิดของ Store Program จากการปรึกษาดังกล่าว John von Neumann ได้นำความคิดดังกล่าวมาตกผลึก และเขียนบันทึก แนวคิดของ Store Program เรียกว่า EDVAC (Electronic Discrete Variable Automatic Computer) จากนั้น Herman Goldstine ได้แจกจ่ายบันทึกดังกล่าวโดยมีชื่อของ John von Neumann เพียงชื่อเดียว มิได้ใส่ชื่อของ J. Presper Eckert และ John Mauchly ที่มีส่วนหลักในการทำงานด้วย บันทึกดังกล่าวเป็นที่มาของคำว่า von Neumann Computer ผู้บุกเบิกในสายของวิชาการคอมพิวเตอร์เป็นจำนวนมากเห็นว่าการแจกจ่ายบันทึก ดังกล่าว ที่ทำให้เกิดความเข้าใจเรื่องคำว่า ``von Neumann Computer'' เป็นการให้เกียรติ J. Presper Eckert และ John Mauchly ที่เป็นวิศวกรที่เป็นส่วนหลักในโครงการ ENIAC น้อยเกินไป และเป็นการให้เกียรติ John von Neumann มากเกินไป

ในปี 1946 Maurice Wilkes ที่มหาวิทยาลัย Cambridge ได้มาเยี่ยมชมที่ Moore School และเข้าร่วมรับฟังชุดการบรรยายเรื่องการพัฒนาของอีเล็กทรอนิกส์คอมพิวเตอร์ เมื่อ Maurice ได้กลับมาที่ Cambridge Wilkes ได้ตัดสินใจที่จะสร้างคอมพิวเตอร์ที่ชื่อว่า EDSAC (Electronic Delay Storage Automatic Calculator) ในปี 1949 เครื่อง EDSAC เริ่มใช้งานได้ และเป็นคอมพิวเตอร์ ที่สมบูรณ์แบบในลักษณะที่เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เต็มรูปแบบที่ทำงานได้ และมีการทำงานแบบ Store-Program

ที่มา : เว็บไซต์  learners.in.th

อัพเดทล่าสุด