https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
แก้ปัญหา -รู้ปัญหา โรคอินเตอร์เน็ต โรคติดอินเทอร์เน็ต เด็กติดอินเตอร์เน็ต MUSLIMTHAIPOST

 

แก้ปัญหา -รู้ปัญหา โรคอินเตอร์เน็ต โรคติดอินเทอร์เน็ต เด็กติดอินเตอร์เน็ต


1,365 ผู้ชม


แก้ปัญหา -รู้ปัญหา โรคอินเตอร์เน็ต โรคติดอินเทอร์เน็ต เด็กติดอินเตอร์เน็ต

แก้ปัญหา -รู้ปัญหา โรคอินเตอร์เน็ต โรคติดอินเทอร์เน็ต เด็กติดอินเตอร์เน็ต
ทุกวันนี้แบบทดสอบอาการเสพติดการใช้งานอินเตอร์เน็ต
หรือ เสพติดโลกออนไลน์ นั้นมีแพร่หลายพอสมควร เท่าที่สำรวจตรวจสอบข้อมูลมา พอสรุปอาการเบื้องต้นได้ 10 ข้อ ด้วยกัน
1. หยุดเล่นอินเตอร์เน็ตไม่ได้
ในกรณีนี้จะถือว่าอาการยิ่งรุนแรงมากขึ้น ถ้าเกิดเคยสัญญากับตัวเอง หรือ บุคคลอื่นว่าจะลดเวลาการออนไลน์ แต่ผลสุดท้ายก็ทำไม่ได้ตามที่ตั้งใจไว้
2. เริ่มโกหก
โกหกบุคคลรอบข้างว่าไม่ได้เล่นอินเตอร์เน็ต แต่จริงๆ แล้วพยายามทุกวิถีทางเพื่อหาโอกาสออนไลน์
3. สถานการณ์เริ่มเลวร้าย แต่ยังไม่รู้ตัว
เมื่อเสียเวลาอยู่ในโลกออนไลน์มากๆ เข้า ก็จะทำให้ไม่มีเวลาไปทำกิจกรรมอย่างอื่น ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน
4. มีพฤติกรรมผิดศีลธรรม
เวลาเข้าไปอยู่ในโลกออนไลน์ เริ่มกลายเป็นคนชอบโกหกหลอกลวง กล้าทำกล้าพูดในสิ่งผิดศีลธรรม เพราะรู้ว่าสามารถปกปิดสถานะที่แท้จริงของตัวเองได้
5. ไม่รู้เวลา
นั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เพื่อเล่นอินเตอร์เน็ตโดยไม่รู้เวลา จัดลำดับความสำคัญของการงาน หรือ การเรียนไม่ได้
6. ติดเน็ต-เหมือนติดยา
เวลาออนไลน์แล้วรู้สึกขัดแย้งในตัวเอง เช่น รู้ว่าการเล่นอินเตอร์เน็ตมากๆ เป็นสิ่งไม่ดี แต่ห้ามตัวเองไม่ได้ เพราะเสพติดไปแล้ว
7. ชีวิตขาด"เน็ต"ไม่ได้
แสดงปฏิกิริยาต่อต้านทันที เมื่อถูกบีบบังคับ หรือ จำเป็นต้องลดเวลาการออนไลน์
8. คิดอะไรไม่ออก
ขณะทำกิจกรรมต่างๆ เช่น รับประทานอาหาร ทำงาน อ่านตำรา ฯลฯ จะห้ามใจไม่ให้คิดถึงการเล่นอินเตอร์เน็ตไม่ได้
9. แยกตัว
เกิดอาการแยกตัวจากสังคม ไม่กล้าเผชิญหน้ากับชีวิตจริง โดยเข้าไปหลบตัวอยู่ในโลกของอินเตอร์เน็ตแทน
10. สิ้นเปลืองเงิน
สิ้นเปลืองเงินทองไปกับการอัพเกรดคอมพิวเตอร์ การอยู่ในโลกออนไลน์ หรือ ใช้จ่ายเงินหมดไปกับเวลาค่าใช้อินเตอร์เน็ตโดยไม่จำเป็น เหล่านี้เป็นแบบทดสอบเบื้องต้นเพื่อจะดูว่ามีอาการเสพติดอินเตอร์เน็ตหรือ ไม่
 

-----

โรคติดอินเตอร์เน็ต
             อินเทอร์เน็ตได้รับความนิยมแพร่หลายและ เจริญเติบโตอย่างทวีคุณมันกำลังจะทำให้ เกิดโรคใหม่ชนิดหนึ่ง ซึ่งแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว คือ "โรคติดอินเทอร์เน็ต"
             IAD = Internet Addiction Disease เมื่อเดือนธันวาคม ปี 1996 เป็นครั้งแรก ที่สื่อมวลชนเริ่มประโคมข่าวโรคติดอินเทอร์เน็ต โดยเกิดกลุ่มอาการทางจิตหลายอย่าง
             เนื่องมาจากการใช้เน็ตมากเกินไป เช่น ซึมเศร้า แยกตัวเอง ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม โรคติดอินเทอร์เน็ตนั้นก็คล้าย ๆ กับการติดสิ่งเสพติดต่างที่สร้างปัญหาให้เกิดกับอารมณ์ ร่างกาย สังคม ทำไมคนถึงติดอินเทอร์เน็ตได้?? เมื่อพิจารณาถึงธรรมชาติของอินเทอร์เน็ต จะพบว่าผู้ใช้เกิดความผูกพันกับเพื่อน On-line หรือกิจกรรมต่าง ๆ ในอินเทอร์เน็ต การใช้บริการทำให้เขาสามารถสร้างสังคมใหม่ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้อื่นในลักษณะที่ มีปฎิสัมพันธ์ได้เหมือนสังคมจริง (virtual - Community) นี้ เปิดโอกาสให้เขาได้หลีกหนี ความเป็นจริง ค้นพบวิธีที่จะเติมความต้องการ ทางอารมณ์ หรือ ทางจิตวิทยาที่หายไปได้ ในอินเทอร์เน็ตเขาสามารถปิดบังชื่อ อายุ อาชีพ เพศ รูปร่าง ลักษณะภายนอกได้ ด้วยเหตุนี้ผู้ใช้เน็ตที่มีความรู้สึกเปล่าเปลี่ยว ไม่มั่งคงผิดหวังหรือเจ็บปวดจากการใช้ชีวิตจริง จึงมาพบทางออกที่ปลดปล่อยความปรารถนา โลกแห่งความฝันเฟื่องที่ไม่มีขอบเขตจำกัด และทำให้จมดิ่มลงไปติดอินเทอร์เน็ต อย่างรวดเร็วและรุนแรง
ความผิดปกติที่เกิดขึ้นจากโรคติดอินเทอร์เน็ตแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มใหญ่ คือ
             1. Cybersexual Addiction การติด Adult Chat Room ผู้เป็นโรคติด อินเทอร์เน็ต หนึ่งในห้า จะเกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางเพศ on-line เช่นการดู Cyberporn หรือ เข้าร่วมใน Cybersex คนในกลุ่มนี้จะไม่มีความมั่นใจในตัวเอง Body Image ที่ผิดปกติ ความวิปริตทางเพศไม่ได้รับการรักษา หรือพวกที่หมกมุ่นทางเพศมาก ในกลุ่มเปล่านี้จะเกิดอาการเสพติด Cybersex ได้ง่ายมาก นอกจากนี้ Cybersex เป็นทางออกที่ปลอดภัย ค่าใช้จ่ายถูก และปราศจากโรคติดเชื้อ
             2. Cyber-Relationship Addiction คือการคบเพื่อนจาก Chat Room, Newsgroup นำมาทดแทนเพื่อนหรือครอบครัวในชีวิตจริง ตลอดจนถึงการพัฒนาไปสู่ภาวะชู้สาวที่เกิดขึ้น ทางอินเทอร์เน็ต
             3. Net Complusion คือภาวะการติดการพนัน การประมูลสินค้าการเสื้อขายทางเน็ต
             4. Information Overload ภาวะที่ทำการค้นหาข้อมูล และ Web Surfing ได้อย่างมากมายและไม่สามารถยับยั้งได้
             5. Computer Addition การใช้คอมพิวเตอร์ หรือการเล่นเกมทางคอมฯ ในลักษณะที่ไม่สามารถยับยั้งใจได้
อาการเตือนของการเริ่มติดอินเทอร์เน็ต สรุปได้ดังนี้
             1. มีความรู้สึกผูกพันกับเน็ตมาก เช่น คิดถึงแต่กิจกรรมทางเน็ตที่ผ่านมา ตั้งหน้ารอคอยการ on-line ครั้งต่อไป
             2. มีความรู้สึกจำเป็นต้องใช้เน็ตในประมาณเวลาที่มากขึ้น เพื่อให้บรรลุความพอใจของตน
             3. ประสบความล้มเหลวในการพยายามควบคุมลดหรือหยุดการใช้เน็ต
             4. หงุดหงิด ซึมเศร้า โกรธง่าย เมื่อพยายามลดหรือหยุดใช้เน็ต
             5. มักจะ on-line นานมากกว่าความตั้งใจเดิม
             6. สูญเสียด้านความสัมพันธ์กับครอบครัว บุคคลอื่น ๆ การงาน การเรียนหรืออาชีพ
             7. ใช้อินเทอร์เน็ตหลีกหนีปัญหาหรือความคับข้องใจ เช่น ความรู้สึกผิด ท้อแท้ ความวิตก
ปัญหาที่สำคัญในการรักษาโรคติดเน็ต ก็คือ
             การปฏิเสธว่าตัวเองไม่ติดเน็ตการรักษาแบบง่าย ๆ ก็คือ การดึงปลั๊กออก ตัดสายโมเด็ม หรือโยนเครื่องคอมพิวเตอร์ทิ้งไป ความสำคัญของวิธีการรักษาก็อยู่ที่การหาความสมดุลย์
ระหว่างการใช้เน็ตกับกิจวัตรประจำวัน อินเทอร์เน็ตมีประโยชน์มหาศาล ถ้านำมาใช้ให้ถูกวิธีและพยายามปรับปรุงจากการเรียนรู้ใหม่ เพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพ หรือเพื่อทำให้หายป่วยเร็วขึ้น

อัพเดทล่าสุด