โรคหัวใจเเละหลอดเลือด ตรวจโรคหัวใจ ราคา อาการโรคหัวใจเบื้องต้น MUSLIMTHAIPOST

 

โรคหัวใจเเละหลอดเลือด ตรวจโรคหัวใจ ราคา อาการโรคหัวใจเบื้องต้น


841 ผู้ชม


โรคหัวใจเเละหลอดเลือด ตรวจโรคหัวใจ ราคา อาการโรคหัวใจเบื้องต้น

โรคหัวใจและหลอดเลือด สาเหตุและการแก้ไข   

ปัจจุบันโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุการตายติดอันดับต้นๆ เข้าใกล้กับตัวเลขของอุบัติเหตุและมะเร็ง โดยพบว่า ผู้อายุเกิน 40 จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 50%
สาเหตุ
            เกิดจากภาวะหลอดเลือดแข็งตีบตัน โดยเฉพาะหลอดเลือดของหัวใจและสมอง หากเป็นกับเส้นเลือดหล่อเลี้ยงหัวใจ ทำให้หัวใจขาดเลือด ส่งผลให้หัวใจวาย
หากเป็นที่เส้นเลือดสมอง  จะเกิดโรคลมปัจจุบัน (stroke) หรือ เกิด CVA คือ เส้นเลือดในสมองแตกหรืออุดตัน ส่งผลให้เป็นอัมพฤกษ์หรือ อัมพาต

เหตุแห่งการตีบตันของหลอดเลือด

            มีหลายเหตุปัจจัย  การสูบบุหรี่  ภาวะอินซูลินสูงเรื้อรัง ขาดการออกกำลังกาย ขาดสารต้านอนุมูลอิสระ  ไขมันในเลือดสูง โดยเฉพาะจาก “โฮโมซิส เทอีน” (Homocysteine) อันเป็นผลลัพธ์จากการสันดาปของกรดอมิโน ที่ชื่อ เมธิโอนีน (Methionine)  ซึ่งพบมากใน เนื้อ นม  ไข่  ชีส แป้งขาว อาหารที่ผ่านความร้อนสูงและอาหารดัดแปลง
            ข้อสงสัยโฮโมซีสเทอีนว่าเป็นสาเหตุ เริ่มจากการตรวจผ่าพิสูจน์ เด็กอายุ 7 - 8 ขวบ ที่เสียชีวิตด้วยโรค “Homocysteinuria” (เป็นโรคที่พบโฮโมซิสเทอีนในปัสสาวะเรื้อรัง เนื่องจากมีระดับโฮโมซิสเทอีนในกระแสเลือดสูง จากพันธุกรรมบกพร่อง ในการเปลี่ยนเมธิโอนีนเป็นโฮโมซิสเทอีนอย่างไม่หยุด) พบว่าสาเหตุการตาย คือ เส้นเลือดอักเสบ แข็ง หรือลิ่มเลือดจับเป็นก้อนอุดตันทั้งในเส้นเลือดดำ (Venous Thrombosis) และเส้นเลือดแดง จึงเป็นที่มาแห่งแนวคิดว่าพยาธิสภาพของเส้นเลือดนั้นมาจากพิษของโฮโมซิสเทอีน ไม่ใช่โคเลสเตอรอลที่เคยเชื่อกัน
          
            โฮโมซิสเทอีนเป็นตัวกระตุ้นให้เส้นเลือดอักเสบ เลือดจับตัวเป็นก้อนได้ง่าย  ผนังเส้นเลือดแปรสภาพ ตีบ แข็ง เกิดการอุดตันง่าย ความดันขึ้นสูงง่ายเพราะเส้นเลือดขยายตัวได้ไม่ดี หัวใจต้องทำงานหนักขึ้น

            โดยปกติค่าโฮโมซิสเทอีนในกระแสเลือดไม่ควรเกิน 5 ไมโครโมลต่อลิตร หากมีถึง 7 เริ่มเข้าภาวะเสี่ยง หากพบถึง 12 ไมโครโมลต่อลิตร บ่งชี้ว่ามีนัยยะต่อการจะเกิดเส้นเลือดอักเสบ แข็ง อุดตัน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดอาการ ความดันสูง หัวใจโต เหนื่อย ขาดเลือด หัวใจวาย เสียชีวิต

จะขจัดโฮโมซีสเทอีนได้อย่างไร?

           วิธีที่ดูเหมือนง่ายแต่ได้ทำยาก คือ ลดการบริโภค เนื้อ นม ไข่    ชีส อาหารดัดแปลงให้น้อยลง และหากร่างกายมีโฮโมซีสเทอีนสูงอยู่แล้ว โดยเฉพาะผู้ที่อ้วนลงพุง ขาดการออกกำลังกาย เริ่มเจ็บหน้าอก เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก ความดันขึ้น คงยากที่จะใช้วิธีการจำกัดอาหารเพียงประการเดียว
            ในภาวะปกติ ร่างกายจะแปลงโฮโมซิสเทอีนไปเป็นซีสเทอีน (Cysteine) กับเมธิโอนีน   ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ด้วยกระบวนการ“Methylation” จากสารที่ให้ CH3 (Methyl group) หรือเป็น “Methyl donor”
            แนวทางคือหาสารกลุ่มเมทิล (Methyl donor) มาแปลงโฮโมซีสเทอีนให้กลับไปเป็นซีสเทอีนกับเมธิโอนิน ซึ่งมักใช้ Trimethylglycine – TMG, Dimethylglycine-DMG หรือ Tetramethylglycine (โคลีน)
รวมทั้งกระบวนการเมทิลเลชั่น (การให้เมทิลกรุ๊ป) จะเกิดขึ้นได้ต้องมีตัวเร่งปฏิกิริยา คือ กรดโฟลิค (โฟเลท) B6 และ B12 มาทำงานเป็นร่วมกันจึงจะเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการนี้ได้ดี             การวิจัยพบว่า ระดับของโฟเลท B6 และ B12 แปรผกผันกับระดับ   โฮโมซีสเทอีน และ โคลีน จะช่วยเพิ่มระดับ HDL ไขมันดี ลด LDL (ไขมันเลว) และไตรกลีเซอไรด์ – TG ซึ่งเป็นตัวการร้ายต่อเส้นเลือด โคลีนร่วมกับบีรวม จึงเป็นเครื่องมือลดระดับโฮโมซีสเตอีนที่ดีมาก
           นอกเหนือจากการใช้โคลีนร่วมกับโฟเลท วิตามินบีแล้ว น้ำมันปลา แมกนีเซียม รวมไปถึงโอพีซี (OPC – สารสกัดจากเมล็ดองุ่น) ก็ใช้ร่วมเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ดีทีเดียว

เอกสารอ้างอิง:-
1.     Wikipedia : https://en.wikipedia.org/wiki/choline
2.     PDR Health : https://www.pdrhealth.com/drug – info/nmdrugprofile/nutsupdrugs/cho-0283.shtml
3.     นพ.เรย์ ดี สแตรนด์ : เมื่อคุณหมอไม่รู้จักอาหารเสริมบำบัดโรค…ความตายอาจกำลังครอบงำคุณ พรหมพัฒน์ ธรรมรัตน์จินดา แปล ; อนิเมทกรุ๊ป ISBN 974-94582-0-6
4.  รศ.นพ.วัฒนา เลี้ยววัฒนา : โฮโมซีสทีน ISBN 974-05-0158-3

อัพเดทล่าสุด