https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ยาปวดท้องประจําเดือน ยารักษาอาการปวดท้องประจําเดือน MUSLIMTHAIPOST

 

ยาปวดท้องประจําเดือน ยารักษาอาการปวดท้องประจําเดือน


932 ผู้ชม


ยาปวดท้องประจําเดือน ยารักษาอาการปวดท้องประจําเดือน

กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน Premenstrual Syndrome

ปวดประจำเดือน

          เชื่อคุณผู้หญิงส่วนใหญ่จะมีอาการก่อนมีประจำเดือนทุกเดือนจนเกิดความคุ้นเคยกับมัน เดือนไหนไม่มีอาการเหมือนขาดอะไรสักอย่าง บางคนก็มีอาการไม่มากจนไม่รบกวนคุณภาพชีวิต แต่บางคนก็เป็นมากจนเกิดอาการซึมเศร้า ประมาณว่าผู้ป่วยร้อยละ 8-10จะมีอาการของกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน อาการต่างๆเหล่านี้ได้แก่ คัดเต้านม เวียนศีรษะ ปวดท้องอาการเหล่านี้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนในกระแสเลือดโดยมาก อาการมักจะไม่รุนแรงจนกระทั่งรบกวนคุณภาพชีวิต แต่คนกลุ่มหนึ่งอาการเหล่านี้รุนแรงจนกระทั่งบางคนเกิดอาการซึมเศร้า แบ่งกลุ่มอาการออกเป็น

อาการทางกาย

          อาการทางกายมักเกิดก่อนมีประจำเดือน 2 สัปดาห์ ผู้ป่วยจะมีอาการแน่นท้อง คัดเต้านม บวมน้ำเล็นน้อย บางคนอาจจะเจ็บเต้านมขณะไข่ตกเมื่อมีประจำเดือนอาการเจ็บเต้านมก็หายไป จุกเสียดแน่นท้อง ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ร้อนตามตัว นอนไม่หลับ ไวต่อเสียงและกลิ่น

อาการทางอารมณ์

          อารมณ์ของผู้ป่วยจะผันผวนมากโกรธง่าย เครียด จะสูญเสียสมาธิ บางคนความจำไม่ดี มีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งจะมีอาการซึมเศร้าอย่างมาก โกรธง่าย บางคนอาจจะร้องไห้โดยไม่มีเหตุผล และปวดศีรษะจากความเครียดก่อนมีประจำเดือนเรียกกลุ่มอาการนี้ว่า  Premenstrual dysphoric disorder (PMDD)ซึ่งเป็นโรค premenstrual syndrome ที่มีอาการรุนแรง โดยต้องมีอาการทางซึมเศร้าอย่างน้อย 5 อาการตามการวินิจฉัย

สาเหตุของการเกิด Premenstrual syndrome

          Reproductive Hormones and Neurotransmitters เมื่อให้ยาที่ลดการสร้าง estrogen สามารถทำให้อาการดีขึ้นจึงเชื่อว่าความสัมพันธ์ระหว่างฮอร์โมนเพศกับสารที่หลั่งในสมอง ได้แก่ serotonin และ gamma-aminobutyric acid (GABA). ระดับ serotonin ที่ต่ำจะสัมพันธ์กับอาการซึมเศร้าและ carbohydrate cravingsและการขาดสาร GABA จะทำให้เกิดความวิตกกังวล
          เสียสมดุลของ Calcium และ Magnesium โดยพบว่าคนที่ขาด magnesium และมีระดับ calcium สูงจะเกิดอาการได้ง่าย
          เกิดจากความเครียดทำให้มีการหลั่งฮอร์โมนที่เกี่ยวกับความเครียดออกมาได้แก่ cortisol ทำให้กระตุ้นเกิดอาการขึ้นมา
การรักษาโดยใช้ยา

- Selective serotonin-reuptake inhibitors (SSRIs) เป็นยาที่เพิ่มระดับ serotonin ในสมองเป็นกลุ่มยาที่รักษาอาการซึมเศร้าได้แก่ fluoxetine , sertraline , paroxitine มีรายงานว่าสามารถอาการซึมเศร้าและอาการปวดศีรษะ
- GnRH Analogs เป็นยาที่ลดการสร้าง estrogen ทำให้ไม่มีการตกไข่ทำให้อาการ คัดเต้านม อ่อนเพลีย และโกรธง่ายหายไป แต่ต้องระวังหากใช้มากกว่า 6 เดือนอาจจะทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน
- Danazolเป็นฮอร์โมนสังเคราะห์เหมือนฮอร์โมนเพศชายใช้ในการรักษา อาการปวดประจำเดือน (dysmenorrhea), ประจำเดือนมามาก (menorrhagia), fibroids, และโรค endometriosis
- Danazolเป็นฮอร์โมนสังเคราะห์เหมือนฮอร์โมนเพศชายใช้ในการรักษา อาการปวดประจำเดือน (dysmenorrhea), ประจำเดือนมามาก (menorrhagia), fibroids, และโรค endometriosis
- ยาเม็ดคุมกำเนิดซึ่งจะป้องกันไข่ตกสามารถลดอาการของ premenstrual syndrome
- ยาฉีดคุมกำเนิดก็นำมาใช้รักษาอาการได้
- ยาแก้ปวด

ข้อมูล : www.siamhealth.net

อัพเดทล่าสุด