https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
การตรวจมะเร็งปากมดลูก - พบสารในเปลือกส้มเขียวหวาน มีฤทธิ์ทำลายเซลล์ มะเร็ง MUSLIMTHAIPOST

 

การตรวจมะเร็งปากมดลูก - พบสารในเปลือกส้มเขียวหวาน มีฤทธิ์ทำลายเซลล์ มะเร็ง


662 ผู้ชม


านวิจัยของเภสัชกรในอังกฤษพบว่า เปลือกส้มเขียวหวานมีฤทธิ์ช่วยต้านทานมะเร็งบางอย่างได้ นักวิทยาศาสตร์ของเลสเตอร์ สคูล ออฟ ฟาร์มาซี พบว่า สาร “ซาลเวสตรอล คิว 40” ในเปลือกส้มเขียว-หวาน สามารถทำลายเซลล์มะเร็ง ที่มีส่วนประกอบของเอนไซม์ “พี 450 ซีวายพี 1 บี 1” ลงได้ ซึ่งจากข้อค้นพบ นี้อาจนำไปสู่แนวทางใหม่ในการบำบัดโรคมะเร็ง เช่น มะเร็งทรวงอก ปอด ต่อมลูกหมาก และรังไข่ ได้ต่อไป

ดร.ฮูน แอล.ตัน นักเคมีด้านยา กล่าวว่า “เป็นเรื่องน่าตื่นเต้นอย่างมาก ที่ได้พบว่าสารประกอบในอาหารสามารถต้านมะเร็งเฉพาะอย่างได้ สารซาลเวสตรอล อาจช่วยให้เกิดกลไกอย่างใหม่ในการใช้โภชนาบำบัดต้านมะเร็ง” อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญบอกว่า แต่ อาหารสมัยใหม่นั้นได้ทำลายซาลเวสตรอลให้หมดลงไป เพราะว่าคนส่วนใหญ่ไม่กินเปลือกผลไม้กันอีกต่อไปแล้ว และนี่จึงอาจจะเป็นปัจจัยสำคัญที่พบว่ามีมะเร็งบางอย่างเกิดขึ้นมากในคนเรา

งานวิจัยชิ้นนี้ได้นำเสนอต่อที่ประชุมด้านเภสัชอังกฤษ ที่แมนเชสเตอร์ นักวิจัยเตือนว่าสิ่งที่พบยังเป็นเพียงการค้นพบขั้นต้น และยังจำเป็นต้องทดสอบอีกหลายครั้งกว่าจะถึงขั้นทดลองทางคลินิก ซึ่งอาจกินเวลา 5-7 ปี.

เรื่องน่ารู้ของมะเร็งปากมดลูก รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ชัยยศ ธีรผกาวงศ์ หัวหน้าสาขาวิชามะเร็งนรีเวช ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า ผู้หญิงที่เป็นโรคมะเร็งปากมดลูกกว่า 99.7 เปอร์เซ็นต์ มักจะเกิดจากการติดเชื้อไวรัสชื่อเอชพีวี ( HPV- Human Papillomaviruses) ในปัจจุบัน พบว่าผู้หญิงไทยส่วนใหญ่ เป็นมะเร็งปากมดลูกในระยะลุกลาม ซึ่งทำให้ยากต่อการรักษา และจากการศึกษาพบว่า โรคนี้มีความเกี่ยวข้องกับการมีเพศสัมพันธ์ โดยเฉพาะหญิงให้บริการทางเพศ จะมีความเสี่ยงต่อโรคนี้สูงมาก เมื่อเทียบกับหญิงที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์

นอกจากนั้น ยังพบว่าเชื้อไวรัส ที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคหูดหงอนไก่ บริเวณอวัยวะเพศยังเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคมะเร็งปากมดลูกด้วย

โดยทั่วๆ ไป คนที่จัดว่ามีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชพีวี ได้แก่

 

คนที่มีคู่นอนติดเชื้อนี้มาก่อน
 

คนที่มีคู่นอนหลายคน
 

คนที่มีคู่นอนและคู่นอน มีเพศสัมพันธ์กับคนอื่นมากกว่าหนึ่งคน
 

คนที่มีภูมิต้านทานในร่างกายอ่อนแอ (เช่นในช่วงที่กำลังตั้งครรภ์ หรือคนที่มีเชื้อเอชไอวี)
 

คนที่แม้จะมีคู่แบบผัวเดียวเมียเดียว แต่คู่ติดเชื้อมาจากการมีเพศสัมพันธ์กับคนอื่นมาก่อน

นอกจากนั้น ยังมีปัจจัยอื่นที่ส่งผลต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูก ได้แก่

 

การสูบบุหรี่เป็นประจำ
 

การรับประทานอาหารที่เป็นโทษกับร่างกาย เช่น อาหารที่มีสารเคมีประกอบ
 

การใช้ยาฮอร์โมนเป็นประจำ
 

มีลูกคนแรกตอนอายุน้อยเกินไป
 

มีลูกมาก
 

ติดเชื้อเอดส์ ซึ่งมีผลให้ภูมิต้านทานของร่างกายอ่อนแอลง
 

พฤติกรรมทางเพศของฝ่ายชายที่มีคู่นอนหลายคน ทำให้มีโอกาสจะนำเชื้อเอชพีวีมาติดฝ่ายหญิงได้มากขึ้น
 

แม่ พี่สาว หรือน้องสาว เคยเป็นมะเร็งปากมดลูก

"ระยะก่อนมะเร็ง" รักษาได้ง่าย

มะเร็งปากมดลูกแตกต่าง จากมะเร็งชนิดอื่นตรงที่มี "ระยะก่อนเป็นมะเร็ง" ยาว โดยทั่วไปตั้งแต่ได้รับเชื้อไวรัส จนกลายเป็นมะเร็งเฉลี่ยระยะเวลาประมาณ 10 ปี ช่วยให้มีโอกาสตรวจพบโรค ตั้งแต่ระยะก่อนที่จะกลายเป็นมะเร็ง

การตรวจเช็คมะเร็งปากมดลูก

การตรวจมะเร็งปากมดลูก นั้นเหมือนการตรวจภายในทั่วไป ผู้หญิงทุกคนที่เคยผ่านการมีเพศสัมพันธ์ ควรได้รับการตรวจ ซึ่งการตรวจไม่ได้มีความเจ็บปวดแต่อย่างใด เนื่องจากเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจมีขนาดแตกต่างกัน ตามความเหมาะสมของผู้รับการตรวจในแต่ละราย

แพทย์ผู้ตรวจเพียงแต่ป้ายเซลล์จากบริเวณปากมดลูก เพื่อนำไปย้อมและตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ ก็สามารถบอกถึงเซลล์ผิดปรกติ ที่เกิดขึ้นในระยะก่อนเป็นมะเร็ง โดยสามารถไปตรวจได้ที่คลินิกหรือโรงพยาบาลทุกแห่ง ซึ่งค่าบริการค่อนข้างถูก ที่สำคัญ การรักษาในระยะนี้ จะรักษาได้ง่ายและค่าใช้จ่ายต่ำ

แต่ปัญหาที่เราประสบคือ ผู้หญิงส่วนใหญ่ไม่ได้มารับการตรวจ เพราะอาจจะอับอาย กลัวว่าจะเจ็บปวด และเกิดจากความเข้าใจผิดว่า ทำไมจะต้องไปรับการตรวจ โดยที่ไม่มีอาการผิดปรกติใดๆ ซึ่งตามความเป็นจริงแล้ว ผู้ป่วยระยะก่อนเป็นมะเร็ง ไม่มีอาการผิดปรกติใดๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ส่งผลให้ประเทศไทยของเรา มีผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกเป็นจำนวนมาก

เตรียมตัวก่อนเข้าห้องตรวจ

 

1.

ตรวจ 1 สัปดาห์ หลังหมดประจำเดือน
 

2.

ผู้รับการตรวจควรงดการมีเพศสัมพันธ์ เหน็บยา หรือสวนล้างช่องคลอด 24-48 ชั่วโมง ก่อนตรวจ

ผู้หญิงเราควรไปตรวจมะเร็งปากมดลูกบ่อยแค่ไหน

เราควรไป ตรวจมะเร็งปากมดลูกทุกๆ 3 ปีเป็นอย่างต่ำ แต่ถ้าไม่สะดวกที่จะไปรับบริการ ก็ควรไปตรวจอย่างน้อยทุกๆ 5 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีอายุ 35 ปีขึ้นไป

และถ้ามีปัจจัยต่างๆ ต่อไปนี้ ก็ควรไปตรวจมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอ

 

มีอายุมากกว่า 35 ปี
 

มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกตอนที่อายุน้อยมากหรือหลังจากที่มีประจำเดือนได้ไม่กี่ปี
 

เคยมีความสัมพันธ์ทางเพศกับคนหลายคน หรือมีคู่รักที่มีเพศสัมพันธ์กับคนอื่นนอกเหนือจากเรา
 

เคยเป็นโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์มาก่อน
 

เป็นผู้ติดเชื้อเอดส์
 

ติดบุหรี่
 

เคยไปตรวจแล้วพบว่ามีความผิด ปรกติเล็กน้อย กรณีนี้ควรไปตรวจซ้ำทุกปีหรือสองปี เพื่อให้แน่ใจว่าเนื้อเยื่อผิดปรกตินั้น หยุดการเจริญเติบโตแล้วอย่างแน่นอน

การตรวจเช็คมะเร็งปากมดลูกไม่ได้น่ากลัวเลยสักนิด ใครที่ยังรีรออยู่ละก็สบายใจได้ค่ะ เพราะรักษาเสียตั้งแต่ "ระยะก่อนเป็นมะเร็ง" นอกจากจะรักษาได้ง่ายแล้ว ยังประหยัดเงินอีกด้วย

นิตยสารชีวจิตฉบับที่ 134


อัพเดทล่าสุด