https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
รักษาโรคภูมิแพ้ อาการโรคภูมิแพ้ผิวหนัง โรคภูมิแพ้ในหญิงตั้งครรภ์ MUSLIMTHAIPOST

 

รักษาโรคภูมิแพ้ อาการโรคภูมิแพ้ผิวหนัง โรคภูมิแพ้ในหญิงตั้งครรภ์


1,484 ผู้ชม


รักษาโรคภูมิแพ้ อาการโรคภูมิแพ้ผิวหนัง โรคภูมิแพ้ในหญิงตั้งครรภ์      

โรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ (ATOPIC DERMATITIS)

 

ผื่นภูมิแพ้ผิวหนังอักเสบ คืออะไร
           เป็น โรคผิวหนังอักเสบที่เป็นๆ หายๆ พบบ่อยในเด็ก ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้จะมีแนวโน้มทางพันธุกรรมอยู่เป็นพื้นฐาน กล่าวคือ ผู้ป่วยมักมีประวัติเยื่อบุตาอักเสบ แพ้อากาศ ไอ  จาม บ่อย ๆ หรือหอบหืด โดยเฉพาะเวลาที่อากาศรอบตัวเปลี่ยนแปลง เช่น ตอนเช้ามืดคนในครอบครัวผู้ป่วยมักมีประวัติโรคภูมิแพ้ของเยื่อบุต่าง ๆ เช่น เยื่อบุตาอักเสบภูมิแพ้ แพ้อากาศ ไอจามบ่อย ๆ หอบหืด หรือผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ ผู้ป่วยโรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ไม่ได้เกิดจากการแพ้อาหารหรือสารเคมีอย่างใด อย่างหนึ่งโดยเฉพาะ แต่เกิดจากผิวหนังของผู้ป่วยไว (sensitive) ต่อ สภาพแวดล้อมรอบตัว ทั้งสภาพร้อน เย็น แห้ง ชื้น เชื้อโรคและสารเคมีที่ระคายผิวหนัง อย่างไรก็ตามผู้ที่ไม่มีประวัติภูมิแพ้ในครอบครัวเลยก็เป็นโรคนี้ได้เช่น เดียวกัน ทั้งนี้เพราะความผิดปกติซ่อนเร้นอยู่ในยีนของครอบครัวผู้ป่วยโดยไม่เกิด อาการก็ได้
อาการและลักษณะของผื่นแพ้
           ผื่น ผิวหนังอักเสบในโรคนี้อาการคันมาก ลักษณะเป็นผื่นแดงหรือมีตุ่มแดงนูน ตุ่มน้ำใส ซึ่งเมื่อแตกออกเป็นน้ำเหลืองไหลเยิ้มแล้วกลายเป็นสะเก็ดแข็ง ถ้าผื่นนี้เป็นมานานเข้าสู่ระยะเรื้อรัง จะพบเป็นแผ่นหนาแข็ง มีขุย ตำแหน่งที่พบผื่นแตกต่างกันได้ตามวัยของผู้ป่วยในเด็กเล็ก ช่วงขวบปีแรก ผื่นผิวหนังอักเสบจะพบมากบริเวณใบหน้า ศีรษะ เด็กมักจะเอาแก้มหรือศีรษะถูกไถกับหมอน ผ้า ที่นอน เพราะผื่นคันมากในเด็กวัยเรียน และผู้ใหญ่ ผื่นผิวหนังอักเสบพบมากในบริเวณข้อพับแขน ข้อพับขา คอ ใบหน้า และผิวหนังตำแหน่งที่มีการเสียดสีแต่ในรายที่เป็นมากๆ ผื่นเกิดทั่วร่างกายได้

มีวิธีทดสอบภูมิแพ้ผิวหนังชนิดนี้หรือไม่ ?
            การ วินิจฉัยโรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ อาศัยประวัติที่ผู้ป่วยมีอาการคันตามตัว เป็นผื่นผิวหนังอักเสบเป็นๆ หายๆ ติดต่อกันเป็นเวลานาน โดยเฉพาะบริเวณข้อพับต่าง ๆ ผู้ปกครองและผู้ป่วยมักมีคำถามเสมอว่ามีวิธีทดสอบหรือไม่ว่าผู้ป่วยแพ้อะไร เช่น การสะกิดฉีด หรือแปะยา ทดสอบใต้ผิวหนัง หรือใช้วิธีการเจาะเลือดตรวจว่าผู้ป่วยแพ้อะไร คำตอบคือ ไม่มีวิธีการทดสอบดังกล่าวที่จำเป็นต้องทำในการดูแลผู้ป่วย แต่ผู้ป่วยและญาติควรสังเกตตัวเองว่าเมื่อสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมชนิดใดแล้วทำ ให้ผิวหนังอักเสบเห่อขึ้น ก็ควรหลีกเลี่ยงสภาวะแวดล้อมเหล่านั้น
อะไรบ้างที่ทำให้ผื่นนี้กำเริบมากขึ้น ?
           1. สภาวะแวดล้อม เช่น สภาวะที่มีละอองเกสร ขนสัตว์ ไรฝุ่น สิ่งเหล่านี้ทำให้ผื่นมีอาการคันมากขึ้น
           2. เชื้อ โรค เช่น แบคทีเรีย เชื้อรา อาจแทรกซ้อนทำให้เกิดการติดเชื้อบนผิวหนังของผู้ป่วย ผิวหนังที่อักเสบอยู่เดิมจะกำเริบมากขึ้น กรณีที่สงสัยว่ามีการติดเชื้อแทรกซ้อน ควรปรึกษาแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วย
           3. ฤดู กาล ผื่นผิวหนังอักเสบมักมีอาการมากขึ้น ในช่วงฤดูหนาว เพราะความชื้นในอากาศต่ำ อากาศแห้ง เย็น ทำให้ผิวหนังผู้ป่วยคันและเป็นผื่น ผู้ป่วยบางรายจะมีอาการมากขึ้นในช่วงฤดูร้อน เพราะอากาศที่ร้อนทำให้เหงื่อออกมาก เกิดอาการคันและเกิดผื่นเช่นเดียวกับในฤดูหนาว
           4. เสื้อผ้า เครื่องนุ่มห่ม  และเครื่องประดับที่มีขน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเสื้อผ้าที่ทำจากขนสัตว์ จะทำให้เกิดการคันเพิ่มเติม
           5. สบู่ ครีม โลชั่น และผงซักฟอกที่ใช้เป็นประจำ สารเคมีเหล่านี้มีฤทธิ์ละลายไขมัน หรือ/และอาจมีส่วนประกอบที่ก่ออาการระคายเคืองแก่ผิวหนังทำให้เกิดอาการคัน และเป็นผื่นผิวหนังอักเสบได้ง่าย
           6. อาหาร ในผู้ป่วยกลุ่มนี้ประมาณ 10% พบว่าอาหารบางชนิดเป็นตัวกระตุ้นให้ผื่นแย่ลง มักพบในผู้ป่วยเด็ก เช่น นม ไข่ ถั่วเหลือง เนื้อสัตว์บางประเภท
           7. จิตใจที่วิตกกังวลความเครียดก็สามารถทำให้โรคกำเริบได้

วิธีการดูแลและรักษา
           1. หลีก เลี่ยงสิ่งต่าง ๆ ที่ทำให้โรคกำเริบมากขึ้น เช่นไม่อยู่ในห้องปรับอากาศที่เย็นจัด ไม่อาบน้ำที่มีอุณหภูมิเย็นหรือร้อนจัด และควรหลีกเลี่ยงภาวะที่ทำให้เหงื่อออกมาก
           2. ควรรับประทานยาต้านฮิสตามีน ลดอาการคัด เมื่อมีอาการคันควรรับประทานยาต้านฮิสตามีน วันละ 2-3 ครั้งติดต่อ เว้น 5-7 วัน เพื่อลดอาการคัน เพราะอาการคัดทำให้ผู้ป่วยต้องแกะเกาผิวหนัง ผื่นผิวหนังที่อักเสบจะกำเริบขึ้นได้ ยากลุ่มนี้ได้แก่คลอเฟนนิลามีน สามารถซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป ข้อที่ควรระวังคือ ยานี้มีผลข้างเคียงคือ อาการง่วงนอน
           3. ยา ทากลุ่มสเตรียรอยด์ มีฤทธิ์ลดการอักเสบของผื่นผิวหนัง ควรใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์ เพราะโรคกลุ่มนี้ต้องใช้ยานาน อาจมีอาการข้างเคียงเกิดขึ้นได้ ถ้าใช้ยาไม่ถูกต้อง
           4. กรณี ที่มีตุ่มหนองเกิดแทรกซ้อนบนตุ่มหรือผื่นแดง แสดงว่ามีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ควรปรึกษาแพทย์เพราะผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับยาปฏิชีวนะ เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย

.................................................................................................................................................

ภูมิแพ้ทางเดินหายใจรุนแรงมากในแม่ท้อง

ภูมิแพ้ทางเดินหายใจรุนแรงมากในแม่ท้อง

 

รักษาโรคภูมิแพ้ อาการโรคภูมิแพ้ผิวหนัง โรคภูมิแพ้ในหญิงตั้งครรภ์

ภูมิแพ้ทางเดินหายใจรุนแรงมากในแม่ท้อง  (รักลูก)
โดย: อาราดา
เรียบเรียงจากบทสัมภาษณ์ พญ.สิรินันท์ บุญยะลีพรรณ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคภูมิแพ้ 
          โรค ภูมิแพ้ระบบทางเดินหายใจและหอบหืดนั้น ถือเป็นโรคที่ส่งผลกระทบต่อทั้งคุณแม่และลูกในครรภ์ได้มากกว่าบรรดาภูมิแพ้ ทั้งหลาย ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้อาการของโรครุนแรงขึ้นเกิดจากการปฏิบัติตัวของ คุณแม่ล้วนๆ ค่ะ

          รักษาโรคภูมิแพ้ อาการโรคภูมิแพ้ผิวหนัง โรคภูมิแพ้ในหญิงตั้งครรภ์		 อาการภูมิแพ้ รักษาโรคภูมิแพ้ อาการโรคภูมิแพ้ผิวหนัง โรคภูมิแพ้ในหญิงตั้งครรภ์
          โรคภูมิแพ้จะมีลักษณะความรุนแรงของอาการมากน้อยต่างกันไปตามแต่ละบุคคล บางคนอาจคันตา คันเพดานปาก บางคนอาจคัดจมูกร่วมกับน้ำมูกใส หรือบางรายหายใจหอบ หรืออาจจะมีอาการทุกอย่างร่วมกันอยู่ก็ได้ แต่อย่างหนึ่งที่มั่นใจได้คือ โรคภูมิแพ้ระบบทางเดินหายใจและหอบหืดนั้น สามารถส่งผลกระทบต่อลูกในครรภ์ และอาจทำให้เกิดการเสียชีวิตทั้งคุณแม่และลูกได้
          รักษาโรคภูมิแพ้ อาการโรคภูมิแพ้ผิวหนัง โรคภูมิแพ้ในหญิงตั้งครรภ์		 อายุครรภ์เพิ่ม...ความรุนแรงเพิ่ม? รักษาโรคภูมิแพ้ อาการโรคภูมิแพ้ผิวหนัง โรคภูมิแพ้ในหญิงตั้งครรภ์
          ลักษณะความรุนแรงของโรค แบ่งได้เป็น 3 กลุ่มอาการคือ มีอาการคงที่ อาการจะรุนแรงขึ้น และอาการลดลงค่ะนอกจากนี้ พบ ว่าการกำเริบมักจะไม่เกิดขึ้นในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ แต่มักเกิดขึ้นในช่วงปลายไตรมาส 2 ต่อไตรมาส 3 หรือช่วงที่อายุครรภ์ 29-36 สัปดาห์ แต่ที่เป็นข่าวดีคือ 1 เดือนสุดท้ายก่อนคลอดจนถึงในระหว่างการคลอด อาการจะไม่ค่อยกำเริบ
          ส่วนระดับความรุนแรงของโรคจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับพื้นฐานของโรคที่เป็นก่อนตั้งครรภ์ค่ะ เช่น หากคุณเป็นภูมิแพ้แต่มีการดูแลรักษาตัวเองเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมสิ่งแวดล้อมเพื่อลดสารกระตุ้นภูมิแพ้ การใช้ยาตามที่แพทย์สั่งอย่างต่อเนื่อง อาการของโรคภูมิแพ้ในช่วงตั้งครรภ์ก็จะไม่รุนแรงขึ้น หรือถ้าหากกำเริบก็จะมีระดับการกำเริบเท่าเดิม แต่ปัญหาส่วนใหญ่ที่แพทย์มักเจอ คือคุณแม่ตั้งครรภ์จะเชื่อว่ายาต่างๆ ส่งผลกระทบต่อลูกในครรภ์ จนหยุดใช้ยา เลยทำให้อาการเป็นหนักกว่าเดิม
          รักษาโรคภูมิแพ้ อาการโรคภูมิแพ้ผิวหนัง โรคภูมิแพ้ในหญิงตั้งครรภ์		 ป้องกันก่อนตั้งครรภ์ดีที่สุด... รักษาโรคภูมิแพ้ อาการโรคภูมิแพ้ผิวหนัง โรคภูมิแพ้ในหญิงตั้งครรภ์
          การ ดูแลและป้องกันโรคภูมิแพ้นั้น จะได้ผลดีที่สุดก็ต่อเมื่อ คุณทราบแน่ชัดแล้วว่าแพ้สิ่งกระตุ้นชนิดใด ซึ่งทำได้โดยการทดสอบภูมิแพ้จากแพทย์เฉพาะทางค่ะ เมื่อรู้คำตอบแล้วคุณก็จะสามารถหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นภูมิแพ้ได้ คุณหมอแนะว่าห้ามเดา ห้ามมั่ว ห้ามมั้ง ว่าแพ้นู่นนี่เป็นอันขาด เพราะหากเดาผิด ก็เท่ากับว่าคุณไม่ได้แก้สิ่งที่แพ้จริงๆ แต่ถ้าทดสอบก็จะสามารถจัดการสิ่งแวดล้อมได้ทัน ยิ่งคุณแม่ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ดูแลเรื่องกิน นอน การพักผ่อน ทำจิตใจแจ่มใส อย่างเต็มที่ โรคก็จะสงบ คุณแม่ก็แทบจะไม่ต้องใช้ยาในการรักษาเลยค่ะ
          และหากคุณต้องการทดสอบภูมิแพ้ระหว่างตั้งครรภ์ ขอบอกเลยค่ะว่าคุณหมอจะไม่ทดสอบภูมิแพ้ในแม่ตั้งครรภ์ เนื่องจากการทดสอบมีความเสี่ยงจะแพ้ และอาการกำเริบ หากทดสอบแล้วเกิดอาการกำเริบ คุณหมอก็ต้องให้ยาที่แรงขึ้น ซึ่งไม่ดีต่อลูกในท้องแน่ๆ เพราะฉะนั้น การทดสอบก่อนตั้งครรภ์จึงถือเป็นการวางแผนก่อนการตั้งครรภ์สำหรับคนที่กำลัง ตั้งใจจะมีบุตรด้วย
          แต่ถ้าคุณตั้งครรภ์แล้ว และยังไม่เคยทดสอบภูมิแพ้ ก็อย่ากังวลใจไปค่ะ เพราะถ้าคุณไปพบคุณหมอโรคภูมิแพ้เป็นประจำ อีกทั้งทำตามคำแนะนำของคุณหมอ ก็มั่นใจได้ว่า ท้องนี้ถึงเป็นภูมิแพ้ก็ปลอดภัยค่ะ
          รักษาโรคภูมิแพ้ อาการโรคภูมิแพ้ผิวหนัง โรคภูมิแพ้ในหญิงตั้งครรภ์		 ซื้อยากินเอง จะเสี่ยงเพิ่มขึ้น! รักษาโรคภูมิแพ้ อาการโรคภูมิแพ้ผิวหนัง โรคภูมิแพ้ในหญิงตั้งครรภ์
          แทบไม่น่าเชื่อค่ะว่าคนที่เป็นภูมิแพ้ส่วนใหญ่มักเลือกที่จะรักษาตัวเอง คือเมื่อเป็นโรคแล้วไปพบคุณหมอ ครั้งแรกคุณหมอจ่ายยามาให้ ไปพบครั้งที่สองคุณหมอก็ยังจ่ายยาตัวเดิม ทีนี้พอครั้งที่สามเลยเข้าใจไปเองว่าคุณหมอต้องจ่ายยาตัวเดิมให้ เลยตัดสินใจเลิกพบหมอ แล้วหันไปซื้อยาตัวเดียวกับที่คุณหมอจ่ายให้ที่ร้านขายยาเอง ทำให้ขาดการรักษาที่ต่อเนื่องจากโรงพยาบาลค่ะ
          และเมื่อใช้ยาเองก็ทำให้ไม่รู้ว่าโรคภูมิแพ้อยู่ที่ระดับใด มากน้อยแค่ไหน ขาดการประเมินผล ไม่มีการวัดสมรรถภาพปอด และเมื่อตั้งครรภ์ขึ้นมาก็หยุดใช้ยารักษาภูมิแพ้ หันไปกินยาจากคุณหมอสูตินรีเวช ซึ่งคุณหมอเจ้าของไข้อาจรู้หรือไม่รู้ก็ได้ว่าคุณแม่เป็นภูมิแพ้ พอหยุดยาทันที อาการก็แย่ลง เดือดร้อนถึงตนเองและคุณหมอสูติต้องส่งคนไข้ไปหาหมอภูมิแพ้ตรวจว่าอาการ กำเริบยังไง อยู่ในขั้นปลอดภัยแค่ไหน ซึ่งจะกลายเป็นกระบวนการที่ยากขึ้น
          เนื่องจากการใช้ยาอย่างต่อเนื่องตอนที่โรคสงบจะใช้ยาน้อย ผลข้างเคียงก็มีน้อย แต่พอหยุดยาอาการกำเริบหนัก ต้องใช้ยามากขึ้น ซึ่งอาจส่งผลต่อคุณแม่และคุณลูกแน่นอน เพราะภูมิแพ้ทางเดินหายใจและหอบหืดเป็นโรคที่ทำให้เสียชีวิตได้ หากปล่อยให้กำเริบหนัก คุณแม่ก็อาจไม่รอด หรือถ้ารอด ลูกน้อยก็อาจได้ออกซิเจนน้อยลง ส่งผลให้น้ำหนักตัวน้อย ระดับการเต้นของหัวใจไม่ปกติ ทีนี้พอคุณแม่อาการหนักแพทย์ ก็ต้องให้ยาแรงๆ เพื่อกู้ชีวิตแม่ขึ้นมา เพราะฉะนั้น นี่คือการต้องยอมแลกกับผลเสียที่ตามมาค่ะ 
          สรุป แล้ว ไม่แนะนำให้หยุดยาเองทันที และไม่ซื้อยาใช้เองด้วย เพราะยาแก้แพ้บางชนิดไม่อนุญาตให้ใช้ในแม่ท้อง บางชนิดอนุญาตให้ใช้ได้ตอนไตรมาส 2-3 แต่ใช้ไตรมาสแรกไม่ได้เพราะจะส่งผลต่อเด็ก หรือบางตัวใช้ได้ระยะสั้นๆ กินต่อเป็นเดือนๆ ไม่ได้ เพราะฉะนั้น คำสั่งของคุณหมอนั้นเป็นสิ่งสำคัญ เพราะภูมิแพ้เป็นโรคที่มีอาการของโรคต่างกัน เป็นมากน้อยก็ต่างกัน ดังนั้น หากบอกวิธีในการรักษาหรือบรรเทาที่เป็นมาตรฐานสากลคงเป็นไปไม่ได้ แต่คุณแม่สามารถอุ่นใจและมั่นใจได้มากขึ้น หากคุณแม่ไปพบคุณ หมอเป็นประจำ ทำให้ได้รับคำแนะนำ อีกทั้งการวางแผนในการรักษา รวมถึงข้อปฏิบัติที่ควรทำเมื่ออาการกำเริบค่ะ
          รักษาโรคภูมิแพ้ อาการโรคภูมิแพ้ผิวหนัง โรคภูมิแพ้ในหญิงตั้งครรภ์		 ท้องนี้...ลูกมีปัญหาหรือเปล่า? รักษาโรคภูมิแพ้ อาการโรคภูมิแพ้ผิวหนัง โรคภูมิแพ้ในหญิงตั้งครรภ์
          หากสงสัยว่าลูกจะได้รับผลกระทบจากอาการภูมิแพ้ของคุณหรือเปล่า ควรปรึกษาสูตินรีแพทย์ประจำตัวโดยคุณหมอจะสามารถตรวจพบได้จากการประมาณค่า น้ำหนักของทารก จำนวนครั้งในการดิ้น อัตราการเต้นของหัวใจ ผ่านการตรวจคลำทางหน้าท้อง และการอัลตราซาวนด์
          รักษาโรคภูมิแพ้ อาการโรคภูมิแพ้ผิวหนัง โรคภูมิแพ้ในหญิงตั้งครรภ์		 การป้องกันรักษา รักษาโรคภูมิแพ้ อาการโรคภูมิแพ้ผิวหนัง โรคภูมิแพ้ในหญิงตั้งครรภ์
          ส่วนใหญ่คุณหมอจะแนะนำให้คุณแม่หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ เช่น ถ้าแพ้ฝุ่นก็จัดการสภาพแวดล้อมรอบบ้านให้ปราศจากฝุ่น นำที่นอนหมอนมุ้งมาปัดฝุ่นและซักทุกๆ สัปดาห์ เป็นต้น แต่ถ้าจัดการไม่ได้เต็มที่อันเนื่องมาจากปัจจัยภายนอก เช่น บ้านอยู่ติดถนนทำให้มีฝุ่นมาก คุณหมอก็จะให้ยามาใช้ค่ะ
          คุณหมอบอกว่าคนไทยชอบเข้าใจไปเองว่า ถ้าได้ยาพ่นมาแสดงว่าอาการหนักแล้ว ซึ่งความเป็นจริงนั้น ถ้าคุณได้รับการดูแลจากแพทย์เป็นอย่างดีมักจะได้ยาพ่นซึ่งมีคุณภาพดีกว่า อีกทั้งไม่มีผลข้างเคียงต่อแม่ท้อง เนื่องจาก ยาพ่นจะไปเฉพาะอยู่ที่อวัยวะนั้นๆ เช่น พ่นจมูกก็ไปที่จมูก พ่นหลอดลมก็ไปอยู่ที่หลอดลม แต่ข้อเสียคือมีราคาที่แพงกว่า ตรงข้ามกับยากินซึ่งแม้จะราคาถูกกว่า แต่เรากินลงกระเพาะไปก่อน แล้วร่างกายจึงดูดซึมตัวยาเข้าสู่กระแสเลือด จากนั้นก็กระจายไปตามอวัยวะต่างๆ รวมไปถึงรกด้วย
         คุณ หมอแนะนำค่ะว่า คุณแม่ไม่ควรตัดสินหรือคิดเองว่ายาชนิดไหนแรง - ไม่แรง วิธีที่ดีที่สุดคือ เมื่อเกิดความสงสัยต้องสอบถามแพทย์ที่ดูแลและสั่งยาให้ ที่สำคัญคือ ใช้ยาเท่าที่สั่ง อย่าใช้เกินความจำเป็น หรือหยุดยากะทันหัน สรุปคือ หากคุณหมอสั่งให้ใช้ก็ใช้ไปอย่าไปกังวลและลดยาเองเป็นอันขาดค่ะ
          รักษาโรคภูมิแพ้ อาการโรคภูมิแพ้ผิวหนัง โรคภูมิแพ้ในหญิงตั้งครรภ์		 ภูมิแพ้ ลูกไม่แพ้ตามแม่ได้มั้ย? รักษาโรคภูมิแพ้ อาการโรคภูมิแพ้ผิวหนัง โรคภูมิแพ้ในหญิงตั้งครรภ์
          โรคภูมิแพ้มีปัจจัยหลักๆ 2 อย่างคือ กรรมพันธุ์และสิ่งแวดล้อม เช่น หากคุณแพ้แมว แต่ไม่เคยรู้จักแมว ก็เป็นภูมิแพ้แมวไม่ได้ ถ้าแพ้ไรฝุ่น แต่มีการกำจัดฝุ่น ทำความสะอาดบ้านบ่อย ๆ โอกาสเป็นโรคภูมิแพ้ก็จะลดลง เพราะฉะนั้น คุณไม่สามารถเปลี่ยนกรรมพันธุ์ให้กับลูกได้ แต่สามารถจัดการสิ่งแวดล้อมรอบตัว  เพื่อลดโอกาสการเกิดโรคภูมิแพ้ หรือทำให้ระดับอาการทุเลาลงได้ ที่สำคัญ นอกจากนี้ควรให้ลูกกินนมแม่ให้ครบ 6 เดือน เพื่อเป็นการลดโอกาสการเกิดภูมิแพ้ลงได้มากค่ะ

แหล่งข้อมูลhttps://women.kapook.com

https://www.si.mahidol.ac.th

อัพเดทล่าสุด