https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
วิธีป้องกันโรคภูมิแพ้ ผ่าคลอดสูงลูกเสี่ยงเป็นโรคภูมิแพ้ สมุนไพรโรคภูมิแพ้ MUSLIMTHAIPOST

 

วิธีป้องกันโรคภูมิแพ้ ผ่าคลอดสูงลูกเสี่ยงเป็นโรคภูมิแพ้ สมุนไพรโรคภูมิแพ้


899 ผู้ชม


วิธีป้องกันโรคภูมิแพ้ ผ่าคลอดสูงลูกเสี่ยงเป็นโรคภูมิแพ้ สมุนไพรโรคภูมิแพ้  

ชี้ไทยผ่าคลอดสูง ลูกเสี่ยงเป็นโรคภูมิแพ้

วิธีป้องกันโรคภูมิแพ้ ผ่าคลอดสูงลูกเสี่ยงเป็นโรคภูมิแพ้ สมุนไพรโรคภูมิแพ้	

แพทย์สูติฯเตือนหญิงเลือกวิธีผ่า คลอด ส่งผลลูกมีเปอร์เซ็นต์เป็นโรคภูมิแพ้ หอบหืด และโรคอื่นๆ สูงมากกว่าเด็กที่คลอดตามธรรมชาติ เหตุเด็กไม่ได้รับแบคทีเรียสร้างภูมิคุ้มกันที่อยู่ตรงช่องคลอด เมื่อแรกเกิด

ในการเสวนาเรื่อง  “วิธีการคลอดกับผลกระทบสุขภาพเด็กแรกเกิด” จัดโดยบริษัทเนสเลย์ ประเทศไทย จำกัด  รศ.นพ.วิทยา ถิฐาพันธ์  ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล  กล่าวว่า ปัจจุบันอัตราการผ่าคลอดของหญิงตั้งครรภ์เพิ่มสูงขึ้นทุกปี  ซึ่งเป็นแนวโน้มเดียวกันทั่วโลก สำหรับประเทศไทยมีอัตราการผ่าคลอดเพิ่มขึ้นทุกปี  โดยเฉพาะในโรงพยาบาลเอกชนซึ่งจากข้อมูลกระทรวงสาธารณสุขระบุว่า ในปี 2533 มีอัตราผ่าคลอดอยู่ที่ร้อยละ 38.55แต่ในปี  2549 เพิ่มเป็นร้อยละ 51.45 และเชื่อว่าปัจจุบันน่าจะอยู่ที่ร้อยละ 80-90 แล้ว

เมื่อดูอัตราการผ่าคลอดในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ ที่มีอัตราการคลอดอันดับต้นๆ ของประเทศ  อาทิ โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลศิริราช  ในปี  2550-2551 มีอัตราผ่าคลอดอยู่ที่ร้อยละ 30 เฉพาะในส่วนโรงพยาบาลราชวิถี พบว่าเป็นการผ่าคลอดหญิงตั้งครรภ์ครั้งแรก ขณะ ที่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์พบว่ามีอัตราผ่าคลอดเพิ่มสูงเช่นกัน  อยู่ที่ร้อยละ 36-37 อัตราการผ่าคลอดที่เพิ่มสูงขึ้น เกินกว่าอัตราเกณฑ์ที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้แค่  10%

รศ.นพ.วิทยากล่าวว่า อัตราการผ่าสูงมากในปัจจุบัน ทำให้คาดการณ์ได้ว่าในอีก   10-20  ปีข้างหน้านี้   ประเทศไทยจะมีเยาวชนและวัยรุ่นที่ไม่แข็งแรง และเป็นโรคภูมิแพ้และหอบหืดจำนวนมาก โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ ส่วนเด็กต่างจังหวัดที่คลอดเองตามธรรมชาติจะแข็งแรงกว่า เนื่องจากได้รับเชื้อแบคทีเรียช่วงคลอดตามธรรมชาติจากช่องคลอดของแม่ ซึ่งแบคทีเรียดังกล่าวเป็นแบคทีเรียที่ดี  ช่วยในสร้างภูมิกันโรคให้กับทารก  เป็นภูมิต้านทานแรกเกิด  ต่างจากการผ่าตัดหน้าท้องซึ่งทำให้เด็กไม่ได้รับ

ขณะที่ รศ.นพ.สรายุทธ  สภาพรรณชาติ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์  คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า จากงานวิจัยศึกษาพบว่า  ร้อยละ  70 ของเด็กที่ผ่าคลอดจะป่วยด้วยโรคภูมิแพ้ ต่างจากเด็กที่แม่คลอดเองตามธรรมชาติ อีกทั้งยังมีรายงานการศึกษาโรคภูมิแพ้ระหว่างเด็กโรงเรียนเอกชนใน กทม. กับเด็กในโรงเรียนต่างจังหวัด พบว่า เด็กโรงเรียนเอกชนใน กทม.เป็นโรคภูมิแพ้มากกว่าเด็กในโรงเรียนต่างจังหวัด ที่มีโอกาสสัมผัสดินทรายและเล่นกลางแจ้ง ซึ่งเมื่อร่างกายได้รับก็จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน

ขอขอบคุณข้อมูลจากhttps://women.kapook.com

.................................................................

แม่ผ่าคลอด...ลูกเสี่ยงภูมิแพ้

เหตุเด็กขาดภูมิคุ้มกันจากการคลอดธรรมชาติ

หมอสูติฯ ชี้ เด็กผ่าคลอดเสี่ยงต่อการเกิดภูมิแพ้ หอบหืด และโรคอื่นๆ สูงมากกว่าเด็กที่คลอดธรรมชาติ เหตุเพราะเด็กไม่ได้รับแบคทีเรียสร้างภูมิคุ้มกันที่อยู่ตรงช่องคลอดเมื่อแรกเกิด ขณะที่อัตราการผ่าคลอดของแม่ไทยสูงขึ้นอย่างรวดเร็วแตะเพดานร้อยละ 80-90 สวนทางกับอัตราเกณฑ์ที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ที่แค่ร้อยละ 10
นิตยสาร TIME เคยรายงานไว้บทความที่ชื่อ ตลาดการคลอด : ทำไมผู้หญิงเอเชียจึงเลือกการผ่าตัดคลอด (The Labor Market. Why Asian women are choosing C-sections) ว่าสถิติการผ่าคลอดในไทยสูงถึง 65% ในปี 2006 แม้ในบทความไม่ได้แจ้งไว้ว่า ในจำนวนนี้เป็นการตั้งใจผ่าคลอดหรือว่าต้องผ่าคลอดเพราะเหตุสุดวิสัยจำนวนเท่าใด แต่สถิตินี้ก็แสดงให้เห็นชัดเจนว่า ประเทศไทยมีอัตราการผ่าคลอดสูงที่สุดในประเทศแถบเอเชียด้วยกัน โดยสาเหตุยอดฮิตที่ผู้หญิงเอเชียนิยมผ่าคลอดคือ กลัวเจ็บ และอยากกำหนดวันคลอด นอกจากนี้การผ่าคลอดที่เพิ่มขึ้นยังมีสาเหตุมาจากการที่แพทย์ และโรงพยาบาลไม่อยากเสียเวลานานในการรอทำคลอดด้วยวิธีธรรมชาตb
ในการเสวนาเรื่อง "วิธีการคลอดกับผลกระทบสุขภาพเด็กแรกเกิด" รศ.นพ.วิทยา ถิฐาพันธ์ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวถึงกระแสการผ่าตัดคลอดว่า ปัจจุบันอัตราการผ่าคลอดของหญิงตั้งครรภ์เพิ่มสูงขึ้นทุกปี ซึ่งเป็นแนวโน้มเดียวกันทั่วโลก สำหรับประเทศไทยมีอัตราการผ่าคลอดเพิ่มขึ้นทุกปี โดยเฉพาะในโรงพยาบาลเอกชน จากข้อมูลกระทรวงสาธารณสุขระบุว่า ในปี 2533 มีอัตราผ่าคลอดอยู่ที่ร้อยละ 38.55 แต่ในปี 2549 เพิ่มเป็นร้อยละ 51.45 และเชื่อว่าปัจจุบันน่าจะอยู่ที่ร้อยละ 80-90 แล้ว
เมื่อไปสำรวจอัตราการผ่าคลอดในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่มีอัตราการคลอดสูง อาทิ  โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลศิริราช ในปี 2550-2551 มีอัตราผ่าคลอดอยู่ที่ร้อยละ 30 ขณะที่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ มีอัตราผ่าคลอดเพิ่มสูงเช่นกัน อยู่ที่ร้อยละ 36-37
รศ.นพ.วิทยา กล่าวว่า จากอัตราการผ่าคลอดสูงมากในปัจจุบัน ทำให้คาดการณ์ได้ว่าในอีก 10-20 ปีข้างหน้านี้ ประเทศไทยจะมีเยาวชนและวัยรุ่นที่ไม่แข็งแรง เป็นโรคภูมิแพ้และหอบหืดจำนวนมาก โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ ส่วนเด็กต่างจังหวัดที่คลอดเองตามธรรมชาติจะแข็งแรงกว่า เนื่องจากได้รับเชื้อแบคทีเรียช่วงคลอดตามธรรมชาติจากช่องคลอดของแม่ ซึ่งแบคทีเรียดังกล่าวเป็นแบคทีเรียที่ดี ช่วยในการสร้างภูมิกันโรคให้กับทารก เป็นภูมิต้านทานแรกเกิด ต่างจากการผ่าตัดหน้าท้องซึ่งเด็กจะไม่ได้รับภูมิคุ้มกันนี้
ด้าน รศ.นพ.สรายุทธ สภาพรรณชาติ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า จากงานวิจัยศึกษาพบว่า ร้อยละ 70 ของเด็กที่ผ่าคลอดจะป่วยด้วยโรคภูมิแพ้ ต่างจากเด็กที่แม่คลอดเองตามธรรมชาติ อีกทั้งยังมีรายงานการศึกษาโรคภูมิแพ้ระหว่างเด็กโรงเรียนเอกชนในกรุงเทพฯ กับเด็กในโรงเรียนต่างจังหวัด พบว่าเด็กโรงเรียนเอกชนในกรุงเทพฯ เป็นโรคภูมิแพ้มากกว่าเด็กในโรงเรียนต่างจังหวัด ที่มีโอกาสสัมผัสดินทรายและเล่นกลางแจ้ง ซึ่งการที่ร่างกายได้สัมผัสสิ่งต่างๆ ในธรรมชาติ ทำให้ร่างกายสามารถภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติขึ้นมาได้เช่นกัน
อย่างไรก็ตามคุณแม่ตั้งครรภ์ไม่ควรกังวลเกี่ยวกับการคลอด คุณแม่สามารถยืนยันกับสูติแพทย์ได้ หากต้องการคลอดด้วยวิธีธรรมชาติ แต่หากเกิดเหตุการณ์สุดวิสัยที่ไม่สามารถคลอดเองได้จริงๆ การผ่าตัดคลอดก็เป็นทางเลือกที่ปลอดภัยสำหรับแม่และลูกมากที่สุด

แหล่งข้อมูล https://www.medclean.co.th

อัพเดทล่าสุด