https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
การตรวจวินิจฉัยโรคเท้าช้าง โรคเท้าช้างในไทย โรคเท้าช้าง MUSLIMTHAIPOST

 

การตรวจวินิจฉัยโรคเท้าช้าง โรคเท้าช้างในไทย โรคเท้าช้าง


951 ผู้ชม


การตรวจวินิจฉัยโรคเท้าช้าง โรคเท้าช้างในไทย โรคเท้าช้าง

              การตรวจวินิจฉัยโรคเท้าช้าง

รคเท้าช้าง


เป็นโรคติดต่อ โดยมียุงบางชนิดเป็นพาหะ สาเหตุเกิดจากพยาธิตัวกลมใน Super family Fiariidae อาการสำคัญ คือ มีการอักเสบของต่อมน้ำเหลืองเป็นๆหายๆ ต่อมาอวัยวะส่วนปลายจากต่อมน้าเหลืองจะบวมโต และกลายเป็นภาวะเท้าช้าง (elephantiasis) ในที่สุด


         พยาธิที่เป็นสาเหตุในคนมีอยู่ 3 ชนิด คือ Wuchereria bancrofti, Brugia malayi,  Brugia timori


          อาการและอาการแสดงที่เกิดขึ้นมีความแตกต่างกัน ขึ้นกับพื้นที่ที่เกิดโรค ซึ่งแบ่งได้ดังนี้ คือ


          1.ไม่มีอาการแสดง (70-80%) ผู้ป่วยพวกนี้จะไม่มีอาการปรากฏให้เห็น อาจจะพบหรือไม่พบ microfilaria ในกระแสโลหิตก็ได้ การตรวจไม่พบ microfilaria เนื่องจากอยู่ในระยะ prepatent period ในบางรายผู้ป่วยจะมี microfilaria อยู่ในโลหิตโดยไม่มีอาการไปตลอดชีวิต


          2.ปรากฏอาการ (20-30%) ผู้ป่วยพวกนี้อาจจะพบหรือไม่พบ microfilaria ในโลหิตก็ได้ แต่โดยทั่วไปจะไม่พบ microfilaria อาการแสดงสามารถแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ


          2.1 อาการ เฉียบพลัน ลักษณะอาการที่เกิดขึ้นอย่างทันที่และเกิดขึ้นอย่างทันทีและเกิดขึ้นซ้ำกัน ปีละหลายๆครั้ง โดยมีการอักเสบของต่อมและทางเดินน้ำเหลือง ต่อมน้ำเหลืองบวมโต ปวด มีไข้ และความรู้สึกไม่สบายกายร่วมด้วย อาการที่เกิดขึ้นเป็นนานประมาณ 3-5 วัน และจะหายไปได้เองโดยไม่ต้องรักษา ความถี่ของการเกิดการอักเสบประมาณ 5-10 ครั้ง/ปี อาการเหล่านี้จะสัมพันธ์กับการติดเชื้อซ้ำ (secondary infection) และจะเกิดขึ้นภายหลังจากติดเชื้อพยาธิแล้วประมาณ 3-9 เดือน


          2.2 อาการ เรื้อรัง อาการจะเริ่มต้นจากมีการบวมของน้ำเหลือง เริ่มแรกกดบุ๋ม แล้วต่อมาจะบวมมากขึ้น กดไม่บุ๋ม และในที่สุดเกิดเป็นภาวะเท้าช้าง (elephantiasis) อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นภายหลังจากติดเชื้อพยาธิแล้วประมาณ 5-10 ปี ผู้ป่วยที่ติดเชื้อ B. malayi จะมีอาการแสดงที่สำคัญ คือ ขาโต โดยมีพยาธิสภาพตั้งแต่ใต้เข่าลงไป และบางครั้งก็จะพบที่แขนตั้งแต่ใต้ข้อศอกลงไป ในขณะที่ผู้ติดเชื้อ W. bancrofti จะเกิดพยาธิสภาพที่บริเวณอวัยวะสืบพันธ์ได้ โดยถ้าเป็นผู้หญิงอาจจะพบอาการบวมของ vulva และที่หน้าอก ส่วนในผู้ชายพบว่ามีการคั่งของนำเหลืองในอัณฑะ (hydrocele) และปัสสาวะเป็นสีขุ่นขาวเหมือนน้ำนม (chyluria) แต่บางรายอาจพบการบวมที่แขน ขาได้ แต่จะเป็นการบวมตลอดทั้งแขนและขา


          2.3 อาการแสดงอื่นๆ ในผู้ป่วยที่ติดเชื้อ W. bancrofit อาจมีภาวะไตอักเสบ นอกจากนี้อาจพบว่ามีภาวะ TPE ซึ่งจะมีอาการไอตอนกลางคืนและมี eosinophil ในโลหิตสูง


          1.การรักษาด้วยยา ยาที่ใช้คือ Diethylcarbamazine citrate (DEC) เป็นยาที่รักษาโรคเท้าช้างที่ใช้มานานกว่า 40 ปี และเป็นยาที่ดีอยู่ในปัจจุบัน มีผลข้างเคียงน้อยมาก ยานี้มีฤทธิ์ฆ่า microfilaria ใน โลหิต และมีรายงานว่าสามารถฆ่าหนอนพยาธิโรคเท้าช้างตัวเต็มวัยได้ และลดการอักเสบของทางเดินน้ำเหลืองด้วย ปัจจุบันยังไม่มีรายงานที่แสดงว่าโรคนี้ดื้อยา


          DEC ขนาดของยา 6 mg/นน.ตัว 1 กก./วัน  W. bancrofti กินยาทุก 6 เดือน  B. malayi กินยา 6 วันทุก 6 เดือน


          จำนวนยาที่ให้และช่วงเวลาที่ให้ในแต่ละ dose ดังตาราง การจ่ายยา DEC รักษาโรคเท้าช้าง แบ่งตามกลุ่มอายุ ตาราง ระยะเวลาที่ใช้ในการรักษาไม่ต่ำกว่า 2 ปี โดยต้องติดตามเจาะโลหิตซ้ำทุก 6 เดือนก่อนให้ผู้ป่วยกินยา ให้กินยาจนกว่าผลการเจาะโลหิต 2 ครั้งติดต่อกันไม่พบเชื้อพยาธิฯแล้ว (แต่ต้องไม่น้อยกว่า 5 dose) ผลข้างเคียงของยา


          1.เกิดจากพิษของยา ขึ้นอยู่กับขนาดของยา หรือผู้นั้นมีปฏิกิริยาไวต่อยา หลังจากกินยา 1-2 ชั่วโมง และจะหายไปเองภายในวันนั้น


          2.เกิดจากการทำลาย microfilaria เมื่อ microfilaria ในโลหิตถูกทำลาย สารโปรตีนจาก microfilaria ที่ตายแล้วจะทำให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ อาการเหล่านี้เกิดขึ้นภายใน 1-2 ชั่วโมงหลังจากกินยาครั้งแรกหรือวันแรกๆ และจะหายไปเองภายใน 2-3 วัน การทำลายพยาธิฯตัวเต็มวัยอาจทำให้ต่อมและท่อน้ำเหลืองอักเสบ เกิดฝีที่ไข่ดันแล้วแตกออก มีบวมน้ำเหลืองของแขนขาชั่วคราว ในราย Bancroftian filariasis อาจมีการอักเสบที่อวัยวะสืบพันธุ์ ภายหลังกินยา 3 วัน-4 สัปดาห์ และเกิดนาน 1-2 สัปดาห์และจะหายไปเอง


          การรักษาอาการข้างเคียง เมื่อมีอาการ หรือ 3 เวลาหลังอาหารเป็นเวลา 2-3 วัน


          1.paracetamol 500 mg ในกรณีเป็นไข้ ปวดเมื่อย ครึ่งเม็ด สำหรับเด็ก 1 เม็ดสำหรับผู้ใหญ่


          2.chlorpheniramine 4 mg ในกรณีเป็นผื่นคัน ลมพิษ และอาการอื่นๆ ครึ่งเม็ด สำหรับเด็ก 1 เม็ดสำหรับผู้ใหญ่


          ผู้ที่ห้ามกินยา DEC


          1.เด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน ในกรณีที่ตรวจพบ microfilaria ในกระแสโลหิตไม่ควรจ่ายยา DEC เพราะอวัยวะขับถ่ายของเสีย ได้แก่ ตับ ไต ยังไม่พัฒนาเต็มที่


          2.หญิงมีครรภ์ ผู้ป่วยหญิงมีครรภ์และตรวจพบ microfilaria ในกระแสโลหิต ไม่จ่ายยา DEC เพื่อ ป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นกับทารกในครรภ์ สำหรับท้องที่ที่มีการระบาดของโรคควรแนะนำหญิงมีครรภ์นอนในมุ้ง เพื่อป้องกันไม่ให้ถูกยุงพาหะกัดและนำเชื้อแพร่ไปสู่คนอื่น


          3.ผู้ป่วยเรื้อรัง ได้แก่ โรคตับอักเสบ ไตวาย เป็นต้น รวมทั้งผู้ที่มีสุขภาพอ่อนแอ การกินยา DEC ให้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์


          2.การรักษาตามอาการ


          2.1 การปฏิบัติตัวของผู้ป่วยที่มีต่อมน้ำเหลืองอักเสบ


ให้ยา paracetamol เพิ่อบ รรเทาอาการปวด บวม ไข้ เท่าที่จำเป็น พักการใช้อวัยวะส่วนที่มีต่อมน้ำเหลืองอักเสบ ดูแลความสะอาดของร่างกาย โดยเฉพาะอวัยวะที่มีต่อมน้ำเหลืองอักเสบ


          2.2 การปฏิบัติตัวของผู้ป่วยที่มีอวัยวะบวมโต


ดูแลความสะอาดของร่างกายโดยเฉพาะอวัยวะที่บวมโต โดยฟอกให้สะอาดด้วยสบู่ที่ผสม gylcerine2% หรือสบู่อื่นที่ไม่ระคายเคืองต่อผิวหนัง ถ้ามีอาการติดเชื้อราควรทายา Whitfield ointment ระหว่าง นิ้วเท้าและซอกเล็บเพื่อรักษา ทั้งนี้ควรอยู่ในการดูแลของแพทย์ ระมัดระวังอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นกับอวัยวะบวมโต นวดบริเวณที่บวมโตเพื่อกระตุ้นระบบไหลเวียน และลดการคั่งของน้ำเหลือง ใส่ถุงน่องผ้ายางยืดเป็นประจำในเวลากลางวัน เพื่อลดการคั่งของน้ำเหลืองที่อวัยวะส่วนปลายในผู้ป่วยที่มีอาการบวมในระยะ แรก นอนยกขาสูงในเวลากลางคืนและหลังจากเสร็จสิ้นการนวดด้วยมือแล้ว

                Link   https://203.157.115.14/web_com/other_view.php?o_id=18

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

 

              โรคเท้าช้างในไทย

     

 โรคเท้าช้าง (Elephantiasis, Filariasis)

                                                                                                                  รศ.เวช  ชูโชติ

     

 การตรวจวินิจฉัยโรคเท้าช้าง โรคเท้าช้างในไทย โรคเท้าช้าง โรคเท้าช้างคืออะไร

      โรคเท้าช้างคือโรคที่เกิดจากการติดเชื้อพยาธิฟิลาเรียชนิด Wuchereria bancrofti หรือ Brugia malayi เนื่องจากตัวเต็มวัยของพยาธิอาศัยอยู่ในระบบน้ำเหลือง ดังนั้นคนที่เป็นโรคพยาธิฟิลาเรียทั้งสองชนิดนี้จึงมีอาการแสดงซึ่งเกี่ยว ข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิสภาพของระบบน้ำเหลือง เช่น ท่อน้ำเหลืองอักเสบ ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ มีอาการไข้เท้าช้าง ท่อน้ำเหลืองขยาย พร้อมกับมีการอุดตันทางเดินของน้ำเหลือง เกิดพังผืดและมีน้ำเหลืองคั่ง ผลสุดท้ายอวัยวะที่เป็นโรคจะโตซึ่งเรียกว่าภาวะโรคเท้าช้าง (elephantiasis) การจะเกิดภาวะของโรคเท้าช้างนี้จะกินเวลาค่อนข้างนานและมีการติดเชื้อพยาธิ ฟิลาเรียซ้ำแล้วซ้ำอีก สรุปคือต้องอาศัยอยู่ในแหล่งที่มีการระบาดของเชื้อโรคเป็นระยะเวลานาน ดังนั้นเราจะพบภาวะของโรคเท้าช้างในผู้ป่วยที่มีอายุมักเกิน 30 กว่าปีขึ้นไป

     ในกรณีของ W. bancrofti นั้น เท่าที่เคยมีรายงานในประเทศไทยส่วนใหญ่ พบว่าตัวเต็มวัยของพยาธิจะไปอาศัยอยู่ในระบบน้ำเหลืองบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ ทำให้เกิดภาวะอัณฑะมีถุงน้ำ และปัสสาวะเป็นไขมัน ส่วน B. malayi จะทำให้เกิดภาวะโรคเท้าช้างที่ขาเป็นส่วนมาก

 การตรวจวินิจฉัยโรคเท้าช้าง โรคเท้าช้างในไทย โรคเท้าช้าง คนติดโรคเท้าช้างได้อย่างไร

      ยุงที่เป็นพาหะซึ่งมีตัวอ่อนระยะติดต่อของพยาธิมากัดคน ระยะติดต่อจากจงอยปากของยุงจะไชเข้าสู่แผลบริเวณผิวหนังที่ถูกยุงกัด และเข้าสู่ร่างกายเจริญเติบโตเป็นระยะตัวเต็มวัยต่อไป

 การตรวจวินิจฉัยโรคเท้าช้าง โรคเท้าช้างในไทย โรคเท้าช้าง โรคนี้พบได้ที่ใดและยุงชนิดใดที่เป็นพาหะนำโรคในประเทศไทย

      1. พยาธิฟิลาเรียชนิด W. bancrofti พบที่ จังหวัดกาญจนบุรี ตาก แม่ฮ่องสอน และจังหวัดที่มีชายแดนติดต่อกับประเทศพม่า ยุงที่เป็นพาหะนำโรคพยาธิฟิลาเรียชนิดนี้ คือ ยุงลายชนิด Aedes desmotes, Ae. harinasutai, Ae. annandalei, Ae. imitator และยุงเสือชนิด Mansonia dives

      2. พยาธิฟิลาเรียชนิด B. malayi พยาธิชนิดนี้พบบริเวณฝั่งทะเลด้านตะวันออกของภาคใต้ คือ จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส สำหรับพาหะที่นำโรคพยาธิฟิลาเรียชนิดนี้คือ ยุงเสือชนิด Mansonia uniformis, M. indiana, M. bonneae, M. annulata และ Coquilletidia crassipes

 การตรวจวินิจฉัยโรคเท้าช้าง โรคเท้าช้างในไทย โรคเท้าช้าง จะทราบได้อย่างไรว่าติดเชื้อพยาธิชนิดนี้

     การวินิจฉัยโรคพยาธิฟิลาเรียนั้น แพทย์จะอาศัยประวัติของผู้ป่วยว่ามาจากถิ่นของโรค และส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยทั่วๆ ไปจะทำการตรวจหาไมโครฟิลาเรีย (รูปที่1 และ2) ซึ่งตัวเต็มวัยปล่อยออกมาในกระแสโลหิตของผู้ติดเชื้อ บางห้องปฏิบัติการอาจใช้วิธีการตรวจหาแอนติเจนในกระแสโลหิต (monoclonal antibody-bassed assays หรือ PCR–bassed assays)

การตรวจวินิจฉัยโรคเท้าช้าง โรคเท้าช้างในไทย โรคเท้าช้าง      การตรวจวินิจฉัยโรคเท้าช้าง โรคเท้าช้างในไทย โรคเท้าช้าง

รูปที่ 1 ไมโครฟิลาเรียของ W. bancrofti      รูปที่ 2 ไมโครฟิลาเรียของ B. malayi

(ที่มา: https://www.med.cmu.ac.th/dept/parasite/nematode/framene.htm)

 การตรวจวินิจฉัยโรคเท้าช้าง โรคเท้าช้างในไทย โรคเท้าช้าง จะทำการรักษาโรคนี้อย่างไร

      ผู้ที่สงสัยว่าอาจเป็นโรคนี้ควรไปพบแพทย์เพื่อให้การตรวจ และวินิจฉัยได้ถูกต้อง ถ้าแพทย์พบว่าผู้ป่วยติดโรคพยาธิชนิดนี้ แต่ยังไม่แสดงอาการของโรคเท้าช้าง จะให้ผู้ป่วยรับประทานยา Albendazole ขนาด 400 มิลลิกรัมร่วมกับ Hetrazan (diethylcarbamazine, DEC) ขนาด 6 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม 1 ครั้งต่อปี สำหรับผู้ป่วยที่แสดงอาการของโรคเท้าช้างแล้ว นอกจากให้ผู้ป่วยรับประทานยาแล้ว แพทย์จะแนะนำให้รักษาความสะอาดบริเวณที่มีอาการของโรคร่วมกับการทำกายภาพบำบัด โดยนวดบริเวณต่อมน้ำเหลืองที่บวมโตเพื่อเพิ่มการไหลเวียนของน้ำเหลือง ในผู้ป่วยบางรายแพทย์อาจทำการผ่าตัดให

 การตรวจวินิจฉัยโรคเท้าช้าง โรคเท้าช้างในไทย โรคเท้าช้าง จะทำการป้องกันการติดโรคนี้ได้อย่างไร

1. ป้องกันส่วนบุคคล คือ การป้องกันยุงกัด
2. กำจัดยุงที่เป็นพาหะ โดยทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง กำจัดลูกน้ำและตัวเต็มวัย
3.ให้การรักษาหมู่ (mass treatment) ในแหล่งระบาดของโรค โดยให้รับประทานยา Albendazole ขนาด 400 มิลลิกรัมร่วมกับ Hetrazan (diethylcarbamazine, DEC) ขนาด 6 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม 1 ครั้งต่อปี

              Link    https://www.med.cmu.ac.th/

           โรคเท้าช้าง

โรคเท้าช้าง elephantiasis

โรคเท้าช้างหรือที่เรียกว่า Lymphatic Filariasis หรือ elephantiasis พบมากในเขตร้อนและชิดเขตร้อน(subtropic)ได้แก่ อินเดีย การตรวจวินิจฉัยโรคเท้าช้าง โรคเท้าช้างในไทย โรคเท้าช้าง พม่า มาเลเซีย ไทย อินโดนีเซีย จีนตอนใต้ ญี่ปุ่น เกาหลี อัฟริกาสำหรับประเทศไทยพบได้แถบภาคใต้ ชายแดนใกล้พม่า ทั่วโลกมีคนที่ติดเชื้อประมาณ 120 ล้านคน และมีความพิการประมาณ 40 ล้านคน พบว่า ผู้ป่วยประมาณ1ใน3อยู่ในประเทศอินเดีย อีก1ใน3อยู่ในอัฟริกา ที่เหลืออยู่ในเอเชีย

โรคนี้เกิดจาดพยาธิตัวกลมที่พบบ่อยคือเชื้อ Wuchereria bancrofti และ Brugia malayi ซึ่งอาศัยอยู่ในคนเท่านั้น เชื้อจะเข้าท่อน้ำเหลือง ต่อมน้ำเหลือง เชื้อจะอยู่ในร่างกายคนได้ 4-6 ปีและออกลูกออกหลานเป็นล้านตัวเข้ากระแสเลือด ยุงกัดคนที่เป็นและรับเชื้อไป เมื่อไปกัดคนอื่นจะปล่อยเชื้อสู่คนอื่น

อาการที่สำคัญคือมีอาการบวมของอวัยวะที่พบได้บ่อยคือ ขา แขน อวัยวะเพศ

วงจรชีวิตของพยาธิ

การตรวจวินิจฉัยโรคเท้าช้าง โรคเท้าช้างในไทย โรคเท้าช้าง

ยุงที่เป็นพาหะของโรคมีได้หลายชนิดได้แก่ Culex (C. annulirostris, C. bitaeniorhynchus, C. quinquefasciatus, and C. pipiens); Anopheles (A. arabinensis, A. bancroftii, A. farauti, A. funestus, A. gambiae, A. koliensis, A. melas, A. merus, A. punctulatus and A. wellcomei); Aedes (A. aegypti, A. aquasalis, A. bellator, A. cooki, A. darlingi, A. kochi, A. polynesiensis, A. pseudoscutellaris, A. rotumae, A. scapularis, and A. vigilax); Mansonia (M. pseudotitillans, M. uniformis); Coquillettidia (C. juxtamansonia) ระหว่างที่ยุงดูดเลือด ยุงจะปล่อยพยาธิระยะติดต่อคือระยะที่3เข้าสู่ผิวหนังของคน เชื้อพยาธิจะไชจากแผล การตรวจวินิจฉัยโรคเท้าช้าง โรคเท้าช้างในไทย โรคเท้าช้าง พยาธิจะเจริญเติบโตในระบบน้ำเหลือง  การตรวจวินิจฉัยโรคเท้าช้าง โรคเท้าช้างในไทย โรคเท้าช้าง ตัวเมียจะมีความยาว  80 ถึง 100 mm และมีความอ้วน 0.24 ถึง 0.30 mm ตัวผู้จะยาว 40 mm อ้วน .1 m เมื่อตัวผู้ผสมกับตัวเมียจะทำให้เกิด microfilariae ขนาด 244 ถึง 296 μm อ้วน 7.5 ถึง 10 μm และอยู่ในปลอก เชื้อจะออกกระแสเลือดในเวลากลางคืน  การตรวจวินิจฉัยโรคเท้าช้าง โรคเท้าช้างในไทย โรคเท้าช้าง. ยุงดูดเลือดที่มีเชื้อเข้าไป  การตรวจวินิจฉัยโรคเท้าช้าง โรคเท้าช้างในไทย โรคเท้าช้าง. เมื่อเชื้อเข้าไปในยุง จะสลัดปลอดหุ้นและไปอยู่ที่กระเพาะอาหารของยุง การตรวจวินิจฉัยโรคเท้าช้าง โรคเท้าช้างในไทย โรคเท้าช้าง.  จะมีการเจริญเป็นตัวอ่อนระยะที่หนึ่ง first-stage larvae การตรวจวินิจฉัยโรคเท้าช้าง โรคเท้าช้างในไทย โรคเท้าช้าง และเจริญเป็นตัวอ่อนระยะที่3ซึ่งเป็นระยะติดต่อ third-stage infective larvae การตรวจวินิจฉัยโรคเท้าช้าง โรคเท้าช้างในไทย โรคเท้าช้าง. ตัวอ่อนในระยะติดต่อจะไปที่ต่อมน้ำลายของยุง mosquito's prosbocis การตรวจวินิจฉัยโรคเท้าช้าง โรคเท้าช้างในไทย โรคเท้าช้าง เมื่อยุงกัดคนก็จะฉีดเชื้อไปสู่คนการตรวจวินิจฉัยโรคเท้าช้าง โรคเท้าช้างในไทย โรคเท้าช้าง.

กลไกการเกิดโรค

พยาธิสภาพเกิดจากการที่เชื้อทำลายระบบไหลเวียนของท่อน้ำเหลือง ร่วมกับปฏิกิริยาของระบบภูมิคุ้มกัน และโรคแทรกซ้อน เช่นการติดเชื้อราหรือเชื้อแบคทีเรีย เมื่อตรวจด้วย ultrasonography พบว่ามีการโป่งพองของท่อน้ำเหลืองอย่างมากมายรอบตัวแก่กลไกที่สำคัญคือ

  • การเกิดโรคเกิดจากปฏิกิริยาภูมิแพ้ เมื่อตัวเชื้อโรคตายก็เกิดภูมิต่อตัวเชื้อทำให้มีการอักเสบของท่อน้ำดี และเกิดการอุดตันของท่อน้ำดี
  • เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อรา ทำให้อาการเป็นมากขึ้น

อาการของโรค

อาการของโรคแบ่งได้เป็น อาการเฉียบพลัน อาการโรคเรื้อรัง และไม่มีอาการ

อาการเฉียบพลัน

ผู้ป่วยมีไข้ เกิดการอักเสบของหลอดน้ำเหลืองและต่อมน้ำเหลือง (lymphangitis และ lymphadenitis) โดยมากตรวจพบเชื้อในท่อน้ำเหลืองหรือต่อมน้ำเหลืองของอวัยวะต่างๆที่สำคัญได้แก่ บริเวณขา ช่องท้องด้านหลัง ท่อนำเชื้ออสุจิ(spermatic cord) แหล่งพักน้ำเชื้อ(epididymis) และเต้านม เป็นต้น โดยเฉพาะที่ท่อนำเชื้ออสุจิพบตัวอ่อนพยาธิบ่อยและมากที่สุดโดยเฉพาะชนิด W.bancrofti ผู้ป่วยส่วนมากมีอาการลมพิษ (urticaria) ร่วมด้วย ตรวจเลือดพบ eosinophils สูงพร้อมกับพบตัวอ่อน (microfilariae) ผิวหนังตรงตำแหน่งที่หลอดน้ำเหลืองอุดตันเหล่านั้น จะมีการเปลี่ยนแปลงคือ เกิดบวมแข็ง ผื่นแดง หลอดน้ำเหลืองจะโป่งมีน้ำเหลืองคั่งอยู่ คลำได้เป็นก้อนขรุขระ

อาการโรคเรื้อรัง

มักจะมีอาการบวมโดยเกิดจากเชื้อ Wuchereria bancrofti ตำแหน่งที่เชื้อพยาธิตัวแก่ชอบอาศัยคือบริเวณอัณฑะทำให้เกิดถุงน้ำในท่อนำเชื้ออสุจิ และหากเป็นมากจะเกิดอาการบวมของอัณฑะ

ผู้ป่วยมีต่อมน้ำเหลืองโต คลำดูแข็งเหมือนยาง ส่วนมากเกิด hydrocoele และ elephantiasis (โรคเท้าช้าง) เนื่องจากตัวแก่ของพยาธิตาย ทำให้เกิดการอักเสบของหลอดน้ำเหลือง เป็นผลทำให้เกิดการอุดตันของต่อมน้ำเหลืองต่างๆ เช่น ถ้าเกิดบริเวณกระเพาะปัสสาวะทำให้เกิดปัสสาวะปนน้ำเหลือง (chyluria) หรืออุดตันบริเวณช่องท้องทำให้เกิดน้ำในช่องท้อง ชนิด chyloperitoneum และตามแขนขาทำให้เกิด elephantiasis

ในรายที่เกิด elephantiasis พบว่าร้อยละ 95 จะเป็นที่ขากับอวัยวะเพศ บริเวณที่พบน้อยรองลงไป ได้แก่ที่แขนและเต้านม สำหรับชนิด Brugia malayi ทำให้เกิดโรคเท้าช้างของ ขา เป็นส่วนใหญ่ อาจเกิดที่แขนร่วมด้วยบ้าง ไม่พบเป็นที่อวัยวะเพศและเต้านม ซึ่งผิดจากชนิด Wuchereria bancrofti พบได้หลายแห่ง ส่วนมากพบเป็นแถวอวัยวะเพศ และผู้ป่วยที่เป็นโรคเท้าช้างมักตรวจพบตัวพยาธิในเลือดน้อยหรือไม่พบเลย นอกจากนี้ยังพบว่า ชนิด Brugia malayi พบในเด็กเล็กได้บ่อยกว่า ชนิด Wuchereria bancrofti

นอกจากนี้ในผู้ป่วยบางรายยังพบอาการของตุ่มแดงที่ใต้ผิวหนัง ตุ่มนี้จะปวดเจ็บ เนื่องจากมีพยาธิที่ตายฝังอยู่ใต้ผิวหนัง

การตรวจวินิจฉัยโรคเท้าช้าง โรคเท้าช้างในไทย โรคเท้าช้าง

ภาพทั้งสามแสดงอวัยวะที่บวมที่พบบ่อยคือบริเวณอวัยวะเพศ แขน ขา

การตรวจวินิจฉัยโรคเท้าช้าง โรคเท้าช้างในไทย โรคเท้าช้างการตรวจวินิจฉัยโรคเท้าช้าง โรคเท้าช้างในไทย โรคเท้าช้างการตรวจวินิจฉัยโรคเท้าช้าง โรคเท้าช้างในไทย โรคเท้าช้าง

ไม่มีอาการ

กลุ่มที่ไม่มีอาการจะแบ่งออกเป็น 2 พวกได้แก่

  • ตรวจพบพยาธิในกระแสเลือดแต่ไม่มีอาการ พวกนี้มักจะมีปัญหาเรื่องระบบภูมิคุ้มกัน
  • ไม่พบตัวพยาธิแต่ตรวจพบ Circulating filarial antigen (CFA)ในเลือด เมื่อให้ยารักษาระดับ Circulating filarial antigen (CFA) จะลดลง

การวินิจฉัย

การตรวจด้วย X-Ray ธรรมดาไม่ช่วยในการวินิจฉัย นอกจากจะเป็นโรค tropical eosinophilia ซึ่งจะพบรอยโรคในปอด การตรวจด้วย Ultrasound อาจจะพบว่าเชื้อตัวแก่กำลังว่ายในน้ำเหลืองน้ำ

  • การตรวจหาตัวเชื้อพยาธิจาก เลือด น้ำเหลือง โดยการเจาะเลือดเวลา 22.00-02.00 น นำมาย้อมด้วยวิธีพิเศษ Giemsa
  • การย้อมตัวเชื้อโดยการกรองเลือดก่อน
  • การตรวจหาCirculating filarial antigen (CFA) เป็นวิธีมาตรฐานสำหรับการตรวจ ซึ่งมีเฉพาะเชื้อ Wuchereria bancrofti

ภาพแสดงตัวเชื้อจากการตรวจเลือด

การรักษา

การรักษามุ่งเน้นที่การป้องกันมิให้เชื้อติดต่อไปสู่บุคคลอื่นโดยการรับยา เพื่อลดปริมาณเชื้อพยาธิให้น้อย จนไม่สามารถติดต่อไปสู่คนอื่น การใช้ยารักษาอาจจะใช้ยาชนิดเดียวหรืออาจจะใช้ยา 2 ชนิดร่วมกันก็ได้เท่าที่มีรายงานการใช้ยารักษามีดังนี้

  • ให้ยาปีละครั้งโดยอาจจะให้ยา 1 หรือสองชนิด(ivermectin(150-200 mg/kg PO as single dose; may repeat q2-3mo), diethylcarbamazine(DEC) and albendazole)ให้ยา DEC (6 mg/kg per day) เป็นเวลา 12 วันสำหรับเชื้อ bancroftian filariasis และให้ยาเป็นเวลา 6 วันสำหรับเชื้อ brugian filariasis. แต่ก็มีคำแนะนำให้ยาชุดเดียวกันปีละ 2 ครั้ง นอกจากนั้นยังมีคำแนะนำให้ยา DEC (ขนาด 6-8 mg/kg per day) เป็นเวลา 2 วันทุกเดือนเป็นเวลา 1 ปี
  • สำหรับ Albendazole แนะนำให้ติดต่อกัน 2-3 สัปดาห์

การดูแลส่วนที่บวม

หากเห็นว่าหน้านี้มีประโยชน์ส่งหน้านี้ให้เพื่อน
e-mail ของเพื่อน:

  • ล้างส่วนที่บวมด้วยน้ำและสบู่วันละ 2 ครั้ง
  • ยกอวัยวะส่วนนั้นในเวลานอน
  • ให้ออกกำลังส่วนที่บวมเพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือด
  • ตัดเล็บให้สั้น
  • สวมรองเท้า
  • หากมีแผลเล็กน้อยให้ทาด้วยยาปฏิชีวนะ

สำหรับผู้ที่มีนำเหลืองไหลก็ให้รับประทานอาหารที่มีน้ำมากและมีสารอาหารสูง

การป้องกัน

การป้องกันที่สำคัญคือการป้องกันไม่ให้ถูกยุงกัดและการรักษาผู้ที่ติดเชื้อ การป้องกันโดยการลดจำนวนยุงยุงจะไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ เนื่องจากเชื้อจะมีอายุนาน 4-6 ปีดังนั้นการควบคุมยุงต้องทำนานและต่อเนื่องมากกว่า 6 ปี ปัจจุบันได้มีการใช้ยา 2 ชนิดมาใช้คือ  albendazole และ ivermectin หรือ diethylcarbamazine [DEC] โดยรับประทานวันละครั้ง

สำหรับการป้องกันส่วนบุคคลทำได้โดยการป้องกันยุงไม่ให้กัดโดยใช้เครื่องมือ ต่างๆ เช่น มุ้ง ยาทากันยุง และยังมีการศึกษาว่าหากใช้ยา DEC (6 mg/kg per day x 2 days each month)สามารถป้องกันการติดเชื้อ

  • ทำลายยุงและแหล่งลูกน้ำ
  • ป้องกันไม่ให้ยุงกัน มุ้ง ยาทากันยุง
  • ให้รีบรักษาผู้ที่เป็นโรคนี

                Link      https://www.siamhealth.net

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อัพเดทล่าสุด