โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) หรือ โรคกาลี เป็นอย่างไร MUSLIMTHAIPOST

 

โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) หรือ โรคกาลี เป็นอย่างไร


1,006 ผู้ชม


โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) หรือ โรคกาลี เป็นอย่างไร
โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) หรือ โรคกาลี

แอนแทรกซ์ (Anthrax) คือ อะไร
โรคแอนแทรกซ์เป็นโรคที่พบมานานมักจะเกิดโรคในสัตว์ ไม่ค่อยเจอโรคในคน ประเทศไทยก็มีการระบาดเป็นระยะมักจะเกิดจากการบริโภคเนื้อสัตว์ที่ตายจากโรค แอนแทรกซ์และปรุงไม่สุก แต่การพัฒนาเป็นอาวุธชีวภาพได้ทำกันมานาน 80 ปี ขณะนี้เชื่อว่าอย่างน้อย 17 ประเทศมีอาวุธนี้ การจะพัฒนาเป็นอาวุธได้นั้นจะต้องใช้ความรู้ชั้นสูงเกี่ยวกับทางชีวภาพ เคยมีหลักฐานถึงการแพร่เชื้อแอนแทรกซ์และ botulism ที่ญี่ปุ่นทั้งหมด 8 ครั้งแต่ไม่สามารถทำให้เกิดโรคได้
นอกจากนั้น เคยเกิดการ แพร่เชื้อแอนแทรกซ์ที่เมือง Sverdlovsk ประเทศสหภาพโซเวียต ในปี 1979 พบว่ามีการติดเชื้อ 79 รายเสียชีวิตไป 68 รายแสดงให้เห็นถึงอันตรายของเชื้อชนิดนี้ การ แพร่ spore ของแอนแทรกซ์จะไม่มีกลิ่น ไม่มีสี ไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า spore สามารถเคลื่อนไปได้ไกลหลายกิโลเมตร และการอยู่ในบ้านก็ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อชนิดนี้ได้ และปัจจุบันก็ยังไม่มีเครื่องมือในการเตือนการระบาด
เคยมี การประเมินว่าหากมีการแพร่เชื้อจำนวน 50 กิโลกรัม ในชุมชนที่มีคน 5 ล้านคน พบว่า จะมีคนเสียชีวิต 250,000 คน โดยที่จะเสียชีวิต 100,000 คนโดยที่ไม่ได้รับการรักษา
โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) หรือ โรคกาลี เป็นอย่างไร

การระบาด

โดยธรรมชาติเชื้อนี้จะพบการระบาดในสัตว์กินพืชเนื่องจากจะกิน spore ที่อยู่บนหญ้า หรืออาจจะเกิดการระบาดจาการกินเนื้อสัตว์ที่มีเชื้อปน เชื้อนี้มีชื่อเรียกว่า Bacillus anthracis เป็นเชื้อที่ใช้ oxygen ย้อมติดสีน้ำเงิน สามารถสร้าง spore ไม่เคลื่อนไหว
โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) หรือ โรคกาลี เป็นอย่างไร
Bacillus anthracis

เมื่อ spore เข้าสู่ร่างกายคนหรือสัตว์ที่มีอาหารเชื้อก็จะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว การที่เชื้อจะก่อให้เกิดโรคในคนได้จะต้องประกอบด้วยปัจจัย 2 ประการ คือ
ต้องมี Capsule ที่ป้องการการทำลายของเม็ดเลือดขาว
จะต้องมีสารพิษ (toxin) 3 ชนิด protective antigen, lethal factor, และ edema factor
สำหรับตัวเชื้อไม่สามารถเจริญในสิ่งแวดล้อม ส่วน spore สามารถคงอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้เป็นเวลานานหลายปี
การเกิดโรคในคน เชื้อนี้สามารถทำให้เกิดโรคในคนได้ 3 รูปแบบ
1.  การ ติดต่อโดยการหายใจ Inhalational Anthrax spore มีขนาด 1 ถึง 5 µm จะผ่านเข้าไปในถุงลมของปอด alveoli เชื้อบางส่วนจะถูกทำลายโดยเม็ดเลือดขาว เชื้อบางส่วนจะเล็ดรอดไปยังต่อมน้ำเหลืองและเริ่มแบ่งตัว ระยะเวลาเกิดอาการตั้งแต่รับเชื้อประมาณ 2-43 วัน ในสัตว์ทดลองจะเกิดอาการหลังได้รับเชื้อ 58 - 98 วัน ปริมาณ spore ที่อาจจะทำให้เสียชีวิต คือ 2500-55000 spores
อาการของโรคแบ่งเป็นสองระยะ
ในระยะเริ่มแรก อาการจะอาการเหมือนหวัดทั่วๆ ไป กล่าวคือ จะมีอาการ มีไข้ หายใจลำบาก ปวดศีรษะ อาเจียน หนาวสั่น อ่อนเพลีย ปวดท้อง เจ็บหน้าอก การตรวจร่างกายและผลตรวจทางห้องปฏิบัติการไม่ช่วยการวินิจฉัยระยะนี้อาจจะ อยู่ช่วงสั้นๆ
ระยะที่สอง ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูงทันที หายใจลำบาก เหงื่อออก ความดันโลหิตต่ำ ต่อมน้ำเหลืองจะโตทั่วๆ ไป x-ray ปอดจะมีลักษณะที่สำคัญ คือ ช่องกลางหน้าอกกว้างดังรูป นอกจากนั้นผู้ป่วยครึ่งหนึ่งจะเลือดออกในเยื่อหุ้มสมอง ผู้ป่วยมักจะเสียชีวิตในไม่กี่ชั่วโมง โดยรวมตั้งแต่เริ่มมีอาการจนกระทั่งเสียชีวิตจะเวลา 3 วัน
2.  แอนแทรกซ์ที่ผิวหนัง Cutaneous Anthrax เกิดจากการที่ผิวหนังที่มีแผลได้รับเชื้อ ผิวหนังบริเวณที่มักจะได้รับเชื้อได้แก่ บริเวณ แขน มือ หน้า คอ เริ่มต้นเป็นผื่นแดงนูน คัน วันที่สองจะแตกเป็นแผล หลังจากนั้นจะมีตุ่มน้ำใสแตกออก และเกิดแผลลึกก้นแผลดำไม่เจ็บ มีอาการบวมรอบแผล แผลจะหายใน 1-2 สัปดาห์ ต่อมน้ำเหลืองมีการอักเสบร่วมด้วย หากได้รักษาด้วยยาปฏิชีวนะจะมีอัตราการตายต่ำ
3.  แอนแทรกซ์ระบบทางเดินอาหาร Gastrointestinal Anthrax เกิดจากที่ได้รับ spore เข้าทางเดินอาหาร หากเกิดโรคบริเวณที่คอก็จะเกิดแผลในคอร่วมกับต่อมน้ำเหลืองรอบคอโต บวม และอาการโลหิตเป็นพิษ (sepsis) หากเชื้อไปทำให้เกิดโรคที่ลำไส้เล็กจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง ครั้นเนื้อครั้นตัว ถ่ายอุจาระเป็นเลือดและเกิดภาวะโลหิตเป็นพิษอัตราการตายจะสูงแม้ว่าจะให้การ รักษาอย่างเร็วแล้วก็ตาม
การวินิจฉัย
ภาพแสดงการย้อมเชื้อจากเลือด การวินิจฉัยจะค่อนข้างยาก เนื่องจากไม่ค่อยได้พบโรคนี้ ให้สงสัยในกรณีที่มีกลุ่มคนไข้ที่มีอาการเหมือนไข้หวัดใหญ่แล้วเสียชีวิต อย่างรวดเร็วในเวลา 24 - 48 ชั่วโมงเป็นจำนวนมาก
โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) หรือ โรคกาลี เป็นอย่างไร
การวินิจฉัยผู้ป่วยแอนแทรกซ์ทางระบบหายใจให้สงสัยในรายที่มีอาการดังกล่าว ร่วมกับภาพถ่ายรังสีทรวงอกดังรูป การตรวจเสมหะมักจะไม่พบเชื้อ การตรวจทางโลหิตหากนำเลือดไปปั่นแล้วย้อมก็อาจจะพบเชื้อในเลือดจะทำให้ วินิจฉัยได้เร็วยิ่งขึ้นและให้การรักษาได้เร็วยิ่งขึ้น การเพาะเชื้อจากเลือดใช้เวลา 2 - 3 วันอาจจะไม่ทันการณ์ หากมีแผลที่ผิวหนังก็สามารถขูดที่ก้นแผลแล้วไปย้อมก็สามารถพบเชื้อได้เหมือน กัน
การรักษา
1. ผู้ ป่วยที่เป็นแอนแทรกซ์ระบบทางเดินหายใจ ยังไม่มีหลักฐานว่าการใช้ยากลุ่มไหนจะได้ผลดี โดยเชื้อที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเชื้อจะไวต่อยา ดังนั้น จึงแนะนำให้ใช้ยากลุ่มนี้เป็นลำดับแรก นอกจากนี้ยา Doxycyclin และ Ciprofloxacin ก็แนะนำให้ใช้ นอกจากนั้นหลังจากให้ยาฉีดจนหายดีแล้วยังแนะนำต้องให้ยารับประทานอีก 60 วัน เพราะว่าการติดเชื้อนี้จะไม่มีการสร้างภูมิคุ้มกัน การให้ยาอีก 602 วัน เพื่อป้องกัน spore ที่เจริญช้า หากได้รับการฉีดวัคซีนก็สามารถลดระยะเวลาที่ให้ยาปฏิชีวนะลงเหลือ 30-45 วัน
2. ผู้ที่เป็นแอนแทรกซ์ที่ผิวหนังให้ยารับประทาน เช่น Amoxycillin, Doxycyclin, Ciprofloxacin นาน 7-10 วัน
การป้องกันหลังสัมผัสโรค
ยังไม่ได้กำหนดแนวทางชัดเจน การกำหนดต้องคำนึงถึง สถานที่ สภาพอากาศ จำนวนคนที่ติดเชื้อ หากพิจารณาแล้วว่าต้องให้ยาปฏิชีวนะก็พิจารณาให้ยากลุ่มดังกล่าวมาแล้วโดย ต้องให้ยานาน 60 วัน
การให้วัคซีน
ได้มีการผลิตวัคซีนตั้งแต่ปี 1970 โดยใช้การฉีดทั้งหมด 6 เข็มโดยให้ 3 เข็มห่างกันเข็มละ 2 สัปดาห์หลังจากนั้นกระตุ้นที่ 6 12 และ 18 เดือนมีการทดลองในลิงพบว่าการฉีด 2 เข็มก็สามารถสร้างภูมิคุ้มกันโดยฉีดห่างกัน 2 สัปดาห์ องค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐแนะนำให้ฉีดในกลุ่มที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่นผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับขนสัตว์ ปสุสัตว์ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการณ์ และช่วงที่มีการใช้แอนแทรกซ์เป็นอาวุธสงครามโดยต้องร่วมกับการรับประทานยา
การให้ยา
1. ในเด็ก หากมีการระบาดของเชื้อแอนแทรกซ์แนะนำให้ใช้ยา Cprofloxacin เป็นยาชนิดแรกจนกระทั่งทราบผลการทดสอบว่าเชื้อไวต่อยา penicillin จึงพิจารณาเปลี่ยนเป็นยา penicillin ทั้งนี้เนื่องจากยา ciprofloxacin อาจจะก่อให้เกิดปัญหาโรคข้อในตอนโต ยาตัวที่สามคือ doxycyclin จะให้ในเด็กที่มีอายุมากกว่า 9 ปีเนื่องจากหากให้ในอายุน้อยกว่านี้จะทำให้กระดูกไม่เจริญ
2. ในคนท้อง แนะนำให้ยา ciprofloxacin แก่คนท้อง ทันที่ที่ทราบผลการเจาะเชื้อว่าเชื้อไวต่อ penicillin ก็รีบเปลี่ยนเป็น penicillin เนื่องจากมีรายงานผลถึงผลเสียในการให้กับคนท้อง ยาตัวที่สามคือ doxycyclin ต้องให้ด้วยความระวังและต้องเจาะเลือดติดตามการทำงานของตับ
การควบคุมการติดเชื้อ
เชื้อ นี้ไม่สามารถติดต่อจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่ง ดังนั้น จึงไม่จำเป็นต้องแยกผู้ป่วย ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดก็ไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีน หรือรับประทานยาป้องกัน นอกเสียจากว่าสงสัยว่าอยู่ในสิ่งแวดล้อมเดียวกันและกลัวว่าจะได้ spore ของเชื้อ
เมื่อผู้ป่วยเสียชีวิตลง ต้องระวังการแพร่เชื้อจากศพ ต้องฝั่งหรือเผา การดองศพอาจจะเป็นแหล่งให้แพร่เชื้อ การทำลายเชื้อหรือ spore สามารถทำได้หลายวิธีคือ ต้มที่ 100 องศาเป็นเวลา 30 นาที หรือการเผา หรือการอบไอน้ำ steam sterilization การใช้สาร 0.05% hypochlorite solution (1 tbsp. bleach per gallon of water) ทำความสะอาด

ที่มา : เว็บไซต์ scimath

อัพเดทล่าสุด