https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
อาการความดันต่ำ ความดันต่ำ อาการ โรคความดันต่ำ MUSLIMTHAIPOST

 

อาการความดันต่ำ ความดันต่ำ อาการ โรคความดันต่ำ


996 ผู้ชม


อาการความดันต่ำ ความดันต่ำ อาการ โรคความดันต่ำ

              อาการความดันต่ำ

Health Guru : ตอนเช้าๆ มีอาการความดันต่ำค่ะ พอจะลุกจากที่นอนแล้วมักจะรู้สึกวูบๆ

กดที่รูปเพื่อดูรูปใหญ่

Health Guru : ตอนเช้าๆ มีอาการความดันต่ำค่ะ พอจะลุกจากที่นอนแล้วมักจะรู้สึกวูบๆ ทำอย่างไรดีคะ?

ที่เราพูดว่าความดันต่ำ บางทีอาจจะไม่ได้ต่ำจริงก็ได้นะครับ เราต้องดูว่ามีปัญหาฮอร์โมน เกลือแร่ต่ำอะไรแบบนี้รึเปล่า

ความดันโลหิตต่ำที่เราพูดถึงกัน ส่วนใหญ่ไม่ใช่โรค มักจะเป็นอาการพวกลุกแล้วเวียนหัวมึนๆ เป็นเรื่องของร่างกายไม่ค่อยฟิต เขาเรียกว่า ความดันต่ำเวลาเปลี่ยนท่า (Autostatic Hypotension) พวกนี้เราจะเห็นว่าบางที คนอายุมากๆ เราจะเห็นว่าเวลานอนลุกตอนเช้าก็ล้มเพราะลุกเร็วเกินไป ต้องตะแคงตัวค่อยๆ ดัน มิเช่นนั้นจะวูบ มึน สาเหตุส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะระบบร่างกายที่ป้องกันไม่ให้เลือดไหลลงมาข้าง ล่าง ทีนี้ถ้าเลือดไหลลงมามากเกินไป คราวนี้ก็มีผลทำให้เลือดส่วนที่เลี้ยงสมองน้อยลงไปแป๊บนึง ทีนี้ร่างกายก็จะมีระบบประสาทอัตโนมัติที่คอยทำหน้าที่ทำให้เส้นเลือดแถวคอ แถวหน้าอก กันไว้ไม่ให้เลือดมันไหลลงมาเร็วเกินไป หากอายุมาก ปอดไม่ดี หรือกินยาความดันบางอย่างอาจทำให้ระบบควบคุมนี้เสียไปได้
ทีนี้ก็ต้องดูว่าเค้าออกกำลังกายดีมั้ย พวกนี้ปกติออกกำลังกายจะช่วยให้ดีขึ้น บางทีนอนพักผ่อนไม่พอก็ทำให้เป็นได้ หากนอนให้พอและออกกำลังกาย พอร่างกายฟิตหน่อย อาการก็จะดีขึ้นแล้ว แต่ไม่ถือว่าเป็นโรคครับ
นพ. วีระเดช สุวรรณลักษณ์ หัวหน้าหน่วยเวชศาสตร์ระบบทางเดินหายใจ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคระบบทางเดินหายใจ ร.พ. พญาไท 1

            Link  https://www.lisaguru.com/

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


              ความดันต่ำ อาการ

สืบเนื่องมาจากอาการป่วยของตัวเอง ที่เป็นหวัด หลังจากหายหวัด ก็มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เวียนหัว นอนไม่หลับ แต่ยังไอไม่หายสักที เลยไปหาหมออีกครั้ง ผลวัดความดันออกมา ความดันต่ำ ทั้งๆทีโดยปกติจะมีความดันปกติ เลยมาหาข้อมูลเกี่ยวกับอาการความดันโลหิตต่ำ พบข้อมูลน่าสนใจหลายๆอย่าง จึงนำมาแบ่งปันให้ได้อ่านไว้นะคะ

โรคความดันโลหิตต่ำ  เป็นเรื่องเกี่ยวกับ สมองอยู่มากเหมือนกัน คือเรื่องของ ความดันโลหิตต่ำ (HYPOTENSION)

เรื่องของเรื่องก็คือ ความดันต่ำไม่เป็นอันตราย ก็จริง แต่ก็คงจะทำให้คุณเป็นคน อ่อนแอ ไม่มีแรง ปวดหัวเวียนหัวอยู่ตลอดเวลา ทำงานทำการแบบออกแรงหน่อยก็ทำไม่ได้ เหล่านี้เป็นต้น     ความดันโลหิตโดยทั่วๆไปสำหรับผู้ ใหญ่นั้น ถ้าเกิน 140/90 ขึ้นไป ถือว่าเป็นความดันโลหิตสูงเกินควร หรือถ้าต่ำกว่า 100/60 ก็ถือว่าต่ำเกินควร

 .... ความดันโลหิตต่ำเกิดขึ้นได้จากต้นตอสองประการ คือ จากระบบบางอย่างของร่างกายบกพร่อง มาตั้งแต่เกิด หรือเกิดจากโรคภัยไข้เจ็บเฉพาะหน้าบางประการ    สาเหตุบางอย่างจากระบบบกพร่องนั้น ได้แก่ คนที่โลหิตจางหรือเลือดน้อย ปริมาณรวมของเลือดต่ำและผนังของเส้นเลือดและการปั๊มของหัวใจผิดปกติ      อันตรายร้ายแรงจากระบบบกพร่องนั้น จะไม่ค่อยมี แต่ผู้ที่ความดันโลหิตต่ำมักจะ เป็นคนที่ไม่มีแรง เวียนหัว หัวหมุนและคลื่นไส้อาเจียนได้ง่าย ทำงาน หนักไม่ค่อยจะได้ เหนื่อยง่าย ถ้าจะพูดแบบชาวบ้านก็คงเป็นเพราะว่า “คนเอว บางร่างน้อยไม่ค่อยมี เรี่ยวมีแรงอย่างนั้นแหละ”

วิธีแก้สำหรับผู้ที่มีโรคภัยเฉพาะหน้าก่อน ถ้าจะให้รู้ว่าเพราะโลหิตจางหรือไม่ คงจะต้องตรวจเลือดก่อน แล้วดูที่ปริมาณเม็ดเลือดขาวก่อนเป็นตัวแรก ต่อจากนั้นให้ดูที่เฮโมโกลบิน (ตัวที่รับเอาออกซิเจนเข้าไว้ในเลือด) แล้วดูเฮมาโตคริต (เปอร์เซ็นต์ของเม็ดเลือดแดงทั้งหมด)    แต่อีกอย่างหนึ่งที่จะต้องเฝ้าดูเป็นพิเศษก็คือ การที่คุณโลหิตจางนั้นเกิดจากการเลือดออกภายในร่างกายหรือไม่ เลือดออกภายในนี้อาจจะเป็นที่แผลในกระเพาะหรือลำไส้ คุณรับประทานอะไรเข้าไปเป็นกรดหรือย่อยไม่หมด ก็จะทำให้แผลภายในเลือดออกไม่หยุด อย่างนี้อันตรายแบบเฉียบพลัน ความดันโลหิตต่ำอย่างแน่นอน

ฉะนั้น อย่าวางใจถ้าความดันโลหิตต่ำจนหมดแรงจะเป็นลม แต่ไม่ พบอาการผิดปกติอย่างอื่น ให้ดูให้แน่ว่ามีเลือดออกภายในร่างกายหรือไม่ รีบส่งโรงพยาบาลด่วน    โรคเฉพาะหน้าที่ทำให้ความดันโลหิตต่ำอีกอย่างหนึ่งและไม่ค่อยมีใครสังเกตพบ ก็คือ ผู้ที่เป็นหวัดอย่างแรง หรือไปติดเชื้อหวัดใหญ่มา ความดันโลหิตมักจะต่ำ แต่ก็ไม่มีใครค่อยสังเกต เพราะถ้าใครเป็นหวัดใหญ่ ก็มักจะให้คนไข้นอนพัก ให้ยาแก้ไข้ ให้อาหารบำรุงไม่กี่วันก็จะหาย  แต่ข้อสังเกตนะครับ ถ้ามีโอกาสตรวจความดันโลหิตและปรากฏว่าเป็นความดันต่ำแล้วละก็ รีบให้ยาบำรุงเลือดด้วย ก็จะหายเร็วขึ้นแน่ ๆ

นี้ก็มาถึงการแก้ผู้ที่มีความดันโลหิตต่ำโดยทั่วไป

1. แก้ด้วยอาหาร ควรจะให้อาหารที่เพิ่มโปรตีน ให้มากๆ สำหรับท่านที่กินอาหารชีวจิตอยู่แล้ว เราให้กินโปรตีนทั้งจากพืชและจากเนื้อสัตว์ได้ จากพืชก็คือ ถั่วต่างๆ เช่น ถั่วเหลือง ถั่วดำ ถั่วแดง และผลิตผลจากถั่ว เช่น เต้าหู้ โปรตีนเกษตร เป็นต้น และเราให้กินปลาหรืออาหารทะเลได้ อาทิตย์ละ 2 ครั้ง   คุณอาจจะเพิ่มปลาได้เป็นอาทิตย์ละสัก 3 ครั้ง และถั่ว-เต้าหู้ให้เพิ่มขึ้นเป็น 25% แทนที่จะเป็น 15% ตามสูตรหนึ่งของเรา

2. กินวิตามิน B COMPLEX 100 มก. เป็นประจำวันละ 1 เม็ด และให้แถม B1 100 มก.  และ B12 500 ไมโครแกรม อีกอย่างละเม็ด

3. แคลเซียม 1,000 มก. และโปแตสเซียม 500 มก. กินประมาณ 1 เดือน เว้น 1 เดือน

4. วิตามิน E 400 IU. วันละ 1 เม็ด

5. ขอให้ออกกำลังกายเบาๆก่อน ใช้วิธีรำตะบองแบบชีวจิตจะดีที่สุด แรกใช้แต่ละท่า ประมาณ 20 ครั้ง เมื่อรู้สึกดีแล้ว ให้เพิ่มเป็นท่าละ 3

6. ใช้หัวแม่มือนวดเบาๆ บริเวณกลาง หน้าอกแล้วเลื่อนไปที่บริเวณใกล้รักแร้สองข้าง

           Link   https://www.gotoknow.org

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


             

            โรคความดันต่ำ

โรค หรือ ภาวะ ความดันโลหิตต่ำ (Hypotension) คือภาวะที่ความดันโลหิต (เลือด) ซีสโตลิค (Systolic blood pressure) ต่ำกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท และ/หรือ ความดันโลหิตไดแอสโตลิค (Diastolic blood pressure) ต่ำกว่า 60 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งความดันโลหิตต่ำอาจต่ำเพียงความดันซีสโตลิค หรือ ไดแอสโตลิกตัวใดตัวหนึ่ง หรือต่ำทั้งสองตัวก็ได้ ซึ่งโดยทั่ว ไปแพทย์ไม่จัดความดันโลหิตต่ำเป็นโรค แต่จัดเป็นภาวะ

ภาวะความดันโลหิตต่ำเป็นภาวะที่ยังไม่มีการบันทึกอุบัติการณ์ที่แน่นอน เพราะเมื่อความดันโลหิตต่ำไม่มาก มักไม่ก่ออาการ และเมื่อมีอาการ ผู้ป่วยจะมาพบแพทย์ด้วยอาการ เช่น วิงเวียน เป็นลม ไม่ได้มาด้วยเรื่องความดันโลหิตต่ำ ดังนั้น การจดบันทึกของโรงพยาบาล จึงมักไม่ได้ระบุว่า เป็นอาการจากความดันโลหิตต่ำ

อย่างไรก็ตาม ภาวะความดันโลหิตต่ำ พบเกิดได้ทั้งสองเพศใกล้เคียงกัน และพบได้ในทุกอายุ ตั้งแต่เด็กอ่อนไปจนถึงผู้สูงอายุ ทั้งนี้ขึ้นกับสาเหตุ

อะไรเป็นสาเหตุและกลไกให้เกิดความดันโลหิตต่ำ?

โรค/ภาวะความดันโลหิตต่ำเกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งมีกลไกการเกิดดังนี้

  • ปริมาณน้ำ ของเหลว และ/หรือเลือด (โลหิต) ในการไหลเวียน เลือดลดลง จึงมีเลือดกลับเข้าสู่หัวใจน้อยลง หัวใจจึงเต้นบีบตัวลดลง ส่งผลให้ความดันโลหิตลดลง เช่น ภาวะขาดน้ำ และ/หรือขาดเกลือแร่ ภาวะเลือดออกรุนแรง ภาวะร่างกายเสียน้ำจากท้องเสียรุนแรง หรือจากมีแผลไหม้รุนแรง การลุกขึ้นทันทีจากท่านอนโดยเฉพาะเมื่อนอนนานๆ เมื่อไม่ค่อยเคลื่อนไหวร่างกาย หรือเมื่อนั่งนานๆ (ปริมาณเลือดจะคั่งที่ขา เมื่อลุกขึ้นทันที เลือดจึงไหลกลับหัวใจได้น้อย ความดันโลหิตจึง ต่ำลงทันที) ซึ่งกลไกนี้ พบเป็นสาเหตุของความดันโลหิตต่ำได้บ่อยที่สุด โดยเฉพาะในผู้สูงอายุจากไม่ค่อยดื่มน้ำ เรียกภาวะความดันโลหิตต่ำจากกลไกนี้ว่า ภาวะความดันโลหิตต่ำหรือตกจากการเปลี่ยนท่า (Postural or Orthostatic hypoten sion)
  • ภาวะโลหิตจาง เพราะส่งผลให้ความเข้มข้นของเลือดลดลงจากปริมาณเม็ดเลือดแดงลดลง ส่งผลให้ปริมาตรในภาพรวมของเลือดลง จึงส่งผลให้ความดันโลหิตลดต่ำลง
  • ในบางคนภายหลังกินอาหารมื้อหลักปริมาณสูงมาก จึงส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงกระเพาะอาหาร และลำไส้เพิ่มขึ้น เกิดภาวะคล้ายมีเลือดคั่งในกระเพาะอาหารและลำไส้ เพราะกระเพาะอาหารและลำไส้ทำงานเพิ่มขึ้น จึงขาดปริมาณเลือดโดยรวมในการไหลเวียนในกระแสโลหิต เลือดจึงกลับเข้าหัวใจน้อยลง ส่งผลให้เกิดความดันโลหิตต่ำ เรียกภาวะความดันโลหิตต่ำจากกลไกนี้ว่า Postprandial hypotension
  • จากโรคของประสาทอัตโนมัติ ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการบีบตัวของหลอดเลือด และการบีบตัวของหัวใจ จึงทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดขยาย เลือดจึงคั่งอยู่ในเนื้อเยื่อ/อวัยวะต่างๆเพิ่มขึ้น การไหลเวียนโลหิตจึงลดลง เลือดกลับเข้าหัวใจลดลง จึงส่งผลให้ความดันโลหิตต่ำ เช่น โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) และโรคความจำเสื่อมบางชนิด ซึ่งเรียก ภาวะความดันโลหิตต่ำจากกลไกนี้ว่า Neurogenic orthostatic hypotension
  • จากภาวะติดเชื้อรุนแรงในกระแสโลหิต/เลือด (ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ/ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด) ส่งผลให้เกิดหลอดเลือดขยายตัวมากขึ้นพร้อมๆกัน รวมทั้งเกิดการล้มเหลวในการทำงานของหัวใจและปอด จึงส่งผลให้เกิดภาวะความดันโลหิตต่ำ
  • จากการแพ้ยา หรือแพ้อาหาร หรือแพ้สารต่างๆอย่างรุนแรง ส่งผลให้หลอดเลือดทั่วตัวขยายตัวทันที และร่วมกับมีของเหลว/น้ำในเลือดซึมออกนอกหลอดเลือด จึงเกิดการขาดเลือดไหลเวียนในกระแสโลหิต ความดันโลหิตจึงต่ำลง เรียกภาวะความดันโลหิตต่ำจากกลไกนี้ว่า Anaphylaxis
  • จากโรคหัวใจ หัวใจจึงบีบตัวเต้นผิดปกติ จึงลดแรงดันในหลอดเลือด ส่งผลให้ความดันเลือดต่ำ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ
  • จากการตั้งครรภ์ มักเกิดในระยะ 6 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ จากการที่ต้องเพิ่มเลือดหล่อเลี้ยงทารกในครรภ์ การไหลเวียนโลหิต หรือปริมาตรโลหิตในมารดาจึงลดลง ส่งผลให้เกิดความดันโลหิตต่ำได้ แต่ร่างกายมารดามักปรับตัวได้เองเสมอเมื่อมารดามีสุขภาพแข็ง แรง
  • จากโรคของต่อมไร้ท่อซึ่งสร้างฮอร์โมนควบคุมการทำงาน ของหัวใจ ของหลอดเลือด และของเกลือแร่ต่างๆที่เป็นตัวอุ้มน้ำในหลอดเลือด จึงส่งผลถึงการไหลเวียนโลหิต จึงเกิดความดันโลหิตต่ำได้ เช่น โรคของต่อมไทรอยด์ โรคของต่อมหมวกไต หรือภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในโรคเบาหวาน
  • ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด เช่น ยาขับน้ำ ยาลดความดันโลหิตสูง ยาไวอะกรา (Viagra) หรือ ยาทางจิตเวชบางชนิด
  • จากมีการกระตุ้นวงจรประสาทอัตโนมัติและสมองที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของ หลอดเลือด และหัวใจ ซึ่งเมื่อเกิดการกระตุ้นวงจรนี้ จะส่งผลให้หลอดเลือดและหัวใจทำ งานผิดปกติ ความดันโลหิตจึง ต่ำลงได้ เรียกภาวะความดันโลหิตต่ำจากกลไกนี้ว่า Neurally mediated hypotension เช่น จากอารมณ์/จิตใจ (กลัวมาก ตกใจ เห็นภาพสยดสยอง หรือ เจ็บ/ปวดมาก) จากการยืน หรือ นั่งไขว่ห้างนานๆ การอยู่ในที่แออัด และ/หรืออบอ้าว การอาบ น้ำอุณหภูมิอุ่นจัด หรือการหยุดพักทันทีขณะออกกำลังกายอย่างหนัก

ใครบ้างมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตต่ำ?

ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตต่ำ ได้แก่

โรคความดันโลหิตต่ำมีอาการอย่างไร?

อาการพบบ่อยของโรค/ภาวะความดันโลหิตต่ำ คือ

  • วิงเวียน หน้ามืด เป็นลม
  • ตาลาย
  • คลื่นไส้ อาจอาเจียน
  • มือ เท้าเย็น
  • เหงื่อออกมาก
  • ชีพจรเบา เต้นเร็ว
  • หายใจเร็ว เหนื่อย
  • กระหายน้ำ ตัวแห้ง ปัสสาวะน้อย เมื่อเกิดจากภาวะขาดน้ำ
  • บางคนอาจมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก เมื่อเกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจ
  • อาจมีผื่นแดงขึ้นตามตัว หน้า ตัวบวม เมื่อเกิดจากการแพ้สิ่งต่างๆ
  • อาจชัก
  • หมดสติ เมื่อความดันโลหิตต่ำมาก

แพทย์วินิจฉัยโรคความดันโลหิตต่ำได้อย่างไร?

แพทย์วินิจฉัยโรค/ภาวะความดันโลหิตต่ำได้จาก การวัดความดันโลหิต และวินิจฉัยหาสาเหตุได้จาก ประวัติอาการ ประวัติการเจ็บป่วยทั้งในอดีตและในปัจจุบัน ประวัติกินยาต่างๆ หรือ กินอาหาร หรือถูกสัตว์/แมลงต่อย การตรวจร่างกาย และการตรวจเพิ่มเติมต่างๆ ทั้งนี้ขึ้น กับอาการผู้ป่วย และดุลพินิจของแพทย์ เช่น การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เมื่อสงสัยโรคหัวใจ หรือการตรวจเลือดดูค่าน้ำตาลเมื่อสงสัยภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำจากโรคเบาหวาน เป็นต้น

รักษาโรคความดันโลหิตต่ำได้อย่างไร?

แนวทางการรักษาโรค/ภาวะความดันโลหิตต่ำ คือ การเพิ่มความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติตามสาเหตุ เช่น ให้น้ำและเกลือแร่ทางหลอดเลือดดำเมื่อเกิดจากภาวะขาดน้ำ การให้เลือดเมื่อเสียเลือดมาก หรือการให้ยาเพิ่มความดันโลหิต/ยาเพิ่มการบีบตัวของหลอดเลือด เมื่อเกิดจากหลอดเลือดขยายตัวผิดปกติ

นอกจากนั้น คือ การรักษาสาเหตุ เช่น รักษาโรคหลอดเลือดหัวใจเมื่อเกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจ ปรับยาเบาหวานเมื่ออาการเกิดจากโรคเบาหวาน

โรคความดันโลหิตต่ำรุนแรงไหม? มีผลข้างเคียงไหม?

โดยทั่วไป โรค/ภาวะความดันโลหิตต่ำมักไม่รุนแรง คนส่วนใหญ่มักไม่มีอาการ และไม่ทราบว่าตนเองมีความดันโลหิตต่ำ และเมื่อมีอาการ ภายหลังการพักผ่อน ผู้ป่วยมักกลับมามีความดันโลหิตปกติได้

อย่างไรก็ตาม ความรุนแรงของโรค/ภาวะความดันโลหิตต่ำ ขึ้นกับสาเหตุ เช่น เมื่อเกิดจากดื่มน้ำน้อย ความรุนแรงต่ำ เมื่อเกิดจากเสียน้ำ เสียเลือดมาก ความรุนแรงสูงขึ้น หรือเมื่อเกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจ ความรุนแรงจะสูงมาก

ผลข้างเคียงจากโรค/ภาวะความดันโลหิตต่ำ คือ สมองขาดเลือด อาจหมดสติ จึงเกิดการล้ม หรือ การชักได้

ดูแลตนเองอย่างไร? ควรพบแพทย์เมื่อไร?

การดูแลตนเอง การพบแพทย์เมื่อมีโรคความดันโลหิตต่ำ ได้แก่

  • ปฏิบัติตามแพทย์ พยาบาลแนะนำ
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว เมื่อไม่มีโรคต้องจำกัดน้ำดื่ม
  • เคลื่อนไหวร่างกายเสมอ
  • เมื่อจะเปลี่ยนท่าทาง เช่น จากนอนเป็นยืน โดยเฉพาะผู้สูงอายุต้อง ค่อยๆเปลี่ยนท่าทาง จากนอนอาจต้องลุกนั่งพักสักครู่ก่อนแล้วจึงยืน จากนั่งอาจต้องยืนยึดจับสิ่งยึดเหนี่ยวให้มั่นคงก่อน จึงก้าวเดิน
  • หลีกเลี่ยงการยืนนานๆ แต่ถ้าเป็นอาชีพ อาจต้องใส่ถุงน่องช่วยพยุงหลอดเลือดไม่ให้เกิดการแช่ค้างของเลือด และไม่นั่งไขว่ห้างนานๆ เพื่อลดการเบียดทับหลอดเลือด จึงเพิ่มการไหลเวียนเลือด
  • กินยาต่างๆอย่างถูกต้อง และรู้จักผลข้างเคียงของยาที่กินอยู่
  • กินอาหารแต่ละมื้ออย่าให้ปริมาณมากเกินไป
  • ต้องจำให้ได้ว่าแพ้อะไร เพื่อการหลีกเลี่ยง
  • ดูแล รักษา ควบคุมโรคต่างๆที่เป็นสาเหตุ
  • ควรพบแพทย์เมื่อ
    • มีอาการของโรค/ภาวะความดันโลหิตต่ำบ่อยๆ ควรต้องหาสาเหตุ เพื่อการรักษาควบคุมโรคแต่เนิ่นๆ
    • อาการต่างๆเลวลง หรือ ไม่ดีขึ้นหลังดูแลตนเอง
    • อาการต่างๆรุนแรง โดยเฉพาะอาการทางการหายใจ และการแน่นเจ็บหน้า อก เพราะอาจเป็นอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจ
    • กังวลในอาการ

ป้องกันโรคความดันโลหิตต่ำอย่างไร?

การป้องกันโรคความดันโลหิตต่ำ เช่นเดียวกับที่ได้กล่าวแล้วในหัวข้อการดูแลตนเองที่สำคัญ คือ

  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว เมื่อไม่มีโรคที่ต้องจำกัดน้ำดื่ม
  • ระมัดระวังในการเปลี่ยนท่าทางโดยเฉพาะเมื่อต้องลุกขึ้นยืน เปลี่ยนท่าทางให้ช้าลง ทำทีละขั้นตอนเสมอ เช่น จากนอน เป็นนั่งพัก แล้วจึงค่อยลุกขึ้นยืน
  • รักษา และควบคุมโรคต่างๆที่เป็นสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยง
  • ระมัดระวังการใช้ยาต่างๆ ไม่ซื้อยากินเองโดยไม่ปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อน และกินยาแต่ละชนิดควรต้องรู้ผลข้างเคียงจากยา

บรรณานุกรม

  1. Hypotension. https://en.wikipedia.org/wiki/Hypotension [2012, Feb 3].
  2. Figueroa, J. et al. (2010). Preventing and treating orthostatic hypotension: as easy as A,B,C. Cleveland Clinic Journal of Medicine. 77, 298-306.
  3. Freeman, R. (2008). Neurogenic orthostatic hypotension. N Engl J Med. 358, 615-624.
  4. Lanier, J. et al. (2011). Evaluation and management of orthostatic hypotension. Am Fam Physician. 84, 527-536.
  5. Neurally mediated hypotension https://brendashue.tripod.com/nmh2.html [2012, Feb3].

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ พญ. พวงทอง ไกรพิบูลย์ พบ.
วว. รังสีรักษาและเวชศาสตร์นิวเคลียร์

      Link    https://haamor.com

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อัพเดทล่าสุด