https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
โรคหูดหงอนไก่วิธีทำให้หาย รูปภาพโรคหูดหงอนไก่ โรคหูดหงอนไก่ที่ทวารหนัก MUSLIMTHAIPOST

 

โรคหูดหงอนไก่วิธีทำให้หาย รูปภาพโรคหูดหงอนไก่ โรคหูดหงอนไก่ที่ทวารหนัก


2,671 ผู้ชม


โรคหูดหงอนไก่วิธีทำให้หาย รูปภาพโรคหูดหงอนไก่ โรคหูดหงอนไก่ที่ทวารหนัก

                   โรคหูดหงอนไก่วิธีทำให้หาย

  โรคหูดหงอนไก่เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เกิดจากเชื้อฮิวแมนแปบปิโลมาไวรัส (Human papilloma virus) หรือเรียกสั้นๆว่า HPV   โรคนี้เป็นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ในเด็กมักมีอาการที่ฝ่ามือฝ่าเท้า ในผู้ใหญ่พบบ่อยในวัยเจริญพันธุ์ คือ ในช่วงอายุ  16-25 ปี เชื้อชนิดนี้ชอบอยู่บริเวณที่อับชื้น ทำให้เกิดรอยโรคที่อวัยวะสืบพันธุ์

 

การติดต่อ

               1.  ทางเพศสัมพันธ์ พบประมาณ 50 -70 % ส่วนใหญ่พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย

               2.  จากแม่ไปสู่ลูก พบในกรณีที่ทารกคลอดผ่านช่องคลอดของมารดาที่เป็นโรคหูดหงอนไก่ แต่พบได้จำนวนน้อย

ระยะฟักตัว  

               ประมาณ 3 สัปดาห์ถึง 8 เดือน โดยเฉลี่ยประมาณ 2 -3 เดือน แต่ผู้ที่สัมผัสเชื้อนี้ไม่ได้ติดโรคทุกราย ขึ้นอยู่กับภาวะภูมิคุ้มกันและจำนวนเชื้อที่ได้รับ ในหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อนี้จะมีอาการของโรคมากกว่าคนที่ไม่ตั้งครรภ์

อาการ

               เริ่ม จากรอยโรคเล็กๆแล้วขยายตัวใหญ่ขึ้น เป็นติ่งเนื้อขรุขระคล้ายหงอนไก่ บางชนิดไม่เป็นติ่งแต่มีลักษณะแบนราบ ผิวขรุขระ บางชนิดมีขนาดใหญ่มากและผิวขรุขระคล้ายดอกกะหล่ำ ผู้ที่เป็นโรคนี้มีโอกาสติดเชื้อกามโรคอื่นร่วมด้วย เช่น ซิฟิลิส หนองใน พยาธิในช่องคลอด  การติดเชื้อเหล่านี้ผู้ป่วยจะมีอาการปัสสาวะแสบ มีตกขาว คัน หรือมีแผลที่อวัยวะเพศเพิ่มขึ้น

       ตำแหน่งที่พบ

              ในผู้หญิง  พบ ได้ที่ปากช่องคลอด ผนังช่องคลอด ปากมดลูกทวารหนักและบริเวณฝีเย็บ หูดจะเริ่มจากขนาดเล็กๆและโตขึ้นเรื่อยๆ การตั้งครรภ์จะทำให้หูดโตเร็วกว่าปกติ

            ในผู้ชาย  มักพบใต้หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ เส้นสองสลึง และรูเปิดท่อปัสสาวะ และอาจพบบริเวณรอบทวารหนักในผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก

             ใน ทารกที่คลอดผ่านช่องคลอดของมารดาที่มีหูดหงอนไก่ อาจจะทำให้เกิดโรคซึ่งมีอาการแตกต่างกัน ตั้งแต่เสียงแหบจนถึงมีการอุดกั้นของกล่องเสียง

 

ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงในการติดเชื้อ

        1.    มีคู่นอนหลายคน

        2.    มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย

        3.    มีพฤติกรรมรักร่วมเพศ

        4.    คู่นอนมีการติดเชื้อหูดหงอนไก่       

 

การเลือกใช้วิธีการรักษาชนิดใดนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างดังต่อไปนี้  

              1.  อาการของโรค

              2.  ค่าใช้จ่ายในการรักษา

              3.  การเดินทางของผู้ป่วย

              4.  ดุลพินิจของแพทย์

              5.  ตำแหน่งที่เป็น

              6.  การตั้งครรภ์

 

การรักษา

               1. การจี้ด้วยสารเคมี เช่น 80% กรดไตรคลอโรอะเซติค (Trichloroacetic acid)  และ 25% โพโดฟิลลีน   (Podophyllin)  จี้บริเวณที่เป็นหูดโดยบุคลากรทางการแพทย์สัปดาห์ละครั้ง ติดต่อกันทุกสัปดาห์จนหาย  ถ้า  รักษาติดต่อกันเกิน 6 ครั้งแล้วไม่ดีขึ้น แพทย์จะพิจารณารักษาด้วยวิธีอื่น หลังจี้ยาประมาณ 1 ชั่วโมงไม่ควรให้บริเวณที่ถูกจี้โดนน้ำ

               2. การใช้ยาทาบริเวณที่เป็นหูด เช่น  5% อิมิควิโมดครีม  (5% Imiquimod  cream) จะช่วยลดปริมาณไวรัสทำให้หูดหายไปและยังช่วยลดอัตราการกลับเป็นซ้ำของโรค อีกทั้งสะดวกในการใช้เพราะผู้ป่วยสามารถนำกลับไปทา เองที่บ้านได้ แต่มีข้อเสียคือ   ราคาแพง

               3. การผ่าตัด ทำได้หลายวิธี คือ

               3.1  การจี้หรือการตัดออกด้วยไฟฟ้า

               3.2  การจี้หรือตัดออกโดยใช้ความเย็นจัด

               3.3  การผ่าตัดด้วยแสงเลเซอร์ มักใช้รักษาหูดที่มีขนาดใหญ่

                           Link      https://www.si.mahidol.ac.th

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

                         รูปภาพโรคหูดหงอนไก่

     โรคหูดหงอนไก่คืออะไร ?

              โรคหูดหงอนไก่ (condyloma acuminata) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้บ่อยโรคหนึ่ง ลักษณะเป็นหูดที่เกิดที่อวัยวะเพศ รวมทั้งที่ทวารหนัก สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัสที่มีชื่อเรียกว่า human papilloma virus เป็นไวรัสที่ก่อให้เกิดหูดชนิดต่างๆ มีมากกว่า 180 สายพันธุ์ แต่ละสายพันธุ์ก็ก่อโรคหูดแตกต่างกันไป ที่สำคัญมีหลายสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดมะเร็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดหูดบริเวณอวัยวะเพศ โดยทั่วไปมักพบเป็นติ่งเนื้อสีชมพูรวมกันเป็นก้อน คล้ายหงอนไก่ พบได้หลายรูปแบบ อาจมีจำนวนและขนาดที่แตกต่างกันได้มาก และอาจพบได้มากกว่าหนึ่งแห่ง ตำแหน่งที่พบบ่อยเป็นที่บริเวณคอคอดของอวัยวะเพศชาย นอกจากนี้ยังพบได้มากที่บริเวณแคมช่องคลอดและปากมดลูกของเพศหญิงปกติ

              โรคหูดหงอนไก่จะไม่มีอาการอะไร เว้นเสียแต่อาจมีการฉีกขาดเลือดออก หรือติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำเติม จึงทำให้เกิดการอักเสบเป็นหนองได้

 

ที่มา : https://www3.easywebtime.com/aids_stis/Condyloma_acuminata.html

                  

                  สาเหตุ : หุด หงอนไก่ ติดต่อมาจากการมีเพศสัมพันธ์ไม่ว่าทางสอดใส่หรือการทำรกด้วยปากทำรักทางทวาร หนัก พบมากบริเวณ ปากช่องคลอด ในช่องคลอด รอบๆ ทวารหนัก และแม้แต่ในทวารหนัก หากทำรักด้วยปาก...หูดหงอนไก่สามารถติดในปากคอหลอดลมและ กล่องเสียงได้ด้วย ดังนั้นถ้าไม่แน่ใจ ควรสวมถุงยางอนามัย แม้ถุงยางอนามัยไม่อาจป้องกันโรคนี้ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ก็สามารถป้องกันได้เป็นส่วนใหญ่ โดยเชื้อไวรัส ชื่อ human papilloma virus (HPV) โดยเป็นการติดเชื้อที่ชั้นหนังกำพร้า เชื้อไวรัสในกลุ่มนี้มีมากกว่า 100 ชนิดที่สามารถแยกเชื้อได้ในปัจจุบัน หลายชนิดพบว่าเกี่ยวข้องกับการเกิดเป็นมะเร็งทั้งในเพศชายและเพศหญิง ร้อยละ 90 ของโรคหูดหงอนไก่เกิดจาก HPV types 6 และ 11 ซึ่งทั้งสองชนิดนี้ไม่ค่อยเกี่ยวข้องกับการเกิดเป็นมะเร็ง

                  ส่วนน้อยหูดหงอนไก่ เกิดจากการใช้ของร่วมกัน การสัมผัสถูกหูดหงอนไก่  หรือในเด็กที่คลอดธรรมชาติ ซึ่งสามารถติดมาจากมารดาที่มีหูดหงอนไก่ที่อวัยวะเพศ

                  หูดหงอนไก่ส่วนใหญ่จึงถือว่าเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หากไม่มีเพศสัมพันธ์โอกาสเป็นหูดหงอนไก่แม้มี แต่ก็เกิดได้น้อยมาก 

 

                  

                  อาการ • ลักษณะโรคหูดหงอนไก่ ปกติจะมีตุ่มหงอนไก่ คล้ายตุ่มหูด หรือหงอนของไก่ สีแดงสด บริเวณอวัยวะเพศ หรือข้างเคียง ถ้ากระทบแรงๆ อาจจะมีเลือดออกได้ บางครั้งถ้าอยู่ในช่องคลอดลึกอาจจะมองไม่เห็นแต่ มีอาจมีอาการตกขาวได้ ถ้าอยู่แถวปากช่องคลอด ก็จะเห็นได้ง่าย

                             • ในผู้ใหญ่รอยโรคมักจะเกิดบริเวณ ต้นขา บริเวณอวัยวะเพศ ก้น ทวารหนัก
                             • ในเด็กอาจจะเกิดที่แก้ม ลำตัว แขน ขา ลักษณะผิวในระยะแรกจะเป็นผื่นสีออกน้ำตาลไปทางชมพู เมื่อผื่นมีขนาดใหญ่จะมีสีน้ำตาลผื่นนูนหนาขึ้น อาจจะทำให้เกิดอาการบริเวณผื่นได้เล็กน้อย หากหูดโตขึ้นจะมีลักษณะคล้ายดอกกระหล่ำซึ่งจะพบได้ที่ปลายอวัยวะเพศ อัณฑะ และทวารหนัก ส่วนผู้หญิงจะพบได้บริเวณแคม ช่องคลอด ปากมดลูก ทวารหนัก นอกจากนั้นหูด ยังสามารถพบได้บริเวณ
ปากมดลูก ช่องคลอด ท่อปัสสาวะ
                             • สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคเอดส์ ผื่นจะมีขนาดใหญ่
                             • การติดเชื้อไวรัส HPV บริเวณอวัยวะเพศ สามารถทำให้เกิดรอยโรคได้หลายแบบ ได้แก่
 
              1. หูดหงอนไก่ ลักษณะเป็นติ่งเนื้อสีชมพูงอกบานออกทางด้านนอก ดูคล้ายหงอนไก่ หรือดอกกะหล่ำ ในผู้ชายมักเป็นที่ด้านในของหนังหุ้มปลายองคชาติ บางครั้งอาจเกิดที่ปากท่อปัสสาวะ และอาจงอกลามลึกเข้าไปภายในได้ ผู้ชายรักร่วมเพศ มักพบหูดที่รอบทวารหนักซึ่งอาจลุกลามเข้าไปภายในได้ ผู้หญิงพบบ่อยที่ปากช่องคลอด ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส HPV type 6,11

             2. หูดชนิดแบนราบ มักพบบริเวณปากมดลูก ลักษณะแบนราบ ส่วนใหญ่เกิดจาก HPV 16 ปัจจุบัน
 
             3. หูดชนิดกลุ่ม ลึกษณะเป็นตุ่มขนาด 3 – 4 มม. สีน้ำตาลแดง ม่วง หรือดำ ผิวเรียบ หรือขรุขระเล็กน้อย มักเกิดขึ้นทีเดียวพร้อมกันหลายตุ่ม และอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ส่วนใหญ่เกิดจาก HPV type 16,18
 
             4. หูดก้อนใหญ่ลักษณะเป็นหูดขนาดใหญ่ที่โตเร็วมากจนกลายเป็นก้อนใหญ่ปกคลุม อวัยวะเพศไว้ทั้งหมดส่วนใหญ่เกิดจาก HPVtype 6   บางคนอาจเรียกว่าเป็นหูดยักษ์ สาเหตุที่ทำให้หูดโตเร็ว ได้แก่ การตั้งครรภ์ ตกขาว ความสกปรก การติดเชื้อ
               
                การติดต่อ 1.จากเพศสัมพันธ์โดยมีการสัมผัสระหว่างผิวหนังกับผิวหนัง เป็นทางติดต่อที่พบบ่อยที่สุด
                               2.ติดต่อโดยการใช้เครื่องใช้ส่วนตัวร่วมกัน เช่นเสื้อผ้าหรือผ้าเช็ดตัว สบู่อาบน้ำ
                               3.ติดต่อโดยการสัมผัสหรือเกา แล้วไปสัมผัสบริเวณอื่น
              
               การรักษา• โรคส่วนใหญ่หายได้เอง แต่การตัดออกจะป้องกันการแพร่กระจายไปส่วนอื่น
                               • การกำจัดอาจจะใช้การผ่าตัดเอาออก ใช้ laser หรือจี้ด้วยไฟฟ้า
                               • หรืออาจจะใช้สารเคมีเช่น podophyllin, cantharidin, phenol, silver nitrate, trichloracetic acid or iodine
                               • ใช้ความเย็นจี้ Cryotherapy
                               • สำหรับคนที่ตั้งครรภ์ไม่แนะนำให้ใช้ยาทา

             วิธีการใช้สารเคมีจี้ออก
          • การใช้ Podofilox 0.5% solution or gel โดยใช้ cotton bud ทาหูดวันละ 2 ครั้งเป็นเวลา 3 วันและพัก 4 วันหากยังไม่หลุดให้ทาซ้ำ
          • การใช้ Imiquimod 5% cream ทาวันละครั้งก่อนนอน ทา 3วัน/สัปดาห์เป็นเวลา 16 สัปดาห์ ใช้สบู่ล้างออกหลังจากทาไปแล้ว 6-10 ชั่วโมง
          • การใช้ Podophyllin resin 10%-25% ทาบริเวณที่เป็น แล้วปล่อยให้แห้งหลังจากนั้น 4 ชั่วโมงจึงล้างออก ทาสัปดาห์ละครั้ง
          • การใช้กรด Trichloroacetic acid (TCA) or Bichloroacetic acid (BCA) 80%-90% ทา บริเวณที่ถูกทาจะมีสีขาว อย่าทาเป็นบริเวณกว้างเกินไป ทาสัปดาห์ละครั้ง
                       

               การป้องกัน :
        1. การสวมถุงยางจะป้องกันได้เฉพาะผิวหนังขององคชาติและช่องคลอดเท่านั้น ไม่สามารถป้องกันผิวหนังบริเวณอื่น
        2. ช่วงที่เป็นโรคไม่ควรจะมีเพศสัมพันธ์
        3. มีเพศสัมพันธ์กันสามีหรือภรรยาคนเดียว
 ข้าพเจ้าได้จัดทำบล๊อกนี้ขึ้น โดยนำบล๊อกของรุ่นพี่ https://www.suriyothai.ac.th/node/1200 มาต่อยอดให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
 
 
 

               โรคหูดหงอนไก่ที่ทวารหนัก

โรคหงอนไก่

โรคหงอนไก่เป็นโรคติดเชื้อที่ผิวหนังเกิดจากเชื้อ HPV มักจะเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ลักษณะเป็นผื่นยื่นออกมา การรักษาจะทำได้โดยการจี้ด้วยยา

โรคหงอนไก่ที่อวัยวะเพศ

โรคหูดที่อวัยวะเพศหรือที่เรียกว่า Condyloma acuminatum เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เกิดจากเชื้อไวรัสที่เรียกว่า human papillomavirus (HPV) ซึ่งมีมากกว่าร้อยชนิด โรคหูดส่วนใหญ่ร้อยละ 90 เกิดจากเชื้อ HPV type 6,11ซึ่งไม่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง ชนิดที่อาจจะก่อให้เกิดมะเร็งได้แก่ชนิด types 33, 35, 39, 40, 43, 45, 51-56, 58 ชนิดชนิดที่ทำให้เกิดมะเร็งได้มากได้แก่ชนิด (types 16, 18)


ตำแหน่งที่พบโรคหูด

โรคหูดที่อวัยวะเพศตำแหน่งที่พบบ่อยได้แก่ อวัยวะเพศชาย penis, แคมใหญ่ vulva, ช่องคลอด vagina, ปากมดลูก cervix, บริเวณหัวเหน่า perineum, และบริเวณรอบๆทวารหนัก perianal ตำแหน่งอื่นที่อาจจะพบได้แก่ คอ หลอดลม บางแห่งติดเชื้อแต่ไม่มีอาการซึ่งจะเป็นสาเหตุให้เกิดมะเร็ง

ลักษณะของหูดเป็นอย่างไร

หูดจะมีลักษณะแบน สีออกชมภูหรือดำ มักจะไม่เป็นติ่ง มักจะเกิดได้หลายๆแห่ง

โรคนี้พบบ่อยแค่ไหน

  • เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบบ่อยที่สุด มักจะพบในวัยรุ่นและวัยหนุ่ม
  • ผู้ที่มีโรคทำให้ภูมิอ่อนแอ เช่นโรคเบาหวาน ผู้ที่ได้รับยาเคมีบำบัด ผู้ป่วยโรคมะเร็ง ผู้ป่วยเหล่านี้จะมีขนาดของหูดใหญ่กว่าปกติ กลับเป็นซ้ำหรือมีโรคแทรกว้อน
  • โรคนี้อาจจะกำเริบในขณะตั้งครรภ์ทำให้หูดมีขนาดใหญ่และขวางการคลอดตามธรรมชาติ
หูดที่อวัยวะเพศหญิง หูดที่ทวาร หูดที่อวัยวะเพศ หูดที่ปลายอวัยวะเพศ
fbgoogle

อาการของโรคเป็นอย่างไร

  • ผู้ที่สูบบุหรี่ ทานยาคุมกำเนิด มีคู่นอนหลายคน หรือมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อยจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้
  • ประมาณร้อยละ60ของผู้ป่วยจะเกิดโรคหูดหลังจากสัมผัสผู้ป่วยไปแล้วประมาณสามเดือน
  • อาการทีสำคัญของผู้ป่วยโรคหูดคือ มีก้อนไม่เจ็บปวด อาจจะมีอาการคัน หรือมีตกขาว
  • สำหรับผู้ที่มีประวัติมีเพศสัมพันธ์ทางทวาร หรือทางปากอาจจะมีก้อนบริเวณดังกล่าว
  • ผู้หญิงอาจจะมาด้วยเรื่องมีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ ส่วนผู้ชายอาจจะมีปัญหาเรื่องปัสสาวะไม่ออก

แพทย์จะตรวจหาหูดได้ที่ไหนบ้าง

สำหรับผู้ชาย

  • พบก้อนได้บริเวณอวัยวะเพศ
  • ส่วนหัวของอวัยวะเพศ
  • หรือเยื่อบุในท่องปัสสาวะ
  • สำหรับผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักอาจจะก้อนบริเวณรอบทวารหนัก

สำหรับผู้หญิง

  • ผิวหนังแถวอวัยวะเพศ
  • แคมใหญ่ แคมเล็ก
  • ช่องคลอด
  • ทวานหนัก

แพทย์จะต้องตรวจพิเศษอะไรบ้าง

การที่ท่านเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แพทย์จะต้องตรวจหาว่าท่านติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อย่างอื่นอีกหรือไม่ โดยจะตรวจ

  • หนองในแท้ หนองในเทียม
  • โรคเอดส์
  • โรคซิฟิลิส
  • ตรวจภายในทำ PAP Smear
  • ตรวจหารการติดเชื้อโดยที่ไม่มีอาการ โดยการใช้ acetic acid ปิดไว้ห้านาที แล้วใช้แว่นขยายส่อง ซึ่งอาจจะพบรอยโรค
  • การตัดชิ้นเนื้อตรวจ

การรักษา

หลักการรักษาเมื่อพบหูดจะเอาหูดออก หากไม่รักษา ก้อนอาจจะมีขนาดเท่าเดิม หรือหายไปเอง หรืออาจจะมีขนาดใหญ่ขึ้น การเอาก้อนหูดออกไม่ได้กำจัดการติดเชื้อ HPV ออกจากร่างกาย การเอาหูดออกจะลดการติดต่อลง

  • การจี้ด้วยความเย็น Cryotherapy
    • ใช้ความเย็น(nitrogen เหลว) จี้บริเวณเนื้องอก 10-15 วินาที และสามารถทำซ้ำได้ ระวังอย่าให้ถูกผิวหนังบริเวณที่ดี
    • การใช้ความเย็นจี้เป็นวิธีการรักษาสำหรับหูดโดยเฉพาะที่รอบทวารหนัก
    • การตอบสนองต่อการรักาาดี และมีแทรกซ้อนน้อย
    • โรคแทรกซ้อนที่สำคัญได้แก่ เกิดผล ปวดขณะทำ สีผิวซีดลง
    • สามารถทำในคนท้องได้
  • การใช้ไฟฟ้าจี้ ไม่แนะนำเพราะควันที่เกิดอาจจะติดต่อได้
  • การขูดเอาเนื้องอกออก Curettage
  • การผ่าตัดเอาชิ้นเนื้อออก Surgical excision
    • การผ่าตัดจะให้ผลดี และมีโรคแทรกซ้อนต่ำ และอัตราการเป็นซ้ำต่ำ
    • อัตราการหาย 63-91%.
  • การใช้ Laser Carbon dioxide laser treatment
    • ใช้ Laserในกรณีที่ก้อนมีขนาดใหญ่ หรือเป็นซ้ำ
    • ข้อระวังควันที่เกิดอาจจะติดต่อได้
    • ต้องใช้ยาชาเฉพาะที่ทา
  • การใช้ยาทาภายนอกได้แก่
    • Podophyllin เป็นยาที่ใช้ทาภายนอกที่ตัวหูด ให้ทาสัปดาห์ละครั้ง ข้อระวังของการใช้ยานเพื่อป้องกันมิให้ยาดูดซึมเข้าสู่ร่างกายี้ได้แก่
      • การใช้ยาแต่ละครั้งไม่ควรเกิน <0.5 mL
      • ขนาดของหูดไม่ควรมีขนาดใหญ่เกินไปโดยไม่เกิน 10 cm2
      • บริเวณที่ทาไม่ควรมีแผล เพราะยาอาจจะถูกดูดซึม
      • หลังทาปล่อยให้แห้ง และล้างออกหลังจากทาไปแล้ว 1-4 ชม
    • TCA (trichloracetic acid)เป็นยาที่ใช้ทาภายนอก ห้ามถูกผิวหนังที่ดี
  • การให้ผู้ป่วยทายาเอง
    • Podofilox 0.5% solution or gel. ให้ทาที่ตัวหูดวันละสองครั้งเป็นเวลาสามวัน และหยุดทาสี่วันให้ทำซ้ำได้สี่ครั้ง ยานี้ไม่ควรใช้ในคนท้อง และไม่ควรใช้ยาปริมาณมากเกินไป
    • Imiquimod 5% cream ให้ทายานี้ก่อนนอน อาติตย์ละ 3 วันเป็นเวลา 16 สัปดาห์

การป้องกันการติดเชื้อโรคหูด

หญิงหรือชายวัยเจริญพันธุ์สามารถป้องกันการติดเชื้อโรคหูดโดย

  • งดการมีเพศสัมพันธุ์เป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุด แต่น้อยคนที่ทำได้
  • ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์กับคนที่เปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ เพราะนั้นย่อมหมายถึงคุณก็เสี่ยงต่อการติดเชื้อเพิ่มขึ้น
  • ไม่ควรจะเปลี่ยนคู่นอน
  • หากผู้ที่มีหูดควรจัดการรักษาให้หายเรียบร้อยก่อนจึงจะมีเพศสัมพันธุ์
  • ให้สวมถุงยางทุกครั้งที่มีเพศสัมพันะธุ์ที่ไม่แน่ใจว่าจะปลอดภัย
  • การฉีดวัคซีนป้องกัน

อ่านเพิ่มเติมที่นี่

โรคที่เกี่ยวข้อง

                    Link    https://www.siamhealth.net/

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อัพเดทล่าสุด