https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
อาการโรคหูน้ำหนวก สาเหตุของโรคหูน้ำหนวกในเด็ก โรคหูน้ำหนวก MUSLIMTHAIPOST

 

อาการโรคหูน้ำหนวก สาเหตุของโรคหูน้ำหนวกในเด็ก โรคหูน้ำหนวก


1,297 ผู้ชม


อาการโรคหูน้ำหนวก สาเหตุของโรคหูน้ำหนวกในเด็ก โรคหูน้ำหนวก

                      อาการโรคหูน้ำหนวก

โรคหูน้ำหนวกเรื้อรัง
เป็นโรคที่พบได้บ่อย ในเด็กนักเรียน ประมาณกันว่า 2% ของเด็กนักเรียนเป็นโรคนี้ และ 5% ของเด็กที่เป็นโรคนี้เป็นหูน้ำหนวกชนิดอันตราย โรคนี้มักจะไม่เกิดกับผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ที่เป็นโรคหูน้ำหนวกแสดงว่า เขาเป็นโรคนี้ตั้งแต่เด็ก และเป็นเรื้อรังกระทั่งโตเป็นผู้ใหญ่
ลักษณะพิเศษของโรคนี้ ได้แก่ เป็นเรื้อรังกันคนละหลาย ๆ ปี และไม่มีอาการปวดหู (นอกจากจะมี
โรคแทรกซ้อนเกิดขึ้น)
อาการโรคหูน้ำหนวก สาเหตุของโรคหูน้ำหนวกในเด็ก โรคหูน้ำหนวก
 

รูปที่ 1  :  หูปกติ

อาการโรคหูน้ำหนวก สาเหตุของโรคหูน้ำหนวกในเด็ก โรคหูน้ำหนวก

รูปที่ 2 :  แสดงแก้วหูทะลุ และกระดูกหูบางส่วนถูกทำลายจากโรคหูน้ำหนวก
โรคหูน้ำหนวกเรื้อรัง คืออะไร ?

โรค หูน้ำหนวกเรื้อรัง หมายถึง อาการอักเสบของหูชั้นกลาง (ดูรูปที่ 1) จากเชื้อแบคทีเรีย การอักเสบนี้จะทำให้มีหนองขังอยู่ภายในหูชั้นกลางและทำให้แก้วหูทะลุเป็นรู กว้าง (รูปที่ 2) บางครั้งจะเกิดการอักเสบและมีหนองขังอยู่ในกระดูกมาสตอยด์ กระดูกนำเสียงบางชิ้นหรือทั้งหมด จะถูกทำลายจากการอักเสบ และถ้าการอักเสบรุนแรงมาก เชื้อแบคทีเรียอาจลุกลามเข้าไปในสมองทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ และเป็นฝีในสมองได้
หูน้ำหนวกไม่ใช่เกิดจากน้ำเข้าหู
คน ทั่วไปมักจะเข้าใจว่า หูน้ำหนวกเกิดจากน้ำเข้าหู ความจริงมิได้เป็นเช่นนั้นทั้งนี้เนื่องจากว่าหูชั้นนอก แยกจากหูชั้นกลางอย่างเด็ดขาด โดยมีเยื่อแก้วหูกั้นอยู่ (รูปที่ 1) น้ำจากภายนอกจะไม่สามารถเข้าไปในหูชั้นกลางได้เลย ถ้าแก้วหูไม่เคยทะลุมาก่อน การที่น้ำเข้าหูแล้วเกิดมีน้ำหนวกไหล แสดงว่าเด็กคนนั้นเคยเป็นโรคหูน้ำหนวกมาก่อน แต่อาการของโรคสงบลงชั่วคราว แก้วหูที่เคยทะลุจากโรคนี้ยังไม่อาจสมานติดกันได้ เมื่อน้ำเข้าหู น้ำจากหูชั้นนอกจะผ่านรูทะลุแก้วหูเข้าไปในหูชั้นกลาง ทำให้เกิดการอักเสบของหูชั้นกลางใหม่ จึงทำให้มีน้ำหนวกไหลอีก (รูปที่ 3)
                   อาการโรคหูน้ำหนวก สาเหตุของโรคหูน้ำหนวกในเด็ก โรคหูน้ำหนวก
ความ จริงแล้ว โรคหูน้ำหนวกเรื้อรังเกือบทั้งหมด เกิดจากการอักเสบของลำคอส่วนบนและระบบหายใจส่วนต้นที่ลุกลามเข้าไปยังหูชั้น กลาง ผ่านทางท่อยูสะเตเชี่ยน โรคต่าง ๆ เหล่านี้ ได้แก่ โรคหัด, ไซนัสอักเสบ, ไข้หวัด, ต่อมทอนซิลอักเสบ สุขภาพของเด็กก็มีส่วนสำคัญต่อการเกิดโรคหูน้ำหนวกด้วย เด็กที่เป็นโรคขาดอาหารสุขภาพไม่แข็งแรงและไม่ระมัดระวังรักษาความสะอาด จะมีภูมิต้านทานต่อเชื้อโรคต่ำ และเป็นโรคนี้ได้ง่ายกว่าเด็กที่มีอนามัยสมบูรณ์
 

โรคหูน้ำหนวกที่มีอันตรายถึงตายก็มี

โดยทั่วไป เราแบ่งโรคหูน้ำหนวก เป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ โรคหูน้ำหนวกชนิดไม่มีอันตราย และ โรคหูน้ำหนวกชนิดมีอันตราย จาก การสำรวจโรคหูของโครงการโสตพิทักษ์ ของสมาคมโสต ศอ นาสิกแพทย์แห่งประเทศไทย พบว่า 5% ของเด็กที่เป็นโรคหูน้ำหนวกรื้อรังเป็นชนิดอันตราย

เราจะทราบได้อย่างไรว่าชนิดไหนเป็นชนิดอันตราย? ขอให้สังเกตดูจากตารางข้างล่างนี้
อาการโรคหูน้ำหนวก สาเหตุของโรคหูน้ำหนวกในเด็ก โรคหูน้ำหนวก
โรคหูน้ำหนวกมีอันตรายอย่างไร?
โรคหูน้ำหนวกะมีอันตรายก็ต่อเมื่อมีโรคแทรกซ้อนเกิดขึ้น ชนิด ไม่มีอันตรายมักจะไม่มีโรคแทรกซ้อน นอกจากจะกลายเป็นชนิดที่เป็นอันตรายทีหลัง (ซึ่งเป็นไปได้น้อย) แต่โรคหูน้ำหนวกชนิดนี้ก็ยังมีผลเสียต่อเด็กนักเรียนอยู่เหมือนกัน คือ ถ้าเป็นหูน้ำหนวกทั้ง 2 ข้าง เด็กจะหูตึง เรียนหนังสือไม่ดี หรือสอบตก และมีน้ำหนวกไหลเป็นที่รังเกียจของเพื่อนนักเรียน
โรคแทรกซ้อนที่ สามารถทำให้ตายได้ ได้แก่ โรคแทรกซ้อนที่เกิดจากเชื้อโรคลุกลามเข้าไปในสมองเสียส่วนใหญ่ คือ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นฝีในเนื้อสมอง หรือรอบ ๆ เยื่อสมอง โรคแทรกซ้อนที่ทำให้เกิดความพิการของร่างกายได้แก่ ปากเบี้ยว, หูหนวกสนิท, โรคแทรกซ้อนที่ทำอันตรายต่อร่างกายชั่วคราวได้แก่ ฝีชนิดต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นรอบ ๆ หู เช่น ฝีที่หลังหู บางรายฝีแตกแล้ว แต่ยังมีแผลเป็นและมีหนองออกอยู่เรื้อรังเป็นเดือนหรือเป็นปี เป็นฝีเหนือใบหู, เป็นฝีที่หน้าหู, เป็นฝีที่คอ ส่วนที่ต่ำจากใบหูเล็กน้อย ฝีชนิดต่าง ๆ เหล่านี้อาจทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรคไปในเส้นเลือด ทำให้เลือดเป็นพิษ อาจถึงตายได้
 

จะทราบได้อย่างไรว่าเป็นหูน้ำหนวกชนิดอันตราย ?
ขอ ให้สังเกตดูตารางเปรียบเทียบระหว่างโรคหูน้ำหนวกชนิดอันตรายกับชนิดไม่ อันตราย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อ 1 ถึง ข้อ 3 ซึ่งจะเป็นเครื่องบ่งชี้ได้อย่างดี นอกจากนี้พึงสังเกตว่า ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้และมีอาการดังต่อไปนี้ จะเป็นโรคหูน้ำหนวกชนิดอันตรายเสมอ คือ พบว่ามีฝีหนองเรื้อรังหลังใบหู, มีอาการปากเบี้ยว หรือ หูหนวกสนิท
 

ผู้ป่วยคนนี้กำลังอยู่ในระหว่างอันตราย ?
อย่า ลืมว่า หูน้ำหนวกชนิดอันตราย จะมีอันตรายต่อเมื่อมีโรคแทรกซ้อนเกิดขึ้น และโรคแทรกซ้อนจะเกิดเมื่อไหร่ก็เกิดได้ ดังนั้น ผู้ที่เป็นหูน้ำหนวกชนิดอันตราย จะมีอันตรายเกิดขึ้นกับตนเองได้ทุกเมื่อ จากสถิติพบว่า ยิ่งผู้ป่วยเป็นโรคนี้นานเท่าไร โอกาสที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนจะมีมากขึ้นเท่านั้น ขอให้สังเกตว่า ผู้ป่วยที่มีอาการต่อไปนี้ กำลังอยู่ในระหว่างอันตรายคือ
(1) มีไข้สูง ร่วมกับมีอาการทางสมองอื่น ๆ เช่น คอแข็ง ชัก เกร็ง ซึมและเพ้อ
(2) มีฝีรอบ ๆ หู เกิดขึ้น
(3) ปวดหูข้างนั้นอย่างรุนแรง
(4) ปวดศีรษะอย่างรุนแรง
(5) มีอาการบ้านหมุน คลื่นไส้ อาเจียน และตากระตุก
ถ้าพบอาการข้อหนึ่งข้อใดดังกล่าว ควรรีบไปหาหมอที่โรงพยาบาลทันที
อาการโรคหูน้ำหนวก สาเหตุของโรคหูน้ำหนวกในเด็ก โรคหูน้ำหนวก
 

จะดูแลตัวเองอย่างไรถ้าเป็นหูน้ำหนวก ?
ก่อนอื่นให้สังเกตว่า มีอาการที่เข้าในลักษณะของหูน้ำหนวกชนิดอันตรายหรือไม่ ถ้ามีหรือสงสัย ก็ควรจะปรึกษาแพทย์เป็นการดีที่สุด
ถ้าเป็นชนิดไม่มีอันตราย (มีน้ำหนวกไหลเป็น ๆ หาย ๆ เคยใช้ยารักษาแล้วน้ำหนวกหยุดไหลได้ชั่วคราว อาการหูตึงไม่มาก และไม่มีโรคแทรกซ้อน) ขณะที่มีน้ำหนวกไหล ให้กินยาแก้แพ้-คลอร์เฟนิรามีน (เม็ดละ 10 สตางค์) ผู้ใหญ่กินครั้งละ 1 เม็ด เด็ก , เม็ด วันละ 2-3 ครั้ง และใช้ยาหยอดหูที่เข้ายาคลอแรมเฟนิคอล เช่นยาหยอดหูคลอโรคอล (ขวดละ 16 บาท) หรือยาหยอดหูเคมิซีติน (ขวดละ 12 บาท) หยอดหูวันละ 2-3 ครั้ง ส่วนยาปฏิชีวนะ สำหรับผู้ใหญ่ไม่ต้องให้ สำหรับเด็กให้กิน เพนนิซิลลินวี
(เพนวี)
ครั้งละ 125 มิลลิกรัม (2 แสนยูนิต) วันละ 4 ครั้งก่อนอาหาร 1 ชั่วโมงและก่อนนอน ราคาอย่างเม็ด ๆ ละ 50 สตางค์ อย่างน้ำเชื่อม ขวดละ 10 บาท
ควรให้ยา เหล่านี้จนกว่าจะไม่มีน้ำหนวกไหล จึงค่อยหยุดยา ยกเว้น ผู้ป่วยที่เป็นหวัดเรื้อรัง มีอาการเป็นหวัดคัดจมูกทุกวัน ก็จำเป็นต้องให้ คลอร์เฟนิรามีน วันละ 2-3 ครั้งตลอดไป
ส่วนผู้ที่มีอาการหูตึง ต้อง การให้หูได้ยินชัดกว่าเดิม ก็ควรจะไปรักษากับแพทย์หูคอจมูก แพทย์จะทำการผ่าตัดปิดแก้วหู และซ่อมแซมกระดูกนำเสียง ช่วยให้การได้ยินดีขึ้น
อาการโรคหูน้ำหนวก สาเหตุของโรคหูน้ำหนวกในเด็ก โรคหูน้ำหนวก
 

                                   โรงพยาบาลที่มีแพทย์หู คอ จมูก อยู่ประจำ

(1) จังหวัดเชียงใหม่ : โรงพยาบาลนครเชียงใหม่, โรงพยาบาลแมคคอมิค
(2) จังหวัดลำปาง : โรงพยาบาลประจำจังหวัดลำปาง
(3) จังหวัดขอนแก่น : โรงพยาบาลประจำจังหวัดขอนแก่น
(4) จังหวัดนครพนม : โรงพยาบาลประจำจังหวัดนครพนม
(5) จังหวัดระยอง : โรงพยาบาลสามย่าน
(6) จังหวัดจันทบุรี : โรงพยาบาลประจำจังหวัดจันทบุรี
(7) จังหวัดชลบุรี : โรงพยาบาลชลบุรี
(8) จังหวัดนครศรีธรรมราช : โรงพยาบาลนครคริสเตียน
(9) จังหวัดสงขลา : โรงพยาบาลประจำจังหวัดสงขลา, โรงพยาบาลหาดใหญ่
(10) กรุงเทพฯ : โรงพยาบาลศิริราช, โรงพยาบาลจุฬาฯ, โรงพยาบาลรามาธิบดี, โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า, โรงพยาบาลราชวิถี, โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช, โรงพยาบาลวชิระ, โรงพยาบาลตำรวจ, โรงพยาบาลรถไฟ, โรงพยาบาลการไฟฟ้านครหลวงและ โรงพยาบาลเอกชนเกือบทุกแห่ง

              Link      https://www.doctor.or.th

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


                      สาเหตุของโรคหูน้ำหนวกในเด็ก

    "หูชั้นกลางอักเสบ” โรคคุ้นหูที่พ่อแม่หลายๆ คนอาจจะคิดว่าไม่รุนแรง แต่รู้หรือไม่ว่าเด็กทุกคนที่มีอายุต่ำกว่า 3 ขวบ ต้องเคยเป็นโรคหูชั้นกลางอักเสบมาแล้วอย่างน้อย 1 ครั้ง ซึ่งโรคนี้อาจจะลุกลามจนทำให้เป็นโรคติดเชื้อรุนแรง ส่งผลให้กลายเป็นหูหนวก และร้ายไปกว่านั้น คืออาจก่อให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบด้วย
     

อาการโรคหูน้ำหนวก สาเหตุของโรคหูน้ำหนวกในเด็ก โรคหูน้ำหนวก
หากมีอาการผิดปกติ ควรพาไปพบแพทย์เพื่อตรวจช่องหู
อาการโรคหูน้ำหนวก สาเหตุของโรคหูน้ำหนวกในเด็ก โรคหูน้ำหนวก

       ผศ.พญ.นันทิการ์ สันสุวรรณ จากภาควิชา โสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า โรคหูชั้นกลางอักเสบ นับเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่อาจนำไปสู่โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ รวมถึงการติดเชื้อในอวัยวะอื่นๆ เนื่องจากหูอยู่ในบริเวณฐานสมอง และมีช่องทางเชื่อมถึงกันได้หมด
       
       สาเหตุของโรคหูชั้นกลางอักเสบ สามารถเกิดได้ ทั้งจากการติดเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรีย โดยที่เกิดจากเชื้อไวรัส ร่างกายสามารถรักษาให้หายเองได้ ส่วนโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย จะทำให้หายช้า และสามารถเป็นซ้ำได้อีก หรือเป็นพร้อมกันทั้ง 2 ข้าง และใช้เวลาในการรักษานาน โดยเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคหูชั้นกลางอักเสบที่พบบ่อยคือ เชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัส และ เชื้อฮีโมฟิลุส (เอ็นทีเอชไอ) ซึ่งเป็นเชื้อที่พบในลำคอและโพรงจมูกของเด็กเล็ก เป็นเชื้อที่มีความรุนแรง แฝงตัวมากับเชื้อหวัดและปอดบวม
     

อาการโรคหูน้ำหนวก สาเหตุของโรคหูน้ำหนวกในเด็ก โรคหูน้ำหนวก
หูชั้นกลางที่อักเสบชนิดมีของเหลวขัง
อาการโรคหูน้ำหนวก สาเหตุของโรคหูน้ำหนวกในเด็ก โรคหูน้ำหนวก

       ผศ.พญ.นันทิการ์ กล่าวต่อว่า ที่ ผ่านมา พ่อแม่มักจะมองข้ามอันตรายของโรคหูชั้นกลางอักเสบ เพราะโรคหูชั้นกลางอักเสบมักแฝงมาพร้อมกับโรคไข้หวัด และอาการจะเหมือนกับอาการข้างเคียงของไข้หวัด เช่น หูอื้อ เจ็บหู ฟังไม่ค่อยได้ยิน พ่อแม่จึงเข้าใจว่าเป็นผลมาจากเด็กเป็นไข้ไม่สบายเท่านั้น และคิดว่าอาการหูอักเสบนี้จะหายไปเองเมื่อเด็กหายป่วย แต่ในความเป็นจริงแล้วเด็กที่ป่วยเป็นโรคหูชั้นกลางอักเสบนี้ หากไม่ได้รับการตรวจหูและรักษาอย่างจริงจัง แม้อาการภายนอกจะหายไป แต่เชื้อโรคจะยังคงแฝงตัวมีอาการซ่อนเร้นอยู่ ซึ่งอันตรายมาก เพราะนอกจากจะมีโอกาสพัฒนาไปสู่หูชั้นกลางอักเสบเรื้อรังและกลายเป็นโรคหู น้ำหนวก ซึ่งมีผลอย่างมากต่อการเรียนรู้และพัฒนาการที่สมบูรณ์ของเด็กๆ แล้ว เพราะพัฒนาการด้านการได้ยิน ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการเรียนรู้ในด้านต่างๆ ที่สำคัญยังมีโอกาสเป็นโรคแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ปอดบวม หรือเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดได้อีกด้วย
       

       “ดังนั้น พ่อแม่จึงควรสังเกตลูกน้อยอย่างใกล้ชิด หากลูกเป็นหวัด ไม่สบาย มีไข้สูง ร้องกวนจนผิดสังเกต เอามือกุมหู หรือปวดหูมากในเวลากลางคืน หากลูกมีอาการผิดปกติดังที่กล่าวมา ควรรีบปรึกษากุมารแพทย์เพื่อตรวจหูและรับการรักษาอย่างถูกวิธี” ผศ.พญ.นันทิการ์ทิ้งท้าย

              Link     https://www.manager.co.th

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

 

            โรคหูน้ำหนวก

โรคหูน้ำหนวก

อาการโรคหูน้ำหนวก สาเหตุของโรคหูน้ำหนวกในเด็ก โรคหูน้ำหนวก

     
  1. ทำไมจึงเรียกหูน้ำหนวก
    คำว่าน้ำหนวก หมายถึงน้ำเมือกรวมกับน้ำมูก และการที่หูจะมีน้ำเมือกได้ต้องออกมาจากเยื่อบุหูชั้นกลางเท่านั้น บางครั้งอาจจะมีน้ำไหลออกมาจากหูชั้นนอกที่อักเสบแต่ไม่มีน้ำเมือก กรณีเช่นนี้จึงไม่ใช่หูน้ำหนวก

     

  2. หูน้ำหนวกมีอาการอย่างไรบ้าง และมีอาการแทรกซ้อนอะไร
    อาการของหูน้ำหนวก
    * มีน้ำหนวกไหลจากหูชั้นกลาง เป็นอาการที่สำคัญที่สุด
    * อาการปวด ถ้าเป็นหูชั้นกลางแบบเฉียบพลัน จะมีอาการปวดก่อนมีน้ำหนวกไหลจากหู และเมื่อน้ำหนวกไหลออกมาแล้วอาการปวดมักจะลดลง เนื่องจากแก้วหูมีรูทะลุให้น้ำหรือหนองไหลออกมาได้
    อีกกรณีหนึ่งคือ การที่หูชั้นกลางอักเสบแบบเรื้อรัง คือมีแก้วหูทะลุอยู่แล้วมานานกว่า 3 เดือนเวลามีการอักเสบมักไม่ค่อยมีอาการปวดหูมาก แต่จะพบว่ามีน้ำหนวกไหลออกจากหูชั้นกลางเท่านั้น
    * การรับฟังเสียงหรือการได้ยินมักจะลดลง เนื่องจากมีแก้วหูทะลุแต่จะเสียการรับฟัง เท่าใด ขึ้นอยู่กับขนาดของแก้วหูที่ทะลุและระยะเวลาของการเป็นหูน้ำหนวก

     

  3. หูน้ำหนวกเกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง
    หูน้ำหนวกเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในหูชั้นกลาง อาจเกิดแบบเฉียบพลัน หรือเรื้อรังเป็นๆ หายๆ ได้ ถ้าเป็นหูน้ำหนวกแบบเฉียบพลันมักพบร่วมกับการเป็นหวัดหรือการทำงานที่ไม่ปกติของท่อปรับความดันที่ต่อระหว่างหูชั้นกลางและคอ เชื้อโรคสามารถผ่านจากคอเข้าสู่หูทางท่อนี้ ทำให้เกิดการอักเสบขึ้นในหูชั้นกลาง หนองที่เกิดขึ้นจะดันแก้วหูให้ทะลุและเป็นน้ำหนวกออกมาได้ เมื่อได้รับการรักษาจนการอักเสบทุเลาลง แก้วหูที่ทะลุจะสามารถปิดเองได้
    ในบางภาวะแก้วหูไม่สามารถจะปิดเองได้ เช่น ในคนที่มีการอักเสบของหูชั้นกลางซ้ำแล้วซ้ำเล่าหรือร่างกายไม่แข็งแรง ถ้าแก้วหูมีรูทะลุนานเกินกว่า 3 เดือน จะเรียกว่า หูน้ำหนวกแบบเรื้อรังซึ่งมี 3 ชนิดคือ
       
    •  หูน้ำหนวกเรื้อรังชนิดไม่อันตราย ผู้ป่วยเหล่านี้จะมีปัญหาหูน้ำหนวกเป็นๆ หายๆ มักมีประวัติว่า น้ำเข้าหูทีไร ปั่นหูทีไร หรือเป็นหวัดครั้งใด จะมีน้ำมหนวกเกิดขึ้นทุกครั้ง ทั้งนี้เพราะมีแก้วหูทะลุอยู่แล้วเชื้อโรคสามารถเข้าไปในหูชั้นกลางตามน้ำที่ไม่สะอาดที่เข้าหู หรือจากไม้ หรือสำลีที่ไม่สะอาดที่เราใช้ปั่นหู และทำให้มีการอักเสบของเยื่อบุหูชั้นกลาง และมีน้ำหนวกเกิดขึ้นไหลผ่านช่องแก้วหูที่ทะลุอยู่ออกมาที่รูหูชั้นนอก

       

    • อีกชนิดหนึ่งที่เป็นหูน้ำหนวกเรื้อรังชนิดอันตราย พวกนี้เป็นโรคหูน้ำหนวกที่จะก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนตามมาได้ ผู้ป่วยเหล่านี้มักจะมีน้ำหนวกที่มีกลิ่นเหม็นมาก และมักจะไหลไม่ค่อยหยุด ปัญหาแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ได้แก่
      ปวดหูมาก เห็นภาพซ้อน ไข้สูง หน้าเบี้ยว หูหนวก มีฝีหลังหู ฝีในสมอง เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เวียนศีรษะ ซึมลง คอแข็ง และชักได้
      หูน้ำหนวกเรื้อรังชนิดอันตรายนี้ต้องได้รับการรักษาโดยรีบด่วนจากแพทย์หู คอ จมูก ซึ่งโดยมากจะต้องเป็นการผ่าตัดเพื่อแก้ไขอาการอักเสบให้หมดไป

     

  4. เมื่อไรควรจะไปพบแพทย์
    ก็ควรจะไปพบแพทย์ทุกครั้งที่มีหูน้ำหนวก หรือสงสัยว่าตัวเองจะมีหูน้ำหนวก เช่น มีน้ำเมือกหรือน้ำหนองไหลจากหู มีอาการปวดหูก่อนมีน้ำไหลออกหู หรือมีการได้ยิน การรับฟังเสียงลดลงร่วมกับการมีน้ำไหลจากหู เพื่อให้แพทย์ตรวจดูว่ามีหูชั้นกลางอักเสบ หรือมีแก้วหูทะลุหรือไม่
    ถ้ามีน้ำหนวกแพทย์ก็จะดูดหนองออก การที่แพทย์ดูดหนองออกมีความสำคัญมาก เพราะจะได้ตรวจดูลักษณะแก้วหูได้อย่างถี่ถ้วนว่ามีรูทะลุหรือไม่ รูใหญ่หรือเล็ก ถ้ามีหนองอยู่เต็มก็ไม่สามารถที่จะวินิจฉัยได้เพราะหนองจะบังแก้วหู
    อีกประการคือว่า ถ้ามีหนองขังอยู่ การหยอดยาหยอดหูจะไม่สามารถเข้าถึงเยื่อบุในหูชั้นกลางได้จำเป็นต้องดูดหนองออกก่อน การหยอดยาจึงได้ผลดี การรักษาระยะแรกต้องให้การอักเสบทุเลาก่อนและหลังจากนั้นจึงพิจารณาการผ่าตัดปิดเยื่อแก้วหูให้ผู้ป่วยเพื่อการแก้ไขการได้ยินให้ดีขึ้น และเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคผ่านจากภายนอกไปเยื่อบุหูชั้นกลางได้

     

  5. ผู้ที่เป็นหูน้ำหนวกหรือถ้าการได้ยินลดลง ควรปฏิบัติอย่างไร
    ไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาถ้าเป็นหูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลันเมื่อได้รับการรักษาด้วยยาจนอาการทุเลาแล้ว รูทะลุเล็กๆ ที่แก้วหูมักจะปิดเองได้ ถ้าเป็นหูชั้นกลางอักเสบแบบเรื้อรัง มักจะมีแก้วหูทะลุอยู่ก่อนแล้ว เมื่อรับการรักษาทางยาทั้งยาหยอดหู และยากินจนอาการทุเลาลง ควรจะรับการผ่าตัดปิดเยื่อแก้วหูที่ทะลุ

     

  6. การป้องกัน
    ต้องป้องกันอย่าให้มีการอักเสบของหูชั้นกลาง พยายามรักษาตัวให้แข็งแรง อย่าให้เป็นหวัดบ่อยโดยการออกกำลังกาย และไม่ไปในที่แออัด
    ถ้าเป็นหูน้ำหนวกเรื้อรัง มีแก้วหูทะลุ แต่รักษาจนน้ำหนวกแห้งก็รับการผ่าตัดปิดแก้วหู แต่ถ้ายังไม่พร้อมจะรับการผ่าตัดปิดเยื่อแก้วหูก็ต้องพยายามอย่าให้น้ำเข้าหู อย่าปั่นหู ถ้าเป็นหวัดให้รักษาแต่เนิ่นๆ เพื่อป้องกันการอักเสบของหูชั้นกลาง

                Link     https://web.ku.ac.th

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อัพเดทล่าสุด