https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
กระดูกสันหลังทับเส้นประสาท กระดูกสันหลังเคลื่อน กระดูกสันหลังคด MUSLIMTHAIPOST

 

กระดูกสันหลังทับเส้นประสาท กระดูกสันหลังเคลื่อน กระดูกสันหลังคด


1,700 ผู้ชม


กระดูกสันหลังทับเส้นประสาท กระดูกสันหลังเคลื่อน กระดูกสันหลังคด

              กระดูกสันหลังทับเส้นประสาท


         

       ภาวะกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท หรือ กระดูกทับเส้น ที่ผู้ป่วยนิยมพูดกันบ่อยๆ คือ ภาวะที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของโครงสร้างกระดูกสันหลัง ซึ่งเกิดจากอายุที่มากขึ้นและการเสื่อมสภาพจะเกี่ยวข้องกับการใช้งาน การยกของหนัก ตลอดจนอุบัติเหตุกระแทกบริเวณกระดูกสันหลังบ่อยๆ ทำให้กระดูกสันหลังเสื่อมเร็วขึ้น พบว่ามีการเสื่อมของหมอนรองกระดูกสันหลังและข้อต่อกระดูกสันหลังด้านหลัง (ข้อต่อฟาเซ็ท) ทำให้เกิดการทรุดตัวของโครงสร้างกระดูกสันหลัง ร่างกายจะมีการตอบสนองโดยการสร้าง กระดูกงอก หรือหินปูนขึ้นมา เพื่อต้านการทรุดตัวดังกล่าว กระดูกงอกที่ร่างกายสร้างขึ้นมาใหม่ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ แต่บางรายเกิดกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทและ ทำให้เกิดอาการปวดร้าวไปตามเส้นประสาท ทำให้ปวดขาชาขา ผู้ป่วยที่มีกระดูกสันหลังเสื่อมและทรุดพบว่าถ้ามีการทรุดตัวมากขึ้นก็จะทำ ให้เกิดกระดูกสันหลังคด หรือบางรายผู้ป่วยก็พบว่าทำให้กระดูกสันหลังเคลื่อน

อาการภาวะหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท

      อาการ แสดงที่พบบ่อยๆ มีอาการปวดหลัง เป็นๆ หายๆ เป็นเวลานาน มีอาการปวดขาตั้งแต่บริเวณสะโพกร้าวไปบริเวณน่อง เท้า ซึ่งจะปวดมากเวลาเดิน ทำ ให้เดินได้ไม่ไกล ต้องหยุดเดินเป็นระยะๆ อาการปวดหลังร้าวลงขาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง เป็นอาการเด่นของโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท ปวดมากหรือปวดน้อยขึ้นอยู่ว่ากดมากหรือน้อยเป็นสำคัญ ถ้าทิ้งไว้นาน เส้นประสาทจะทำงานได้น้อยลง อาการชาและอ่อนแรงของขาซีกนั้นจะเริ่มเด่นชัดขั้น อาการทั้งหมดจะเป็นลักษณะค่อยเป็นค่อยไป ดังนั้น คนที่เป็นจะคุ้นเคยกับอาการและบอกรายละเอียดของอาการได้เป็นอย่างดี พบว่ามี 1-2 % ของผู้ป่วยที่มีกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทอย่างรุนแรง มีอาการ กล้ามเนื้อขาอ่อนแรง เดินไม่ได้ และควบคุมการขับถ่ายไม่ได้

อาการกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท โดย โรงพยาบาลเวชธานี

การป้องกันภาวะหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท

      สำหรับวิธี ป้องการอันดับแรกคือการเล่นกีฬา การออกกลังกายอย่างสม่ำเสมอ ประการที่สอง ลดงานของกล้ามเนื้อหลังลง โดยการปรับท่านั่งให้หลังตรง หรือเดินตัวตรง และประการที่สามคือการลดน้ำหนัก สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักที่มากเกินไป เนื่องจากหลังจะต้องเป็นส่วนที่รับน้ำหนักตัวของคนเรา เมื่อมีน้ำหนักตัวมากเกินไป การทำงานของกล้ามเนื้อหลังก็จะมากไปด้วย ซึ่งถือเป็นการผ่อนคลายการใช้งานของกล้ามเนื้อหลังให้เบาแรงในการทำงานลง ด้วย

การรักษาหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท

      การรักษาโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทมี หลายวิธี ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการกดทับเส้นประสาท แนวทางการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังหรือเป็นโรคที่เกี่ยวกับกระดูก สันหลังและ แนวทางในการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการของหมอนรองกระดูกบวมแตกไปกดทับเส้น ประสาทและส่งผลขั้นรุนแรง รักษาโดย
1.การผ่าตัด เพื่อที่จะตัดเอาส่วนที่กดทับเส้นประสาทออก หรืออาจจะมีการเปลี่ยนหมอนรองกระดูกใหม่ ซึ่งปัจจุบันมีการรักษาที่ทันสมัยขึ้น และมีความเสี่ยงน้อยลง การผ่าตัดแผลเล็ก ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วขึ้น และโอกาสในการติดเชื้อน้องลงเทคโนโลยีในการรักษาด้วยการผ่าตัดด้วยกล้องจุล ทัศน์มาช่วยในการรักษาผู้ป่วยที่เป็นหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทขั้น รุนแรง ซึ่งต้องรับการรักษาด้วยการผ่าตัดเพียงอย่างเดียวการผ่าตัดด้วยกล้องจุล ทัศน์มี 2 แบบ โดยแบบที่หนึ่ง เป็นกล้องจุลทัศน์ที่เป็นตัวขยายเฉพาะจุด และแบบที่สองเป็นกล้องนำทาง ซึ่งจะเป็นการเจาะท่อเข้าไปภายในเพื่อที่จะสามารถมองเห็นในจุดที่จะทำงานผ่า ตัด โดยแพทย์สามารถมองที่จอแสดงผลผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อกับตัวกล้อง และจะมีอุปกรณ์ผ่าตัดอีกชุดหนึ่ง ที่จะทำหน้าที่ในการผ่าตัด ซึ่งแพทย์สามารถมองจากจอแสดงผลได้และทำการผ่าตัดเฉพาะจุดได้ง่ายขึ้นก่อนการ ทำผ่าตัดทุกครั้ง ผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังรุนแรงมากจะต้องทำการเอกซเรย์สนามแม่เหล็กหรือ MRI ก่อนทุกครั้ง เพื่อที่จะหาจุดที่เป็นสาเหตุของอาการ และบอกได้แน่นอนที่สุดว่าความที่จะแก้ที่จุดไหน
2.รักษาด้วยการทำกายภาพบำบัดร่วมกับการผ่าตัด เพื่อช่วยลดอาการเกร็ง และบิดตัวของกล้ามเนื้อหลัง
3.รักษาด้วยนวัตกรรมใหม่ (Nucloplasty) ได้ผ่านการ รับรองโดยองค์การ อาหารและยาจากสหรัฐอเมริกาการรักษา โดยวิธี Nucleoplasty (Coblation) โดยใช้คลื่น RF(RADIOFREQUENCY) ความร้อนประมาณ 40-70° C สลายหมอนรองกระดูกสันหลังที่เคลื่อนกดทับเส้นประสาท โดย ไม่มีการ ทำลาย หรืออันตรายต่อเนื้อเยื่อที่ใกล้เคียง ซึ่งหัวเข็มที่ปล่อยคลื่น RF ขนาดเข็มฉีดยาเบอร์ 17 สอดผ่านผิวหนังเข้าไปในหมอนรองกระดูกสันหลัง ้

 

รายชื่อแพทย์ศัลยกรรมกระดูกสันหลัง

กระดูกสันหลังทับเส้นประสาท, หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท นพ.พรเอนก ตาดทองอาการกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท,ดูดการรักษากระดูกสันหลังทับเส้นประสาท นพ.ธงชัย ธีระจรรยาภรณ์
 ภาวะกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท,ความเสี่ยงกกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท นพ.วิเชียร เลาหเจริญสมบัต  วิธีการรักษากระดูกสันหลังทับเส้นประสาท ,หมอการรักษากระดูกสันหลังทับเส้นประสาท นพ.ชัยวัฒน์ ไกรวัฒนพงศ์
อาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท,การรักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท นพ.หาญพงศ์ ฟักทองพรรณ์ โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท,อาการปวดของหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท นพ.ธเนศ วัฒนะวงษ
ความเสี่ยงหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท,สาเหตุหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทนพ.ศักรินทร์ วงศ์เลิศศิริ             ปัจจัยการเป็นหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท,กลุ่มผูป่วยหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท นพ.กันต์ แก้วโรจน์
 

           Link    https://www.vejthani.com


++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


                กระดูกสันหลังเคลื่อน
  โรคกระดูกสันหลังเคลื่อน                          

กระดูก สันหลังประกอบด้วยข้อต่อต่างๆ เพื่อยึดกระดูกสันหลังแต่ละข้อเข้าด้วยกันประกอบด้วยข้อต่อด้านข้างสองข้าง (facet joint) ด้านหน้าเป็นหมอนรองกระดูก และมีเส้นเอ็นยึดอยู่โดยรอบ เพื่อคงสภาพการเป็นข้อต่อที่เคลื่อนไหวได้เอาไว้ เมื่อเกิดการใช้งานมาก ๆ หรือมีความเสื่อมของข้อต่อต่าง ๆ เส้นเอ็นต่าง ๆ รอบ ๆ กระดูกสันหลัง ก็จะทำให้การยึดเหนี่ยวของกระดูกสันหลังเสียไป ทำให้เกิดการเลื่อนหรือเคลื่อนของกระดูกสันหลังได้ ดังภาพ

spine_deatail25     spine_deatail26 


 
โรคกระดูกสันเคลื่อนพบได้มากในวัยกลางคนขึ้นไปจนถึงวัยสูงอายุ อาการมักจะค่อยเป็นค่อยไป เริ่มจากการปวดหลังบริเวณเอว ปวดเมื่อย ๆ มักจะปวดมากเวลานั่งนาน ๆ หรือเดินไกล ๆ เมื่อมีการเคลื่อนตัวของกระดูกมากขึ้น จนมีการกดทับเส้นประสาทที่อยู่ใกล้เคียง ก็จะทำให้มีอาการรุนแรงมากขึ้นเช่น ปวดร้าวลงขา ขาชา อ่อนแรง ซึ่งอาการมักจะเป็นที่ขาทั้ง 2 ข้าง มากหรือน้อยขึ้นอยู่ความรุนแรงของการเคลื่อนตัวของกระดูกสันหลัง
 
 การรักษาในเบื้องต้นถ้า อาการไม่รุนแรง มีการเคลื่อนไม่มาก ยังไม่มีการกดทับเส้นประสาท ก็จะใช้การรักษาโดยทำกายภาพบำบัด ออกกำลังกายกล้ามเนื้อในท่าที่เหมาะสม ลดน้ำหนักเพื่อลดแรงกดทับต่อกระดูกสันหลัง รวมทั้งการกินยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการปวดเป็นครั้งคราว
 
แต่ถ้ามี การเคลื่อนมากหรือมีอาการของการกดทับเส้นประสาทเกิดขึ้นแล้ว แพทย์จะแนะนำให้ทำการผ่าตัด ซึ่งเป็นการผ่าตัดเพื่อยึดตรึงกระดูกสันหลังด้วยเหล็ก ไม่ให้มีการเคลื่อนตัวมากขึ้นไปอีก

spine_deatail27    spine_deatail28


                 
จาก ภาพจะเห็นได้ว่าการผ่าตัดจำเป็นผ่าตัดใหญ่เนื่องจากต้องใส่เหล็กเข้าไปใน กระดูกสันหลัง แต่ด้วยเทคนิคการผ่าตัดยึดตรึงกระดูกสันหลังผ่านกล้อง ทำให้แผลผ่าตัดเล็กลง 
   - โดยแทนที่จะมีแผลผ่าตัดยาวอยู่ตรงกลางแพทย์จะผ่าตัดบริเวณด้านข้างของกระดูกสันหลังทั้ง 2 ข้างด้วยแผลขนาดเล็ก ๆ
   - แล้วจึงยึดกระดูกสันหลังผ่านช่องเล็ก ๆ โดยใช้กล้องช่วยในการผ่าตัด โดยจะทำแบบเดียวกันทั้ง 2 ข้าง

 ข้อดีของการผ่าตัดวิธีนี้คือ แผลผ่าตัดเล็ก มีการสูญเสียเลือดในระหว่างผ่าตัดน้อย โดยทั่วไปแล้วผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีความจำเป็นต้องให้เลือดระหว่างผ่าตัด มีการบาดเจ็บต่อกล้ามเนื้อหลังน้อยกว่าการผ่าตัดแบบแผลใหญ่ดังนั้นผู้ป่วยจะ ฟื้นตัวได้เร็ว และใช้เวลารักษาตัวในรพ.ไม่นาน


            Link    https://www.phyathai.com


++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


 

             กระดูกสันหลังคด

พร้อมรึยัง? จัดการกับ กระดูกสันหลังคด

กระดูกสันหลังคด
กระดูกสันหลังคด

พร้อมรึยัง? จัดการกับ กระดูกสันหลังคด (Lisa)
          เคย มีคนทัก หรือได้ส่องกระจกดูร่างกายตัวเองดี ๆ บ้างรึเปล่า? ถ้าไหล่ไม่เท่ากัน เอวไม่ตรงกัน แล้วไม่ได้รักษาตั้งแต่ตอนยังเป็นวัยรุ่น มันก็อาจหนักหนาขึ้นเมื่อถึงตอนนี้ อาจจะได้เวลาต้องรู้จักกับกระดูกสันหลังคดเพื่อรับมือและรักษาไว้แต่เนิ่น ๆ แล้วล่ะ
          ตามสถิติแล้ว "กระดูกสันหลังคด" ไม่ใช่โรคที่ไกลตัวนัก เพราะมีความชุกถึง 1% (ที่มา : ภาวะกระดูกสันหลังคดโดยไม่ทราบสาเหตุในวัยรุ่น โดย นพ.ทายาท บูรณกาล) และเด็กผู้หญิงก็มีโอกาสเป็นมากกว่าเด็กผู้ชายถึง 10 เท่า แต่ข่าวดีก็คือ ไม่ใช่ทุกคนที่จำเป็นต้องรักษา แต่ก็ใช่ว่าไม่จำเป็นต้องรู้จัก เพราะเช่นเดียวกับโรคอื่น ๆ หากปล่อยไว้ กระดูกสันหลังคดอาจมีผลกับชีวิตเราได้มากมายเลยล่ะ
          "กระดูกสันหลังคด" ก็คือกระดูกสันหลังเบี้ยวซ้าย-ขวาผิดปกติ นิยามทางการแพทย์ หมายถึงการที่กระดูกสันหลังคดมากกว่า 10 องคา พบว่าเกิดได้ในส่วนคอ หลังและเอว หรือมากกว่าหนึ่งจุดในคนเดียวกัน แต่หากยังคดไม่ถึง 30 องศา มักจะไม่ก่อให้เกิดปัญหากับผู้ป่วย แต่อาจคดเพิ่มได้ทุกปี ๆ แต่ถ้าโตเต็มวัยแล้วกระดูกคดไม่เกิน 50 องศา ก็จะไม่มีการคดเพิ่มในอนาคต
คนที่โต ๆ แล้วก็อาจกระดูกสันหลังคดได้
          สาเหตุ การเกิดกระดูกสันหลังคดในผู้ใหญ่ มักจะแตกต่างจากในเด็กหรือวัยรุ่นที่ยังมีการเจริญเติบโตอยู่ โดยส่วนมากแล้วกระดูกสันหลังคดมักจะเกิดในช่วงวัยเจริญพันธุ์ หรือช่วงวัยรุ่น และพบในเด็กสาวมากกว่าเด็กหนุ่ม และก็มักจะได้รับการรักษาในช่วงวัยรุ่น อย่างไรเสียคนที่เคยกระดูกสันหลังคดในวัยเด็ก ก็จะโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ แล้วก็ยังต้องอยู่เผชิญกับอาการของโรคต่อไป (หรือผลกระทบจากการรักษา) ส่วนใหญ่แล้วจะแบ่งได้เป็นสามกลุ่ม
          กลุ่มที่ได้รับการรักษาแล้วในช่วงวัยรุ่น
          กลุ่มที่ไม่ได้รับการรักษาเลย
          กระดูกสันหลังคดซึ่งเกิดจากการเสื่อมตามอายุ (Degenerative Scoliosis) ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับการเกิดกระดูกพรุนในกระดูกสันหลังก็ได้
จะรู้ได้อย่างไรว่ากระดูกสันหลังคด
          หลายครั้งผู้ป่วยอาจรู้สึกว่าลำตัวยื่นออกมาข้างหน้า หรือรูปร่างตัวเองเปลี่ยนไป หรือสังเกตว่าเมื่อใส่เสื้อผ้าแล้วรู้สึกไม่เหมือนที่เคย
          คุณอาจจะไม่รู้ตัวเลยด้วยซ้ำว่ามีกระดูกสันหลังคด เนื่องจากบางครั้งเราอาจเห็นอาการได้จากด้านหลังเท่านั้น แต่คุณอาจรู้สึกว่ารอบเอวไม่เท่ากัน หรือรู้สึกว่าสะโพกข้างใดข้างหนึ่งยานออกมาเกินกว่าอีกข้างหนึ่ง ทดสอบได้โดยการใส่กระโปรงแล้วดูที่เอว
          เวลาที่ก้มลงมาข้างหน้าจะเห็นว่ากระดูกซี่โครงทั้งสองข้างไม่เหมือนกัน
          อาจเห็นหลังโปนออกมาเล็กน้อย
          ยืนตรงแล้วสังเกตดูว่า หัวไหล่หรือสะโพกข้างใดข้างหนึ่งสูงกว่ารึเปล่า ถ้าเห็นความแตกต่างนี้ ลองไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาดูว่ากระดูกสันหลังคดหรือไม่
          เด็ก ๆ หรือวัยรุ่นที่กระดูกสันหลังคดส่วนใหญ่จะไม่มีรายงานว่าเจ็บปวด สำหรับผู้ป่วยในวัยนี้ หากรู้สึกว่าเจ็บก็ควรจะมีการตรวจที่นอกเหนือไปจากการเอ็กซเรย์ เนื่องจากอาจมีสาเหตุซ่อนเร้นที่ทำให้กระดูกสันหลังคด ยกตัวอย่าง เช่น เนื้องอกของกระดูก (Osteoid Osteoma) อาจทำให้กระดูกสันหลังคดได้เช่นกัน
          ใน ขณะเดียวกัน กลุ่มคนไข้กระดูกสันหลังคดที่เป็นผู้ใหญ่มักจะมาพบแพทย์ เพราะมีอาการเจ็บปวด เนื่องจากพอเราแก่ตัวลงกระดูกสันหลังก็จะยืดหยุ่นน้อยลง ของเหลวในหมอนรองกระดูกน้อยลง และทำให้ข้อต่อเกิดอาการอักเสบ
กระดูกสันหลังคด

สิ่งที่ตามมาจาก "กระดูกสันหลังคด"
          กระดูกสันหลังคดอาจทำให้เกิดปัญหาตามมา อย่างเช่น การปวดหลังที่เกิดจากข้ออักเสบ มีปัญหาระบบทางเดินหายใจ เนื่องจากการคดมากเกินไปที่กระดูกสันหลัง ไขสันหลัง หรือเส้นประสาทเสียหายจากการคด หรือการผ่าตัดก็อาจทำให้ไขสันหลังอักเสบได้ ในขณะเดียวกันการใส่เสื้อเกราะรักษาอาการกระดูกคด หรือตัวอาการเองอาจทำให้ผู้ป่วยมีปัญหาทางจิต และไม่มีความนับถือตัวเองด้วย
ถ้าเราต้องรับการรักษา...
          มีคนมากมายที่กระดูกสันหลังคด แต่ไม่ต้องรับการรักษา เนื่องจากมุมที่คดค่อนข้างน้อย ดังนั้น หลังจากสังเกตอาการแล้ว สิ่งแรกที่คุณควรทำ ก็คือปรึกษาแพทย์ หรือนักกายภาพบำบัดเพื่อเข้ารับการรักษาต่อไป
          1.รักษาโดยไม่ผ่าตัด ใน กรณีที่กระดูกสันหลังที่คดมีมุมองศาไม่มากนัก จะต้องมีการสังเกตว่ากระดูกคดมากขึ้นหรือไม่ และต้องติดตามรักษาอย่างใกล้ชิดทุก 4-6 เดือน ถ้าเห็นว่ามุมองศาเพิ่มขึ้นจนถึง 25-30 องศาหรือมากกว่า มักจะใช้การใส่เสื้อเกราะ (Brace) เพื่อชะลอไม่ให้อาการทรุดหนักยิ่งขึ้นไปอีก ชนิดของเสื้อเกราะอาจมีได้หลากหลาย ผู้ป่วยจะต้องใส่ตลอดเวลายกเว้นเวลาอาบน้ำ และค่อย ๆ ลดจำนวนชั่วโมงลง
          2.รักษาโดยการผ่าตัด หากเกิดในเด็กแพทย์อาจต้องรอให้กระดูกหยุดเติบโตเสียก่อน (แต่ในหลายกรณีเด็กอาจต้องการการผ่าตัดก่อนที่กระดูกจะคดยิ่งไปกว่านั้น) โดยปกติแล้ว หากกระดูกสันหลังคดเกิน 40 องศา อาจจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดอย่างเร่งด่วน การผ่าตัดมักจะเป็นการจัดแนวกระดูกสันหลัง จากนั้น แพทย์จะใช้อุปกรณ์โลหะเพื่อยืดแนวไว้จนกว่าจะหายดี บางครั้งอาจผ่าตัดบริเวณแผ่นหลัง หนังท้องใต้ซี่โครง และอาจต้องมีการใช้เสื้อเกราะร่วมด้วย
          ในคนไข้ผู้ใหญ่ เป้าหมายของการผ่าตัด คือการชะลอไม่ให้อาการทรุดหนักขึ้น และเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต การผ่าตัดอาจทำให้เจ็บปวดน้อยลงก็จริง แต่ก็ควรตระหนักว่าเป้าหมายคือ การให้คุณใช้ชีวิตประจำวันได้สบายยิ่งขึ้น
การไม่ดื่มนมหรือกินจั๊งก์ฟู้ด ทำให้เกิดกระดูกสันหลับคดด้วยรึเปล่า?
          ในกรณีนี้หายากมาก ๆ กระดูกสันหลังคด อาจเกิดจากปัญหาโภชนาการ ซึ่งเกิดจากการมีแคลเซียมน้อยเกินไปจนทำให้กระดูกอ่อนลง อย่างไรก็ตาม การที่คุณจะกินอะไรหรือกินมากเท่าไหร่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับกระดูกสันหลัง คด และก็ยังไม่มีการศึกษาว่าจั๊งก์ฟู้ดทำให้เกิดโรคนี้ด้วย
กระดูกสันหลังคด

Expert’s Corner Get to Know Scoliosis
          รู้จักกระดูกสันหลังในฐานะปัญหาใกล้ตัวกับ นพ.ธีรชัย ผาณิตพงศ์ ศัลยแพทย์ด้านสมองและระบบประสาท ร.พ.พญาไท 3
ไลฟ์สไตล์มีผลต่อการเกิดกระดูกสันหลังคดรึเปล่าคะ?
          ส่งผลค่อนข้างมากครับ โดยเฉพาะการทำงานที่อยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนาน ๆ ก็จะทำให้เราเผลอใช้กล้ามเนื้อไม่สมดุล อาจจะใช้บางมัดมากเกินไป บางมัดน้อยเกินไป ทำให้เกิดการอ่อนแอของกล้ามเนื้อ การสมดุลของกระดูกสันหลังสูญเสียไป หรือการนั่งอยู่ในท่าที่เอียงตัวอยู่ตลอดเวลาก็จะทำให้โครงสร้างกระดูก สันหลังผิดปกติ เกิดความเสื่อมของข้อต่อกระดูกสันหลังหรือหมอนรองกระดูกสันหลัง ทำให้กระดูกคดหรือเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง
การรักษาเจ็บปวดหรือใช้เวลานานมั้ยคะ?
          เพราะว่ากระดูกสันหลังคดจะมีความผิดปกติทั้งของตัวข้อต่อและตัวกระดูก การรักษาจึงจำเป็นต้องดัดกระดูกกลับคืนที่แล้วยืดตรงด้วยเหล็ก ซึ่งค่อนข้างใช้เวลารักษานาน ทั้งนี้ ต้องขึ้นอยู่กับจำนวนข้อที่คดว่ามากน้อยเพียงใดครับ
ปล่อยไว้นาน ๆ จะส่งผลอย่างไร?
          เมื่อกระดูกสันหลังคดจะทำให้สมดุลของร่างกายผิดไป อย่างเช่น ถ้ากระดูกสันหลังบริเวณหนึ่งคดเอียงไปด้านหนึ่ง จะทำให้กระดูกส่วนอื่น ของกระดูกสันหลังบิดกลับไปด้านตรงข้ามเพื่อรักษาแนวตรงของร่างกายเอาไว้ แล้วเกิดการคดงอเป็นรูป "S" และความเสื่อมก็จะลุกลามไปในกระดูกสันหลังส่วนอื่นด้วยครับ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
                             Link    https://health.kapook.com

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อัพเดทล่าสุด