https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
เป็นโรคหอบหืด กินทุเรียนได้ป่าว โรคหอบหืด กาแฟ โรคหอบหืดกับภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคอีสาน MUSLIMTHAIPOST

 

เป็นโรคหอบหืด กินทุเรียนได้ป่าว โรคหอบหืด กาแฟ โรคหอบหืดกับภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคอีสาน


1,448 ผู้ชม


เป็นโรคหอบหืด กินทุเรียนได้ป่าว โรคหอบหืด กาแฟ โรคหอบหืดกับภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคอีสาน

              เป็นโรคหอบหืด กินทุเรียนได้ป่าว

อาหารแสลง : ต้องห้าม

 
เรามักได้ยินคนเฒ่าคนแก่พูดถึงข้อห้ามมากมายเกี่ยวกับการกินและข้อควรปฏิบัติ เช่น คนที่ร้อนในง่ายห้ามกินของร้อน (คุณสมบัติหยาง) ของทอดๆ มันๆ ของเผ็ด เช่น

- กินทุเรียนแล้วห้ามกินเหล้า

- กินทุเรียนแล้วควรกินมังคุดหรือกินน้ำเกลือตาม

- กินลำไยมากระวังตาจะแฉะ

- เวลาเริ่มเป็นหวัด เจ็บคอ ควรกินพวกยาขม

- เวลาร้อนใน ให้กินน้ำจับเลี้ยง หรือกินน้ำเก๊กฮวย

- หญิงปวดประจำเดือนห้ามกินของเย็น (ลักษณะยิน) เช่น แตงโม น้ำมะพร้าว

- คนที่กินยาบำรุงจีน ห้ามกินผักกาดขาว หัวไชเท่า ฯลฯ เพราะจะล้างยา (ทำไมฤทธิ์ของยาน้อยลง) ฯลฯ

คำกล่าวเหล่านี้ก็มีในทัศนะทางการแพทย์แผนจีนมาจากพื้นฐานที่ว่า “อาหารคือยา อาหารและยามีแหล่งที่มาเดียวกัน”การเลือกกินอาหารให้เหมาะสมเป็นศาสตร์และศิลป์ที่ต้องประยุกต์เปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับภาวะที่เป็นจริงของบุคคล เงื่อนไขของเวลา และสภาพภูมิประเทศ (สิ่งแวดล้อม) จึงจะเกิดผลที่ดีต่อสุขภาพ

ในแง่ของคนไข้ การเลือกกินอาหารให้เหมาะสม จะทำให้โรคร้ายทุเลาลง ช่วยเสริมการรักษาและฟื้นฟูร่างกาย ในทางกลับกันการเลือกอาหารไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม ย่อมทำให้โรคร้ายรุนแรง กำเริบและบั่นทอนสุขภาพมากขึ้น

อาหารแสลงหรืออาการต้องห้าม ในความหมายที่กว้าง หมายถึง

๑. การกินอาหารที่มากเกินไป หรือน้อยเกินไป ก็เกิดโทษ

๒. การกินอาหารชนิดเดียวกัน ซ้ำซาก ก็เกิดโทษ

๓. การกินอาหารที่ไม่สอดคล้องกับภาวะร่างกายในยามปกติ (ลักษณะธาตุของแต่ละบุคคล)

๔. การกินอาหารที่ไม่สอดคล้องกับภาวะเจ็บไข้ได้ป่วย หรือในขณะที่เป็นโรค

๕. การกินอาหารที่ไม่สอดคล้องกับยาสมุนไพรที่ใช้รักษาในขณะเป็นโรค

การกินอาหารมากไป หรือน้อยไป และการกินอาหารชนิดเดียวกันอย่างซ้ำซากได้กล่าวมาแล้วในครั้งก่อน ที่จะกล่าวต่อไป คือ หลักการหลีกเลี่ยงอาหารในขณะเจ็บไข้ได้ป่วยด้วยโรคต่างๆ หรือภายหลังการฟื้นจากการเจ็บป่วย


อาหารกับโรค

๑. คนที่เป็นไข้หวัด ไข้สูง ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่สุก อาหารที่เย็นมาก หรืออาหารทอด อาหารมัน ซึ่งล้วนแต่ทำให้ย่อยยาก ซึ่งจะทำให้เกิดความร้อนสะสม เปรียบเสมือน “อาหารเชื้อเพลิง” หรือการเติมน้ำมันเข้าไปในกองไฟ

๒. คนที่เป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบ กระเพาะอาหารเป็นแผล หรือระบบการย่อยไม่ดี ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ ชาแก่ กาแฟ ของเผ็ด ของทอด ของมัน เพราะอาหารเหล่านี้ทำให้เกิดการสะสมความร้อนในร่างกายทำให้โรคหายยาก แนะนำให้กินอาหารปริมาณน้อยแต่บ่อยครั้ง กินอาหารตามเวลา และเป็นอาหารอ่อนย่อยง่าย

๓. คนที่เป็นโรคความดันเลือดสูง โดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่มักมีปัญหาหลอดเลือดแข็งตัว (ตามภาวะความเสื่อมของร่างกาย) ทำให้หลอดเลือดเสียความยืดหยุ่น ควรหลีกเลี่ยงอาหารมัน อาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง เช่น หมูสามชั้น ตับ สมอง ถั่ว น้ำมันหมู ไขกระดูก ไข่ปลา โกโก้ น้ำมันเนย รวมทั้งเหล้า เพราะอาหารเหล่านี้จะทำให้เกิดความร้อนชื้นสะสมในร่างกาย(ความชื้นมีผลให้เกิดความหนืดของการไหลเวียนต่อร่างกายทุกระบบ ความร้อนทำให้ภาวะร่างกายถูกกระตุ้น ทำให้ความดันสูง) นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงอาหารรสเผ็ด (ฤทธิ์กระตุ้น) หรืออาหารหวานมาก เช่น ลำไย ขนุน ทุเรียน ฯลฯ (คุณสมบัติร้อน) เราคงได้ยินบ่อยๆว่า มีคนที่เป็นโรคความดันสูง แล้วไปกินทุเรียนร่วมกับเหล้า แล้วหมดสติ เสียชีวิต จากภาวะเส้นเลือดในสมองแตกก็สามารถอธิบายได้ด้วยเหตุผลดังกล่าว

๔. คนที่เป็นโรคตับหรือโรคเกี่ยวกับถุงน้ำดี ควรหลีกเลี่ยงอาหารพวกเหล้า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์อาหารมัน เนื้อติดมัน เครื่องในสัตว์ อาหารทอดๆ มันๆ อาหารหวานจัด เพราะแผนแพทย์จีนถือว่าตับ ถุงน้ำดี มีความสัมพันธ์กับระบบย่อยอาหาร ซึ่งเป็นระบบพื้นฐานของการรับสารอาหารเพื่อบำรุงเลี้ยงร่างกาย ให้เกิดเลือด พลัง การได้อาหารประเภทดังกล่าวมากเกินไปจะทำให้เกิดความร้อนความชื้น ทำให้สมรรถภาพของการย่อยอาหารอ่อนแอ ซึ่งจะทำให้เกิดโทษต่อตับและถุงน้ำดีอีกต่อหนึ่ง

๕. คนที่เป็นโรคหัวใจ โรคไต หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็มจัด เพราะรสเค็มทำให้มีการเก็บกักน้ำ การไหลเวียนเลือดจะช้า เป็นภาระต่อหัวใจในการทำงานหนักเพิ่มขึ้น ทำให้ไตต้องทำงานขับเกลือแร่มากขึ้น ขณะเดียวกัน อาหารที่มีรสเผ็ดก็ควรหลีกเลี่ยง เพราะมีฤทธิ์กระตุ้นการไหลเวียนทำให้ต้องสูญพลังงานมาก และหัวใจก็ต้องทำงานหนักขึ้น โดยสรุปคือ ต้องลดการทำงานของหัวใจและไต โดยไม่เพิ่มปัจจัยต่างๆที่เป็นโทษเข้าไป

๖. คนที่เป็นโรคเบาหวาน ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสหวาน หรืออาหารประเภทแป้งที่มีแคลอรีสูง เช่น มันฝรั่ง มันเทศ ฯลฯ แนะนำอาหารพวกถั่ว เช่น เต้าหู้ นมวัว เนื้อสันไม่ติดมัน ปลา ผักสด ฯลฯ

๗. คนที่นอนหลับไม่สนิท ควรหลีกเลี่ยงอาหารพวกชา กาแฟ หรือการสูบบุหรี่ โดยเฉพาะเวลาก่อนนอน เพราอาหารเหล่านี้มีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาท ทำให้ไม่ง่วงนอน หรือทำให้หลับไม่สนิท

๘. คนที่เป็นโรคริดสีดวงทวารหรือท้องผูก ต้องหลีกเลี่ยงอาหารประเภท กระเทียม หอม ขิงสด พริกไทย พริก ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นการไหลเวียนเลือด ทำให้มีความร้อนในตัวสะสมมาก ทำให้ท้องผูก ทำให้เส้นเลือดแตกและอาการริดสีดวงทวารกำเริบ

๙. คนที่มีอาการลมพิษ ผิวหนังอักเสบเรื้อรัง หรือเป็นโรคหอบหืด ควรเลี่ยงเนื้อแพะ เนื้อปลา กุ้ง หอย ปู ไข่ ผลิตภัณฑ์นมหรือสิ่งกระตุ้นอื่นๆ รวมทั้งรสเผ็ด เพราะสารเหล่านี้มีฤทธิ์กระตุ้นและทำให้มีอาการผื่น ผิวหนังกำเริบ

๑๐. คนที่เป็นสิว หรือมีการอักเสบของต่อมไขมัน ควรงดอาหารเผ็ดและอาหารมัน เพราะทำให้สะสมความร้อนชื้นของกระเพาะอาหาร ม้าม มีผลต่อความร้อนชื้นไปอุดตันพลังของปอด (ควบคุมผิวหนัง ขนตามร่างกาย) ทำให้เกิดสิว


หลักการทั่วไป ต้องหลีกเลี่ยงอาหารดิบๆ สุกๆ มีคุณสมบัติที่เย็นมาก ขณะเดียวกันอาหารที่ผ่านกระบวนการมาก อาหารที่ย่อยยาก อาหารทอดมันๆ อาหารรสเผ็ดจัด เหล้า บุหรี่ ฯลฯ ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงภาวะเจ็บป่วยหรือขณะพักฟื้น เป็นภาวะระบบการย่อยดูดซึม (กระเพาะอาหารและม้าม) ทำงานไม่ดี การได้อาหารที่เย็นหรือย่อยยากจะทำให้การย่อย การดูดซึมมีปัญหามากขึ้น ทำให้ขาดสารอาหารมาบำรุงเลี้ยงร่างกาย และต้องสูญเสียพลังเพิ่มขึ้นในการทำงานของระบบย่อย อาหารเผ็ด เหล้า และบุหรี่ มีฤทธิ์กระตุ้นและเพิ่มความร้อนในร่างกายทำให้มีการใช้พลังงานมากโดยไม่จำเป็น

อาหารแสลงในทัศนะแพทย์แผนจีน คือ อาหารที่ไม่เย็น (ยิน) หรืออาหารที่ไม่ร้อน (หยาง) จนเกินไป กล่าวคือต้องไม่ดิบ (ต้องทำให้สุก) และต้องไม่ผ่านกระบวนการที่ทำให้เกิดคุณสมบัติร้อนมากเกินไป (ทอด ย่าง ปิ้ง เจียว ผัด) เพราะสุดขั้วทั้งสองด้านก็ไม่เป็นผลดีต่อร่างกาย

  • อาหารดิบ ไม่สุก :

ทำให้ระบบย่อยทำงานหนัก ทำให้เสียสมรรถภาพการย่อยดูดซึมอาหารตกค้าง คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องอืด ขาดสารอาหาร

  • อาหารร้อนเกินไป :

ทำให้ระบบย่อยทำงานหนัก มีความร้อนความชื้นสะสม เกิดความร้อนใน ร่างกายมากเกินไป ไปกระทบกระเทือนอวัยวะอื่นๆ เช่น กระทบปอด ลำไส้ ทำให้ท้องผูก เจ็บคอ ปากเป็นแผล กระทบตับ ทำให้ความดันสูง ตาแฉะ อารมณ์หงุดหงิด กระทบไต ทำให้ปวดเมื่อยเอว ผมร่วง ฯลฯ

  • อาหารที่ผ่านการปรุงแต่งน้อยที่สุด

จะได้สารและพลังจากธรรมชาติมากที่สุด อย่างไรก็ตาม ความเห็นในทางการแพทย์แผนปัจจุบัน แนะนำให้กินผักสด ผลไม้สด ซึ่งไม่น่าขัดแย้งกัน เพราะเทคนิคการทำอาหารของจีน ต้องไม่ให้ดิบ และสุกเกินไป เพื่อดูดซับสารและพลังจากธรรมชาติให้มากที่สุด ดิบเกินไปจะทำให้เกิดพิษจากอาหาร สุกเกินไปทำให้เสียคุณค่าอาหารทางธรรมชาติ การเลือกกินอาหารที่ผ่านกระบวนการหลายขั้นตอนและมีการปรุงแต่งที่มากเกินไปจะทำให้อาหารฮ่องเต้กลายเป็นอาหารชั้นเลวในแง่หลักโภชนาการ

การเลือกอาหารให้สอดคล้องเหมาะสม ไม่ใช่สูตรตายตัว แต่ต้องยืดหยุ่นพลิกแพลง และปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสภาวะที่เป็นจริงของแต่ละบุคคล เวลา (เช่น ภาวะปกติ ภาวะป่วยไข้ กลางวัน กลางคืน ฤดูกาล) และสถานที่ (ภูมิประเทศและสิ่งแวดล้อม) เพื่อให้เป็นธรรมชาติและยังประโยชน์สูงสุดต่อสุขภาพ

          Link       https://www.doctor.or.th

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

                 โรคหอบหืด กาแฟ

กาแฟ

หลังจากตื่นนอนตอนเช้าได้กาแฟหอมๆสักแก้วจะรู้สึกกระชุ่มกระชายตลอดทั้งเช้า บางท่านรับกาแฟและขนมบางอย่างเป็นอาหารเช้า หลังจากทำงานก็ยังมี coffee break บางท่านยังดื่มหลังอาหารเที่ยงและตอนสายๆ ยิ่งต้องเข้าประชุมกาแฟหอมๆสักแก้วจะทำให้สดชื่นหายง่วง ปัจจุบันการดื่มกาแฟเป็นที่นิยมการอย่างแพร่หลายตามปั้มน้ำมัน ตามห้างสรรพสินค้ามีการขายอย่างมากมาย จะเห็นได้ว่ากาแฟเป็นส่วนหนึ่งหรือบางคนอาจจะเป็นส่วนสองส่วนสามของชีวิตประจำวัน แต่จะมีใครกังวลหรือไม่ว่าที่เราดื่มทุกวันวันละหลายแก้วแล้วมันมีโทษ หรือคุณประโยชน์อะไรบ้าง หากคุณเป็นคอกาแฟคุณควรจะอ่านบทความนี้

ส่วนประกอบที่สำคัญของกาแฟเป็นโรคหอบหืด กินทุเรียนได้ป่าว โรคหอบหืด กาแฟ โรคหอบหืดกับภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคอีสาน

ส่วนประกอบที่สำคัญของกาแฟคือ caffeine หรือมีชื่อทางเคมีว่า 1,3,7-trimethylxanthine ซึ่งเป็นอนุพันธ์ของยาขยายหลอดลม theophylline

caffeine สามารถพบได้ในหลายชนิดได้แก่ เมล็ดคา เมล็ดกาแฟ ใบชา โคลา caffeineถูกผสมลงในน้ำอัดลม ยาแก้หวัดบางชนิด ยาแก้ปวด ยาลดน้ำหนัก

กาแฟจะถูกดูดซึมอย่างรวดเร็วหลังจากที่เราดื่มกาแฟและจะถูกขับออกไปครึ่งหนึ่งในเวลาประมาณ 4 ชั่วโมงกาแฟจะไม่สะสมในร่างกายโดยจะถูกทำลายและขับออกหมด ผู้ที่สูบบุหรี่จะมีการขับถ่ายกาแฟมากกว่าผู้ที่ไม่สูบ ดังนั้นคนที่สูบบุหรี่หากต้องการการกระตุ้นของกาแฟจะต้องดื่มกาแฟบ่อยกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่ คนท้องและผู้ที่กินยาคุมกำเนิดจะมีการขับกาแฟน้อยกว่าคนทั่วไป กาแฟจะออกฤทธิ์โดยการกระตุ้นสมองทำให้รู้สึกสดชื่นและมีสมาธิ นอกจากนี้ยังมีรายงานว่ากาแฟจะทำให้มีการหลั่งสาร cortisone และ adrenaline ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อร่างกาย

ปริมาณcaffeine ที่มีในเครื่องดื่มแต่ละชนิดขึ้นกับความเข้มข้น ตารางข้างล่างเป็นตัวอย่างปริมาณกาแฟ

Milligrams of Caffeine

ชนิดของเครื่องดื่ม ปริมาณ Range*
Coffee (150ml cup)
ต้ม, drip method
เครื่องต้มกาแฟ
กาแฟสำเร็จ
Decaffeinated
Espresso (30ml cup)

115
80
65
3
40

60-180
40-170
30-120
2-5
30-50

Teas (150ml cup)
ชาที่ต้ม
ชาเป็นซอง
ชาเย็น (240ml glass)


40
30
45


20-90
25-50
45-50

น้ำอัดลม (180ml) 18 15-30
Cocoa beverage (150ml) 4 2-20
นมรสChocolate  (240ml) 5 2-7
Chocolateนม (30g) 6 1-15
Dark chocolate, semi-sweet (30g) 20 5-35
Cooking chocolate (30g) 26 26


นักวิทยาศาสตร์ประมาณว่าวันหนึ่งๆเราจะรับสาร caffeine ประมาณ 250-600 มก.ซึ่งไม่เกิดผลข้างเคียงต่อร่างกาย

ผลดีของกาแฟ

กาแฟจะกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางทำให้ไม่ง่วง สมาธิในการทำงานดีขึ้น ผู้ที่ดื่มกาแฟจะทำให้ไม่ง่วงนอน มีสมาธิในการทำงาน และยังทำให้ความสามารถในการทำงานดีขึ้น และยังลดอาการปวดเมื่อยเนื่องจากไขหวัด

ผลดีของกาแฟจะทำให้ไม่ง่วงนอนโดยเฉพาะผู้ที่ทำงานเป็นกะ และช่วยลดอุบัติเหตุขณะขับรถ

กระตุ้นอวัยวะของร่างกายและเพิ่มการเผาผลาญไขมันและช่วยลดน้ำหนักได้ด้วย กาแฟจะมีฤทธิ์ขับปัสสาวะอ่อนๆดังนั้นขณะออกกำลังกายหรือหลังออกกำลังกาย ไม่ควรรับเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของกาแฟเพราะจะทำให้ร่างกายขาดน้ำ

การดื่มกาแฟจะเพิ่มความสามารถในการออกกำลังกายหรือไม่

จากการศึกษาพบว่าการดื่มกาแฟจะทำให้สามารถออกกำลังกายได้นานขึ้น แต่การศึกษาดังกล่าวศึกษาในผู้ชาย คำแนะนำอาจจะดื่มกาแฟสักแก้ประมาณหนึ่งชั่วโมงก่อนออกกำลังกาย หากดื่มมากกาแฟจะออกฤทธิ์เสมือนยาขับปัสสาวะทำให้ร่างกายขาดน้ำ ปริมาณกาแฟที่ขับออกมาทางปัสสาวะหากมากกว่า 12 micrograms/mlจะถูกห้าม(เท่ากับการดื่มกาแฟ 4 แก้ว)

ดื่มนานๆจะติดกาแฟหรือไม่

องค์การอนามัยโลกกล่าวว่าไม่มีหลักฐานว่ากาแฟจะเป็นสารซึ่งหากดื่มนานๆแล้วจะเสพติด การดื่มกาแฟจะเป็นนิสัยมากกว่าเสพติดเนื่องจากไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณของกาแฟ และเมื่อหยุดกาแฟบางคนก็เกิดอาการปวดหรือมึนศีรษะเพียงเล็กน้อย

ดื่มกาแฟแค่ไหนถึงจะเรียกว่ามากไป

การดื่มกาแฟ 2-4 แก้วอาจจะไม่เป็นผลเสียต่อสุขภาพ แต่หากดื่มมากไปอาจจะมีผลเสียต่อสุขภาพโดยรวมได้ หากดื่มกาแฟมากเกินไป 4-7แก้วอาจจะเกิดผลเสียอะไรบ้าง

  • นอนไม่หลับ
  • หงุดหงิดง่าย
  • สับสน
  • อารมณ์แปรปวน
  • คลื่นไส้อาเจียน และอาการทางเดินอาหาร
  • ใจสั่นหรือหัวใจเต้นเร็ว
  • กล้ามเนื้อกระตุก
  • ปวดสีรษะ
  • วิตกกังวล

หากท่านเกิดอาการดังกล่าวแสดงว่าท่านดื่มกาแฟมากเกินไป

สำหรับท่านที่ดื่มกาแฟประจำเมื่อหยุดดื่มไป 12-24 ชม ก็จะเกิดอาการของการหยุดการแฟ อาการจะคงอยู่ประมาณ 24 ชม อาการดังกล่าวจะหายไป

ยาที่เรารับประทานจะมีผลต่อกาแฟหรือไม่

ยาหรือสมุรไพรบางชนิดอาจจะส่งผลต่อระดับกาแฟอินในร่างกาย

  • ผู้ที่รับประทานยา Ciprofloxacin (Cipro)หรือ norfloxacin อาจจะทำให้ระดับกาแฟในเลือดสูงขึ้นทำให้เกิดอาการข้างเคียง
  • ผู้ที่ทานยาขยายหลอดลม เช่น Theophylline จะออกฤทธิ์เหมือนกาแฟ อาจจะทำให้เกิดอาการใจสั่น
  • สำหรับผู้ที่รับประทานสมุนไพร Ephedra (ma-huang) ซึ่งอาจจะทำให้เกิดหัวใจเต้นผิดปกติหรือชัก หากรับร่วมกับกาแฟจะเพิ่มความเสี่ยงดังกล่าว

ผลดีของกาแฟต่อสุขภาพ

  • โรคหอบหืด มีรายงานว่าการดื่มกาแฟวันละ 3 แก้วจะลดอาการหอบหืด หากดื่มมากกว่า 6 แก้วการทดสอบสมรรถภาพปอดจะดีขึ้น
  • กาแฟก็เหมือนกับพืชอื่นๆมีสาร flavanoid ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ
  • การดื่มกาแฟจะลดอาการง่วงนอน และทำให้มีสมาธิในการทำงานดีขึ้นโดยเฉพาะผู้ที่ทำงานเป็นกะ และลดอุบัติเหตุขณะขับขี่
  • กาแฟช่วยลดอาการซึมเศร้าและคลายความวิตกกังวล
  • การดื่มกาแฟเป็นประจำจะลดอุบัติการณ์การเกิดนิ่วในทางเดินปัสสาวะ และยังลดอุบัติการณ์ของนิ่วในถุงน้ำดี
  • มีหลักฐานพอจะเชื่อว่าการดื่มกาแฟจะป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่เมื่อดื่มวันละ 4 แก้ว

กาแฟกันสุขภาพสตรี

  • กาแฟกับการตั้งครรภ์ The Food Standards Agency ก่อนหน้านี้มีความเชื่อว่าการดื่มกาแฟจะเป็นผลเสียต่อการตั้งครรภ์ แต่จากหลักฐานยังไม่พบผลเสียดังกล่าว ประเทศอังกฤษได้แนะนำว่าการดื่มวันละ 3-4 แก้วขณะตั้งครรภ์ไม่เกิดผลเสีย สำหรับผู้ที่ตั้งท้องหากงดได้ก็น่าจะงด
  • การเป็นหมัน พบว่าหากดื่มกาแฟมากกว่า 1แก้วจะมีโอกาสเกิดการเป็นหมันเพิ่มขึ้น
  • สมาคมสูติของอเมริกาแนะนำสำหรับผู้ที่ตั้งครรภ์ก็สามารถดื่มได้ไม่เกินวันละหนึ่งแก้วโดยไม่ทำให้คลอดก่อนกำหนด หรือเกิดอาการแท้ง แต่หากดื่มมากกว่านี้มีรายงานว่าอาจจะเกิดผลเสียต่อการตั้งครรภ์

กาแฟกับโรคกระดูกพรุน

  • ยังมีรายงานทั้งสนับสนุนว่าการดื่มกาแฟทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน บางรายงานก็กล่าวว่าไม่เกิดโรค ผู้ที่เกิดโรคกระดูกพรุนมักจะได้รับแคลเซียมไม่พอแนะนำว่าควรจะดื่มนมเริมสำหรับผู้ที่ดื่มกาแฟวันละ 2 แก้วขึ้นไป

กาแฟกับโรคมะเร็ง

  • มีรายงานจากWorld Cancer Research Fund ว่าการดื่มกาแฟปริมาณปานกลางไม่มีความสัมพันธ์กับโรคมะเร็ง
  • มีรายงานกล่าวว่าการดื่มกาแฟมีผลดีต่อการป้องกันมะเร็งตับอ่อนเล็กน้อย
  • มีรายงานว่าการดื่มกาแฟอาจจะมีผลป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ๋

กาแฟกับโรคหัวใจ

  • เท่ามีรายงานขณะนี้พบว่าการดื่มกาแฟวันละ 4 แก้วไม่มีความสัมพันธ์กับโรคหัวใจ

กาแฟกับความดันโลหิตสูง

  • การดื่มกาแฟ 2-3แก้วจะทำให้ความดันโลหิตเพิ่มได้ 3-14/4-13 แต่ยังไม่ทราบกลไกที่ทำให้ความโลหิตสูงขึ้น สำหรับผู้ที่ดื่มเป็นประจำความดันโลหิตอาจจะไม่สูง คำแนะนำ สำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตสูงควรจะลดปริมาณกาแฟลงไม่เกินสองแก้วต่อวัน และควรจะงดดื่มในกรณีที่ความดันจะสูง เช่น การออกกำลังกาย การทำงานหนัก ท่านอาจจะทดสอบว่ากาแฟมีผลต่อความดันหรือไม่โดยวัดความดันโหอต 30 นาทีหลังจากดื่มกาแฟ หากสูงขึ้นควรจะลดหรือเลิก

กาแฟกับโรคเบาหวาน

  • จากการศึกษาพบว่าการดื่มกาแฟจะทำให้เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลินเพิ่มขึ้น 15 % กรดไขมันในเลือดเพิ่มขึ้น ฮอร์โมน epinephrineเพิ่มสูงขึ้น ความดันโลหิตสูงขึ้น ซึ่งอาจจะส่งผลเสียต่อผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

              Link       https://www.siamhealth.net

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

            โรคหอบหืดกับภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคอีสาน

ภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคเหนือ


          ชาวเหนือมีการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับวิธีการดูแลสุขภาพ การรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ จากบรรพบุรุษ และปฏิบัติสืบทอดกันมาได้อย่างสอดคล้องกับวิถีชีวิตของตนเอง แม้ว่าการแพทย์แผนปัจจุบันจะมีความเจริญก้าวหน้าและมีสถานพยาบาลมากแล้วก็ตาม บางครั้งมีการดูแลปฏิบัติตนตามความเชื่อถือดั้งเดิมควบคู่ไปกับการรักษาด้วยแผนปัจจุบัน สำหรับการแพทย์แผนโบราณในภาคเหนือนับว่ามีส่วนผสมผสานอยู่ในชีวิตประจำวันมาแต่เดิม เพราะถือว่าการรู้จักดูแลสุขภาพ รู้จักใช้ยาสมุนไพรที่ใกล้มือ และปฐมพยาบาลด้วยวิธี ง่าย ๆ เป็นการประหยัดและทั่วถึง จากการสำรวจคัมภีร์ใบลานที่พบในวัดต่าง ๆ เมื่อแยกหมวดหมู่แล้วจะเป็นตำรายาหลากหลายด้วยกัน การรักษาโรคของแพทย์แผนโบราณในภาคเหนือจะมีการวิเคราะห์โรคและวิธีการรักษาต่าง ๆ ได้แก่ ใช้ยารักษาตามอาการคนไข้ เช่น ยารสขมใช้รักษาอาการไข้ ยารสเผ็ดร้อนใช้รักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และมีการแนะนำการปฏิบัติตัวในชีวิตประจำวันให้ถูกต้อง หรือใช้ยาปรับธาตุตามฤดูกาล หรือแนะนำอาหารตามธาตุของผู้ป่วย เช่น ธาตุดินควรรับประทานผักผลไม้ที่มีรสฝาด เช่น ฝรั่งดิบ หัวปลี ธาตุน้ำควรรับประทานผักผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่น มะเขือเทศ มะนาว มะม่วงดิบ ธาตุลมควรรับประทานผักผลไม้ที่มีรสเผ็ดร้อน เช่น กะเพรา ตะไคร้ ขิง ข่า และธาตุไฟควรรับประทานผักผลไม้ที่มีรสเย็น เช่น แตงโม แตงกวา นอกจากนั้นโรคและอาการบางอย่างอาจรักษาด้วยการนวด เช่น ปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อ อัมพฤกษ์ อัมพาต ปวดศีรษะ ปวดต้นคอ คอเคล็ด ปวดหัวไหล่ ข้อเท้าเคล็ด และการอบสมุนไพรเพื่อบำบัดอาการปวดเมื่อยเวียนศีรษะ ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตและบำรุงผิวพรรณ นอกจากรักษาด้วยยาแล้ว ผู้ป่วยต้องระมัดระวังไม่รับประทานอาหารที่ถือว่าเป็นอาหารแสลง ซึ่งได้แก่ ฝรั่ง แตงโม มันแกว กล้วยหอม กล้วยไข่ ขนุน โดยเฉพาะคนเป็นไข้หวัดให้รับประทานมะขามป้อม สมอไทย เป็นโรคตับให้รับประทานมะเฟือง สับปะรด ท้องเสียให้รับประทานฝรั่ง ทับทิม ส่วนท้องผูกให้รับประทานมะขาม เป็นต้น 
การใช้สมุนไพรเป็นยา
หมอเมือง

ภาคเหนือยึดถือสืบต่อกันมาว่า การเก็บและการใช้สมุนไพรให้ได้คุณค่าสูงสุดต้องเก็บสมุนไพรจากแหล่งกำเนิดตามธรรมชาติ หากเคลื่อนย้ายออกไปจากแหล่งกำเนิดจะทำให้สรรพคุณของตัวยาลดลง และต้องใช้สมุนไพรให้ครบพระเจ้าทั้ง ๕ องค์ เพื่อให้ตัวยามีคุณค่าครบถ้วน ช่วงเวลาการเก็บสมุนไพร คือ เก็บตามฤดูกาลที่สมุนไพรแต่ละชนิดเจริญเติบโต และต้องเก็บตามชั่วยามที่เหมาะสมแบบไทย (๑ ชั่วยาม มี ๓ ชั่วโมง) ซึ่งระบบนิเวศของพืชทำงานเต็มที่ เช่น ฤดูร้อนต้องเก็บส่วนรากและแก่นของสมุนไพร ฤดูฝนต้องเก็บส่วนใบ ดอก และผล ฤดูหนาวเก็บส่วนเปลือก ลำต้น กระพี้ และเนื้อไม้ การเก็บสมุนไพรให้ได้ผลด้านสรรพคุณทางยาเต็มที่ สะท้อนให้เห็นถึงความเข้าใจในกระบวนการทางธรรมชาติของการสังเคราะห์แสง การปรุงอาหาร และการเก็บสะสมสารอาหารไปยังส่วนต่าง ๆ ของพืช บางครั้งการเก็บพืชสมุนไพรยังอิงกับปรากฏการณ์ธรรมชาติ เช่น การเกิดจันทรุปราคา เป็นต้น 
สำหรับการอบสมุนพร ชาวเหนือมีการอบสมุนไพรมานานแล้ว แต่ทำแบบง่าย ๆ โดยใช้ไม้ไผ่ทำโครงกระโจม เอาผ้าคลุมโครงไม้ไผ่ แล้วนำไปตั้งไว้พื้นที่มีร่อง (ฮูร่อง) สำหรับให้ท่อไอน้ำจากหม้อต้มยาโผล่เข้ามาในกระโจม ข้างล่างจะมีหม้อต้มยา ซึ่งอาจใช้ปี๊บน้ำมันเก่า หม้อดินหรือภาชนะอื่น ที่ใช้เป็นหม้อต้มได้ และมีฝาปิด ต่อท่อที่ทำด้วยลำไม้ไผ่หรือวัสดุอื่น จากหม้อไปยังร่องในกระโจม โดยมีเตียงหรือตั่งสำหรับนอนหรือนั่งเตรียมไว้ จะอยู่ในกระโจมนานเท่าไรขึ้นอยู่กับความพอใจและความทนทานของผู้อบ สมุนไพรที่ใช้อบประกอบด้วย ขิง ข่า ตะไคร้ ใบกะเพรา ขมิ้น หัวหอม ใบเปล้า ไม้ก้างปลา หญ้าใบยืด ผักบุ้ง ฯลฯ ซึ่งเหมาะสำหรับผู้เริ่มเป็นหวัดครั่นเนื้อครั่นตัว หลังจากอบแล้วเหงื่อจะออกทำให้หายจากการเป็นหวัด

วิธีการรักษา
          ตามธรรมเนียมของภาคเหนือ การรักษาโรคด้วยสมุนไพร (herbal folk medicine) ต้องดำเนินควบคู่ไปกับการแพทย์เชิงพิธีกรรม (magico religio folk medicine) เพราะเป็นการบำบัดรักษาคู่กันระหว่างกายกับใจ ซึ่งการแพทย์แผนไทยทุกภาคก็ปฏิบัติแบบเดียวกัน การสวดคาถา ประพรมน้ำมนต์ ปัดรังควาน และการเรียกขวัญระหว่างบำบัดรักษา ล้วนมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดกำลังใจต่อสู้กับความเจ็บป่วย ซึ่งแต่เดิมการรักษาด้วยวิธีการแพทย์สมัยใหม่ไม่เห็นความสำคัญ (เอกวิทย์ ณ ถลาง ๒๕๔๐ : ๖๘)
          หมอเมืองซึ่งเป็นหมอพื้นบ้านภาคเหนือ เป็นตำแหน่งทางสังคมของบุคคลที่มีความรู้ในการปัดเป่าเยียวยาปัญหาโรคภัยไข้เจ็บทุกข์ร้อนต่าง ๆ ของชุมชน ด้วยพืชสมุนไพรหรือวิธีการ อื่น ๆ หมอเมืองจึงมิได้เป็นเพียงตำแหน่งทางวิชาชีพ และมิใช่พ่อค้าขายยาหรือคนสมุนไพร แต่หมอเมืองและตำราหมอเมืองเปรียบเสมือนองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่มีการสืบทอดกันมาหลายชั่วอายุ อย่างไรก็ดีมีบทบาทและวิธีการรักษาของหมอเมืองปัจจุบันถูกจำกัดจากกฎหมายที่เกี่ยวกับการประกอบโรคศิลป์ของรัฐบาล ทำให้หมอเมืองไม่สามารถทำการรักษาเยียวยาแก่ผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง เนื่องจากกฎหมายระบุว่า ผู้ที่จะประกอบอาชีพเป็นแพทย์แผนโบราณต้องสอบผ่านวิชาเวชกรรมแผนโบราณของกระทรวงสาธารณสุขจำนวน ๕ เล่ม แต่ปัญหาที่หมอเมืองภาคเหนือประสบ คือ ตำราเวชกรรมแผนโบราณเป็นภูมิปัญญาภาคกลางมิใช่ภูมิปัญญาภาคเหนือ ดังนั้นหากหมอเมืองต้องการจะได้รับใบประกอบโรคศิลป์ ก็จำเป็นต้องละทิ้งแนวทางการรักษาโรคตามแบบอย่างภูมิปัญญาพื้นบ้านภาคเหนือ ด้วยเหตุนี้หมอเมืองภาคเหนือส่วนหนึ่งจึงต้องทำหน้าแบบหลบ ๆ ซ่อน ๆ
หมอเมืองซึ่งเป็นหมอพื้นบ้านภาคเหนือ เป็นตำแหน่งทางสังคมของบุคคลที่มีความรู้ในการปัดเป่าเยียวยาปัญหาโรคภัยไข้เจ็บทุกข์ร้อนต่าง ๆ ของชุมชน ด้วยพืชสมุนไพรหรือวิธีการ อื่น ๆ หมอเมืองจึงมิได้เป็นเพียงตำแหน่งทางวิชาชีพ และมิใช่พ่อค้าขายยาหรือคนสมุนไพร แต่หมอเมืองและตำราหมอเมืองเปรียบเสมือนองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่มีการสืบทอดกันมาหลายชั่วอายุ อย่างไรก็ดีมีบทบาทและวิธีการรักษาของหมอเมืองปัจจุบันถูกจำกัดจากกฎหมายที่เกี่ยวกับการประกอบโรคศิลป์ของรัฐบาล ทำให้หมอเมืองไม่สามารถทำการรักษาเยียวยาแก่ผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง เนื่องจากกฎหมายระบุว่า ผู้ที่จะประกอบอาชีพเป็นแพทย์แผนโบราณต้องสอบผ่านวิชาเวชกรรมแผนโบราณของกระทรวงสาธารณสุขจำนวน ๕ เล่ม แต่ปัญหาที่หมอเมืองภาคเหนือประสบ คือ ตำราเวชกรรมแผนโบราณเป็นภูมิปัญญาภาคกลางมิใช่ภูมิปัญญาภาคเหนือ ดังนั้นหากหมอเมืองต้องการจะได้รับใบประกอบโรคศิลป์ ก็จำเป็นต้องละทิ้งแนวทางการรักษาโรคตามแบบอย่างภูมิปัญญาพื้นบ้านภาคเหนือ ด้วยเหตุนี้หมอเมืองภาคเหนือส่วนหนึ่งจึงต้องทำหน้าแบบหลบ ๆ ซ่อน ๆ
          อย่างไรก็ดี ปัจจุบันแพทย์จากโรงพยาบาลหลายแห่งในภาคเหนือ ดังเช่น แพทย์ที่โรงพยาบาลพญาเม็งราย เริ่มเปิดกว้างยอมรับวิธีการบำบัดโรคของหมอเมืองเข้ามาผสมผสาน เนื่องจากการขาดแคลนแพทย์แผนปัจจุบัน โดยเฉพาะในกรณีที่คนไข้กระดูกหัก โดยแพทย์ที่โรงพยาบาลจะวินิจฉัยอาการบาดเจ็บเบื้องต้นด้วยวิธีการถ่ายภาพด้วยรังสีเอกซเรย์ เพื่อวิเคราะห์ตำแหน่งหักของกระดูก จากนั้นก็เริ่มรักษาด้วยการเข้าเฝือกที่โรงพยาบาล ก่อนจะอนุญาตให้คนไข้ไปรับการรักษาต่อด้วยวิธีการนวดน้ำมนต์กับหมอเมือง การที่หมอเมืองให้ความร่วมมือด้วยดี มีสาเหตุมาจากการได้รับการยอมรับนับถือจากแพทย์แผนปัจจุบันอย่างเท่าเทียมกัน และสิ่งสำคัญก็คือการเข้าใจสภาวะภายในจิตใจของมนุษย์ ซึ่งต้องการการเยียวยาเช่นเดียวกันสภาวะทางกาย (เอกวิทย์ ณ ถลาง ๒๕๔๐ : ๑๒๙ - ๑๓๐)


       Link    https://www.gotoknow.org

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อัพเดทล่าสุด