https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
น้ำในโพรงสมองมาก,โรคสมองเสื่อม,การรักษา,คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI,การวินิจฉัย,สุขภาพ, โรงพยาบาลธนบุรี1 MUSLIMTHAIPOST

 

น้ำในโพรงสมองมาก,โรคสมองเสื่อม,การรักษา,คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI,การวินิจฉัย,สุขภาพ, โรงพยาบาลธนบุรี1


1,345 ผู้ชม


น้ำในโพรงสมองมากเกินไป สาเหตุหนึ่งของ 'โรคสมองเสื่อม'

น้ำในโพรงสมองมาก,โรคสมองเสื่อม,การรักษา,คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI,การวินิจฉัย,สุขภาพ, โรงพยาบาลธนบุรี1

สาเหตุและอาการ

โรคสมองเสื่อมที่เกิดจากน้ำในโพรงสมองเพิ่มขึ้น โดยปกติโพรงน้ำในสมองจะมีน้ำหล่อเลี้ยงสมองอยู่ หากมีปริมาณของน้ำในโพรงสมองที่มากเกินไป จะทำให้เกิดการขยายขึ้นของโพรงน้ำไปกดเบียดเนื้อสมองบริเวณรอบๆ ทำให้สมองทำงานผิดปกติได้ จริงๆ แล้วภาวะนี้เกิดได้กับทุกวัย แต่จะพบมากในผู้สูงอายุที่อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป และส่วนใหญ่เกิดขึ้นเอง พบได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง

ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมที่เกิดจากน้ำในโพรงสมองเพิ่มขึ้น จะมีอาการผิดปกติที่พบได้บ่อยๆ อยู่ 3 ประการ ได้แก่
- การเดินที่ผิดปกติ เป็นอาการแรกที่ปรากฏขึ้นมาก่อน
- เดินก้าวขาลำบากคล้ายเท้าถูกดูดติดกับพื้น เดินซอยเท้าถี่ๆ
- ปัสสาวะราดบ่อยๆ เพราะเข้าห้องน้ำไม่ทัน
- หลงลืมง่าย คิดช้า

แต่การที่ผู้ป่วยมีอาการกลั้นปัสสาวะลำบาก (urinary incontinence) เช่น ผู้ป่วยต้องรีบเข้าห้องน้ำทันทีเมื่อรู้สึกปวดเบา แสดงว่าโรคนี้เป็นมาระยะหนึ่งแล้ว เช่นเดียวกับเรื่องความจำเสื่อม ยิ่งในระยะท้ายๆ ของโรคปัญหาเรื่องปัสสาวะจะเป็นมากจนปัสสาวะราดโดยไม่ทันรู้ตัว แต่อย่าเพิ่งเป็นกังวล โรคนี้ไม่ใช่โรคร้ายแรง แพทย์จะตรวจวินิจฉัยให้แน่นอนก่อนและวางแผนรักษา

การวินิจฉัย
การวินิจฉัยโรคอาศัยภาพถ่ายสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI เป็นเครื่องช่วยยืนยันให้เห็นว่าโพรงน้ำในสมองมีขนาดใหญ่กว่าปกติจริงๆ และมีการกดเบียดบังตำแหน่งของเนื้อสมองด้านหน้าและด้านใน ทำให้มีอาการเดินลำบาก กลั้นปัสสาวะลำบากและความจำแย่ลง
ขั้นต่อมาแพทย์จะทำการทดสอบโดยการเจาะระบายน้ำหล่อเลี้ยงสมองทางหลัง เพื่อดูว่าผู้ป่วยมีอาการที่ดีขึ้นหรือไม่ ในส่วนของการเดิน หากผู้ป่วยเดินได้คล่องขึ้น จะได้แนะนำให้ทำการรักษาด้วยการผ่าตัดวางท่อระบายน้ำเข้าสู่ช่องท้อง การผ่าตัดจะช่วยชะลออาการได้ เพราะถ้าปล่อยไว้อันเกิดภาวะน้ำท่วมสมอง ทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อมที่รุนแรงขึ้นจนอาจช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ความจำแย่ลงอย่างมาก
การรักษา
การรักษาด้วยการผ่าตัดระบายนั้นจะทำโดยแพทย์ด้านศัลยกรรมทางสมอง โดยท่อระบายน้ำที่จะฝังอยู่ในร่างกายมีอยู่ 2 ประเภท คือ ชนิดที่ปรับแรงดันไม่ได้ และชนิดที่ปรับแรงดันได้ ท่อชนิดที่ปรับแรงดันได้ มีข้อดีคือ ถ้าการระบายน้ำมากเกินไปหรือน้อยเกินไป แพทย์สามารถที่จะปรับเปลี่ยนการระบายน้ำได้ โดยใช้อุปกรณ์แม่เหล็กไร้สายจากภายนอกร่างกาย และไม่ต้องผ่าตัดเปลี่ยนท่ออันใหม่ แพทย์จะนัดผู้ป่วยมาประเมินความคืบหน้าของอาการเป็นระยะๆ ร่วมกับปรับเปลี่ยนการระบายน้ำตามความจำเป็น ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดใส่ท่อ ชนิดปรับแรงดันได้ ผู้ป่วยมักจะนอนพักฟื้นในโรงพยาบาลหลังผ่าตัด เพียงชั่วระยะเวลาไม่กี่วันเท่านั้นและแพทย์จะนัดมาทำการตัดไหมในภายหลัง เพราะหลังจากผ่าตัดผู้ป่วยจะมีอาการค่อยๆ ดีขึ้นอย่างช้าๆ มากน้อยแตกต่างกันไป โดยปัญหาเรื่องการเดินที่ผิดปกติจะดีขึ้นชัดเจนที่สุด ส่วนเรื่องหลงๆ ลืมๆ อาจจะเห็นผลไม่ชัดเจนนัก ก็ต้องดูแลกันต่อไป ระวังการล้ม และอุบัติเหตุต่างๆ ฝึกการปัสสาวะให้เป็นเวลา การฝึกสมอง (ออกกำลังสมอง) เพื่อเป็นการป้องกันหรือชะลอการเสื่อมของสมอง กินอาหารที่มีประโยชน์ และต้องครบ 5 หมู่ด้วย ควบคุมน้ำหนักในปริมาณที่ไม่ทำให้เกิดน้ำหนักตัวเกินหรือโรคอ้วน พบแพทย์ตามนัด เพราะต้องหมั่นดูแลท่อที่ฝังเอาไว้เสมอ โรคนี้ไม่ได้หายขาดแต่เราสามารถชะลออาการได้
ดูแลสุขภาพให้ดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหาร น้ำ อากาศ การออกกำลังกาย การพักผ่อนอย่างเหมาะสม เพียงพอ ที่สำคัญเห็นคนสูงอายุ เดินไม่คล่อง ความจำไม่ดี อย่างเพิ่งคิดว่าเป็นธรรมดา โรคคนแก่ ปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ทำอะไร ควรพามาพบแพทย์ เพื่อจะได้ตรวจหาสาเหตุโดยแน่ชัดอีกที เพื่อจะพบสาเหตุที่แก้ไขได้ทันท่วงที

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์ข้อมูลสุขภาพ โทร 02-412-0020 ต่อ 2005-7 โรงพยาบาลธนบุรี 1 www.thonburihospital.com


อัพเดทล่าสุด