https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
โรคตับอ่อนอักเสบ โรคตับอักเสพ โรคภัย การแพทย์ Pancreatitis MUSLIMTHAIPOST

 

โรคตับอ่อนอักเสบ โรคตับอักเสพ โรคภัย การแพทย์ Pancreatitis


1,551 ผู้ชม


ระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง :

ตับอ่อน  ระบบทางเดินอาหาร 

อาการที่เกี่ยวข้อง :

ไข้  ปวดท้อง  ตัวเหลือง  ปวดหลัง  ตาเหลือง 

บทนำ

โรคตับอ่อนอักเสบ (Pancreatitis) เป็นโรคเกิดจากมีการอักเสบของเซลล์ของตับอ่อน (Pancreas) อาจทั้งจากการอักเสบชนิดไม่ติดเชื้อ เช่น เกิดจากพิษของสุรา หรือ จากการติดเชื้อ เช่น จากเชื้อไวรัส หรือ แบคทีเรีย

ตับอ่อน เป็นอวัยวะในช่องท้อง อยู่ใต้ต่อกระเพาะอาหาร จัดเป็นอวัยวะในระบบทางเดินอา หารเช่นเดียวกับตับ (Liver) แต่ตับอ่อนไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของตับ เป็นคนละอวัยวะกัน ไม่ได้เกี่ยวข้องกัน เพียงแต่มีชื่อภาษาไทยที่พ้องกัน ซึ่งผู้เขียนไม่ทราบที่มา แต่เข้าใจเอาเองว่า อาจเป็นเพราะ เป็นอวัยวะในระบบทางเดินอาหาร และมีลักษณะเป็นก้อนเนื้อเหมือนกัน เพียงแต่มีขนาดเล็ก และเนื้อเยื่ออ่อนนุ่มกว่าตับ จึงได้ชื่อว่า ตับอ่อน (ในภาษาไทย) ซึ่ง Pancreas มาจากภาษากรีก แปล ว่า เนื้อ (Flesh)

บางท่านเปรียบเทียบว่า ตับอ่อนมีลักษณะและขนาดเหมือนกล้วยหอม ประกอบด้วยเซลล์หลัก 2 ชนิด คือ เซลล์จากต่อมไร้ท่อ(Endocrine gland) และเซลล์จากต่อมมีท่อ หรือ ต่อมขับออก (Exocrine gland) โดยต่อมไร้ท่อ มีหน้าที่สร้างฮอร์โมนหลายชนิด ที่เรารู้จักกันดี คือ ฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการทำงานของน้ำตาลในเลือด ซึ่งสัมพันธ์กับการเกิดโรคเบาหวาน ส่วนต่อมมีท่อ มีหน้าที่สร้างน้ำย่อยอาหาร ซึ่งช่วยย่อยอาหารในลำไส้เล็ก โดยเฉพาะการย่อยไขมัน

โรคตับอ่อนอักเสบ เป็นโรคของผู้ใหญ่ มักพบในอายุ ตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป จนถึงในผู้สูงอายุ ทั้งนี้การอักเสบของตับอ่อนพบเกิดได้ 2 แบบ คือ โรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน (Acute pan creatitis) และ โรคตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง (Chronic pancreatitis)

  • โรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน (Acute pancreatitis) ได้แก่ โรคที่เกิดการอักเสบขึ้น กับเซลล์ของตับอ่อนอย่างเฉียบพลัน อาจทันที หรือค่อยๆมีอาการภายใน 2-3 วัน ทั้งนี้ อาการจะดีขึ้น และหายเป็นปกติได้ภายหลังการรักษาภายในระยะเวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์ เป็นโรคพบได้ประมาณ 5-80 รายต่อประชากร 100,000 คน ทั้งนี้แตกต่างกันในแต่ละเชื้อชาติและในแต่ละประเทศ เช่น ประมาณ 17 รายต่อประชากร 100,000 ราย ในเยอรมัน แต่ประมาณ 73 ราย ต่อประชากร 100,000 รายในฟินแลนด์ เป็นต้น ผู้ชายพบได้บ่อยกว่าในผู้หญิง
  • โรคตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง (Chronic pancreatitis) ได้แก่ โรคที่เซลล์ตับอ่อนมีการอักเสบอย่างต่อเนื่องเรื้อรัง อาจเกิดตามหลังการอักเสบเฉียบพลันที่รักษาไม่หายเพราะสาเหตุยังคงอยู่ เช่น ผู้ป่วยยังคงดื่มสุราเรื้อรัง จึงส่งผลให้การอักเสบเฉียบพลันเกิดต่อเนื่องจนกลาย เป็นการอักเสบเรื้อรัง หรือ อาจเกิดจากมีการอักเสบเฉียบพลันซ้ำกันหลายๆครั้ง ซึ่งในการอัก เสบเรื้อรัง เซลล์ของตับอ่อนจะไม่สามารถฟื้นตัวได้เต็มที่ มักกลายเป็นพังผืด หรือบางครั้งเซลล์ที่อักเสบและตายจะรวมตัวกันเกิดเป็นถุงน้ำขึ้น เรียกว่า ถุงน้ำตับอ่อนที่เกิดจากตับอ่อนอัก เสบเรื้อรัง(Pancreatic pseudocyst) ซึ่งโรคนี้พบได้ในผู้ชายบ่อยกว่าในผู้หญิงเช่นกัน โดยพบได้ประมาณ 26-200 รายต่อประชากร 100,000 คน ทั้งนี้แตกต่างกันในแต่ละเชื้อชาติและแต่ละประเทศ เช่น พบได้ประมาณ 26 รายต่อประชากร 100,000 คนในฝรั่งเศส แต่พบได้ประมาณ 200 คนต่อประชากร 100,000 คนในอินเดียตอนใต้ เป็นต้น
 

โรคตับอ่อนอักเสบเกิดได้อย่างไร?

กลไกที่ทำให้เกิดตับอ่อนอักเสบที่แน่ชัดยังไม่ทราบ แต่เชื่อว่า การอักเสบของตับอ่อน เกิดจากน้ำย่อยอาหารจากตับอ่อน โดยเฉพาะชนิดที่เรียกว่า ทริปซิน (Trypsin) ซึ่งเป็นน้ำย่อยโปรตีน ที่ปกติจะไม่ทำงานเมื่ออยู่ในตับอ่อน จะทำงานต่อเมื่อเข้าไปอยู่ในลำไส้เล็ก โดยเซลล์ของลำไส้เล็กตอนบนจะสร้างเอนไซม์ ชื่อ Enterokinase หรือ Enteropeptidase ซึ่งจะเป็นตัว กระตุ้นให้น้ำย่อยตับอ่อนทำงาน แต่เมื่อเซลล์/เนื้อเยื่อตับอ่อนอักเสบจากสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยงต่างๆ จะส่งผลให้เกิดสารเคมีผิดปกติต่างๆขึ้น ซึ่งจะกระตุ้นให้น้ำย่อยของตับอ่อนโดยเฉพาะ ทริปซินทำงาน น้ำย่อยเหล่านี้จึงย่อยสลายเซลล์/เนื้อเยื่อของตับอ่อนจึงก่อให้เกิดเป็นโรคตับอ่อนอักเสบขึ้น ซึ่งในการอักเสบเฉียบพลัน การอักเสบจะเป็นชั่วขณะ ประมาณ 1-2 สัปดาห์เซลล์/เนื้อเยื่อตับอ่อนก็จะฟื้นตัวกลับสู่สภาพปกติ แต่ถ้าเป็นการอักเสบเรื้อรัง เซลล์/เนื้อเยื่อจะค่อยๆถูกทำลายกลายเป็นพังผืดอย่างถาวร ไม่สามารถสร้างน้ำย่อยและสร้างฮอร์โมนได้ ดังนั้นร่างกายจึงขาดน้ำย่อยอาหาร และขาดฮอร์โมนต่างๆ โดยเฉพาะฮอร์โมนอินซูลิน ผู้ป่วยจึงเกิดภาวะขาดอาหาร และมักเกิดเป็นโรคเบาหวานขึ้น

นอกจากนี้ ยังอาจเกิดจากมีการทำลาย หรือก่อให้เกิดการอักเสบโดยตรงต่อเซลล์ของตับอ่อนจากสาเหตุต่างๆ เช่น จากแอลกอฮอล์จากการดื่มสุรา หรือการอักเสบของเนื้อเยื่อตับอ่อนจากโรคออโตอิมมูน/โรคภูมิต้านตนเอง เป็นต้น

โรคตับอ่อนอักเสบมีสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยงจากอะไร?

ดังกล่าวแล้วในบทนำว่า โรคตับอ่อนอักเสบทั้งอักเสบเฉียบพลันและอักเสบเรื้อรัง มีการเกี่ยวพันกัน โดยการอักเสบเรื้อรัง เกิดต่อเนื่องมาจากการอักเสบเฉียบพลัน ดังนั้นสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยงจึงเป็นปัจจัยเสี่ยงเดียวกัน ที่พบบ่อยมี 2 สาเหตุซึ่งรวมกันเป็นประมาณ 80% ของโรคตับอ่อนอักเสบทั้งหมด คือ จากโรคนิ่วในถุงน้ำดี (และโรคนิ่วในท่อน้ำดี) และจากการดื่มสุรา

  • จากโรคนิ่วในถุงน้ำดี โดยนิ่วจากถุงน้ำดี ที่หลุดเข้าท่อน้ำดี (โรคนิ่วในท่อน้ำดี) ซึ่งท่อน้ำดีนี้จะเปิดเข้าลำไส้เล็กตำแหน่งเดียวกับท่อตับอ่อน นิ่วในท่อน้ำดี จึงก่อการอุดตันและการอักเสบของท่อตับอ่อน และกลายเป็นสาเหตุของตับอ่อนอักเสบในที่สุด
  • จากการดื่มสุรา ซึ่งมักเกิดตามหลังการดื่มสุราอย่างหนักประมาณ 2-12 ชั่วโมง แต่บางคนอาจนาน 1-3 วันได้ และบางคนที่ไวต่อแอลกอฮอล์เป็นพิเศษจะเกิดตามหลังการดื่มสุราเพียงเล็กน้อยได้ ทั้งนี้ เกิดจากพิษของแอลกอฮอล์ทำลายเซลล์ตับอ่อนโดยตรง

    ส่วนสาเหตุอื่นๆที่พบได้น้อยกว่ารวมกันเป็นประมาณ 20% ของการเกิดตับอ่อนอักเสบ ได้แก่

    • สูบบุหรี่ ซึ่งเกิดจากสารพิษจากบุหรี่ทำลายเซลล์ตับอ่อน
    • ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด เช่น ยาปฏิชีวนะบางชนิด และยารักษาวัณโรคบางชนิด
    • ภาวะผิดปกติทางการใช้พลังงานของร่างกาย เช่น โรคไขมันในเลือดสูง
    • โรคเรื้อรังบางชนิดที่ก่อให้เกิดสารเคมีเป็นพิษขึ้นในร่างกาย เช่น ในโรคไตเรื้อรัง
    • โรคที่เป็นสาเหตุให้มีเกลือแร่แคลเซียมในร่างกายสูง เช่น การกินวิตามินดี และแคลเซียมในปริมาณสูงต่อเนื่อง
    • การติดเชื้อแบคทีเรียของตับอ่อน
    • การติดเชื้อไวรัสของตับอ่อน เช่น ในโรคคางทูม หรือโรคเอดส์
    • โรคออโตอิมูน/โรคภูมิต้านตนเอง
    • ตับอ่อนได้รับบาดเจ็บโดยตรง เช่น จากอุบัติเหตุ หรือจากการผ่าตัดในช่องท้อง
    • พันธุกรรมบางชนิดที่เป็นสาเหตุให้เกิดมีตับอ่อนอักเสบ สาเหตุนี้พบได้น้อยมาก
    • โรคมะเร็งตับอ่อน โรคมะเร็งถุงน้ำดี หรือโรคมะเร็งท่อน้ำดี แต่สาเหตุจากโรคมะ เร็งเป็นสาเหตุที่พบได้น้อย
 

โรคตับอ่อนอักเสบมีอาการอย่างไร?

  • อาการของโรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน ได้แก่
    • ปวดท้องเฉียบพลันตรงช่องท้องตรงกลางส่วนบน ปวดมาก ปวดตื้อๆ ต่อเนื่องเป็นวัน หรือหลายวันติดต่อกัน และมักปวดร้าวไปด้านหลังจากการที่ตับอ่อนเป็นอวัยวะอยู่ลึกในช่องท้องส่วนอยู่ติดทางด้านหลัง อาการปวดจะมากขึ้นเมื่อกินอาหาร ดื่มเครื่องดื่ม อย่างไรก็ตามผู้ป่วยบางคนที่มีโรคเรื้อรังที่มีผลต่อการอักเสบของปลายประสาท อาจมีตับอ่อนอักเสบโดยมีอาการปวดไม่มากได้ เช่น ในโรคเบาหวาน หรือโรคไตเรื้อรัง
    • ท้องอืด อาหารไม่ย่อย แน่นท้อง
    • มีไข้ มีได้ทั้งไข้สูง หรือไข้ต่ำ
    • ถ้าเป็นการอักเสบชนิดรุนแรง จะมีอาการของ ภาวะขาดน้ำ (ผิวแห้ง กระหายน้ำ ความดันโลหิตต่ำ หัวใจเต้นเร็ว) และ/หรือ อาการจากการอักเสบของอวัยวะต่างๆร่วมด้วย เช่น ปอดอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หรือไตวายเฉียบพลัน
  • อาการของโรคตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง ได้แก่
    • อาการเช่นเดียวกับตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันเมื่อเกิดตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันทับซ้อน
    • ปวดท้อง ลักษณะอาการปวดเช่นเดียวกับการอักเสบเฉียบพลัน แต่ความรุนแรงน้อยกว่า เป็นการปวดท้องเรื้อรัง และนอกจากจะปวดมากขึ้นจากอาหาร เครื่องดื่มแล้ว ยังปวดมากขึ้นเมื่อดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
    • ผอมลงต่อเนื่อง ทั้งๆที่อาจกินได้ปกติ จากอาหารดูดซึมไม่ได้เพราะขาดน้ำย่อยอา หาร เป็นโรคขาดอาหารอ่อนเพลีย
    • ท้องเสียเรื้อรัง อุจจาระมีลักษณะเป็นไขมันจากไขมันย่อยไม่ได้ เมื่อเป็นมาก เมื่ออุจจาระ ไขมันจะลอยขึ้นมาให้เห็นในโถส้วม และมีกลิ่นเหม็นผิดปกติ
    • คลื่นไส้ อาเจียน
    • อาการของโรคเบาหวาน เมื่อเป็นมากจนตับอ่อนสร้างอินซูลินลดลงมาก
    • บางครั้งอาจมี ตัว ตา เหลือง (ภาวะดีซ่าน) จากการอักเสบเรื้อรัง ก่อให้เกิดการ ดึงรั้งปากท่อน้ำดีที่อยู่ติดกับปากท่อตับอ่อน ส่งผลให้เกิดการอุดกั้นทางเดินน้ำดีจากตับ น้ำดีจึงท้นเข้าหลอดเลือดก่ออาการ ตัว ตาเหลือง ปัสสาวะสีเหลืองเข้ม และน้ำดีไหลลงลำไส้ไม่ได้ จึงส่งผลให้อุจจาระมีสีซีด (สีของอุจจาระเป็นสีจากน้ำดี)
 

แพทย์วินิจฉัยโรคตับอ่อนอักเสบได้อย่างไร?

แพทย์วินิจฉัยโรคตับอ่อนอักเสบทั้งชนิดเฉียบพลันและชนิดเรื้อรังได้ด้วยวิธีการเดียวกัน คือ จากประวัติอาการ ประวัติการเจ็บป่วยและการรักษาทั้งในอดีตและในปัจจุบัน การดื่มสุรา สูบบุหรี่ การตรวจร่างกาย การตรวจเลือดดูค่าน้ำย่อยต่างๆ การตรวจภาพตับอ่อนด้วยอัลตราซาวด์ และ/หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ และอาจมีการตรวจด้วยวิธีเฉพาะอื่นๆเพิ่มเติม ทั้งนี้ขึ้นกับดุลพิ นิจของแพทย์ เช่น การส่องกล้องตรวจทางเดินน้ำดี และท่อตับอ่อน ที่เรียกว่า อีอาร์ซีพี (ERCP ,Endoscopic retrograde cholangiopancreatography) เป็นต้น

รักษาโรคตับอ่อนอักเสบอย่างไร?

การรักษาโรคตับอ่อนอักเสบทั้งชนิดเฉียบพลัน และชนิดเรื้อรัง คือ การรักษาสาเหตุ/ปัจ จัยเสี่ยง และการรักษาประคับประคองตามอาการ

  • การรักษาสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยง เช่น การรักษานิ่วในถุงน้ำดี และนิ่วในท่อน้ำดีด้วยวิธีต่างๆตามขนาดก้อนนิ่ว ตำแหน่งของนิ่ว อาการผู้ป่วย สุขภาพโดยรวมของผู้ป่วยและดุลพินิจของแพทย์ การงด/เลิกสุรา และบุหรี่ และการให้ยาปฏิชีวนะเมื่อการอักเสบเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย อาจจำเป็นต้องมีการส่องกล้อง หรือผ่าตัดเพื่อเอานิ่วออกเมื่อโรคเกิดจากการมีนิ่วดัง กล่าวแล้ว หรืออาจต้องผ่าตัดตับอ่อน ถ้าตับอ่อนอักเสบมากจนเกิดการเน่าตายของเนื้อเยื่อตับอ่อน
  • การรักษาประคับประคองตามอาการ เป็นการรักษาที่สำคัญมาก ทั้งนี้เพราะผู้ป่วยมัก จะกินอาหาร/ดื่มน้ำได้น้อย จึงมักต้องรับผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาล ให้สารอาหารและสารน้ำทางหลอดเลือดดำ และแก้ไขให้เกลือแร่ต่างๆอยู่ในสมดุลจนกว่าผู้ป่วยจะกินอาหารทางปากได้ ในบางครั้งเมื่อผู้ป่วยมีอาการรุนแรง อาจจำเป็นต้องให้สายให้อาหารผ่านทางจมูกเข้ากระเพาะอาหาร หรือเข้าสู่ลำไส้เล็ก เพื่อลดการกระตุ้นการทำงานของตับอ่อนจากอาหารที่กินเข้าไป และลดอาการคลื่นไส้ อาเจียน

นอกจากในเรื่องน้ำและอาหารแล้ว ยาแก้ปวด และยาบรรเทาอาการคลื่นไส้ อา เจียน ก็เป็นอีกตัวยาที่สำคัญ

อนึ่ง ในผู้ป่วยตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง

  • ต้องระวังเรื่องการกินยาต่างๆเพราะดังกล่าวแล้วว่า ยาบางชนิดอาจมีผลข้างเคียงที่เป็นพิษต่อเซลล์ตับอ่อน
  • จำกัดการกินอาหารไขมัน
  • กินยาเพื่อช่วยการย่อยอาหาร
  • กิน หรือฉีดวิตามินต่างๆ โดยเฉพาะชนิดที่ละลายในไขมัน เพราะร่างกายดูซึมไขมันได้ลดลง จึงมักขาดวิตามินที่ละลายในไขมัน ได้แก่ วิตามิน เอ ดี อี และ เค ร่วมด้วย กินยาแก้ปวดเป็นประจำ โดยมีตารางกินยาคล้ายคลึงกับผู้ป่วยที่มีอาการปวดเรื้อรัง เช่น ผู้ป่วยโรคมะเร็ง
  • บางคนจำเป็นต้องได้ยาคลายเครียด
  • การดูแลรักษาโรค/อาการที่เกิดจากผลข้างเคียง เช่น โรคเบาหวาน อาการตัว ตาเหลือง (ภาวะดีซ่าน)
  • และบางครั้งอาจต้องผ่าตัดตับอ่อน
 

โรคตับอ่อนอักเสบรุนแรงไหม? มีผลข้างเคียงอย่างไร?

โดยทั่วไปโรคตับอ่อนเฉียบพลันเป็นโรคไม่รุนแรง รักษาได้หายประมาณ 80% ภายในประมาณ 1-2 สัปดาห์ แต่ประมาณ 20% เป็นโรครุนแรงและทำให้มีโอกาสเสียชีวิตได้ประมาณ 30% ซึ่งโอกาสเกิดโรครุนแรงจะสูงกว่าเมื่อมีสาเหตุจากโรคนิ่วในถุงน้ำดี หรือนิ่วในท่อน้ำดี มากกว่ามีสาเหตุจากสุรา นอกจากนี้ ตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันยังสามารถเกิดเป็นซ้ำได้ ถ้ายังไม่สามารถรักษาควบคุมสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยงได้

ตับอ่อนอักเสบ กลุ่มที่มีอาการรุนแรง มักเกิดจากเมื่อเซลล์/เนื้อเยื่อตับอ่อนอักเสบ จะก่อ ให้เกิดสารเคมีหลายชนิดเข้าสู่กระแสโลหิต/เลือด และไปก่อให้เกิดการอักเสบในหลายๆอวัยวะ ที่พบบ่อย คือ ปอด กล้ามเนื้อหัวใจ และไต ก่อภาวะ หายใจล้มเหลวและภาวะหัวใจล้มเหลว และไตวายเฉียบพลัน ซึ่งทั้งหมดเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้

ในโรคตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง ทางการแพทย์จัดเป็นโรครุนแรง รักษาไม่หาย แต่บรรเทาอา การได้โดยผู้ป่วยต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์ตลอดชีวิต เพราะมักมีผลข้างเคียงหลายอย่างตามมา เช่น อาการปวดท้องรุนแรงเรื้อรัง โรคเบาหวาน ท้องเสียเรื้อรัง ภาวะขาดอาหาร ส่งผลถึงคุณภาพชีวิต และเป็นสาเหตุเสียชีวิตได้เช่นกัน

ดูแลตนเองอย่างไร? ควรพบแพทย์เมื่อไร?

เมื่อมีอาการดังกล่าวแล้วในหัวข้อ อาการ จำเป็นต้องรีบพบแพทย์เสมอ อาจภายใน 24 ชั่วโมง หรือฉุกเฉิน ทั้งนี้ขึ้นกับความรุนแรงของอาการ ต่อจากนั้น ขึ้นอยู่กับคำแนะนำของแพทย์ พยาบาล ซึ่งที่สำคัญ คือ

  • ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ พยาบาล
  • กินยาต่างๆให้ครบถ้วน ถูกต้อง โดยเฉพาะยาแก้ปวด และยาช่วยย่อยอาหารต่างๆ
  • เลิก/ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เลิก/ไม่สูบบุหรี่
  • จำกัดอาหารไขมัน
  • พบแพทย์ตามนัดเสมอ และรีบพบแพทย์ก่อนนัดเมื่อมีอาการผิดปกติไปจากเดิม หรือมีอาการเลวลง หรือกังวลในอาการ
 

ป้องกันโรคตับอ่อนอักเสบอย่างไร?

การป้องกันโรคตับอ่อนอักเสบ ที่สำคัญ คือ การลดปัจจัยเสี่ยง ซึ่งที่สำคัญคือ

  • ลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคนิ่วในถุงน้ำดี (อ่านเพิ่มเติมใน เรื่องโรคนิ่วในถุงน้ำดี)
  • เลิก/ไม่ดื่มสุรา เลิก/ไม่สูบบุหรี่
  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ) เพื่อลดโอกาสติดเชื้อต่างๆ
  • ไม่กินยาพร่ำเพรื่อ กินเฉพาะเมื่อจำเป็น และเมื่อซื้อยากินเอง ควรต้องปรึกษาเภ สัชกรประจำร้านขายยาถึงผลข้างเคียงของยาเสมอ

ที่มา   https://haamor.com/th/โรคตับอ่อนอักเสบ/

อัพเดทล่าสุด