https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
พิษร้ายของต่อมไทรอยด์ MUSLIMTHAIPOST

 

พิษร้ายของต่อมไทรอยด์


2,969 ผู้ชม

ต่อมไทรอยด์อยู่บริเวณด้านหน้าของลำคอใต้ลูกกระเดือกเป็นรูปผีเสื้อ ทำหน้าที่สร้างและผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ซึ่งช่วยในการเผาผลาญพลังงาน การทำงานของเซลล์ต่างๆ ทั่วร่างกายรวมทั้งหัวใจ โดยอาศัยไอโอดีนจากอาหารเป็นวัตถุดิบ และถูกควบคุมการทำงานโดยฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองอีกทีหนึ่ง...


พิษร้ายของต่อมไทรอยด์

ต่อมไทรอยด์อยู่บริเวณด้านหน้าของลำคอใต้ลูกกระเดือกเป็นรูปผีเสื้อ ทำหน้าที่สร้างและผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ซึ่งช่วยในการเผาผลาญพลังงาน การทำงานของเซลล์ต่างๆ ทั่วร่างกายรวมทั้งหัวใจ โดยอาศัยไอโอดีนจากอาหารเป็นวัตถุดิบ และถูกควบคุมการทำงานโดยฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองอีกทีหนึ่ง
ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ คือภาวะที่ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนออกมามากกว่าปกติ ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการหงุดหงิด ขี้ร้อน มือสั่น ใจสั่น คอโต น้ำหนักลดทั้งๆที่รับประทานอาหารได้ดี กล้ามเนื้ออ่อนแร ง ตาโปน เหนื่อยง่าย นอนไม่หลับ ผมร่วง ประจำเดือนผิดปกติ
กลุ่มผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการเกิดไทรอยด์เป็นพิษ ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีประวัติครอบครัวเป็นไทรอยด์เป็นพิษ, อายุ 20-40 ปี และเพศหญิง มีโอกาสเป็นไทรอยด์เป็นพิษมากกว่าชาย 4-8 เท่า
สาเหตุของการเกิดโรคไทรอยด์เป็นพิษ เกิดจากร่างกายสร้างแอนติบอดี้ ไปกระตุ้นต่อมไทรอยด์ให้ผลิตฮอร์โมนออกมามากขึ้น ผู้ป่วยส่วนหนึ่งอาจมีต่อมไทรอยด์โตทั้งต่อม ซึ่งต้องแยกจากโรคคอพอกที่มีอาการคอโตอย่างเดียวแต่การทำงานของต่อมไทรอยด์ยังปกติ
การวินิจฉัยโดยการตรวจเลือดดูระดับของฮอร์โมนไทรอยด์จะมีค่าสูงผิดปกติ (T4และT3) และระดับฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง(TSH) จะมีระดับต่ำ นอกจากนี้ยังมีวิธีการตรวจการดูดซึมของสารกัมมันตภาพรังสีที่ต่อมไทรอยด์ (I131 uptake) เพื่อแยกภาวะไทรอยด์เป็นพิษซึ่งจะมีการดูดซึมของสารกัมมันตภาพรังสีสูงที่ต่อมไทรอยด์ออกจากภาวะไทรอยด์อักเสบซึ่งมีการดูดซึมสารกัมมันตภาพรังสีในระดับที่ต่ำ ในช่วงแรกของภาวะไทรอยด์อักเสบ ร่างกายจะมีระดับของฮอร์โมนไทรอยด์สูงมากในกระแสเลือด เนื่องจากเซลล์ไทรอยด์ถูกทำลายจากการอักเสบ หลังจากนั้นระดับฮอร์โมนไทรอยด์จะลดลงต่ำ
การรักษา
1. การใช้ยาต้านฮอร์โมนไทรอยด์ เป็นการรักษาหลักของภาวะไทรอยด์เป็นพิษ ยาที่ใช้มีฤทธิ์
ต่อต้านการทำงานของฮอร์โมนรวมทั้งยับยั้งการสร้างฮอร์โมนขึ้นมาใหม่ อาการของผู้ป่วยมักจะดีขึ้นในเวลาไม่กี่วัน โดยผู้ป่วยต้องรับประทานยาให้ต่อเนื่องติดต่อกันอย่างน้อย 2 ปีเพื่อให้โรคเข้าสู่ภาวะสงบ ส่วนการดำเนินของโรคไทรอยด์เป็นพิษนั้นโดยส่วนใหญ่จะเข้าสู่ภาวะสงบภายใน2 ปีแต่จะมากหรือน้อยขึ้นกับหลายปัจจัยที่สำคัญคือ ขนาดของต่อมไทรอยด์ ถ้าขนาดโตโอกาสที่โรคจะสงบจะน้อยกว่า ดังนั้นจึงแนะนำผู้ป่วยให้รับประทานยาให้ต่อเนื่องอย่างน้อย 2 ปี ผู้ป่วยที่หยุดยาก่อนหน้านี้อาจมีโอกาสโรคกำเริบ กลับมาเป็นซ้ำได้ใหม่ ยาที่ใช้ในประทศไทยมีอยู่ 2 ชนิดคือ PTU และ methimazole หากผู้ป่วยมีอาการแพ้ยาอาจลองใช้ยาอีกชนิดได้
ถ้าหากผู้ป่วยอาการไม่ดีขึ้น หรือไม่สามารถลดหรือหยุดยาได้ อาจต้องทำการรักษาโดยวิธีผ่าตัดหรือ กลืนรังสี
2. การรักษาด้วยสารรังสี ซึ่งเป็นสารไอโอดีนกัมมันตรังสีที่ได้รับการคำนวณขนาดไว้ให้พอดีกับแต่ละบุคคล สารรังสีที่ดื่มเข้าไปจะไปจับที่ต่อมไทรอยด์และทำลายเนื้อเยื่อต่อมไทรอยด์จนมีขนาดเล็กลงจนมีขนาดใกล้เคียงกับปกติ ข้อเสียของการรักษาด้วยวิธีนี้ คือ สารรังสีออกฤทธิ์ช้า อาการของโรคอาจจะยังไม่หายขาดในทันที ต้องใช้เวลาหลังดื่มสารรังสีอย่างน้อย 6 เดือน และในระยะยาวอาจเกิดภาวะไทรอยด์ทำงานต่ำต้องรับประทานยาเสริมการทำงานของฮอร์โมนไทรอยด์ตลอดชีวิต ซึ่งโอกาสการเกิดไทรอยด์ทำงานต่ำนั้นในปีแรกที่ดื่มน้ำแร่รังสีอยู่ที่ 30% หลังจากนั้นจะเพิ่มขึ้นอีก 3% ต่อปีไปเรื่อย ๆ
ข้อดีของการรักษาด้วยวิธีนี้คือ ผู้ป่วยจะหายจากไทรอยด์เป็นพิษได้ง่ายกว่าและหายสนิท
ได้ ถ้าดื่มครั้งแรกไม่พอผู้ป่วยสามารถดื่มครั้งที่สองได้ โดยที่สารรังสีนี้จะไปสะสมที่ต่อมไทรอยด์เท่านั้น ไม่ไปรบกวนอวัยวะอื่นๆ ในร่างกาย และเมื่อต่อมไทรอยด์ถูกทำลายจากฤทธิ์ของรังสี โรคไทรอยด์เป็นพิษก็จะหายขาด ผู้ป่วยหญิงที่รับการรักษาด้วยการดื่มน้ำแร่ต้องคุมกำเนิดอย่างน้อย 6 เดือน มิฉะนั้นเด็กในครรภ์อาจได้รับอันตรายจากสารรังสี
ผู้ป่วยที่ควรเลือกการรักษาโดยวิธีการดื่มน้ำแร่ ได้แก่ ผู้ป่วยที่แพ้ยาต้านไทรอยด์ทั้งสอง
ชนิด ผู้ป่วยที่กินยาครบ 2 ปีแล้วไม่หายหรือไม่สามารถหยุดยาได้ ผู้ป่วยที่มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงจากไทรอยด์เป็นพิษ ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจและมีอาการไทรอยด์เป็นพิษร่วมด้วย เพราะไทรอยด์อาจทำให้อาการของโรคหัวใจกำเริบ เป็นต้น
3. การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออก และให้เหลือเนื้อเยื่อไทรอยด์ใกล้เคียงกันคนปกติ วิธีนี้หลังผ่าตัด
ผู้ป่วยจะหายจากอาการไทรอยด์เป็นพิษทันที แต่มีข้อเสียคือ อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดเช่น เสียงแหบ มือชา ซึ่งพบได้ไม่บ่อยนัก ไม่ถึงร้อยละ 5 สำหรับวิธีนี้เลือกใช้ในผู้ป่วยบางรายเช่น ผู้ป่วยที่มีต่อมโตมาก หญิงตั้งครรภ์ที่มีอาการไทรอยด์เป็นพิษแล้วมีปัญหากับยาที่รักษา เช่นแพ้ยา หรือผู้ป่วยที่มีอาการทางตาอย่างรุนแรง
การรักษาภาวะไทรอยด์เป็นพิษขณะตั้งครรภ์
ผู้ป่วยไทรอยด์เป็นพิษสามารถตั้งครรภ์ได้ตามปกติ มียาที่ปลอดภัยที่สามารถใช้ในช่วงตั้งครรภ์ แต่ผู้ป่วยต้องได้รับการเจาะเลือดเพื่อประเมินการทำงานของไทรอยด์ถี่ขึ้น บ่อยขึ้น
ข้อแตกต่างจากการรักษาในคนปกติคือ ไม่สามารถให้การรักษาด้วยการกลืนน้ำแร่รังสีได้ และยาที่ใช้ต้องให้น้อยที่สุดที่จะคุมอาการของโรคได้ เนื่องจากยาสามารถผ่านรกได้ ระหว่างให้นมบุตรสามารถรับประทานยาต้านฮอร์โมนได้เพราะผ่านน้ำนมเพียงเล็กน้อย

ที่มา  โรงพยาบาลเจ้าพระยา , มติชนออนไลน์

อัพเดทล่าสุด