https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
เท้าบวม-เหนื่อยหอบ ส่อแวว‘หัวใจล้มเหลว’ MUSLIMTHAIPOST

 

เท้าบวม-เหนื่อยหอบ ส่อแวว‘หัวใจล้มเหลว’


1,710 ผู้ชม

เมื่อหัวใจทำงานผิดปกติทำให้เกิด ‘ภาวะหัวใจล้มเหลว’ การสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงร่างกายไม่เพียงพอส่งผลร้าย อาจอันตรายถึงชีวิต...


เท้าบวม-เหนื่อยหอบ ส่อแวว‘หัวใจล้มเหลว’

หัวใจล้มเหลวเป็นกลุ่มอาการหรือภาวะที่หัวใจทำงานบีบหรือคลายตัวผิดไปจากปกติ เกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น กล้ามเนื้อหัวใจบาดเจ็บ โรคเกี่ยวกับเส้นเลือดหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง คลอเลสเตอรอลสูง แอลกอฮอล์ ยาเสพติดหรืออื่นๆ 
ศ.นพ.รุ่งโรจน์ กฤตยพงษ์ ประธานชมรมหัวใจล้มเหลวแห่งประเทศไทย และแพทย์ประจำโรงพยาบาลศิริราช กล่าวว่า 1% ของประชากรโลกต้องทุกข์ทรมานกับภาวะหัวใจล้มเหลว ในขณะที่ไทยก็มีอุบัติการราว 1% ของประชากรเช่นกัน ภาวะนี้เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตมากกว่ามะเร็งบางชนิด อาทิ มะเร็งลำไส้ มะเร็งเต้านม 2-3 เท่า และเมื่อติดตามภายใน 1 ปีพบอัตราเสียชีวิตอยู่ที่ 20-30% ของผู้ป่วย 
“อาการที่พบบ่อยสุดคือ เหนื่อยง่ายกว่าปกติ อ่อนเพลีย ขาบวม ช่วงกลางคืนไม่สามารถนอนราบได้จะหายใจติดขัด หายใจไม่เต็มปอดต้องนอนหมอนสูง หากพบอาการเหล่านี้ต้องรีบมาพบแพทย์เพื่อประเมินอาการ” 
ภาวะหัวใจล้มเหลวทำให้ร่างกายอ่อนแอ และมีโอกาสที่จะเกิดอันตรายถึงชีวิต เนื่องจากหัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกายได้อย่างเพียงพอ อาจเกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจที่อ่อนแรงจนทำหน้าที่สูบฉีดเลือดได้ไม่ดี หรือกล้ามเนื้อหัวใจแข็งตัวเป็นเวลานาน 
ปัจจัยที่ส่งผลให้ตัวโรครุนแรงขึ้น มีทั้งปัจจัยภายใน คือ ตัวโรคที่เป็นมากขึ้นทั้งหลอดเลือดหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจ ลิ้นหัวใจ ตัวโรคแทรกซ้อนที่ทำให้หัวใจทำงานหนักมากขึ้น เช่น โลหิตจาง โรคไต หรือปัจจัยภายนอกที่เกิดจากพฤติกรรมของผู้ป่วยเอง ไม่ว่าจะเป็นความไม่สม่ำเสมอในการกินยา การกินอาหารรสเค็มหรือยาบางชนิดที่ทำให้เกิดภาวะเกลือและน้ำคั่งในร่างกาย ส่งผลให้หัวใจทำงานหนักขึ้น และที่สำคัญคือ อารมณ์หรือความเครียด รวมถึงการพักผ่อนน้อย ก็มีผลให้หัวใจทำงานหนักขึ้นเช่นกัน 
ดังนั้น หากมีอาการดังต่อไปนี้ คือ ขาบวมจากภาวะน้ำคั่งที่ขา, กินข้าวไม่ได้ อาเจียนจากภาวะน้ำคั่งในตับ, เหนื่อยหอบ นอนราบไม่ได้จากภาวะน้ำคั่งในปอด และมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 กิโลกรัมภายใน 2 วันควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจประเมินอาการ 
“แพทย์จะตรวจจากอาการที่พบดังข้างต้น ร่วมกับการตรวจร่างกายเพื่อดูภาวะน้ำคั่งในร่างกาย จากการบวมในที่ต่างๆ แล้วจึงตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น เอกซเรย์ ก่อนจะประเมินว่า ภาวะหัวใจล้มเหลวนี้เกิดจากสาเหตุใด เพื่อทำการรักษาต่อไป” คุณหมอกล่าว

ที่มา  กรุงเทพธุรกิจ

อัพเดทล่าสุด