https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
นอนตอนเย็นแล้วปวดหัว เป็นเพราะอะไรกันนะ ? MUSLIMTHAIPOST

 

นอนตอนเย็นแล้วปวดหัว เป็นเพราะอะไรกันนะ ?


1,530 ผู้ชม

นอนตอนกลางวันแล้วปวดหัว เป็นเพราะเรานอนทับตะวันตามคำเตือนตั้งแต่สมัยโบร่ำโบราณจริง ๆ หรืออาการปวดหัวหลังตื่นนอนตอนเย็นมีคำอธิบายที่ชัดเจนกว่านี้กันแน่ ลองมาหาคำตอบกัน !...


 นอนตอนกลางวันแล้วปวดหัว เป็นเพราะเรานอนทับตะวันตามคำเตือนตั้งแต่สมัยโบร่ำโบราณจริง ๆ หรืออาการปวดหัวหลังตื่นนอนตอนเย็นมีคำอธิบายที่ชัดเจนกว่านี้กันแน่ ลองมาหาคำตอบกัน !
          
ไม่ว่าจะวัยทำงานหรือวัยเรียน หากมีช่วงเวลาว่าง ๆ ให้พักผ่อนอย่างเต็มที่ ก็เชื่อได้เลยว่าหลายคนถือโอกาสนี้นอนหลับยาว ๆ ไป เพราะอยากชาร์จแบตให้ตัวเองจริง ๆ ทว่าหลังจากนอนกลางวันไปแล้ว ต้องมาเจอกับอาการปวดหัวหลังตื่นนอนนี่สิ อาการนี่ถือว่าแย่เลยเนอะ หรือบางคนก็ชอบนอนตอนเย็น ตื่นอีกทีค่ำ ๆ เคสนี้ก็ไม่พ้นจากอาการปวดหัวเหมือนกัน แต่นั่นเป็นเพราะอะไร ทำไมเราถึงต้องปวดหัวหลังตื่นนอนกันด้วย มาหาคำตอบไปพร้อมกันเลยค่ะ          
นอนกลางวันแล้วปวดหัว เพราะอะไรกันนะ

สำหรับคนที่นอนกลางวัน ตั้งแต่ตอนแสงแดดยังจ้า ๆ แล้วตื่นมาตอนเย็น บรรยากาศโพล้เพล้ แสงแดดเริ่มอ่อนลงแล้ว ก็ไม่ต้องแปลกใจที่จะตื่นมาพร้อมอาการปวดหัว มึนศีรษะเป็นที่สุด เพราะการไหลเวียนเลือดในร่างกายและอุณหภูมิของตัวเรา จะปรับเปลี่ยน (เล็กน้อย) ตามอุณหภูมิของแสงภายนอก ซึ่งร่างกายเราจะรับแสงและเข้าสู่กระบวนการปรับตัวดังกล่าวได้จากการมองเห็น 
          
ดังนั้นเมื่อเรานอนหลับ (หลับตา) ร่างกายจะปรับการไหลเวียนเลือดและอุณหภูมิอีกทีเมื่อเราลืมตาเห็นแสงกันเลย แล้วก็ปัง ! ...ร่างกายจะรับรู้อัตโนมัติจากแสงที่อ่อนลง แล้วสั่งการสมองให้ปรับโทนหลอดเลือดตามเวลา และปรับอุณหภูมิร่างกายให้พอดีกัน ส่งผลให้หลอดเลือดเกิดการหดหรือขยายตัวอย่างทันทีทันใด จึงก่อให้เกิดอาการปวดหัวหรือบางคนก็หนักถึงเป็นไข้ได้เลย

นอนตอนเย็นแล้วปวดหัว เป็นเพราะอะไรกันนะ ?

 นอนตอนเย็นแล้วปวดหัว เพราะอะไรกันนะ
          
คนที่ชอบนอนหลับช่วงเย็น ๆ (หลัง 16.00 น. เป็นต้นไป) ก็มักจะตื่นมาพร้อมอาการปวดหัวที่รุนแรงกว่า เพราะนอกจากในช่วงตอนเย็นจะไม่ใช่เวลาที่ร่างกายควรจะนอนหลับพักผ่อนแล้ว การนอนตั้งแต่ช่วงเย็นแล้วตื่นมาอีกครั้งในช่วงหัวค่ำซึ่งบรรยากาศมืดมัว ก็ส่งผลให้ร่างกายต้องปรับตัว ปรับอุณหภูมิกันวุ่นวายไปหมด ดังนั้นจึงเกิดอาการหนัก ๆ หัว ปวดศีรษะ ปวดเนื้อปวดตัวเหมือนจะเป็นไข้รุม ๆ โดยเฉพาะคนที่สะดุ้งตื่นขึ้นมาแล้วลุกทันที ซึ่งอาจส่งผลให้เลือดไหลเวียนในร่างกายแกว่ง จนรู้สึกไม่สบายเนื้อไม่สบายตัวในที่สุด
          
นอนตอนเย็น ฝันร้าย ?
          
ใครนอนหลับตอนกลางวันหรือนอนหลับตอนเย็นแล้วฝันร้ายบ่อย ๆ ทราบไหมคะว่าเกิดได้จากหลายสาเหตุเหมือนกันนะ เป็นต้นว่าบางคนอาจนอนในที่ที่ร้อนมาก นอนผิดที่ผิดทาง เช่น นอนบนโซฟา นอนฟุบบนโต๊ะ หรือหลับคาเก้าอี้ การนอนหลับในสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม ก่อให้เกิดความไม่สบายกายเช่นนี้อาจนำไปสู่การเกิดฝันร้ายได้ นอกจากนี้คนที่นอนหลับเลยเวลาอาหาร หรือผล็อยหลับทั้ง ๆ ที่ท้องว่าง อาหารยังไม่ตกถึงท้องเท่าไร ระดับน้ำตาลในเลือดก็จะต่ำ ก่อให้เกิดฝันร้ายได้ด้วยเช่นกันค่ะ
นอนกลางวันแล้วปวดหัว วิธีแก้มีไหม 
          
ใครที่อดไม่ใจไม่ไหว อยู่บ้านทีไรเป็นต้องนอนกลางวันตลอด บอกเลยว่ามีทางออกที่จะช่วยเราเลี่ยงอาการปวดหัวหลังตื่นนอนตอนเย็นได้นะคะ โดยทำตามนี้ได้เลย
          
- เมื่อลืมตาตื่นขึ้นมาแล้วให้นอนนิ่ง ๆ สักพัก จากนั้นค่อย ๆ ลุกและนั่งอีกสัก 3 นาทีเป็นอย่างต่ำ จึงค่อยลุกเดินไปทำกิจกรรมตามปกติ ทั้งนี้ก็เพื่อให้เวลาเลือดไหลเวียนได้อย่างค่อยเป็นค่อยไปนั่นเอง
          
- ดื่มน้ำเยอะ ๆ หลังตื่นนอน น้ำจะช่วยให้เลือดไหลเวียนสะดวกยิ่งขึ้น อีกทั้งภาวะร่างกายขาดน้ำ ก็เป็นสาเหตุหนึ่งของอาการปวดหัวได้เช่นกัน
          
- กินกล้วยหอม 1 ลูก กล้วยหอมมีโพแทสเซียมค่อนข้างเยอะ ช่วยบรรเทาอาการปวดหัว ลดอาการวิงเวียนได้ 
          

นอนตอนเย็นแล้วปวดหัว เป็นเพราะอะไรกันนะ ?

นอนกลางวันแล้วปวดหัว มีวิธีป้องกันด้วยนะ
          
ถ้าคิดว่าตัวเองต้องหลับกลางวันแน่ ๆ ยังไงก็ไม่รอด เราก็มีวิธีป้องกันอาการปวดหัวหลังนอนกลางวันมาฝาก และก็คิดว่าน่าจะเป็นทางออกที่ดีของคุณอย่างแน่นอนค่ะ
          
- ควรงีบหลับในช่วงระหว่าง 13.00-15.00 น. เพราะช่วงนี้จะเป็นช่วงที่นาฬิกาชีวิตหรือวงจรการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ต้องการการพักผ่อน ร่างกายและสมองจะมีการตอบสนองช้าลง จึงเหมาะแก่การหลับลึกในช่วงเวลาสั้น ๆ เป็นอย่างดี 
          
- ควรงีบหลับไม่เกิน 45 นาที เพราะถ้าหลับเพลินเกินกว่านั้น ร่างกายก็ต้องเหนื่อยกับการปรับตัวตอนตื่นกันอีกแล้ว ซึ่งนั่นก็จะทำให้เกิดอาการปวดหัวอย่างที่เคยเป็นได้ง่าย ๆ 
         
 - เปิดไฟนอนตลอดช่วงที่งีบหลับ เพื่อให้ร่างกายได้รับแสงอยู่เสมอ อีกทั้งการเปิดไฟนอนจะช่วยไม่ให้เราหลับลึกจนเกินเวลาด้วย
          
- จิบกาแฟก่อนงีบสัก 15 นาที คาเฟอีนในกาแฟจะช่วยลดโอกาสเกิดอาการปวดหัวหลังตื่นนอนได้
         
 - พยายามอย่ารับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาลเยอะจนเกินไป เพราะสุดท้ายร่างกายก็จะเปลี่ยนอาหารเหล่านี้เป็นน้ำตาล ทำให้น้ำตาลในเลือดสูง ส่งผลให้คุณรู้สึกง่วงหนักมาก และตื่นมาพร้อมกับอาการอ่อนเพลียได้ ดังนั้นเลือกกินอาหารที่อุดมไฟเบอร์และอาหารที่ครบ 5 หมู่ในสัดส่วนที่เหมาะสมจะดีกว่า
          
การงีบหลับกลางวันจริง ๆ แล้วเป็นสิ่งที่ดีต่อร่างกายนะคะ เพราะช่วยปลุกความสดชื่นให้เราได้อย่างเต็มที่ ทว่าการหลับตอนกลางวันที่ดีก็ควรเป็นไปตามคำแนะนำข้างต้นด้วย เพื่อป้องกันอาการปวดหัวหลังนอนกลางวันที่ใครก็ไม่อยากเจอ

นอนตอนเย็นแล้วปวดหัว เป็นเพราะอะไรกันนะ ?

ที่มา            health.kapook.com 

อัพเดทล่าสุด