https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
40 สัปดาห์การเติบโตของลูกน้อยในครรภ์ MUSLIMTHAIPOST

 

40 สัปดาห์การเติบโตของลูกน้อยในครรภ์


1,525 ผู้ชม

นับตั้งแต่ไข่กับอสุจิปฏิสนธิเป็นตัวอ่อน จนกระทั่งเจริญเติบโตเป็นทารกและคลอดออกมา มีการเปลี่ยนแปลงต่างๆ


นับตั้งแต่ไข่กับอสุจิปฏิสนธิเป็นตัวอ่อน จนกระทั่งเจริญเติบโตเป็นทารกและคลอดออกมา มีการเปลี่ยนแปลงต่างๆ มากมายเกิดกับตัวอ่อน เป็นต้นว่าการสร้างอวัยวะต่างๆ การเจริญเติบโตของร่างกาย การเจริญเติบโตของรก ระบบการทำงานของอวัยวะต่างๆ ของทารกในครรภ์ และรกมีลักษณะแตกต่างจากทารกที่คลอดมาแล้ว

การนับอายุของทารกในครรภ์จะเริ่มนับหลังจากปฏิสนธิ ดังนั้นอายุของทารกในครรภ์จะอ่อนกว่าอายุครรภ์ของคุณแม่ซึ่งนับจากระดูครั้ง สุดท้าย 2 สัปดาห์ เมื่ออายุ 10 วัน ตัวอ่อนจะฝังตัวเข้าไปในชั้นเยื่อบุโพรงมดลูกอย่างสมบูรณ์

ในช่วงสัปดาห์ที่ 4 ถึง 8 หลังจากการปฏิสนธิ จะเป็นช่วงของการสร้างอวัยวะต่างๆ
สัปดาห์ที่ 10 หลังการปฏิสนธิหรือสัปดาห์ที่ 12 ของ การตั้งครรภ์ ซึ่งยอดมดลูกเริ่มคลำได้ที่เหนือกระดูกหัวหน่าว ความยาวของทารกจากศีรษะข้างต้น 6-7 ซ.ม. เริ่มมีการสร้างเนื้อกระดูก และการพัฒนาของนิ้วมือและเท้า ผิวหนัง เล็บ และเส้นขน อวัยวะเพศภายนอกเริ่มแยกได้ว่าเป็นเพศชายหรือหญิง ระยะนี้ทารกเริ่มมีการเคลื่อนไหว

สัปดาห์ที่ 16 ของ การตั้งครรภ์ ความยาวของทารก 12 ซ.ม. น้ำหนัก 110 กรัม
สัปดาห์ที่ 20 ของ การตั้งครรภ์ ทารกมีน้ำหนักประมาณ 630 กรัม ผิวหนังมีลักษณะเหี่ยวย่น เริ่มมีไขมันสะสมที่ชั้นใต้ผิวหนัง เริ่มมีขนคิ้ว และขนตา หลอดลมเริ่มพัฒนา แต่ถุงลมในปอดยังไม่พัฒนา ดังนั้น ถ้าคลอดในระยะนี้ทารกจะพยายามหายใจ แต่ไม่มีถุงลมแลกเปลี่ยนออกซิเจน และเสียชีวิตในที่สุด

สัปดาห์ที่ 28 ของ การตั้งครรภ์ ความยาวของทารกประมาณ 25 ซ.ม. และน้ำหนัก 1,100 กรัม ผิวหนังจะปกคลุมด้วยไข ทารกที่คลอดในระยะนี้จะเคลื่อนไหวแขนขาได้ดี และส่งเสียงร้องได้เบาๆ

สัปดาห์ที่ 32 ของ การตั้งครรภ์ ทารกจะมีความยาว 28 ซ.ม. และน้ำหนัก 1,800 กรัม ผิวหนังยังคงมีลักษณะเหี่ยวย่น ทารกที่คลอดระยะนี้มักจะสามารถเลี้ยงรอดได้ ถ้าไม่มีภาวะแทรกซ้อน

สัปดาห์ที่ 36 ของ การตั้งครรภ์ ความยาวของทารกประมาณ 32 ซม. และน้ำหนักประมาณ 2,500 กรัม รูปร่างของทารกจะอ้วนขึ้น และรอยเหี่ยวย่นที่ผิวหนังหายไปจากการสะสมของไขมันใต้ผิวหนัง

สัปดาห์ที่ 40 ของ การตั้งครรภ์ ทารกจะพัฒนาสมบูรณ์เต็มที่ ความยาวของทารกประมาณ 36 ซ.ม. น้ำหนัก 2,500-4,000 กรัม น้ำหนักของทารกอาจแตกต่างไปบ้าง ผิวหนังเรียบ ไม่มีขนอ่อน ยกเว้นบริเวณบ่า มีไขตามตัว หนังศีรษะมีผมยาว 2-3 ซ.ม. กระดูกอ่อนของจมูกและหูเจริญเต็มที่ นิ้วมือและนิ้วเท้ามีเล็บยาวเลยปลายนิ้วออกมา ในทารกเพศชายลูกอัณฑะจะลงมาในถุงอัณฑะ ในทารกเพศหญิงแคมนอกจะโตเต็มที่ และชิดกัน กระดูกของกะโหลกศีรษะยังไม่เชื่อมกัน ยังคงมีร่องระหว่างกระดูกกะโหลกศีรษะแต่จะชิ้น ตามีสีเฉพาะตามเชื้อชาติ

ในหลักชีววิทยาของ การตั้งครรภ์ น้ำคร่ำจะมีลักษณะเป็นด่าง ใส ปราศจากสี แต่จะค่อนข้างขุ่นเมื่อครรภ์ใกล้ครบกำหนด เนื่องจากเซลล์ผิวหนังที่หลุดออกมา ไข และขนอ่อนที่มากขึ้น แหล่งที่ผลิตน้ำคร่ำนั้นแตกต่างกันตามอายุครรภ์ ในไตรมาสแรกเกิดจากการซึมผ่านของเหลวในเลือดมารดา ในไตรมาสที่ 2 เกิดจากการซึมของของเหลวจากทารกผ่านผิวหนังออกมาหลังจากอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ น้ำคร่ำจะมาจากปัสสาวะทารก และส่วนน้อยมาจากของเหลวจากปอดของทารก และของเหลวที่ซึมออกจากรกปริมาตรของน้ำคร่ำเปลี่ยนแปลงตามอายุครรภ์ ปริมาตรน้ำคร่ำเพิ่ม 10 มล./สัปดาห์ ตั้งแต่อายุครรภ์ 8 สัปดาห์ และเพิ่มสูงถึง 60 มล./สัปดาห์ เมื่ออายุครรภ์ 21 สัปดาห์ หลังจากนั้นการเพิ่มของปริมาตรจะเริ่มลดลงจนมีปริมาตรที่คงที่ที่อายุครรภ์ 33 สัปดาห์ ปริมาตรของน้ำคร่ำจะเพิ่มจาก 50 มล.ที่ 12 สัปดาห์ เป็น 400 มล.ที่ 20 สัปดาห์ และเพิ่มเป็น 1000 มล.เมื่อครบกำหนด

น้ำคร่ำทำหน้าที่ป้องกันทารกจากแรงกระทบกระแทกจากภายนอก และทำให้ทารกมีพื้นที่ในการเจริญเติบโตและเคลื่อนไหว น้ำคร่ำช่วยรักษาอุณหภูมิให้คงที่ ในน้ำคร่ำมีสารอาหารเพียงเล็กน้อย น้ำคร่ำมีโปรตีนหลายชนิด และมีส่วนสำคัญอย่างมากต่อการพัฒนาของปอด และลำไส้ ทารกที่มีน้ำคร่ำน้อย มักเกิดปัญหาปอดไม่พัฒนา

ระบบโลหิต การสร้างเม็ดเลือดในทารกเริ่มปรากฎใน yolk sac จากนั้นเปลี่ยนมาที่ตับ และไขกระดูกในที่สุด การสร้างเม็ดเลือดแดง จะสร้างจากตับในช่วงแรก และเปลี่ยนมาเป็นที่ไตในช่วงหลัง

ระบบภูมิคุ้มกัน ในทารกเริ่มทำงานเมื่ออายุครรภ์ประมาณ 13 สัปดาห์ ในช่วง 4 สัปดาห์สุดท้ายของ การตั้งครรภ์ จะมีการส่งภูมิคุ้มกันผ่านรกมาสู่ทารกอย่างมาก ในทารกแรกเกิดจะมีการสร้างภูมิคุ้มกันได้เองในระดับต่างๆ จนกระทั่งอายุ 3 ปี จะสร้างได้เท่ากับผู้ใหญ่

ระบบประสาท เริ่มมีการทำงานของระบบประสาททารกตั้งแต่อายุครรภ์ 8 สัปดาห์ โดยเริ่มมีการงอของคอ และลำตัว ตุ่มรับรสที่ลิ้นเริ่มมีเมื่ออายุครรภ์ 9 สัปดาห์ และจุดรับรสที่ตุ่มรับรสจะทำงานเมื่ออายุครรภ์ 12 สัปดาห์ เมื่ออายุครรภ์ 10 สัปดาห์ ทารกเริ่มกลืนได้ และทารกจะตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น โดยการกรอกตา อ้าปาก และอมนิ้ว ทารกสามารถกำมือได้เต็มที่เมื่ออายุครรภ์ 12-16 สัปดาห์ เมื่ออายุครรภ์ 14-16 สัปดาห์ ทารกเริ่มเคลื่อนไหวทรวงอกได้ เมื่ออายุครรภ์ 24 สัปดาห์ ทารกเริ่มดูดปากได้ เมื่ออายุครรภ์ 24-26 สัปดาห์ทารกเริ่มได้ยิน เมื่ออายุครรภ์ 28 สัปดาห์ทารกเริ่มมองเห็นแสง แต่จะมองเห็นรูปร่าง และสีได้เมื่อหลังคลอด

ระบบทางเดินอาหาร ทารกเริ่มกลืนได้ และลำไส้เล็กเริ่มเคลื่อนไหวพร้อมดูดซึมกูลโคสได้ เมื่ออายุครรภ์ 10-12 สัปดาห์ ทารกที่ครบกำหนดจะกลืนน้ำคร่ำ 20-760 มล.ต่อวัน ในช่วงหลังของการตั้งครรภ์ พบว่าปริมาตรน้ำคร่ำขึ้นอยู่กับการกลืนของทารกด้วย

ขี้เทา ประกอบด้วย เศษของสิ่งต่างๆ ในน้ำคร่ำที่ทารกกลืนลงไป เซลล์ที่หลุดจากร่างกายทารก ขนอ่อน ผมและไข สีเขียวเข้มของขี้เทาเกิดจากเม็ดสี การถ่ายขี้เทาออกมาเป็นผลจากการเคลื่อนไหวของลำไส้ตามปกติ ตับอ่อนสามารถสร้าง insulin ตั้งแต่อายุครรภ์ 9-10 สัปดาห์

ระบบปัสสาวะ ไตของทารกมีการพัฒนา 3 ระยะ เริ่มเมื่ออายุครรภ์ 2 สัปดาห์ ไตไม่จำเป็นต่อการรอดชีวิตของทารกขณะอยู่ในครรภ์ การอุดตันของท่อปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะ ท่อไต และกรวยไตของทารกในครรภ์ จะทำให้เกิดการทำลายเนื้อไต เกิดภาวะน้ำคร่ำน้อย และปอดไม่เจริญระบบทางเดินหายใจ การเจริญของระบบทางเดินหายใจทารกมีความสำคัญต่อการรอดชีวิตของทารกหลังคลอด กล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจ เริ่มทำงานเมื่ออายุครรภ์ 11 สัปดาห์ และเมื่อ 12 สัปดาห์จะสามารถเคลื่อนไหว จนทำให้เกิดการไหลของน้ำคร่ำเข้าและออกจากปอด ภาวะที่ทารกส่งเสียงร้องขณะอยู่ในครรภ์พบได้น้อย โดยอาจพบหลังจากที่ถุงน้ำคร่ำแตก และมีอากาศเข้าไปในถุงน้ำคร่ำ

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

อัพเดทล่าสุด