https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
คำขวัญจังหวัดนนทบุรี สํานักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดนนทบุรี MUSLIMTHAIPOST

 

คำขวัญจังหวัดนนทบุรี สํานักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดนนทบุรี


1,130 ผู้ชม


คำขวัญ จ.นนทบุรี
พระตำหนักสง่างาม ลือนามสวนสมเด็จ เกาะเกร็ดแหล่งดินเผา วัดเก่านามระบือ เลื่องลือทุเรียนนนท์ งามน่ายลศูนย์ราชการ
ข้อมูล
เมืองนนทบุรีมีความเป็นมาทางประวัติศาสตร์อันยาวนานกว่า ๔๐๐ ปี ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา มีคูคลองน้อยใหญ่มากมาย เป็นเมืองเก่าแก่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เดิมตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านตลาดขวัญ ซึ่งเป็นสวนผลไม้ที่ขึ้นชื่อในสมัยนั้น ได้รับการยกฐานะเป็นเมืองนนทบุรีเมื่อพ . ศ . ๒๐๙๒ ในรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ บ้านตลาดขวัญเป็นดินแดนแห่งความอุดมสมบูรณ์และเป็นสวนผลไม้ที่มีชื่อแห่งหนึ่งของกรุงศรีอยุธยา ฝรั่งต่างชาติที่ได้เดินทางเข้ามาค้าขายและเจริญสัมพันธไมตรีกับกรุงศรีอยุธยาต่างก็ได้บันทึกเอาไว้ ดังปรากฏในจดหมายเหตุบันทึกการเดินทางของลาลูแบร์ ชาวฝรั่งเศสผู้ซึ่งเดินทางเข้ามาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชว่า “ สวนผลไม้ที่บางกอกนั้น ( หมายถึงกรุงเทพฯ ในปัจจุบัน ) มีอาณาบริเวณยาวไปตามชายฝั่ง โดยทวนขึ้นสู่เมืองสยามถึง ๔ ลี้ กระทั่งจรดตลาดขวัญ (TALACOUN) ทำให้เมืองหลวงแห่งนี้อุดมสมบูรณ์ไปด้วยผลาหาร ซึ่งคนพื้นเมืองชอบบริโภคกันนักหนา ” ( จดหมายเหตุลาลูแบร์ )
ปี พ . ศ . ๒๑๗๙ พระเจ้าปราสาททองโปรดเกล้าฯให้ขุดคลองลัดตอนใต้วัดท้ายเมืองไปทะลุวัดเขมา เพราะเดิมนั้นแม่น้ำเจ้าพระยาไหลวกเข้าแม่น้ำอ้อมมาทางบางใหญ่วกเข้าคลองบางกรวยข้างวัดชลอ มาออกหน้าวัดเขมา เมื่อขุดคลองลัดแล้ว แม่น้ำก็เปลี่ยนทางเดินไหลเข้าคลองลัดที่ขุดใหม่ กลายเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาใหม่ดังปัจจุบันนี้ เมื่อ พ . ศ . ๒๒๐๘ สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงเห็นว่า แม่น้ำเปลี่ยนทางเดินใหม่นั้น ทำให้ข้าศึกประชิดพระนครได้ง่าย จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างป้อมปราการตรงปากแม่น้ำอ้อม และโปรดเกล้าฯให้ย้ายเมืองนนทบุรีมาอยู่ปากแม่น้ำอ้อมด้วย ดังมีศาลหลักเมืองปรากฏอยู่ นอกจากป้อมที่ปากแม่น้ำอ้อมแล้วเข้าใจว่าในสมัยกรุงศรีอยุธยาคงจะได้มีการสร้างป้อมไม้เอาไว้ที่บริเวณวัดเฉลิมพระเกียรติในปัจจุบัน เพราะปรากฏหลักฐานจากจดหมายเหตุรายวันของบาทหลวง เดอ ชัวซีย์ ผู้ซึ่งเดินทางร่วมมากับคณะราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ที่เข้ามาเจริญทางพระราชไมตรี ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเมื่อ พ . ศ . ๒๒๒๘ ว่า “ เช้าวันนี้เราผ่านป้อมที่ทำด้วยไม้ ๒ ป้อม ป้อมหนึ่ง ยิงปืนเป็นการคำนับ ๑๐ นัด อีกป้อมหนึ่ง ๘ นัด ที่มีแต่ปืนครกเท่านั้น ดินปืนดีมากทีเดียว ป้อมทางขวามือเรียกป้อมแก้ว และป้อมทางซ้ายมือเรียกป้อมทับทิม ณ ที่นี้เจ้าเมืองบางกอกก็กล่าวคำอำลาและอ้างเหตุว่าได้ควบคุมเรือขบวนมาส่งจนสุดแดนที่อยู่ในความปกครองของเมืองบางกอกแล้ว แล้วก็ลาท่านราชทูตกลับไป
และในปี พ . ศ . ๒๒๓๐ เมื่อลาลูแบร์เป็นราชทูตเข้ามากรุงศรีอยุธยา ก็ได้กล่าวถึงป้อมไม้แห่งนี้ไว้ด้วย โดยที่เขียนเป็นแผนที่เอาไว้อย่างชัดเจนตามหลักฐานดังกล่าว จึงเข้าใจว่าป้อมแก้วคงตั้งอยู่ ณ บริเวณตลาดแก้ว ส่วนป้อมทับทิมเข้าใจว่าคงตั้งอยู่ ณ บริเวณหน้าวัดเฉลิมพระเกียรติในปัจจุบัน
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๔ แห่ง กรุงรัตนโกสินทร์ โปรดเกล้าฯให้ย้ายเมืองนนทบุรีไปตั้งที่ปากคลองบางซื่อบ้านตลาดขวัญ และในสมัยรัชกาลที่ ๕ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งศาลากลางเมืองขึ้นที่ปากคลองบางซื่อ ฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา จนถึงปี พ . ศ . ๒๔๗๑ รัชกาลที่ ๗ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายศาลากลางมาตั้งที่ราชวิทยาลัย บ้านบางขวาง ตำบลบางตะนาวศรี ปัจจุบันเป็นที่ตั้งกองฝึกอบรมกระทรวงมหาดไทยตั้งอยู่บนถนนประชาราษฎร์ สาย ๑ อำเภอเมือง ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตัวอาคารเป็นสถาปัตยกรรมแบบยุโรปตามอาคารประดับด้วยไม้ฉลุ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา กรมศิลปากรได้ขึ้นบัญชีเป็นโบราณสถานแห่งหนึ่ง และในปัจจุบันศาลากลางจังหวัดนนทบุรีได้ย้ายที่ทำการมาอยู่ที่ถนนรัตนาธิเบศร์
จังหวัดนนทบุรี ตั้งอยู่ในภาคกลางเป็นจังหวัดหนึ่งใน ๕ จังหวัดปริมณฑล คือ นนทบุรี สมุทรปราการ นครปฐม สมุทรสาครและปทุมธานี มีเนื้อที่ประมาณ ๖๒๒ . ๓๐๓ ตารางกิโลเมตร มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งพื้นที่ของจังหวัดออกเป็น ๒ ส่วน
เขตการปกครองแบ่งออกเป็น
อำเภอเมืองนนทบุรี อำเภอปากเกร็ด อำเภอบางกรวย อำเภอบางใหญ่ อำเภอบางบัวทอง และอำเภอไทรน้อย
ทิศเหนือ ติดต่อกับปทุมธานีและพระนครศรีอยุธยา
ทิศใต้ ติดต่อกับกรุงเทพมหานคร
ทิศตะวันออก ติดต่อกับกรุงเทพมหานครและปทุมธานี
ทิศตะวันตก ติดต่อกับนครปฐม
ระยะทางจากอำเภอเมืองไปยังอำเภอต่างๆ
ปากเกร็ด ๑๐ กิโลเมตร
บางกรวย ๑๕ กิโลเมตร
บางใหญ่ ๒๐ กิโลเมตร
บางบัวทอง ๒๕ กิโลเมตร
ไทรน้อย ๓๐ กิโลเมตร
การเดินทาง
รถยนต์ มีถนนสายสำคัญ ๑๑ สาย คือ
ถนนพิบูลสงคราม ระหว่างเชิงสะพานพระรามหก - สี่แยกโรงภาพยนตร์ศรีพรสวรรค์
ถนนประชาราษฎร์ สาย ๑ ระหว่างศาลากลางจังหวัด - สี่แยกโรงภาพยนตร์ศรีพรสวรรค์
ถนนติวานนท์ ระหว่างสามแยกวัดลานนาบุญ - ท่าน้ำปทุมธานี
ถนนงามวงศ์วาน ระหว่างสี่แยกแคลาย - สี่แยกมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ถนนนนทบุรี ๑ ระหว่างศาลากลางจังหวัด - ถนนติวานนท์
ถนนแจ้งวัฒนะ ระหว่างสี่แยกปากเกร็ด - สี่แยกหลักสี่
ถนนบางกรวย - ไทรน้อย ระหว่างสะพานพระรามหก - อำเภอไทรน้อย
ถนนบางบัวทอง - ตลิ่งชัน ระหว่างแยกบางบัวทอง - ตลิ่งชัน
ถนนบางบัวทอง - สุพรรณบุรี ระหว่างแยกบางบัวทอง - สุพรรณบุรี
ถนนกรุงเทพฯ - นนทบุรี ระหว่างสามแยกเตาปูน - สามแยกวัดลานนาบุญ
ถนนรัตนาธิเบศร์ ระหว่างสี่แยกแคลาย - สะพานพระราม ๕ - ถนนบางบัวทอง - ตลิ่งชัน
รถโดยสารประจำทาง จากกรุงเทพฯมีรถโดยสารประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ ( ขสมก .) มาจังหวัดนนทบุรี ดังนี้
สาย ๖๙ ( อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ - สนามบินน้ำ ) สาย ๑๐๔ ( อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ - ปากเกร็ด )
สาย ๒๗ ( อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ - ประชานิเวศน์ ๓ ) สาย ๖๓ ( อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ - นนทบุรี )
สาย ๖๖ ( สายใต้ใหม่ - ประชานิเวศน์ ) สาย ๓๐ ( สายใต้ใหม่ - นนทบุรี )
สาย ๗๐ ( สนามหลวง - ประชานิเวศน์ ) สาย ๒๐๓ ( สนามหลวง - นนทบุรี )
สาย ๓๓ ( สนามหลวง - ปทุมธานี ) สาย ๖๔ ( สนามหลวง - ถนนสามเสน - นนทบุรี )
สาย ๙๐ ( ย่านสินค้าพหลโยธิน - ท่าน้ำบางพูน ) สาย ๑๓๔ ( ย่านสินค้าพหลโยธิน - อำเภอบางบัวทอง )
สาย ๑๑๔ ( แยกลำลูกกา - นนทบุรี ) สาย ๑๑๗ ( ห้วยขวาง - วัดเขมาฯ )
สาย ๑๒๗ ( เชิงสะพานกรุงธนฯ - อำเภอบางบัวทอง ) สาย ๑๒๘ ( เชิงสะพานกรุงธนฯ - บางใหญ่ )
สาย ๓๒ ( วัดโพธิ์ - ปากเกร็ด ) สาย ๕๑ ( ท่าน้ำบางโพ - ปากเกร็ด )
สาย ๕๒ ( สถานีรถไฟบางซื่อ - ปากเกร็ด ) สาย ๖๕ ( ท่าเตียน - วัดปากน้ำ )
สาย ๙๗ ( โรงพยาบาลสงฆ์ - นนทบุรี )
เรือ มีเรือด่วนเจ้าพระยาบริการระหว่างเส้นทางจากท่าน้ำวัดราชสิงขร เขตยานนาวาถึงท่าน้ำนนทบุรี ( ฝั่งพระนคร ) อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี ทุกวัน ระหว่างเวลา ๐๖ . ๐๐ - ๑๘ . ๐๐ น . เรือออกทุก ๒๐ นาที สอบถามที่บริษัทเรือด่วนเจ้าพระยา จำกัด โทร . ๐ ๒๒๒๒ ๕๓๓๐ , ๐ ๒๒๒๕ ๓๐๐๓ , ๐ ๒๖๒๓ ๖๐๐๑ - ๓ โทรสาร ๐ ๒๖๒๓ ๖๐๐๑ – ๓
สถานที่ท่องเที่ยว จ.นนทบุรี
อำเภอเมืองนนทบุรี
- วัดปราสาท
- วัดตำหนักใต้
- วัดชมภูเวก
- วัดสังฆทาน
- วัดโชติการาม
- วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร
- วัดเขมาภิรตารามราชวรวิหาร
- วัดไทรม้าเหนือ
- วัดบางขวาง
- วัดสมรโกฎิ
- วัดโบสถ์
- อุทยานเฉลิมกาญจนาภิเษก
- ศูนย์ท่องเที่ยวและจำหน่ายไม้ดอกไม้ประดับ (ซอยช้าง)
- บ้านครูมนตรีตราโมท (บ้านโสมส่องแสง)
- พิพิธภัณฑ์เขาสัตว์
- พิพิธภัณฑ์และศูนย์ฝึกอบรมการแพทย์แผนไทย
- ตำหนักประถม-นนทบุรี
- ศาลหลักเมือง
- สวนทุเรียนคุณป้าไสว
อำเภอปากเกร็ด
- วัดปรมัยยิกาวาส
- วัดชลประทานรังสฤษดิ์
- วัดเสาธงทอง
- วัดกลางเกร็ด
- วัดกู้
- วัดสะพานสูง
- วัดต้นเชือก
- วัดไผ่ล้อม
- วัดสนามเหนือ
- วัดฉิมพลีสุทธาวาส
- เกาะเกร็ด
- ท่องเที่ยวเกาะเกร็ด
- สวนเกร็ดพุทธ
- ตลาดน้ำวัดแสงสิริธรรม
- สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์
- มูลนิธิบ้านสงเคราะห์สัตว์พิการ
- ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี
- สวนผลไม้เกาะเกร็ด
- คลคลองขนมหวาน (คลองบางบัวทอง)
- กวานอาม่าน
อำเภอบางกรวย
- วัดชลอ
- วัดสักใหญ่
- วัดโพธิ์บางโอ
- วัดบางขนุน
- วัดสักน้อย
- ตลาดน้ำบางคูเวียง
- วัดเพลง
- วัดแก้วฟ้า
- วัดศรีประวัติ
- วัดบางอ้อยช้าง
- วัดกระโจมทอง
อำเภอบางใหญ่
- วัดราษฎร์ประคองธรรม
- วัดอัมพวัน
- วัดปรางค์หลวง
- วัดพิกุลเงิน
- วัดพระนอน
- วัดส้มเกลี้ยง
- วัดสวนแก้ว
- วัดคงคา
- วัดสะแก
- วัดพระเงิน
- วัดท่าบันเทิงธรรม
- วัดอินทร์
- วัดยุคันธราวาส
- วัดเสาธงหิน
- วัดปางหลวง
- สวนชวนชมปรีชา
- ถนนสายดอกไม้
- กลุ่มส่งเสริมผู้ปลูกกล้วยไม้
อำเภอบางบัวทอง
- วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์
- วัดบางไผ่
อำเภอไทรน้อย
- วัดไทรใหญ่
- วัดเสนีวงศ์
- วัดไทรน้อย
- ศาลเจ้าพ่อจุ้ย
- หมู่บ้านบอนสีเฉลิมพระเกียรติ ฯ
- ตลาดน้ำไทรน้อย
- ศูนย์เกษตรบางรักน้อย

https://www.annaontour.com/province/nonthaburi/index-nonthaburi.php

https://pr.prd.go.th/nonthaburi/main.php?filename=index

อัพเดทล่าสุด