https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
อิสลาม กับ การ แต่งงาน การ แต่งงาน แบบ อิสลาม พิธี แต่งงาน ของ ศาสนา อิสลาม MUSLIMTHAIPOST

 

อิสลาม กับ การ แต่งงาน การ แต่งงาน แบบ อิสลาม พิธี แต่งงาน ของ ศาสนา อิสลาม


1,072 ผู้ชม


อิสลาม กับ การ แต่งงาน การ แต่งงาน แบบ อิสลาม พิธี แต่งงาน ของ ศาสนา อิสลาม

พิธีแต่งงานในอิสลามนั้นมีพิธีการเช่นไร?


ขอความสันติสุขจงมีแด่ทุกท่าน
เงื่อนไขการแต่งงานในอิสลามมี 5 ประการ ดังนี้
1. หญิงและชายต้องเป็นมุสลิมทั้งคู่ หลังแต่งงานไปแล้ว หากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดตกศาสนา
ความเป็นสามีภรรยาก็ถือเป็นอันสิ้นสุดไปด้วย การอยู่ร่วมกันหลังจากนั้นถือเป็นการผิดประเวณี
อ่านเรื่องทำไมเมื่อแต่งงานกับมุสลิมต้องเปลี่ยนศาสนาได้ ที่นี่
2. ผู้ชายต้องจัดหามะฮัรฺ (ของขวัญแต่งงาน) ให้แก่ผู้หญิงตามที่ผู้หญิงร้องขอ เมื่อทำพิธีแต่งงานทางศาสนาเสร็จ
มะฮัรฺนี้จะเป็นของผู้หญิงครึ่งหนึ่งก่อน จนกว่าจะได้อยู่ด้วยกันโดยพฤตินัยแล้ว มะฮัรฺก็จะเป็นของผู้หญิงทั้งหมด
หากหลังพิธีแต่งงานแล้วคู่บ่าวสาวมิได้มีความสัมพันธ์ฉันสามีกันจริงๆ มะฮัรฺก็จะเป็นของผู้หญิงเพียงครึ่งเดียว
3. ต้องมีพยานเป็นชายมุสลิมที่มีคุณธรรมอย่างน้อย 2 คน
4. ต้องมีวะลี (ผู้ปกครอง)ของผู้หญิงให้อนุญาตแต่งงาน หากพ่อผู้หญิงมิใช่มุสลิม ไม่สามารถเป็นวะลีได้ ผู้หญิงจะต้องแต่งตั้งให้ใครเป็นวะลีทำหน้าที่ในพิธีแต่งงานให้ ทำพิธีเสร็จแล้ว ความเป็นวะลีโดยการแต่งตั้งก็เป็นอันจบไป
5. มีการเสนอแต่งงาน(อีญาบ)จากทางวะลีของฝ่ายหญิง และเจ้าบ่าวต้องกล่าวรับ(กอบูล)
พิธีกรรมแต่งงานก็ประกอบด้วยการคุฏบ๊ะฮฺนิก๊ะฮฺ เสร็จแล้วก็ทำพิธีนิก๊ะฮฺตามหลักศาสนา
โดยการกล่าวเสนอแต่งงานจากทางวะลีฝ่ายหญิง และฝ่ายชายตอบรับ เท่านั้นก็เป็นเสร็จพิธี
ส่วนงานเลี้ยงฉลองแต่งงานเราเรียกว่า "วะลีมะฮฺ" อิสลามส่งเสริมให้ทำเพื่อแสดงความยินดี
และรื่นเริงเพราะเป็นโอกาสสำคัญ แต่งานเลี้ยงต้องไม่ฟุ่มเฟือย
หลักการศาสนาอิสลามเป็นเช่นนี้ทุกที่ทั่วโลก หากนั้นนอกเหนือจากนั้นเป็นการเพิ่มเติมขึ้นมาเอง
อาบน้ำเจ้าสาว จุดเทียนตัดเค้ก การแห่ขันหมากไปมา เจ้าสาว เจ้าบ่าว มีอ้อย และอื่นๆนั้น
เป็นสิ่งอุตริที่ไม่มีอยู่ในอิสลาม มนุษย์สร้างขึ้นมาให้เล่นให้วุ่นวาย และนำมาเหมารวมว่า มันคือพิธีกรรมทางอิสลาม
อิสลามไม่สนับสนุนให้ทำ เพราะมันสร้างภาระ และสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ
และการเลี้ยงฉลองงานแต่งงานหากมีการเลี้ยงเกิน 3 วัน
ถือเป็นการฟุ่มเฟือยโอ้อวดและท่านนบีไม่สนับสนุนงานเช่นนี้ค่ะ อิสลามห้ามเรื่องการ โอ้อวดและฟุ่มเพื่อยโดยใช่เหตุ
ท่านนบีกล่าวไว้ว่า อาหารมื้อที่ดีที่สุด คืออาหารในงานนิก๊ะห์ และอาหารที่แย่ที่สุด คืออาหารในงานวลีมะห์ (อาหารงานฉลองงานแต่งงาน)
เนื่องจากเจ้าภาพ มักเชิญเฉพาะคนรวย คนที่มีฐานะทางสังคม ส่วนคนที่ยากไร้ต้องการอาหารประทังชีวิต กลับไม่ได้รับเชิญ
บางกลุ่มชนของอินโดนีเซียนั้นพิธีการมีการเลี้ยงฉลอง 7 วัน
และประเพณีแต่ละที่ก็แตกต่างกันไปตามพื้นที่
หากกลุ่มคนใดที่ปฏิบัติตามหลักการศาสนา ก็จะไม่มีสิ่งเสริมนอกเหนือเพิ่มเติมที่กล่าวมาค่ะ
ต้องแยกให้ออกระหว่าง ประเพณีที่ทำตามกันมา กับหลักศาสนา ค่ะ
ส่วนเรื่องสินสอดในอิสลามนั้น มีกล่าวไว้ดังนี้.....
มะฮัรฺ หมายถึง ทรัพย์สิน,เงินทองที่ฝ่ายเจ้าบ่าวมอบให้แก่ฝ่ายเจ้าสาวเท่านั้น
ญาติของนางไม่มีสิทธิ์ เข้ามามีส่วนกำหนดทรัพย์สิน ว่าจะต้องได้เท่านั้นได้เท่านี้
ถือว่าผิดหลักคำสอนของศาสนา แม้ว่าญาติของนางจะอ้างสิทธิ์อันชอบธรรมอะไรก็ตาม
ศาสนาไม่อนุญาตให้ญาติมีส่วนมาตัดสินใจเกี่ยวกับการกำหนดมะฮัรฺ
แต่ปัจจุบันผู้คนหลงลืมไปว่า การเรียกเงินสูงๆ เป็นการให้เกียรติ และนับหน้าถือตาในสังคม และยกย่องกันแต่เรื่องฐานะ
ลืมหลักการศาสนา ที่อิสลามมีกล่าวไว้ตั้งแต่เกิดจนตายว่า เท่าเทียมกัน..
ผู้ที่ดีที่สุดคือผู้ที่ศรัทธาและอยู่ในหลักการศาสนา ซึ่งเป็นผู้ที่ปฏิบัติความดีงาม อ่อนโยนมีน้ำใจเอื้อเฟื้อต่อเพื่อนมนุษย์และไม่โอ้อวดฟุ่มเฟื่อย......ไม่หลงงมงายกับฐานะหน้าตาทางสังคม ที่สร้างกันขึ้นมาเอง
งานวะลีมะฮฺ หมายถึง เจ้าบ่าวเจ้าสาวเลี้ยงอาหารให้แก่แขกที่มาเป็นสักขีพยานในงานพิธีนิก๊ะห์
หรืองานฉลองการแต่งงานนั่นเอง ...ทั่วไปเรียกว่า งานมงคลสมรส...
งานวะลีมะฮฺจะจัดงานในวันเดียวกับงานพิธีนิก๊ะห์ก็ได้ หรือจะจัดงานภายหลังพิธีนิก๊ะห์ก็ได้
ซึ่งท่านนบีมุฮัมหมัด ซอลลอลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมฮฺ กระทำไว้เป็นแบบอย่าง
โดยจัดงานวะลีมะฮฺระยะห่างจากจัดงานนิก๊ะห์ประมาณ1สัปดาห์
หากนิก๊ะห์เสร็จแล้ว อีก 1 หรือ 2 วันจะจัดงานวะลีมะฮฺนั้น สามารถกระทำได้ค่ะ
เพราะศาสนาอนุญาตให้กระทำได้
เช่น
การที่มุสลิมทำพิธีนิก๊ะหฺ์ที่มัสยิด/บ้าน ในตอนเช้า และมีงานฉลองอีกงานหนึ่งโรงแรม/สถานที่อื่น
หรือ
ทำพิธีนิก๊ะหฺ์ที่มัสยิด/บ้าน ในวันหนึ่ง และมีงานฉลองอีกงานหนึ่งที่โรงแรม/สถานที่อื่น ใน 2 วัน หรือ อีก 1 อาทิตย์ถัดมา


 Source: www.annisaa.com

อัพเดทล่าสุด