https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
อัตลักษณ์ผู้หญิงมุสลิม ผู้หญิงมุสลิมข้อห้าม การแต่งกายผู้หญิงมุสลิม MUSLIMTHAIPOST

 

อัตลักษณ์ผู้หญิงมุสลิม ผู้หญิงมุสลิมข้อห้าม การแต่งกายผู้หญิงมุสลิม


1,175 ผู้ชม

อิสลามมองว่าผู้ชายและผู้หญิงต่างมีเกียรติศักดิ์ศรีที่เท่าเทียมกัน อัล-กุรอ่าน ได้กล่าวถึงความเท่าเทียมดังกล่าวไว้ในหลายๆ โองการ (อายะฮ์) ได้แก่


อัตลักษณ์ผู้หญิงมุสลิม ผู้หญิงมุสลิมข้อห้าม การแต่งกายผู้หญิงมุสลิม

สิทธิสตรีในอิสลาม

อัตลักษณ์ผู้หญิงมุสลิม ผู้หญิงมุสลิมข้อห้าม การแต่งกายผู้หญิงมุสลิม

อิสลามมองว่าผู้ชายและผู้หญิงต่างมีเกียรติศักดิ์ศรีที่เท่าเทียมกัน อัล-กุรอ่าน ได้กล่าวถึงความเท่าเทียมดังกล่าวไว้ในหลายๆ โองการ (อายะฮ์) ได้แก่
“ผู้ใดปฏิบัติความดีไม่ว่าจะเป็นเพศชายหรือเพศหญิงก็ตาม โดยที่เขาเป็นผู้ศรัทธา ดังนั้น เราจะให้เขาดำรงชีวิตที่ดี และแน่นอนเราจะตอบแทนพวกเขาซึ่งรางวัลของพวกเขาที่ดียิ่งกว่าที่พวกเขาได้ เคยทำไว้” (16: 97)
“ผู้ใดที่กระทำความชั่ว เขาจะไม่ได้รับการตอบแทน เว้นแต่เยี่ยงเช่นนั้น และผู้ใดกระทำความดีจากเพศชายหรือเพศหญิงก็ตาม และเขาเป็นผู้ศรัทธาด้วย ชนเหล่านั้นแหละพวกเขาจะได้เข้าสวนสวรรค์ จะได้รับปัจจัยยังชีพในนั้น โดยปราศจากการคำนวณ” (40: 40)
“แท้จริงบรรดา ผู้นอบน้อมชายและหญิง บรรดาผู้ศรัทธาชายและหญิง บรรดาผู้ภักดีชายและหญิง บรรดาผู้สัตย์จริงชายและหญิง บรรดาผู้อดทนชายและหญิง บรรดาผู้ถ่อมตัวชายและหญิง บรรดาผู้บริจาคทานชายและหญิง บรรดาผู้ถือศีลอดชายและหญิง บรรดาผู้รักษาอวัยวะเพศของพวกเขาที่เป็นชายและหญิง บรรดาผู้รำลึกถึงอัลลอฮฺอย่างมากที่เป็นชายและหญิงนั้น อัลลอฮฺได้ทรงเตรียมไว้สำหรับพวกเขาแล้ว ซึ่งการอภัยโทษและรางวัลอันใหญ่หลวง” (33: 35)

และมีรายงานว่า นบี (ซ.ล.) กล่าวไว้ว่า “มนุษย์ทุกคนต่างมีความเท่าเทียมกัน (ท่านเปรียบเทียมความเท่าเทียมดังกล่าวดั่งก้านของหวี) คนอาหรับไม่ได้ดีกว่าคนที่ไม่ใช่อาหรับ คนผิวขาวไม่ได้ดีกว่าคนผิวดำ และผู้ชายไม่ได้ดีกว่าผู้หญิง ผู้ที่เป็นที่ชื่นชอบ ณ ที่อัลลอฮ (ซ.บ.) นั้นได้แก่ผู้ที่เกรงกลัวพระองค์และประกอบในคุณความดี”


จะเห็นได้ว่า คำสอนเกี่ยวกับตำแหน่งแห่งที่ของผู้หญิงในทัศนะอิสลามนั้นมีความแตกต่างอย่างชัดเจนกับศาสนายิวและคริสต์ในเรื่องบาปอันมีมาแต่กำเนิดอันเป็นมรดกตกทอดจากความผิดบาปของอีฟ(ฮาวา) ที่ถูกล่อลวงจากซัยตอน ในศาสนายิวและคริสต์เชื่อว่าผู้หญิงจะต้องรับผิดชอบต่อความตกต่ำ ความหายนะของเผ่าพันธุ์มนุษย์ และถือว่าสิ่ง 9 ประการต่อไปนี้เป็นผลพวงมาจากคำสาปแช่งของพระเจ้าที่มีต่อผู้หญิง อันเนื่องมาแต่บาปโดยกำเนิด (original sin) เมื่อครั้งอีฟถูกซาตานผู้ชั่วร้ายหลอกให้กินผลไม้ต้องห้าม คือ
๑) การมีประจำเดือน
๒) การมีเลือดพรมจรรย์
๓) การตั้งครรภ์
๔) การคลอดลูก
๕) การเลี้ยงดูลูก
๖) การคลุมผมเหมือนแสดงอาการโศกเศร้า
๗) การเจาะหูเหมือนทาสที่ต้องเชื่อฟังคำสั่งจากนาย
๘) การไม่สามารถเป็นพยานที่น่าเชื่อถือได้
๙) การสู่ความตาย
อิสลามปกป้องสิทธิสตรีในด้านต่างๆ คือ
๑) สิทธิการมีอิสระที่จะเป็นเจ้าของทรัพย์สิน สตรีมุสลิมมีสิทธิ์ที่จะจัดการเงินทองและทรัพย์สินของตัวเองได้อย่างเป็นอิสระ มีสิทธิที่จะซื้อ ขาย กู้ยืม หรือทำสัญญาต่าง ๆ เธอสามารถบริจาคเงิน หรือทำธุรกิจใด ๆ ที่ถูกต้องตามหลักการศาสนา สิทธิดังกล่าวไม่สามารถแปรเปลี่ยนไปได้ไม่ว่าเธอจะมีสถานภาพเป็นคนโสดหรือแต่งงาน เธอมีสิทธิที่จะบริจาคซะกาต และมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ มากมาย
๒) สิทธิที่จะเลือกคู่ครองและบอกเลิก
อิสลามมองว่าสถาบันการแต่งงานเป็นสิ่งที่สถาบันแห่งคุณความดีและมีความงดงาม การแต่งงานเป็นการยินยอมพร้อมใจของคนสองคนเพื่อหลอมรวมความสัมพันธ์ทางจิตวิญญาณและอารมณ์ที่สมบูรณ์ในการมีชีวิตอยู่ในสังคม
อัล-กุรอ่าน ระบุไว้ว่า “และจงอยู่กับพวกนางด้วยดี หากพวกเจ้าเกลียดพวกนาง ก็อาจเป็นไปได้ว่า การที่พวกเจ้าเกลียดสิ่งหนึ่ง ขณะเดียวกัน อัลลอฮฺ ทรงให้มีในส่วนนั้นซึ่งความดีอันมากมาย” (4: 19)
ท่านนบี (ซ.ล.) กล่าวว่า “ผู้หญิงนั้นคือ คู่แฝดของผู้ชาย” ดังนั้น การพร้อมใจกันของทั้งสองเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างความสุขและความมั่นคงในครอบครัว”
ดังนั้น อิสลามจึงส่งเสริมให้ผู้หญิงได้เลือกคู่ครองด้วยตัวเองควบคู่กับการเห็นชอบของผู้ปกครอง เคยมีผู้หญิงที่ถูกพ่อแม่บังคับให้แต่งงานกับชายที่เธอไม่ชอบได้มาร้องเรียนต่อท่านนบี (ซ.ล.) และท่านยอมรับในการร้องเรียนและให้ยกเลิกการแต่งงานนั้น และสตรีมุสลิมยังมีสิทธิในการบอกเลิกสามีหากเธอไม่ได้รับการปฏิบัติที่ดี
อัล-กุรอ่าน กล่าวถึงการหย่าร้าวว่าต้องเป็นไปด้วยความพอใจของทั้งสองฝ่าย “แต่ถ้าทั้งสอง (สามี-ภรรยา) ต้องการหย่า อันเกิดจากความพอใจและการปรึกษาหารือกันจากทั้งสองคนแล้ว ก็ไม่มีบาปใด ๆ แก่เขาทั้งสอง” (2: 227)
สิทธิในการศึกษา อัล-กุรอ่าน และหะดิษได้ส่งเสริมให้ผู้หญิงได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียมผู้ชาย อิสลามได้เรียกร้องให้มุสลิมทุกคนให้แสวงหาความรู้โดยไม่ได้จำกัดเพศแต่อย่างใด อัล-กุรอ่าน ได้เปรียบเทียบว่าคนที่ฉลาดกับคนโง่เขลาไร้การศึกษานั้นจะเท่าเทียมกันได้อย่างไร
ท่านหญิงอาอิชะฮฺ ภรรยาของท่านเองก็เป็นผู้รายงานวจนะของท่านหลายพันบทต่อชนรุ่นหลัง และท่านหญิงก็ยังมีชื่อเสียงในด้านกวีนิพนธ์ แพทยศาสตร์ และนิติศาสตร์อิสลาม เช่นเดียวกับอุปนิสัยและสติปัญญา เมื่อท่านศาสดาเสียชีวิตลง นางก็ได้เป็นแม่ทัพ โดยไม่มีใครคัดค้านด้วยเหตุผลที่นางเป็นผู้หญิงเลยแม้แต่คนเดียว ผู้หญิงหลายคนก็มีความรู้จนได้เป็นนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญทางศาสนา
สิทธิในการเป็นตัวของตัวเอง
ในอิสลามจะให้สิทธิผู้หญิงในการรักษาสกุลของตัวเอง โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนชื่อสกุลตามสามีเมื่อทำการแต่งงาน หรือเมื่อหย่าขาดจากสามี
สิทธิที่จะได้ความสุขทางเพศ (ตามทำนองคลองธรรมในสถาบันครอบครัว)
อิสลามมองการมีความสัมพันธ์ทางเพศภายใต้สถาบันการแต่งงานที่ถูกต้องนั้นเป็นเรื่องของธรรมชาติ และความต้องการทางจิตใจที่จะให้ความสุขซึ่งกันและกันระหว่างสามีภรรยา ทำให้สถาบันครอบครัวเกิดความมั่นคงและสืบทอดสมาชิกให้กับสังคม มีหะดิษ รายงานไว้ว่า ขณะที่สามีจ้องมองภรรยาของเขาด้วยความรักความพึงพอใจนั้น อัลลอฮ (ซ.บ.) จะมองเขาด้วยความพึงพอใจและความเมตตาเช่นกัน


๖) สิทธิในการได้รับมรดก
สตรีมุสลิมได้รับการคุ้มครองโดยกฎหมายที่จะได้รับมรดกจากครอบครัว ซึ่งจะเป็นสิทธิอันชอบธรรมของเธอเอง
อัล-กุรอ่านได้กล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า “ผู้ศรัทธาทั้งหลาย ไม่อนุมัติแก่พวกเจ้า การที่พวกเจ้าจะเอาบรรดาหญิงเป็นมรดกด้วยการบังคับ และไม่อนุมัติเช่นเดียวกันการที่พวกเจ้าจะขัดขวางนางเพื่อพวกเจ้าจะเอาบางส่วนของสิ่งที่พวกเจ้าได้ให้แก่พวกนาง..” (4: 19)


๗) สิทธิในการแสดงความเห็นทางการเมืองและการมีส่วนร่วมในสาธารณะ อิสลามในยุคแรกๆ ส่งเสริมให้ผู้หญิงได้เข้ามีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็นในที่สาธารณะเกี่ยวกับกิจกรรมทางการเมืองและกิจกรรมของสังคมโดยส่วนรวม สตรีที่มีชื่อเสียงโดดเด่นในบทบาทสาธารณะได้แก่ ท่านหญิงอัยชะอ์ และอุมม์ ซะละมะฮ์
ในบทความของ ยศวดี บุณยเกียรติ และวัลลภา นีละไพจิตร กล่าวว่า สตรีในประวัติศาสตร์อิสลามได้เคยแสดงความเห็นในเรื่องของกฎหมาย ประโยชน์สาธารณะ และเป็นฝ่ายขัดแย้งกับคอลีฟะฮ์ (ผู้ปกครองมุสลิม) จนกระทั่งคอลีฟะฮ์ ต้องยอมรับข้อโต้แย้งของพวกเธอเหล่านั้น ดังเช่นที่บันทึกไว้ในสมัยของคอลีฟะฮ์ อุมัร อิบนิ ค็อตต๊อบ สิทธิในการแสดงความคิดเห็นของสตรีมุสลิมอาจจะมาจากการมีส่วนร่วมในสังคมนับตั้งแต่สมัยต้นๆ ที่ยังมีการทำสงครามกันอย่างกว้างขวาง ผู้หญิงมุสลิมเข้าร่วมในกองทัพในฐานะพยาบาลรักษาผู้บาดเจ็บตระเตรียมเสบียงและรับใช้นักรบ เมื่อพูดถึง “การออกเสียง” อาจจะทำให้นึกไปถึงการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่บุคคลมีสิทธิในการออกเสียงเลือกผู้แทนราษฎรให้ไปทำหน้าที่ในสภา ในกรณีนี้ประเทศมุสลิมจำนวนมากให้สิทธิแก่ผู้หญิงในการออกเสียงลงคะแนนเช่นเดียวกับชาย จะมีเพียงไม่กี่ประเทศเท่านั้นที่กำหนดว่าสตรีที่มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งจะต้องมีการศึกษาถึงระดับที่กำหนดหรือกำหนดระยะเวลาในอนาคตที่จะให้สิทธิแก่สตรีในการออกเสียงเลือกตั้ง แต่นักวิชาการศาสนาหลายคนกล่าวว่า อิสลามให้สิทธิในการออกเสียงแก่สตรี ทั้งนี้เพราะทั้งในอัล-กุรอานและซุนนะฮ์ไม่เคยห้ามไม่ให้สตรีออกเสียงแสดงความคิดเห็นเลย
๘) สิทธิที่จะได้รับความเคารพ ในทัศนะอิสลาม จะต้องปฏิบัติต่อผู้หญิงด้วยความรัก ความเอาใจใส่ และการให้เกียรติ ท่านนบี (ซ.ล.) กล่าวไว้ว่า หากผู้ชายมีการปฏิบัติต่อสตรีเป็นอย่างดียิ่งเท่าไหร่ ไม่ว่าต่อผู้เป็นภรรยา ลูกสาว พี่-น้องสาว พวกเขาก็จะยิ่งเป็นผู้มีความศรัทธามากยิ่งขึ้น
ในคุตบะฮ์อำลาของท่านนบี (ซ.ล.) ได้เตือนพวกเราถึงภาระหน้าที่การให้เอาใจใส่และให้เกียรติต่อผู้หญิง ท่านได้กล่าวไว้ว่า “จงยำเกรงต่ออัลลอฮ (ซ.บ.) ในเรื่องเกี่ยวกับผู้หญิง แท้ที่จริงแล้วพวกท่านแต่งงานกับพวกเธอด้วยความไว้วางใจในพระผู้เป็นเจ้า และร่างกายของพวกเธอเป็นที่ชอบด้วยคำพูดแห่งพระผู้เป็นเจ้า ดังนั้น พวกท่านจึงมีสิทธิเหนือตัวนาง และพวกนางก็มีสิทธิเหนือตัวพวกท่านเช่นเดียวกัน”
ดังนั้น ในผู้หญิงทัศนะอิสลาม จึงเป็นผู้ที่มีเกียรติศักดิ์ศรี มีความอิสระเป็นของตัวเอง ได้รับการคุ้มครองโดยกฎหมาย เป็นพลเมืองที่มีเสรีภาพ เป็นบ่าวของอัลลอฮ (ซ.บ.) และเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม เป็นคนที่มีความสามารถ มีหัวใจ มีจิตวิญญาณ และมีสติปัญญาเช่นเดียวกับผู้ชาย และมีสิทธิพื้นฐานที่จะแสดงความสามารถในกิจกรรมด้านต่างๆ ได้อย่างเท่าเทียมกับผู้ชาย
มุสลิมะฮ์จะสามารถทำอะไรได้บ้างในชุมชน
ในสมัยท่านนบี (ซ.ล.) มัสยิดคือ สถานที่ต้อนรับผู้คนทุกหมู่เหล่า ไม่ว่าจะเป็นคนอายุ เพศ ชาติพันธ์ หรือชนชั้นใดก็ตาม ทุกคนต่างเข้ามามีส่วนร่วมและอุทิศตนในกิจกรรมของมัสยิด มัสยิดจึงเป็นศูนย์กลางเพื่อการเคารพภักดีต่ออัลลอฮ (ซ.บ.) การศึกษา การถกเถียงเรื่องราวทางการเมือง และการติดต่อสัมพันธ์กันระหว่างผู้คน โดยสรุป มัสยิดคือสถานที่ที่ทำให้ชุมชนมีชีวิตชีวาขึ้นมา
ดังที่ อัล-กุรอ่าน ได้กล่าววว่า “และบรรดามุอมินชายและบรรดามุอมินหญิงนั้น บางส่วนของพวกเขาต่างเป็นผู้ช่วยเหลืออีกบางส่วน ซึ่งพวกเขาจะใช้ให้ปฏิบัติในสิ่งที่ดี และห้ามปรามในสิ่งที่ไม่ชอบ..” (9: 71)
- ดูว่ามัสยิดมีเครื่องมือ/อุปกรณ์อำนวยความสะดวกหรือเอื้อให้ผู้หญิงเข้ามามีส่วนร่วมในมัสยิดมากน้อยเพียงใด
- สร้างกิจกรรมการศึกษาอย่างสม่ำเสมอสำหรับผู้หญิงในวัยต่าง ๆ กัน
- หาพื้นที่ที่เหมาะสมให้เด็กๆ ได้ทำกิจกรรมในมัสยิด
- มุสลิมะฮ์ควรมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเสนอแนะต่อกรรมการผู้บริหารมัสยิด/ชุมชน เพื่อการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพชีวิตของสมาชิกในชุมชนทั้งทางด้านกาย ใจ และอีมาน จิตวิญญาณ
- พยายามเข้าไปมีส่วนร่วมในพื้นที่สาธารณะต่างๆ ของชุมชน เช่น วิทยุชุมชน เพื่อส่งเสียงในประเด็นที่มาจากมุมมองของผู้หญิงซึ่งมักจะไม่ได้รับการพูดถึง เช่น ประเด็นสุขภาพ ปัญหาเด็กและเยาวชน สิ่งแวดล้อมในชุมชน เป็นต้น
มุสลิมะฮ์ในอุดมคติ
ดร.มุฮัมหมัด อาลี อัล-ฮาชิมี ได้เขียนหนังสือที่มีชื่อเสียงเกี่ยวกับมุสลิมและมุสลิมะฮ์ในอุดมคติของอิสลามไว้อย่างน่าสนใจที่ใคร่อยากจะขอสรุปใจความสำคัญของหนังสือในที่นี้ ดังนี้
ท่านได้ให้ข้อคิดเกี่ยวกับมุสลิมะฮ์ในอุดมคติไว้ว่า บทบาทของมุสลิมะฮ์นั้นไม่ใช่เพียงแค่อยู่บ้าน ดูแลลูก ๆ และเอาใจใส่ในงานบ้านเท่านั้น มุสลิมะฮ์ยังต้องสวมบทบาทสำคัญดุจดั่งวีรสตรีในการเผยแพร่อิสลามและบทบาทอื่น ๆ แทบทุกมิติของชีวิตเพื่อสร้างความสุขให้กับครอบครัวและสังคม
เป็นที่ประจักษ์ชัดว่า มุสลิมะฮ์ที่เดินตามทางนำแห่งอิสลามนั้นเต็มไปด้วยความบริสุทธิ์ สร้างสรรค์ มีชีวิตชีวา และตื่นตัวอยู่เสมอ เธอต่างตระหนักรู้ในหน้าที่ที่มีต่อพระผู้เป็นเจ้า ต่อตัวเอง ต่อพ่อ-แม่ ต่อสามีและลูก ๆ ต่อญาติพี่น้อง รวมทั้งเพื่อนบ้าน และสังคมโดยส่วนรวม
เธอศรัทธาในอัลลอฮ (ซ.บ.) และวันฟื้นคืนชีพ เธอตื่นตัวต่อความเป็นไปของโลกนี้และกับดักของซัยตอน เธอสักการะต่อพระผู้เป็นเจ้า เชื่อฟังในคำสั่งใช้และหันห่างจากคำสั่งห้ามของพระองค์ เธอยอมรับในการกำหนด ขอความคุ้มครองและขอการอภัยโทษจากพระองค์ เธอตระหนักภาระหน้าที่ที่มีต่ออัลลอฮ (ซ.บ.) ต่อครอบครัว และพยายากระทำทุกอย่างเพื่อความพอพระทัยของพระองค์ เธอเข้าใจดีถึงความหมายของการเป็นทาสรับใช้อัลลอฮ (ซ.บ.) และสนองตอบต่อศาสนาที่แท้จริง เธอมีความสุขกับการทำความดีและละเว้นจากความชั่วร้ายทั้งมวลเท่าที่เธอจะทำได้
เธอตระหนักในหน้าที่ที่มีต่อตัวเธอเอง เธอเข้าใจว่าเธอคือมนุษย์ที่ประกอบด้วยร่างกาย จิตใจและจิตวิญญาณ ซึ่งแต่ละส่วนต่างมีความต้องการและข้อผูกพันของตัวเอง ดังนั้น เธอจึงพยายามที่จะรักษาสมดุลระหว่างกาย จิต และวิญญาณ เธอจึงไม่มุ่งเพียงด้านใดด้านหนึ่งแล้วทำให้ส่วนที่เหลือเสียหายโดยใช้อิสลามเป็นทางนำที่มีรากฐานจากอัล-กุรอ่านและซุนนะฮ์ที่ท่านร่อซู้ล (ศ.ล.) ได้ให้ไว้เป็นแบบฉบับ
เธอเอาใจใส่ดูแลรูปร่างภายนอกโดยไม่ได้ใส่ใจอยู่กับการอวดโฉมแต่มุ่งให้ความสำคัญกับคุณค่าภายในเพื่อสร้างความมีสมดุลย์ทั้งทางด้านร่างกายและความคิด ความมีเหตุผลและพฤติกรรมทั้งหลาย เธอจะไม่ยอมให้ร่างกายและจิตใจห่างเหินไปจากมิติทางจิตวิญญาณ เธออุทิศทุ่มเทให้กับการพัฒนาทางจิตวิญญาณและชำระล้างผ่านการละหมาด การซิเกร และการอ่านอัล-กุรอ่าน เพื่อรักษาบุคลิกภาพที่ดีของความเป็นมุสลิมะฮ์
เธอปฏิบัติต่อพ่อ-แม่ด้วยความเมตตาอ่อนโยนและความเคารพ เธอรู้ดีถึงสถานภาพของตัวเองและหน้าที่ที่เธอจะต้องปฏิบัติต่อท่านทั้งสอง เธอให้การเชื่อฟัง ให้ความเคารพและให้ความรักเอาใจใส่ท่านทั้งสองอย่างเต็มที่


เธอคือภรรยาในอุดมคติของสามี ที่มีความเฉลียวฉลาด ให้ความเคารพ เชื่อฟังในสิ่งที่ดี อดทน และให้ความรักและสิ่งที่สามีพึงพอใจ รวมถึงการให้เกียรติต่อครอบครัวและญาติฝ่ายสามี เธอปกปิดความลับ และให้การช่วยเหลือแก่เขาสู่แนวทางที่ดีงาม เกรงกลัวต่ออัลลอฮ (ซ.บ.) เธอเติมเต็มหัวใจของเขาด้วยความสุข สงบ และชุ่มชื่นใจ


เธอรักในลูกๆ เป็นแม่ที่มีแต่ความอาทรให้ความรักความเมตตาต่อลูกๆ สั่งสอนให้พวกเขาได้เติบโตเป็นมุสลิมที่สมบูรณ์พร้อมด้วยความศรัทธาและการมีทัศนคติและศีลธรรมที่ดีงาม เธอให้ความรักความเมตตาและยุติธรรมต่อลูกเขยหรือลูกสะใภ้ รวมถึงการให้ข้อแนะนำและการปฏิบัติดีต่อพวกเขาเพื่อการสร้างความรักและสายสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
เธอเชื่อมสัมพันธ์กับญาติๆ อย่างสม่ำเสมอ และปฏิบัติต่อพวกเขาเป็นอย่างดี และหมั่นย้ำเตือนให้พวกเขาอยู่ในแนวทางของอิสลาม
เธอเอาใจใส่ต่อเพื่อนบ้าน และปฏิบัติดีต่อพวกเขา เธอตระหนักดีถึงสิทธิของเพื่อนบ้านที่มีต่อเธอ ดังที่ท่านญิบรีลได้ย้ำเน้นอย่างหนักแน่นต่อท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ.ล.) ให้ปฎิบัติต่อเพื่อนบ้านเหมือนดั่งคนในครอบครัว ดังนั้น เธอจึงอยากให้เพื่อนได้รับสิ่งดีงามดั่งเช่นที่เธอปรารถนาอยากจะได้รับเช่นกัน เธอจึงรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา และละเลยไม่ใส่ใจในข้อบกพร่องหรือความผิดที่อาจจะทำให้เพื่อนบ้านรู้สึกอับอาย


สำหรับเพื่อนพ้องพี่-น้องสาวในอิสลาม เธอมอบความสัมพันธ์ด้วยความรักอันบริสุทธิ์แก่พวกเขาเพื่ออัลลอฮ (ซ.บ.) เธอจึงมีแต่ความจริงใจ ความอดทน และความเอื้ออาทรต่อพี่-น้องสาวร่วมศาสนา และทักทายพวกเขาด้วยความยิ้มแย้มและชื่นชมทุกครั้งเมื่อพบกัน
ในด้านสังคม เธอคือกลุ่มคนที่เป็นตัวอย่างขั้นสูงของผู้มีศีลธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคม เพราะการเอาใจใส่ศึกษาเข้าถึงหลักการอิสลามอย่างแท้จริง ดังนั้น เธอจึงมีนิสัย และจรรยามารยาทอันงดงามที่ขัดเกลาจิตวิญญาณเธอให้สูงส่งและมีลักษณะทางสังคมที่โดดเด่น
เธอมองโลกในแง่ดี มีทัศนคติที่ดี และมีแต่ความจริงใจต่อผู้คนโดยทั่วไป เธอไม่เป็นคนคดโกง หลอกหลวง หรือชอบนินาทาผู้อื่นลับหลัง แต่กลับแนะนำแต่สิ่งที่ดีแก่ผู้อื่น รักษาคำมั่นสัญญา เธอเป็นคนที่ไม่ชอบโอ้อวด และชอบเอารัดเอาเปรียบหรือชอบตัดสินผู้อื่น เธอไม่เคยชื่นชอบดีใจเมื่อผู้อื่นประสบกับความยากลำบาก และไม่ชอบเหยียดหยามล้อเลียนผู้อื่น


เธอให้ความสุภาพอ่อนน้อมต่อผู้อื่น และคอยต่อสู้เพื่อผลประโยชน์ของผู้อื่นและปกป้องอันตรายที่อาจเกิดแก่ผู้อื่น คอยช่วยเหลือผู้ที่กำลังประสบกับความเดือดร้อน ไม่เคยเป็นผู้ที่มีแต่ความอิจฉาริษยาหรือหยิ่งผยอง แต่เป็นผู้อ่อนน้อมถ่อมตน เป็นคนเข้าคนได้ง่าย ร่าเริง ทำให้คนที่อยู่ใกล้มีแต่ความสุขอยู่เสมอ และแต่งตัวด้วยความสุภาพเรียบร้อยตามหลักการอิสลาม
เธอสนใจในเรื่องราวที่เกิดขึ้นต่อสังคมมุสลิม ให้เกียรติแก่แขก เอาใจใส่ผู้อื่นมากกว่าตัวเอง หมั่นตรวจสอบนิสัยและพฤติกรรมของเธออยู่เสมอว่าว่ายังอยู่ในกรอบหรือออกนอกลู่นอกรอยอิสลามมากน้อยเพียงใด เธอให้เกียรติผู้อาวุโส ไม่มองไปยังบ้านผู้อื่นนอกจากบ้านของตัวเอง เธอะเลือกงานที่เหมาะสมกับลักษณะความเป็นผู้หญิง และไม่เลียนแบบผู้ชาย
เธอเรียกร้องเชิญชวนผู้อื่นสู่สัจธรรม หมั่นเพียรปฏิบัติแต่ความดีและละเว้นความชั่ว เธอเผยแพร่เชิญชวนด้วยความฉลาดหลักแหลม เธอคบหาแต่หญิงที่ดี และไม่รีรอที่จะช่วยให้คนคืนดีกัน เธอเยี่ยมเยียนคนป่วยตามหลักคำสอนของอิสลาม


จึงไม่เป็นที่สงสัยเลยว่า มุสลิมะฮ์คือ ตัวอย่างของความงดงามอย่างที่สุดของความเป็นผู้หญิงในสังคม นอกเหนือจากคุณลักษณะที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น มุสลิมะฮ์ยังเป็นผู้มีความชาญฉลาด มีหัวใจอันบริสุทธิ์ และจิตวิญญาณอันสูงส่ง และการตระหนักอย่างลึกซึ่งต่อบทบาทของเธอต่อชีวิต เพื่อนมนุษย์ และจักรวาล
เป็นที่แน่นอนว่า ผู้หญิงที่มีคุณลักษณะขั้นสูงทั้งทางการพัฒนาด้านสติปัญญา จิตใจ จิตวิญญาณ และความมีศีลธรรมเหล่านี้ย่อมเป็นลักษณะอันสูงส่งของความเป็นมนุษย์ที่สมควรได้รับการยกย่องซึ่งย่อมแตกต่างไปจากสิ่งอื่นๆ ที่มนุษย์สมควรยกย่อง สิ่งนี้นับเป็นความสำเร็จทางวัฒนธรรมสำคัญของมนุษยชาติที่แสดงถึงการเติบโตและการแสดงบทบาทที่สำคัญของการมีชีวิตอยู่
นับเป็นเรื่องที่น่าเศร้าใจเหลือเกิน สิ่งที่เราเห็นๆ อยู่ในทุกวันนี้เกี่ยวกับมุสลิมะฮ์ในโลกมุสลิมหลายๆ แห่งกลับเป็นไปในลักษณะตรงกันข้าม ทั้งนี้เนื่องจากมุสลิมโดยทั่วไปมักหันห่างจากคำสอนอันบริสุทธิ์ของอิสลามที่ให้ภูมิคุ้มกัน ความเป็นต้นแบบ และความโดดเด่นแก่พวกเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มุสลิมะฮ์มักเป็นเป้าสำคัญในการถูกโจมตีตลอดประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาในเรื่องการแต่งกายเพื่อให้พวกเธอจะได้เปลี่ยนไปแต่งกายแบบประหลาดๆ ใส่เสื้อผ้าฟิตๆ เพื่อให้พวกเธอดูเป็นเหมือนหญิงตะวันตกทั้งทางด้านรูปร่างภายนอก วิธีคิดและความประพฤติทั้งหลาย
ได้มีสังคม องค์กร และการเคลื่อนไหวต่างๆ อย่างมากมายที่พยายามจะทำให้มุสลิมะฮ์กลายเป็นตะวันตก (westernization) อั้ลฮัมดุลิ้ลลาฮ ที่ความพยายามดังกล่าวยังคงประสบความล้มเหลวอันเนื่องมาจากการตื่นตัวทางด้านการศึกษาของมุสลิมะฮ์ในความเข้าใจอิสลามอย่างแท้จริงทำให้คนจำนวนมากที่สนับสนุนการกลายเป็นตะวันตกเริ่มถอยห่างออกไป และเข้าใจถึงความคิด และอารมณ์ความรู้สึกจากก้นบึ้งของมุสลิมะฮ์ที่มีต่อความศรัทธาในอิสลาม


ความหวังอันยิ่งใหญ่ที่อยากจะฝากไว้กับมุสลิมะฮ์ คือ การตระหนักในบทบาทหน้าที่อันสำคัญของตัวเธอเอง การต้องสร้างความเข้มแข็งในการธำรงอัตลักษณ์ของความเป็นอิสลามให้มากยิ่งขึ้น ไม่ว่าพวกเธอจะอยู่ที่ไหน หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมเช่นไรก็ตาม เพราะด้วยการยึดมั่นในอัตลักษณ์ของความเป็นอิสลามเท่านั้น ที่จะทำให้หมู่มวลมุสลิมะฮ์ได้เกิดความตระหนัก มีเป้าหมายอันสูงส่ง มีความจริงใจ และอุทิศชีวิตให้กับอิสลามซึ่งมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นแตกต่างออกไปจากผู้อื่น สิ่งนี้จะเป็นตัวสร้างคุณูปการต่อการฟื้นฟูประชาชาติอิสลาม (อุมมะฮ์) ที่พวกเธอดำรงอยู่และจะได้ช่วยกันพัฒนาสังคมประเทศชาติที่พวกเธอได้อาศัยสืบๆ ไป ..อินชาอัลลอฮ..
และขอจบด้วยคุตบะฮ์อำลาของท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ.ล.) ที่ได้กล่าวไว้อย่างกินใจว่า
“สิทธิของผู้หญิงนั้นศักดิ์สิทธิ์ และสิทธินั้นจะต้องได้รับการปกปักษ์รักษา”
ที่มา
จากส่วนหนึ่งของบทความเรื่อง “บทบาทมุสลิมะฮ์ในโลกที่เปลี่ยนแปลงและสังคมที่เปลี่ยนไป”
สุชาติ เศรษฐมาลินี
สถาบันศาสนา วัฒนธรรมและสันติภาพ
มหาวิทยาลัยพายัพ เชียงใหม่

อัพเดทล่าสุด