https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
รอมฎอน รอมะฎอน ซากาต ซะกาตฟิตร์ ซะกาตฟิตเราะห์ MUSLIMTHAIPOST

 

รอมฎอน รอมะฎอน ซากาต ซะกาตฟิตร์ ซะกาตฟิตเราะห์


1,286 ผู้ชม

ซะกาตฟิตร์ถูกตราเป็นบัญญัติในปีฮิจเราะฮ์ศักราชที่สอง  เช่นเดียวกับการถือศีลอดในเดือนรอมะดอน...


เคล็ดลับของซะกาตฟิตร์หรือฟิตเราะฮ์

รอมฎอน รอมะฎอน ซากาต ซะกาตฟิตร์ ซะกาตฟิตเราะห์

ซะกาตฟิตร์ถูกตราเป็นบัญญัติในปีฮิจเราะฮ์ศักราชที่สอง  เช่นเดียวกับการถือศีลอดในเดือนรอมะดอน  และจากหะดีษที่ว่า “ท่านร่อซูลุลลอฮ์  ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ได้กำหนดซะกาตฟิตร์  เพื่อชำระผู้ถือศีลอดให้สะอาดจากคำพูดที่ไร้สาระ  และหยาบคาย และเพื่อเป็นอาหารแก่คนยากจน” รายงานโดยอบูดาวูด  ซึ่งเป็นฮะดิษที่ชี้ชัดว่าเคล็ดลับในการกำหนดซะกาตฟิตร์  ก็คือสนองความต้องการของผู้ยากไร้และขัดสน  ให้ได้มีอาหารไว้รับประทานอย่างสมบูรณ์  และเพื่อสร้างความปีติยินดีแก่พวกเขา  จนไม่เกิดความรู้สึกขมขื่นและโดดเดี่ยวในความยากจนและขัดสน  ในช่วงเวลาที่มุสลิมทุกคนต่างก็แต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่สวยงาม  มีอาหารการเกินอย่างอิ่มหนำสำราญเนื่องในการฉลองวันอีด  ซึ่งก็อยู่ในความหมายของการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และอาทรต่อกันของมวลมุสลิม นั่นเอง  และการจ่ายซะกาตฟิตร์  ก็ยังเป็นการนำตนให้เข้าใกล้ชิดอัลเลาะฮ์ ตาอาลา อีกด้วย  และเป็นการขจัดความผิดต่าง ๆ ที่ผู้ถือศีลอดอาจกระทำขึ้นขณะถือศีลอด  เพราะผลของความนั้นย่อมลบล่างบาปความชั่วออกไปได้

ท่านวะเกียะอฺได้ กล่าวว่า  : ซะกาตฟิตร์สำหรับร่อมะฎอน  ก็เหมือนกับสุหยูดซะวีย์ในละหมาด  ซะกาตฟิตร์จะชดเชยความบกพร่องของการถือศีลอด  เช่นเดียวกับสุหยูดซะฮ์วีชดเชยความบกพร่องของละหมาด

ท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  กล่าวว่า “ท่านจงทำความดีติดตามความชั่วเถิด  เพราะความดีสามารถลบล้างความชั่วได้” รายงานโดยอะห์มัดและติรมีซีย์

คำนิยาม

ซะกาตฟิตร์  คือ  “สิ่งที่เป็นทรัพย์จำนวนหนึ่งที่จำเป็นต้องจ่ายออกไป  ตั้งแต่ตะวันตกในวันสุดท้ายของเดือนร่อมะฎอน   โดยมีเงื่อนไขที่กำหนดแน่นอน  เป็นการจ่ายออกไปให้พ้นตนเอง  และพ้นผู้ที่ตนเองจำเป็นต้องจ่ายค่าเลี้ยงดู”

การบัญญัติซะก๊าตฟิตร์

เป็นที่ทราบกันอย่างแพร่หลายว่า  ซะก๊าตฟิตร์นั้นถูกบัญญัติเป็นฟัรดูในปีฮิจเราะห์ศักราชที่สองซึ่งเป็นปีเดียวกันกับที่มีบัญญัติการถือศิลอดในเดือนร่อมะฎอน

หลักฐานที่ว่าซะก๊าต ฟิตร์เป็นฟัรฎู  คือหะดีษที่บุคอรี (1433)  และมุสลิม (984)  ความว่า

أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فَرَضَ زَكَاةَ الْفِطْرِ صَاعًا مِنْ تَمْرٍ أَوْ صَاعًا مِنْ شَعِيرٍ عَلَى كُلِّ حُرٍّ أَوْ عَبْدٍ ذَكَرٍ أَوْ أُنْثَى مِنْ الْمُسْلِمِينَ
“เล่าจากท่านอิบนิอุมัร ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุมา  ว่า  “ท่านรอซูลุ้ลเลาะห์  ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ได้บัญญัติซะก๊าตฟิตร์จากร่อมะฎอนเป็นฟัรดูเหนือประชาชน  คือ  หนึ่งซออที่เป็นอินทผลัม  หรือหนึ่งซออที่เป็นข้าวสาลีเหนือทุกคนที่เป็นเสรีชน ชาย-หญิงที่เป็นมุสลิม”

เงื่อนไขที่ทำให้ซะก๊าตเป็นสิ่งจำเป็น (วายิบ)

ซะก๊าตฟิตร์  เป็นสิ่งวายิบ  ด้วยเงื่อนไขสามประการ

  1. เป็นอิสลาม
  2. มีชีวิตอยู่จนถึงตะวันตกวันสุดท้ายของเดือนร่อมะฎอน
  3. มีทรัพย์เหลือเกินกว่าอาหารหนักของตนและคนในครอบครัวที่ตนต้องรับผิดชอบในวันอีดและคืนหลังวันอีด  และมีเหลือเกินค่าที่พักและคนรับใช้ที่จำเป็นต้องมี

ผู้ที่จำเป็นเหนือมุกัลลัฟต้องจ่ายซะก๊าตฟิตร์แทนพวกเขา

จำเป็นเหนือผู้ที่มีเงื่อนไขครบสามข้อนี้  ต้องจ่ายซะก๊าตฟิตร์ให้พ้นตนเองและต้องจ่ายแทนให้แก่ผู้ที่ตนต้องจ่ายค่าเลี้ยงดูด้วย  อาทิเช่น  พ่อและปู่  และลูกหลาน  และภรรยาของตน  เป็นต้น

ไม่จำเป็นต้องจ่ายซะก๊าตฟิตร์แทนลูกของตนที่บรรลุศาสนภาวะแล้ว  และมีความสามารถประกอบอาชีพได้  และไม่จำเป็นต้องจ่ายแทนญาติที่ตนไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าเลี้ยงดูให้   และถ้าจ่ายแทนให้ก็ใช้ไม่ได้  นอกจากจะได้รับอนุญาตหรือได้รับการมอบหมายไว้

หากเขามีไม่พอที่จะจ่ายแทนให้แก่ทุกคนที่เขาต้องจ่ายค่าเลี้ยงดู  ก็ให้เขายจ่ายให้พ้นตัวเองก่อน แล้วต่อไปก็ภรรยาของเขา  ลูกคนเล็ก  พ่อ แม่  และลูกที่โตแล้วซึ่งไม่สามารถประกอบอาชีพเองได้

ชนิดและจำนวนซะก๊าตฟิตร์

ซะกาตฟิตร์  คือ  หนึ่งซออฺของอาหารหนักที่นิยมกันเป็นส่วนใหญ่ในเมืองนั้น ๆ  ที่เขาไปพำนักอยู่  โดยมีหลักฐานจากหะดีษของอิบนิ  อุมัร  ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ  ที่ได้กล่าวมาแล้ว  และที่บุคอรี  (1439) ความว่า  เล่าจาก  อะบีสะอีด  อัลคุดรี  ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ  ได้กล่าวว่า “

كُنَّا نُخْرِجُ فِي عَهْدِ رَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَوْمَ الْفِطْرِ صَاعًا مِنْ طَعَامٍ وَقَالَ أَبُو سَعِيدٍ وَكَانَ طَعَامَنَا الشَّعِيرُ وَالزَّبِيبُ وَالْأَقِطُ وَالتَّمْرُ
“พวกเราเคยจ่ายในสมัยท่านรอซู้ลุลเลาะห์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ในวันฟิตร์  จำนวนหนึ่งซออฺที่เป็นอาหารและอาหารของพวกเราก็คือ  ข้าวสาลี  องุ่นแห้ง  นมแข็ง และอินทผลัม”

ซออฺที่ท่านรอซูลุ้ลเลาะห์  ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  เคยใช้นั้นคือจำนวนสี่มุด”  คือสี่กอบมือชาวอาหรับในสมัยนั้นหากนำมาเทียบตวงในปัจจุบันเท่ากับประมาณสามลิตรหรือน้ำหนักเท่ากับ  2,400 กรัม

ดังนั้น  ถ้าหากอาหารหนักที่นิยมกันเป็นส่วนใหญ่ในประเทศของเราคือข้าวสาร  ซะกาตฟิตร์ต่อคนหนี่ง ๆ  ก็คือข้าวสารจำนวนสามลิตร  ตามมัซฮับของท่านอิหม่ามอัชชาฟีอีย์นั้นจะออกราคาแทนอาหารหนักไม่ได้  จำเป็นต้องออกอาหารหนักที่นิยมกันเป็นส่วนใหญ่ในประเทศนั้น  สำหรับกรณีนี้ถ้าจะตักลีดตามมัซฮับท่านอิหม่ามอบูฮะนีฟะห์ก็ให้ถือปฏิบัติได้  คืออนุญาตให้ออกราคาแทนอาหารได้  ซึ่งเหมาะสมกับยุคปัจจุบัน  เพราะราคาย่อมเป็นประโยชน์แก่คนจนมากกว่าอาหารและเข้าถึงเป้าหมายได้มากกว่า

เวลาที่ออกซะกาตฟิตร์

เวลาที่วายิบ นั้นได้กล่าวมาแล้ว  คือ  ขณะเมื่อตะวันตกในวันสุดท้ายของเดือนร่อมะฎอน  ส่วนเวลาที่อนุญาตให้ออกซะกาตฟิตร์ได้นั้นก็คือ  ตลอดเดือนร่อมะฎอนและในวันอีด

และจะได้สุนัตในการจ่ายซะก๊าตฟิตร์  ในตอนเช้าของวันอีด  ก่อนออกไปละหมาดอีด  มีปรากฏในหะดีษของท่านอิบนุอุมัร ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุมา ซึ่งในสายรายงานหนึ่งท่านอัลบุคอรีย์(1432)  ความว่า

“ وَأَمَرَ بِهَا أَنْ تُؤَدَّى قَبْلَ خُرُوجِ النَّاسِ إِلَى الصَّلَاةِ
“และท่านนบีได้มีคำสั่งให้จ่ายซะก๊าตฟิตริก่อนที่ผู้คนจะออกไปละหมาด”

มักโระห์จะจ่ายซะกาตฟิตร์หลังละหมาดอีด  จนสิ้นสุดวันอีด  และถ้าพ้นจากนี้ไปก็มีบาปสำหรับเขาซึ่งจำเป็นต้องชดใช้ด้วย

จ่ายซะกาตฟิตร์ให้ใคร

นักวิชาการมีความเห็นพ้องกันว่า  ซะก๊าตฟิตร์นั้นให้จ่ายแก่บุคคลแปดจำพวกที่มีสิทธิรับซะก๊าตตามปรากฏหลักฐานในอัลกุรอาน

อ้างอิงจาก: อัลฟิกฮุลมันฮะญีย์ อะลี มัซฮับ อิหม่ามอัชชาฟิอีย์, เล่ม, 1 หน้า 228-230, แปลโดยท่าน อ.อรุณ  บุญชม

ประเด็นคำถามเกี่ยวกับซะกาตฟิตร์

1. คำถาม: จะเหนียตะซะกาตฟิตร์อย่างไร?

ตอบ:  ให้เหนียตว่า  นี้คือซะกาตฟิตเราะฮ์ของฉัน  นี้คือซะกาตฟิตเราะฮ์ภรรยาของฉัน นี้คือซะก๊าตฟิตเราะฮ์ลูกของฉัน(แล้วระบุชื่อ)

2. คำถาม:  ปู่จะออกซะกาตแทนหลานได้หรือไม่?

ตอบ: อนุญาตให้ปู่ทำการออกซะกาตฟิตร์ให้แก่หลานได้  เพราะถ้าหากพ่อไม่อยู่  การเลี้ยงดูก็ตกอยู่บนปู่

ท่านอิมามอันนะวาวีย์  กล่าวว่า

وَأَمَّا الْجَدُّ فَعَلَيْهِ فِطْرَةُ وَلَدِ وَلَدِهِ الَّذِىْ تَلْزَمُهُ نَفَقَتُهُ وَبِهِ قَالَ أَبُوْ ثَوْرٍ
“สำหรับ ปู่นั้น  จำเป็นบนเขาต้องจ่ายซะกาตฟิตเราะฮ์ของลูกของลูกชายของเขา(คือหลานชาย)ซึ่ง ผู้เป็นปู่นั้นจำเป็นต้องจ่ายค่าเลี้ยงดูแก่หลาน  และด้วยทัศนะนี้ท่านอบูษูรได้กล่าวไว้” หนังสือมัจญ์มั๊วะอฺ,เล่ม 6, หน้า 141.

3. คำถาม:  หนึ่งกันตังมีกี่ลิตรและกี่กิโลกรัม  พร้อมหลักฐาน?

ตอบ: เป็นที่ทราบดีกว่า ซะกาตฟิฏเราะฮ์นั้น จ่ายคนละ 1 กันตัง

ท่านด็อกเตอร์ อัชชัยค์ มุสตอฟา ดีบ อัลบุฆอ กล่าวว่า “ปริมาณ 1 กันตัง เท่ากับ 5 ลิตรกับอีกเศษหนึ่งส่วนสาม 1/3 ลิตรตามมาตรตวงของชาวอีรัก หรือน้ำหนัก 2 กิโลกรัมกับอีก 4 ขีดโดยประมาณ” หนังสือ อัตตัซฮีบ ฟิอะดิลล่าติ มัตนิลฆอยะฮ์ วัตตักรีบ ของท่านอิมามอบีชุญาอฺ หน้า 100.

ท่านอิมามอิบนุฮะญัร อัลฮัยษะมีย์ กล่าวว่า “ท่านอิมามมาลิกกล่าวว่า ท่านนาฟิอฺได้นำกันตังออกมาให้แก่เรา และกล่าวว่านี้คือกันตังที่ท่านอิบนุอุมัรได้ให้แก่ฉัน และท่านอิบนุอุมัรกล่าวว่า นี้คือกันตังของท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ดังนั้นฉันจึงให้เขานำแสดงออกมา ปรากฏว่ามันคือกันตังของชาวอีรัก มีปริมาณ 5 ลิตรกับอีกเศษหนึ่งส่วนสามของลิตร. หนังสือตัวะห์ฟะตุลมั๊วะห์ตาจญ์ เล่ม 3, หน้า 320.

วัลลอฮุอะลัม

อัพเดทล่าสุด