https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ข่าวอาเซียนประเทศไทย ข่าวอาเซียนประเทศเวียดนาม อาเซียนประเทศ กัมพูชา MUSLIMTHAIPOST

 

ข่าวอาเซียนประเทศไทย ข่าวอาเซียนประเทศเวียดนาม อาเซียนประเทศ กัมพูชา


776 ผู้ชม


ข่าวอาเซียนประเทศไทย ข่าวอาเซียนประเทศเวียดนาม อาเซียนประเทศ กัมพูชา

 

 


ประเทศไทยกับประชาคมอาเซียน
1.ประชาคมความมั่นคงอาเซียน สันติภาพ ความมั่นคง และเสถียรภาพทางการเมืองเป็นพื้นฐานสำคัญต่อการพัฒนาใน ด้านอื่นๆ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของมนุษย์ ประชาคมอาเซียนมุ่งส่งเสริมความ ร่วมมือเพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาคตลอดมา โดยได้มีการลงนามใน เอกสารท่างการมืองต่างๆ อาทิ (1) สนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือใภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation, TAC) ปี 2519 ซึ่งกำหนดแนวทางการปฏิบัติในการ ดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในภูมิภาคที่มุ่งเน้นการสร้างสันติภาพและความมั่นคง ความ เตริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจลความร่วมมือระหว่างกัน (2) สนธิสัญญาว่าด้วยภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้เป็นเขตแห่งสันติภาพ เสรีภาพและความเป็นกลาง (Zone of Peace, Freedom and Neutrality Declaration หรือ ZOPFAN) เมื่อปี 2514 ซึ่งเสดงเจตนารมณ์ของประเทศ สมาชิกที่จะทใหภูมิภาคนี้ปลอดจากการแทรกแซงจากภายนอก (3) สนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธ นิวเคลียร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty on the Southeast Asian Nuclear Weapon-Free Zone หรือ SEANWFZ) ปี 2537 ซึ่งห้ามมิให้ประเทศภาคีผลิต ครอบครอง ขน ย้าย หรือทดลองอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาค รวมทั้งได้ริเริ่มการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือ ด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (ASEAN Regional Forum – ARF) อัน ประกอบ ด้วยประเทศสมาชิกอาเซียน ประเทศคู่เจรจา และประเทศผู้สังเกตการณ์ของอาเซียน ซึ่ง ปัจจุบัน มีประเทศสมาชิกรวมทั้งสิ้น 23 ประเทศเพื่อเป็นเวทีในการเสริมสร้างความไว้วางใจกัน ระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก

ปัจจุบันอาเซียนขยายความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงออกไปให้กว้างขวาง ขึ้น รวมถึงความร่วมมือเพื่อตอบสนองต่อสิ่งท้าทายใหม่ๆ และสถานการณ์แวดล้อมทางการเมือง ระหว่างประเทศ เช่น การจัดการกับปัญหาข้ามชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาการก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติ ยาเสพติด ซึ่งรัฐใดรัฐหนึ่งมิอาจแก้ไขได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยลำพังแต่ ต้องอาศัยความร่วมมือกันของทุกประเทศ

2.

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน2
การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียนจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งทาง เศรษฐกิจในระดับภูมิภาค และเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันของอาเซียนในตลาดโลก ซึ่งนับวัน จะเริ่มทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยอาเซียนจะสามารถขยายการค้าและการลงทุนทั้งภายในภูมิภาค และระหว่างภูมิภาคให้สูงขึ้น เนื่องจากการลดอุปสรรคทางด้านภาษี และที่ไม่ใช่ภาษีต่างๆ ลง โดย ประโยชน์สำคัญจากการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียน ได้แก่

1.
ช่วยขยายการค้าและการลงทุนภายในภูมิภาคให้สูงขึ้น เนื่องจากทำให้มีการ เคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และเงินทุนได้อย่างเสรีมากขึ้น ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการผลิต และส่งเสริมให้มีการใช้วัตถุดิบ/ชิ้นส่วนที่ผลิตภายในภูมิภาค (outsourcing)มากยิ่งขึ้น 2. ลดการพึ่งพาตลาดในประเทศที่สาม
3. สร้างอำนาจการต่อรองของอาเซียนในเวทีโลก
4.
เพิ่มสวัสดิการและยกระดับความเป็นอยู่ของผู้บริโภคให้ดียิ่งขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคจะ สามารถเลือกสรรสินค้าต่างๆ ได้หลากหลายมากขึ้นในราคาที่ต่ำลง รวมทั้งได้รับสินค้าที่มีมาตรฐาน ในระดับภูมิภาคและระดับโลก
5. พัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียน
6. ช่วยให้เกิดการใช้ทรัพยากรต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันเนื่องมากจากการ ประหยัดต่อขนาด (economy of scale) การแบ่งงานกันทำ (division of labor) และการพัฒนา ความชำนาญในการผลิต (specialization) ตลอดจนการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ร่วมกัน

แหล่งที่มา : sites.google.com

อัพเดทล่าสุด