https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
กาพย์เห่เรือ ตอนเห่ชมเรือ MUSLIMTHAIPOST

 

กาพย์เห่เรือ ตอนเห่ชมเรือ


3,642 ผู้ชม


กาพย์เห่เรือ ถือเป็นมรดกอันล้ำค่าทางวัฒนธรรม ทั้งด้านวรรณคดี และประเพณี”   

ประเด็นข่าว

                      กาพย์เห่เรือ ตอนเห่ชมเรือ

                                                                       
ประเด็นการศึกษา  กาพย์เห่เรือ  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
พระนิพนธ์ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ 
ลักษณะคำประพันธ์  
      ๑. ร้อยกรอง ประเภทกาพย์เห่เรือ จบด้วย กาพย์ห่อโคลง ( บางตำราใช้กาพย์ห่อโคลงเห่เรือ )
      ๒. กาพย์เห่เรือ ๑ บท   ประกอบด้วย โคลงสี่สุภาพนำ ๑ บท แล้วกาพย์ยานี ๑๑ ไม่จำกัด จำนวนบท โดยให้กาพย์ยานี ๑๑ บทแรก มีเนื้อความเดียวกันกับโคลงสี่สุภาพที่นำกาพย์
ความรู้เพิ่มเติม
๑. ตำนานการเห่เรือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่า 
การเห่เรือของไทยน่าจะได้แบบอย่างมาจากประเทศอินเดีย   แต่ประเทศอินเดียใช้เป็นมนต์ในตำราไสยศาสตร์บูชาพระราม ส่วนของประเทศไทยใช้เห่บอกจังหวะฝีพายพร้อมกัน เพื่อเป็นการผ่อนแรงในการพายและทำให้รู้สึกเพลิดเพลิน
๒. ประเภทของการเห่เรือ แบ่งได้เป็น  ๒ ประเภท คือ
           ๑) เห่เรือหลวง เป็นการเห่เนื่องในงานพระราชพิธีในการเสด็จพระราชดำเนินโดยขบวน
พยุหยาตราทางชลมารค เช่น ขบวนพยุหยาตราทางชลมารคในคราวสมโภชน์กรุงรัตนโกสินทร์ครบ  ๒๐๐ ปี
           ๒) เห่เรือเล่น เป็นการเห่เวลาเล่นเรือเที่ยวเตร่เพื่อความสนุกสนารื่นเริง และให้จังหวะฝีพายพายพร้อมกัน การเห่เรือในปัจจุบันนำเอาบทเห่เรือเล่นที่เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรทรงพระนิพนธ์ไว้ ซึ่งใช้เห่เรือมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
          ๓. การเห่เรือ   การเห่โคลงนำกาพย์เรียกว่า "เกริ่นโคลง"   ส่วนการเห่เรือ มี ๓ อย่าง คือ
๑) ช้าสวะเห่ เป็นเห่ช้า ใช้พลพายในท่านกบิน ใช้เห่เมื่อเรือเริ่มออกจากท่า และเมื่อพายเรือตามกระแสน้ำ
          ๒) มูลเห่ เป็นเห่เร็ว ใช้เห่ต่อจากช้าสวะเห่  ใช้เห่เมื่อเรือทวนกระแสน้ำ 
๓) สวะเห่ ใช้เห่เมื่อเรือเข้าเทียบท่าเมื่อถึงจุดหมายปลายทาง


กาพย์เห่เรือ  ตอน  เห่ชมเรือ 
                       เกริ่นโคลง
                                               ปางเสด็จประเวศด้าว     ชลาลัย
                                        ทรงรัตนพิมานชัย                 กิ่งแก้ว
                                        พรั่งพร้อมพวกพลไกร             แหนแห่
                                        เรือกระบวนต้นแพร้ว              เพริศพริ้งพรายทอง

                       กาพย์ 
                      ช้าละวะเห่
                                              พระเสด็จโดยแดนชล       ทรงเรือต้นงามเฉิดฉาย
                                        กิ่งเเก้วแพร้วพรรณราย            พายอ่อนหยับจับงามงอน

                                               นาวาแน่นเป็นขนัด          ล้วนรูปสัตว์แสนยากร
                                       เรือริ้วทิวธงสลอน                   สาครลั่นครั่นครื้นฟอง

                                              เรือครุฑยุดนาคหิ้ว           ลิ่วลอยมาพาผันผยอง
                                       พลพายกรายพายทอง              ร้องโห่เห่โอ้เห่มา

                                                สรมุขมุขสี่ด้าน             เพียงพิมานผ่านเมฆา
                                       ม่านกรองทองรจนา                หลังคาแดงแย่งมังกร

                                                สมรรถชัยไกรกาบแก้ว    แสงแวววับจับสาคร
                                       เรียบเรียงเคียงคู่จร                 ดั่งร่อนฟ้ามาแดนดิน

                                                สุวรรณหงส์ทรงพู่ห้อย     งามชดช้อยลอยหลังสินธุ์
                                       เพียงหงส์ทรงพรมมินทร์            ลินลาศเลื่อนเตือนตาชม

                                                เรือชัยไวว่องวิ่ง            รวดเร็วจริงยิ่งอย่างลม
                                       เสียงเส้าเร้าระดม                    ห่มท้ายเยิ่นเดินคู่กัน
                              
                                 มูลเห่
                                                คชสีห์ทีผาดเผ่น           ดูดังเป็นเห็นขบขัน
                                       ราชสีห์ที่ยืนยัน                     คั่นสองคู่ดูยิ่งยง

                                                เรือม้าหน้ามุ่งน้ำ            แล่นเฉื่อยฉ่ำลำระหง
                                      เพียงม้าอาชาทรง                    องค์พระพายผายผันผยอง

                                                 เรือสิงห์วิ่งเผ่นโผน        โจนตามคลื่นฝืนฝ่าฟอง
                                      ดูยิ่งสิงห์ลำพอง                      เป็นแถวท่องล่องตามกัน

                                                  นาคาหน้าดังเป็น          ดูเขม้นเห็นขบขัน
                                      มังกรถอนพายพัน                     ทันแข่งหน้าวาสุกรี

                                                  เลียงผาง่าเท้าโผน        เพียงโจนไปในวารี
                                      นาวาหน้าอินทรี                        มีปีกเหมือนเลื่อนลอยโพยม

                                                  ดนตรีมี่อึงอล               ก้องกาหลพลแห่โหม
                                       โห่ฮึกครึกครื้นโครม                  โสมนัสชื่นรื่นเริงพล

                                                  กรีธาหมู่นาเวศ              จากนคเรศโดยสาชล
                                       เหิมหื่นชื่นกระมล                      ยลมัจฉาสารพันมี

ถอดคำประพันธ์  โคลง
........เมื่อพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเสด็จทางชลมารค   ทรงประทับเรือกิ่งซึ่งพรั่งพร้อมด้วยกำลังพล
ทหารห้อมล้อม เป็นขบวน ภาพของเรือต้นงดงามแวววาวระยิบระยับจากแสงสะท้อนที่มาจากพายสีทอง

ถอดคำประพันธ์   .........ส่วนที่เป็นกาพย์ยานี ๑๑
..........พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเสด็จพระราชดำเนินโดยทางชลมารคได้ประทับบนเรือต้นในการเดินทาง
ภาพของเรือกิ่งนั้นดูแพรวพราวภาพการพายเรือนั้นก็ดูอ่อนไหว.......งดงามอย่างพร้อมเพรียงกัน .......
ขบวนเรือแน่นเป็นแถวเป็นแนว  ประกอบด้วยเรือที่หัวเรือเป็นรูปสัตว์หลาย ๆ ชนิด มองเห็นธงเด่นสะพรั่ง
มาแต่ไกล  การเดินทางด้วยขบวนเรือทำให้เกิดเป็นคลื่นน้ำระลอก
     เรือครุฑ  ซึ่งบนเรือนั้นมีพลทหารกำลังพายเรืออย่างเป็นจังหวะพร้อมกับเปล่งเสียงโห่ร้อง
    เรือสรมุข  ลอยมาเปรียบความสวยงามดั่งพิมานบนสวรรค์ที่กำลังเคลื่อนที่ผ่านหมู่เมฆ 
                เรือสรมุขตกแต่งไปด้วยม่านสีทอง หลังคาสีแดงมีลวดลายมังกรประดับอยู่
เรือสมรรถชัย  กำลังแล่นมาเทียบเคียงกับเรือสรมุข ประกอบไปด้วยกาบแก้วขนาดใหญ่ เกิดแสงแวววับ
                สะท้อนกับแม่น้ำมีความงดงามมากเหมือนดั่งว่ากำลังร่อนลงจากสวรรค์ฟากฟ้าลงสู่พื้นดิน
เรือสุวรรรณหงส์   มีพู่ห้อยอย่างสวยงามล่องลอยอยู่บนสายน้ำเปรียบดั่งหงส์ที่เป็นพาหนะของพระพรหม
                  เตือนตาให้ชม
เรือชัย    แล่นด้วยความรวดเร็วเหมือนดั่งลม  มีเสียงเส้าที่คอยให้จังหวะท้ายเรือให้แล่นไปเคียงคู่กันไปกับ
          เรือพระที่นั่งลำอื่นๆ
เรือคชสีห์   ที่กำลังแล่นไปนั้น  ดูแล้วชวนขบขัน   
เรือราชสีห์   ที่แล่นมาเคียงกันนั้นดูมั่นคงแข็งแรง
เรือม้า   กำลังมุ่งหน้าไปข้างหน้าซึ่งเรือม้าทีลักษณะที่สูงโปร่งเหมือนกับม้าทรงอันเป็นพาหนะของพระพาย
เรือสิงห์  ดูเหมือนกับว่ากำลังจะกระโจนลงสู่แม่น้ำและมีความลำพองใจนั้นก็แล่นป็นแถวตามๆกันมา
เรือนาค   นั้นมองดูเหมือนกับมีชีวิตแล้วชวนขบขันกำลังจะถูกเรือมังกรแล่นตามมาทัน
เรือเลียงผา   นั้นทำท่าเหมือนกับกำลังจะกระโจนลงแม่น้ำ ส่วน
เรืออินทรี  ก็มีปีกที่เหมือนกับกำลังจะลอยไปในอากาศ
          เสียงดนตรีนั้นดังลั่นมีเสียงก้องมาจากแตรงอน เสียงพลทหารโห่ร้องอย่างครึกครื้นทำให้เกิดความความรื่นเริง
ในหมู่พลทหาร    การเคลื่อนขบวนออกจากนั้นดูเข้มแข็งเป็นภาพที่ทำให้ชื่นอกชื่นใจมองดูเหมือนฝูงปลาที่มีมากมาย
ในสายน้ำ

ลักษณะพิเศษของกาพย์เห่เรือ
๑. ลักษณะของสำนวนและความหมาย  ใช้สำนวนกะทัดรัด มีความหมายเด่นชัดเข้าใจง่ายและมีน้ำหนักอย่างเหมาะสม เช่น                       
                        พระเสด็จโดยแดนชล                ทรงเรือต้นงามเฉิดฉาย                
   กิ่งแก้วแพรวพรรณราย                          พายอ่อนหยับวับงามงอน       
๒. ลักษณะถ้อยคำ ใช้ถ้อยคำเกลี้ยงเกลาสละสลวย ไพเราะด้วยการสัมผัสและทำให้เกิดภาพพจน์ 
เช่น                        
                             เนื้ออ่อนอ่อนแต่ชื่อ                    เนื้อน้องหรืออ่อนทั้งกาย    
                  ใครต้องข้องจิตชาย                               ไม่วายนึกตรึกตรึงทรวง        
๓. ลักษณะการพรรณนา การพรรณนาความรู้สึกลึกซึ้งและแยบคายมาก เช่น     
                             แก้มช้ำช้ำใครต้อง                       อันแก้มน้องช้ำเพราะชม                
                   ปลาทุกทุกข์อกตรม                              เหมือนทุกข์ที่พี่จากนาง       
๔. ลักษณะอารมณ์ เกิดอารมณ์สะเทือนใจ เช่น                        
                             เพรางายวายเสพรส                    แสนกำสรดอดโอชา                 
                  อิ่มทุกข์อิ่มชลนา                                 อิ่มโศกาหน้านองชล        
๕. ลักษณะการแต่ง แต่งถูกต้อง มีการเล่นอักษร มีสำนวนอุปมาอุปไมย  เช่น                         
                         รอนรอนสุริยโอ้                         อัสดง                                       
                   เรื่อยเรื่อยลับเมรุลง                        ค่ำแล้ว                                 
                   รอนรอนจิตจำนง                            นุชพี่ เพียงแม่                         
                   เรื่อยเรื่อยเรียมคอบแก้ว                    คลับคล้ายเรียมเหลียว

ความคิดสร้างสรรค์แบ่งปันหลังเรียน
           ๑. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ ๓ -๕ คน แต่ละกลุ่ม ช่วยกันพิจารณาคุณค่าด้านสังคม
ของกาพย์เห่เรือ
           ๒. “กาพย์เห่เรือ ถือเป็นมรดกอันล้ำค่าทางวัฒนธรรม  ทั้งด้านวรรณคดี และประเพณี”  
ปัจจุบันเราอนุรักษ์การเห่เรือด้วยวิธีใด  นักเรียนคิดว่าเหมาะสมหรือไม่  และให้ฐานะที่นักเรียนเป็นเยาวชน
ในยุคดิจิทอล  นักเรียนมีวิธีการอนุรักษ์วัฒนธรรมนี้อย่างไร  จงเขียนบรรยาย
   
คุณลักษณะที่ปลูกฝัง
๑. รักความเป็นไทย
๒. ใฝ่เรียนรู้

กิจกรรมบูรณาการ 
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ การเขียนอธิบายความงามกระบวนเรือ
กลุ่มสาระการเรียนรู้พลศึกษาฯ  กลวิธีในการพายเรือ

ที่มา : เพลินพิศ สุพพัตกุล แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ท๓๓๑๐๑ ชั้น ม.๖
ที่มา : เพลินพิศ สุพพัตกุล คู่มือการสอนวิชาภาษาไทย ท๓๓๑๐๑ ชั้น ม.๖
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4866

อัพเดทล่าสุด