https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
อาหารว่างของไทย...กับใบชะพลู MUSLIMTHAIPOST

 

อาหารว่างของไทย...กับใบชะพลู


1,719 ผู้ชม


คนไทยนิยมนำใบชะพลูมาประกอบอาหารว่างหลายชนิด หมูแนมเป็นอาหารว่างชนิดหนึ่งที่ห่อด้วยใบชะพลู   

อาหารว่างของไทย...กับใบชะพลู
ที่มาของภาพ https://www.google.co.th/imglanding?q

ใบชะพลู   ชื่อวิทยาศาสตร์คือ   Piper rostrarum Roxb.
                ชะพลู มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นไม้ล้มลุก ใบเดี่ยว รูปคล้ายหัวใจ เติบโตได้ดีในที่ลุ่ม ริมห้วยหนองที่มีน้ำขัง  มีชื่อเรียกอย่างอื่นอีกหลายชือ   เช่น   นมวา ผักปูนา ผักพลูน พลูลิง เย้เท้ย  พลูนก  ผักกู้นก ผักอีเลิด ผักนางเลิด ผักอีไร  เป็นต้น
สรรพคุณของใบชะพลู   ต้านการเกาะกลุ่มของเม็ดเลือด ต้านเชื้อแบคทีเรีย
ลดน้ำตาลในเลือด ลดการบีบตัวลำไส้เล็ก  เพิ่มการบีบตัวของลำไส้เล็กส่วนกลาง
ยับยั้งการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ
สรรพคุณทางยา
ชะพลู ใบอ่อน รสเผ็ดร้อน ขับเสมหะ  มีวิตามินเอสูง ต้านอนุมูลอิสระ ขับลม ช่วยเจริญอาหาร
คุณค่าทางโภชนาการ
ชะพลูเป็นผักสมุนไพรคู่ครัวไทยมาช้านาน    นำชะพลูมาปรุงอาหาร เช่น แกงคั่ว แกงเผ็ด
ซอยผสมในข้าวยำปักษ์ใต้ ใช้ใบเป็นส่วนสำคัญในการทำเมี่ยงคำ
ใบชะพลู 100 กรัม
ให้พลังงาน 119 กิโลแคลอรี โปรตีน 5.4 กรัม  ไขมัน 2.5 กรัม คาร์โบไฮเดรต 18.8 กรัม
แคลเซียม 601 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 30 กรัม   เหล็ก 7.6 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.13 มิลลิกรัม
วิตามินบี2 0.11 มิลลิกรัม วิตามินบี6 3.4 มิลลิกรัม   วิตามินซี 10 มิลลิกรัม

อาหารว่างของไทย...กับใบชะพลู
ที่มาของภาพ https://www.google.co.th/imglanding?q&start=0#tbnid=i7z09SEuG1xEOM&start=4
 

       ใบชะพลูนิยมมาห่อขนมหมูแนม    ขนมปลาแนม  และเมี่ยงคำซึ่งเป็นอาหารว่างที่คนไทยนิยมรับประทาน  ผู้เขียนจำได้ว่าตอนเป็นเด็กชอบทานหมูแนมมาก  เวลาทานจะนำใบชะพลูมาห่อกับขนมหมูแนมแต่ว่าเดี๋ยวนี้หาทานยากมากเพราะไม่มีขายในท้องตลาด  เมื่อนึกถึงแล้วก็อยากทานมากผู้เขียนจึงเข้ามาเปิดค้นหาความรู้จากเว็บไซต์และก็ได้ผลไปเจอเว็บไซต์นี้ค่ะhttps://book.myit6.com/blog/?p=1086&cpage=1 10 ของอร่อยหากินยาก ถูกใจใช่เลย   ไม่รอช้ารีบทำตามสูตรคือ 
              1. ข้าวสารจ้าว  1 กิโลกรัม แช่น้ำ   3 ชั่วโมง (นานกว่านี้ก็ได้ค่ะลองทำดูแล้วทิ้งไว้ 1 คืน  ก็ไม่เป็นไร)
              2. ตักข้าวใส่กระชอนให้สะเด็ดน้ำดีแล้วนำไปคั่วไฟอ่อนๆ  แล้วค่อยๆเร่งไฟให้แรงขึ้น  คั่วต่อไปจนเหลือง  ผึ่งไว้ให้เย็น
              3. ปั่นข้าวคั่วจนละเอียด  
              4. นำน้ำตาลทรายครึ่งกิโลกรัม  เกลือ   1 ช้อนโต๊ะ  ผสมลงในข้าวคั่วหมักไว้
              5. มะพร้าวขูด  2  ขีด  คั้นน้ำกะทิ    นำไปเคี่ยวให้เดือด   ยกลงทิ้งไว้ให้เย็น
              6. มะนาว  5 ผล   บีบน้ำมะนาวใส่ถ้วยไว้    ส่วนเปลือกหั่นฝอยสำหรับโรยบนขนมหมูแนม
              7. หนังหมู  2  ขีด  ต้มให้สุกจนนิ่ม  หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ
              8. หอมแดง  10  หัว  ปอกเปลือกล้างให้สะอาดซอยบางๆ
              9. พริกแดง  5  เม็ด  สดหั่นเป็นแว่นบางๆ
              10. กระเทียมดอง  10 หัว ซอยบางๆ
              11.  นำกะทิ  น้ำมะนาว  น้ำกระเทียมดอง  ราดลงบนข้าวคั่ว  ใส่หนังหมูลงไป ค่อยๆคนให้เข้ากัน
              12.เวลาจะรับประทานโรยด้วยกระเทียมดองซอย   พริกแดงสดซอย   หอมแดงซอย
ห่อด้วยใบชะพลูก็จะได้รสชาติอร่อยมาก  บางคนไม่ชอบกลิ่นใบชะพลูก็ห่อด้วยใบทองหลางก็อร่อยมากค่ะ

สาระการเรียนรู้ภาษาไทย
              สาระ  
 การเขียนอธิบาย
                         การเขียนอธิบายคือ การเขียนเพื่ออธิบายความหมายให้กระจ่าง หรือขยายความให้มีรายละเอียดชัดเจนขึ้น หรือชี้เเจงสิ่งต่างๆ ให้เเจ่มเเจ้งขึ้น งานเขียนที่มีลักษณะเป็นการอธิบายนี้ ผู้เขียนสามารถนำถ้อยคำมาเรียบเรียงได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และสละสลวย เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจสิ่งต่างๆ ได้ตรงตามที่ผู้เขียนต้องการ  
ตัวอย่างเช่น  การเขียนวิธีการประกอบอาหาร เป็นการเขียนอธิบาย

มาตรฐาน  ท 2.1  ใช้กระบวนการเขียนเขียนสื่อสาร  เขียนเรียงความ  ย่อความ  และเขียนเรื่องราวในรูปแบบต่าง ๆ  เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่างมีประสิทธิภาพ
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง   ม.3/6  เขียนอธิบาย  ชี้แจง  แสดงความคิดเห็น  และโต้แย้งอย่างมีเหตุผล

ฝึกทักษะเสริมเพิ่มประสบการณ์
             ให้นักเรียนเขียนอธิบายเมนูอาหารจานเด็ดที่นักเรียนชอบคนละ  1 อย่าง  เน้นอาหารไทยพื้นบ้าน  หรืออาหารว่างในท้องถิ่นที่เคยรับประทาน โดยใช้วัสดุ  พืชผักที่มีอยู่ในท้องถิ่น
บูรณาการกับสาระการเรียนรู้   
                 1.  สังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม 
                  2. สาระเพิ่มเติม  เศรษฐกิจพอเพียง

อ้างอิงแหล่งที่มา     นางลัฐิกา  ผาบไชย    แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3   โรงเรียนด่านแม่คำมัน  สพป.อุตรดิตถ์ เขต 1

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3292

อัพเดทล่าสุด