https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
การอ่านจับใจความสำคัญ(นาซ่า ยิงจรวดชนดวงจันทร์) MUSLIMTHAIPOST

 

การอ่านจับใจความสำคัญ(นาซ่า ยิงจรวดชนดวงจันทร์)


792 ผู้ชม


ยุคนี้สมัยนี้เขายิงจรวดชนดวงจันทร์กันแล้วจ้า   

การอ่านจับใจความสำคัญ(นาซ่า ยิงจรวดชนดวงจันทร์)

(ภาพจาก : norsorpor.com)

                องค์การนาซ่า ยิงจรวดชนดวงจันทร์เพื่อสำรวจดูว่าพื้นข้างในมีน้ำแข็งหรือ  นับว่าวิทยาการสมัยนี้ก้าวไกลกันมาก  น่าจะสำรวจหาน้ำมันนอกพิภพคงจะดี  น้ำมันกำลังแพงเสียด้วยซิ

เนื้อหาเหมาะสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
สาระที่ ๑  การอ่าน
มาตรฐาน ท  ๑.๑
    ใช้กระบวนการอ่านแล้วสร้างความรู้และความคิดไปใช้ตัดสินใจแก้ปัญหา  และสร้างวิสัยทัศน์ในการดำเนินชีวิตและมีนิสัยรักการอ่าน
ตัวบ่งชี้ที่ ม.๑/๒ จับใจความสำคัญจากเรื่องที่อ่าน

หลักการอ่านจับใจความสำคัญ
              ๑. การอ่านเนื้อเรื่องโดยตลอด  การอ่านย่อเรื่องนั้นผู้อ่านควรอ่านโดยตลอด ๑-๒ เที่ยว  เพื่อทำความเข้าใจเนื้อหาโดยสังเขป
              ๒. จับใจความสำคัญทีละย่อหน้า  ในย่อหน้าหนึ่งๆจะมีเนื้อความอยู่ ๒ ลักษณะ คือ เนื้อความที่เป็นใจความสำคัญ  และเนื้อความที่ขยายใจความสำคัญให้ชัดเจนยิ่งขึ้น  หรือความสำคัญ  หรือประโยคใจความสำคัญความสำคัญจะมีประโยคใจความสำคัญจะมีเนื้อความครอบคลุมประโยคอื่นในย่อหน้าทั้งหมด  การอ่านย่อเรื่องผู้อ่านจึงต้องแยกแยะให้ได้ว่าส่วนใดเป็นเนื้อความสำคัญ ส่วนใดเป็นข้อความที่มาขยาย  ส่วนใดอธิบายรายละเอียดหรือยกตัวอย่าง  ส่วนใดเป็นข้อคิดเห็นหรือข้อสันนิษฐาน  ประโยคใจความสำคัญอาจปรากฏอยู่ตอนต้นย่อหน้า  หรือทั้งตอนต้นและตอนท้ายย่อหน้าก็ได้
                 ๓. ตั้งคำถามเพื่อสรุปใจความสำคัญ  ในกรณีที่ย่อหน้าไม่มีประโยคใจความสำคัญให้ผู้อ่านตั้งคำถามตามหลักการตั้งคำถามเพื่อสรุปความสำคัญ
                 ๔. เรียบเรียงใจความสำคัญ  ผู้เขียนควรเรียบเรียงใจความสำคัญด้วยภาษาของตนเองที่ตนเองสามารถเข้าใจเรื่องที่อ่านได้ง่าย ในกรณีที่ย่อหน้าไม่มีใจความสำคัญ  ก็ให้ปฏิบัติตามลำดับดังนี้
๑. อ่านอย่างคร่าวๆ  ๒. อ่านอย่างละเอียด  ๓.  อ่านแล้วถามตัวเองว่า  เรื่องนี้มีใคร  ทำอะไร  ที่ไหน  
เมื่อใด  อย่างไร  ๔.  รวบรวมคำตอบจาก ข้อ ๓  มาเรียบเรียงให้สละสลวยและมีความเหมาะสม
ตามลำดับ
              อนึ่ง  การตั้งตั้งคำถามก็ไม่จำเป็นต้องตั้งคำถามตามตัวอย่าง  การตั้งคำถามขึ้นอยู่กับประเภทของข้อความที่อ่าน  เช่น ถ้าเป็น บทความก็อาจตั้งคำถามว่า  เรื่องอะไร  ใครเป็นผู้เขียน  มีความหมายว่าอย่างไร   เป็นต้น


กิจกรรมการเรียนรู้
                ๑. ให้นักเรียนหรือผู้อ่านอ่านหลักการจับใจความสำคัญให้เข้าใจ
                ๒. หลังจากอ่านหลักการจับใจความสำคัญ แล้วให้นักเรียนฝึกอ่านจับใจความสำคัญตามหลักการจับใจความสำคัญดังนี้
                      ๒.๑  อ่านข่าวที่กำหนดให้อย่างคร่าว ๆ
                      ๒. ๒  อ่านอย่างละเอียด 
                       ๒. ๓  อ่านแล้วถามตัวเองว่า  เรื่องนี้มีใคร  ทำอะไร  ที่ไหน  เมื่อใด  อย่างไร
                       ๒. ๔.  รวบรวมคำตอบจาก ข้อ ๓  มาเรียบเรียงให้สละสลวยและมีความเหมาะสมตามลำดับ
                       ๒.๕  ตอบคำถามตามประเด็นคำถามที่กำหนดให้

อ่านข่าวต่อไปนี้แล้วจับใจความสำคัญ


นาซ่ายิงจรวดพุ่งชนดวงจันทร์  เพื่อวิจัยหาน้ำแข็ง

                     "เมื่อวันที่ 9 ต.ค.ว่าองค์การการบินและอวกาศแห่งสหรัฐอเมริกา ประสบความสำเร็จในการยิงจรวดเปล่าใส่พื้นผิวตอนใต้ของดวงจันทร์เพื่อวิจัย ว่ามีน้ำแข็งอยู่ด้านในหรือไม่

                    สำนักข่าวเอพี รายงานเมื่อวันที่ 9 ต.ค.ว่าองค์การการบินและอวกาศแห่งสหรัฐอเมริกา  (นาซ่า) ประสบความสำเร็จในการยิงจรวดเปล่าใส่พื้นผิวตอนใต้ของดวงจันทร์เพื่อวิจัย ว่ามีน้ำแข็งอยู่ด้านในหรือไม่

                 การยิงจรวดชนดวงจันทร์ เกิดขึ้นเมื่อช่วงเช้าวันเดียวกันนี้  นับเป็นเหตุยิงจรวดใส่ดวงจันทร์ครั้งแรกและครั้งใหญ่กว่า การพุ่งชน 2 ครั้งที่วางแผนไว้ คาดว่าจะทำให้เกิดฝุ่นดวงจันทร์ฟุ้งกระจายกินระยะทางหลายไมล์

                ภารกิจข้างต้น ชื่อว่า LCROSS(L-cross) มีขึ้นเพื่อภารกิจสำรวจแอ่งบนดวงจันทร์และดาวเทียมตรวจสอบดวงจันทร์ ตัวจรวดประกอบด้วย กล้อง 5 ตัวและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์อื่นๆอีก 4 อย่าง เพื่อถ่ายภาพระหว่างภารกิจพุ่งชนดาวบริวารของโลกและส่งภาพกลับมายังโลก องค์การนาซา ถ่ายทอดสดการยิงจรวดชนดวงจันทร์ผ่านอินเทอร์เน็ตด้วย ขณะที่กล้องส่องทางไกลทั่วโลก ถูกหมุนหันหน้าสู่ดวงจันทร์เพื่อเฝ้าดูเหตุการณ์ด้วย

              นาซา คาดว่าจะทราบได้ว่าภายใต้พื้นผิวดวงจันทร์มีน้ำแข็งอยู่หรือไม่ภายใน 1 ชั่วโมงหลังถูกจรวดพุ่งชนแล้ว"

                                        (ไทยรัฐออนไลน์  ฉบับวันที่ 9  ตุลาคม  2552)

ประเด็นคำถาม
            ๑. ใจความสำคัญหลักของข่าวนี้คืออะไร
            ๒. ใจความสำคัญรองของข่านี้คืออะไร
            ๓. การยิงจรวดครั้งนี้มีจุดประสงค์อย่างไร
            ๔. การพุ่งชนของจรวดตามข่าวนี้จะเผยแพร่ทางสื่อใด
            ๕. องค์การนาซ่าคาดว่าผลการสำรวจครั้งนี้จะสามารถทราบผลโดยใช้เวลาเท่าใด


กิจกรรมเสนอแนะ
            ให้นักเรียนไปฝึกอ่านจับใจความสำคัญในเรื่องอื่น  ๆ  เพิ่มเติม  เช่น   เรื่องเล่า  บทความ  นิทาน  ฯลฯ


แหล่งอ้างอิง
๑.  https://www.norsorpor.com/ข่าว/n1714010/
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1677

อัพเดทล่าสุด