https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
แกงกะหรี่กันขี้หลงขี้ลืม สู่การเขียนบทความ ตอนที่ 2 MUSLIMTHAIPOST

 

แกงกะหรี่กันขี้หลงขี้ลืม สู่การเขียนบทความ ตอนที่ 2


718 ผู้ชม


มาเรียนรู้เพิ่มเติมกับการเขียนบทความอีกครั้งค่ะ   

วิธีหาเนื้อหา

          ก่อนที่เขียนบทความ ผู้เขียนจำต้องสืบเสาะหาความรู้และเรื่องราวอันเป็นสาระมาเพื่อเป็นเนื้อหาแห่งการเขียน เพราะมิใช่เป็นการเขียนประเภทที่แต่ง หรือสมมติขึ้นเองได้ เราอาจหาเนื้อหาได้จากแหล่งต่างๆ ดังนี้

๑. จากการสัมภาษณ์ การซักถามสอบถามผู้รู้ 
๒. จากการสืบเสาะว่าที่ใดมีอะไรบ้าง ไปดูสถานที่ ไปพบบุคคล ไปดูเหตุการณ์การกระทำ
๓. จากข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์รายวัน ซึ่งเป็นข่าวสดใหม่ มีทุก ๆ ชนิดตั้งแต่ โจรกรรม ฆาตกรรม ฉ้อโกง การเมือง ตั้งแต่เรื่องใหญ่จนถึงเรื่องสามัญ นักเขียนบทความจะหยิบยกเรื่องจากข่าวสดมาเขียนได้เสมอ 
๔. จากหนังสือต่างๆ 
๕. จากบุคคลต่างๆ เริ่มจากบุคคลที่อยู่ใกล้ตัวเรา
๖. จากการเดินทางท่องเที่ยว
๗. จากปฏิทินในรอบปีซึ่งมีถึง ๑๒ เดือนนั้น มีเทศกาลมากมายหลายอย่าง ตั้งแต่พระราชพิธีจนถึงงานต่างๆ 
๘. จากวงการและสถานบันต่างๆ 
 

แกงกะหรี่กันขี้หลงขี้ลืม สู่การเขียนบทความ ตอนที่ 2

                              ที่มาของภาพ : gotoknow.org/file/somporntaow/view/61905

วิธีเขียนบทความ

          การเขียนบทความให้ได้ดีนั้น ถ้าผู้เขียนรู้จักวางโครงเรื่องให้ดีก็จะช่วยการเขียนได้มาก เพราะโครงเรื่องจะช่วยควบคุมการเขียน ให้เป็นไปตามแนวคิดที่ กำหนดไว้ ทั้งยังเป็นการป้องกันมิให้เขียนวกวน ซ้ำกลับไปกลับมาอีกด้วย โครงเรื่องของบทความแบ่งเป็น ๓ ตอน คือ คำนำ เนื้อเรื่อง และสรุป

๑. คำนำ เป็นการเกริ่นบอกกล่าวให้รู้ว่าจะเขียนเรื่องอะไร การขึ้นคำนำมีอยู่ ๒ แบบ คือ การกล่าวทั่วไปก่อนที่จะวกเข้าเรื่องที่จะเขียน และการกล่าว เจาะจงลงไปตรงกับหัวเรื่องที่จะเขียนเลยทีเดียวการเขียนคำนำ ต้องให้น่าอ่านชวนติดตาม เพราะผู้อ่านนิยมอ่านย่อหน้าแรกก่อน ถ้าเขียนคำนำ ต้องให้น่าอ่านชวนติดตาม
 
๒. เนื้อเรื่อง แบ่งเป็น ๒ ตอน คือ ส่วนแรกเป็นการขยายความ เมื่อเกริ่นในคำนำแล้วผู้อ่านยังติดตามความคิดได้ไม่ดีพอ ก็ต้องขยายความออกไป เพื่อช่วยให้เข้าใจได้มากขึ้น ส่วนที่สองเป็นรายละเอียด มีการให้สถิติ รวบรวมข้อมูล การเปรียบเทียบหรือยกตัวอย่างประกอบ แต่ต้องระวัง อย่าให้มากเกินไปจนน่าเกลียด
 
๓. สรุป เป็นส่วนที่แสดงทัศนะข้อคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาที่มีด้วย
 


วิธีเขียนคำนำ

          การเขียนคำนำเป็นตอนที่ยากที่สุด ถ้าเริ่มได้แล้วก็จะช่วยให้เรื่องดำเนินไป การเขียนคำนำจึงต้องการความประณีตมาก เพื่อเป็นเครื่องจูงใจผู้อ่าน ให้ติดตามเรื่องต่อไปจนจบ การเขียนคำนำมีหลายแบบดังนี้

๑. นำด้วยข่าว 
๒. นำด้วยการอธิบาย
๓. นำด้วยการเสนอความคิดเห็น
๔. นำด้วยการใช้คำที่ทำให้ผู้อ่านเกิดความสนใจ
๕. นำด้วยการบอกความสำคัญ
๖. นำด้วยการประชดประชันหรือเสียดสี
๗. นำด้วยคำถาม
๘. นำด้วยการสรุปใจความสำคัญของเรื่อง
๙. นำด้วยสุภาษิต คำคม บทกวี
 

วิธีเขียนเนื้อเรื่อง

          เนื้อเรื่องเป็นส่วนที่สำคัญและเป็นส่วนที่ยาวที่สุด รวมความคิดและข้อมูลทั้งหมด ย่อหน้าแต่ละย่อหน้าในเนื้อเรื่องจะต้องสัมพันธ์เป็นเรื่องเดียวกัน มีลำดับขั้นตอนไม่วกวนไปมา ก่อนที่จะเขียนบทความผู้เขียนจึงต้องหาข้อมูล หาความรู้ที่จะนำมาเขียนเสียก่อน การหาข้อมูลนั้นอาจได้จากการสัมภาษณ์ การสอบถามผู้รู้ การเดินทางท่องเที่ยว การอ่านหนังสื่อพิมพ์หรือหนังสื่อต่างๆ ในการเขียนเนื้อเรื่องควรคำนึงสิ่งต่างๆ ดังนี้

๑. ใช้ถ้อยคำที่ถูกต้องตามความหมาย ใช้ตัวสะกดถูกต้องตามพจนานุกรม 
 
๒. ใช้สำนวนโวหารให้เหมาะกับเรื่อง เช่น ใช้ถ้อยคำที่เป็นทางการ ใช้ศัพท์เฉพาะในการเขียนบทความทางวิชาการ ใช้ถ้อยคำที่ดึงเป็นภาษาปาก คำแสลง ในการเขียนบทความทั่วไป
 
๓. มีข้อมูล เหตุผล สถิติและการอ้างอิงประกอบเรื่อง เพื่อให้เข้าใจง่ายและน่าเชื่อถือ 
 


วิธีเขียนสรุป

          การเขียนบทความในส่วนสรุปหรือคำลงท้าย เป็นส่วนที่ผู้เขียนต้องการบอกให้ผู้อื่นทราบว่า ข้อมูลทั้งหมดที่เสนอมาได้จบลงแล้ว ผู้เขียนควรมีกลวิธี ที่จะทำให้ผู้อ่าน พอใจ ประทับใจ ส่วนสรุปนี้เป็นส่วนที่ฝากความคิดและปัญหาไว้กับผู้อ่านหลังจากที่อ่านแล้ว การเขียนสรุปหรือคำลงท้ายมีหลายแบบดังนี้

๑. สรุปด้วยคำถามที่ชวนให้ผู้อื่นคิดหาคำตอบ
๒. สรุปด้วยการแสดงความประสงค์ของผู้เขียน
๓. สรุปด้วยใจความสำคัญ
๔. สรุปด้วยการใช้คำกล่าว คำคม บทกวี
๕. สรุปด้วยการเล่นคำ
 
ที่มา https://elearning.spu.ac.th/content/thi114/write5.html
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=617

อัพเดทล่าสุด