https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
อู๊ดๆๆๆ ไข้หวัดหมูเปลี่ยนชื่ออีกแล้วนะ MUSLIMTHAIPOST

 

อู๊ดๆๆๆ ไข้หวัดหมูเปลี่ยนชื่ออีกแล้วนะ


630 ผู้ชม


ไข้หวัดหมู > ไข้หวัดใหญ่ 2009 H1N1 > ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009   

 เขียนผิดหรือเปล่ามีแต่ไข้หวัดนก แล้วไข้หวัดหมูมีด้วยหรือ แล้วต่อไปนี้เราจะทานอะไรกันล่ะ ? อยากรู้แล้วล่ะซิมาดูกันเลย
     กระทรวงสาธารณสุขให้เปลี่ยนชื่อไข้หวัดหมู เป็นไข้หวัดใหญ่เม็กซิโก ( 27 เมษายน 2552 เวลา 15.50 น.)
เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ เผย โรคติดต่อร้ายแรงที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า “ไข้หวัดหมู” (swine flu) ถูกเรียกชื่อใหม่เป็น “ไข้หวัด 2009 เอช1เอ็น1” เนื่องจากชื่อเดิมส่งผลกระทบต่อการส่งออกเนื้อหมูของสหรัฐฯ ไปยังทั่วโลก (https://www.jedineko.com/?p=2063 )

           
  เชื้อไวรัสหวัดหมู(ไข้หวัด ใหญ่เม็กซิโก ) นับเป็นเชื้อไข้ หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ที่ไม่เคยพบมาก่อน วงการแพทย์ตั้งชื่อสายพันธุ์
ว่า H1N1 เอชวันเอ็นวัน เป็นเชื้อไข้หวัดที่ผสมหวัดคนปนกับหวัดนก ซึ่งสามารถระบาดจากคนสู่คนได้โดยไม่จำเป็นต้องมีการสัมผัสกัน และวัคซีนไข้หวัดใหญ่อาจไม่สามารถป้องกันเชื้อชนิดใหม่นี้ได้
               ผลการวิเคราะห์ทางพันธุกรรมชี้ว่า เชื้อหวัดใหญ่ชนิดนี้เป็นส่วนผสมของไวรัสจากหมู มนุษย์ และสัตว์ปีก ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ไม่เคยพบมาก่อน การที่ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในวัย 25-45 
นับเป็นสัญญาณที่น่าวิตกว่าอาจเป็นโรคระบาด เนื่องจากโดยทั่วไปนั้นไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลมักทำให้เกิดการเสียชีวิต
ในคนชราและเด็กเล็กเป็นหลัก “เราตระหนักว่าปัญหานี้เป็นเรื่องร้ายแรง” 
ประธานาธิบดีเฟลิเป   คาลเดอรอน ของเม็กซิโกกล่าว
               โดยได้แพร่ระบาดในประเทศเม็กซิโก ทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้วมากกว่า 68 ราย และยังได้ทำให้เกิดการติดเชื้อในคนไข้ 8 
รายในสหรัฐด้วย 
               องค์การอนามัยโลกระบุว่า เชื้อไวรัสจากคนไข้ชาวเม็กซิกัน 12 คนเป็นสายพันธุ์ใหม่ของไข้หวัดใหญ่ในหมู ซึ่งมีชื่อสายพันธุ์ว่า H1N1โดยเป็นเชื้อชนิดเดียวกับที่พบในคนไข้ที่มลรัฐแคลิฟอร์เนียและเทกซัสจำนวน 8 
คนซึ่งมีอาการดีขึ้นแล้ว
               รัฐบาลเม็กซิโกเผยว่า เชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ผสมชนิดใหม่นี้ได้คร่าชีวิตประชาชนไปแล้ว 20 คน และเข้าใจว่าเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของคนไข้อีก 48 คน ในภาพรวมนั้น มีผู้ต้องสงสัยติดเชื้อไข้หวัดหมูนี้จำนวน 1,004 
คนทั่วประเทศ
               รัฐมนตรีสาธารณสุข โฮเซ แองเจล คอร์โดวา กล่าวในรายการข่าวโทรทัศน์ภาคค่ำ แนะนำให้ประชาชนหลีกเลี่ยงที่ชุมนุมชนและสวมหน้ากากปิดปากและจมูก และวัคซีนไข้หวัดใหญ่อาจไม่สามารถป้องกันเชื้อชนิดใหม่นี้ได้ เขาบอกด้วยว่า อัตราการตายดูจะยังทรงตัว ไม่มีรายงานการเสียชีวิตในอัตราเพิ่มอย่างรวดเร็วอย่างที่วิตกกังวลกัน และว่า เม็กซิโกมียาป้องกันไวรัส 1 
ล้านชุด ซึ่งเพียงพอแก่การรักษา
               ในเม็กซิโกซิตี ซึ่งมีประชากร 20 
ล้านคน ทหารได้ออกแจกจ่ายผ้าปิดปาก และรัฐบาลเตือนประชาชนให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับคนป่วย และการกินอาหารร่วมกัน วงดนตรีร็อกจากฟินแลนด์ เดอะ ราสมุส ได้ยกเลิกการแสดงคอนเสิร์ต ขณะที่สหพันธ์ฟุตบอลเม็กซิกัน บอกว่า การแข่งขันนัดสุดสัปดาห์นี้จะมีต่อไปโดยไม่มีผู้เข้าชมเพื่อเป็นมาตรการป้องกันล่วงหน้า ร้านเช่าดีวีดีบอกว่าลูกค้าแห่มาเช่าหนังอย่างเนืองแน่นเมื่อคืนวันศุกร์ เพื่อใช้เวลาอยู่กับบ้านในช่วงสุดสัปดาห์
               ที่แคลิฟอร์เนีย ดร.กิล ชาเวซ ผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันโรคติดต่อของหน่วยงานสาธารณสุขแคลิฟอร์เนีย กล่าวว่าอาจพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นจากผลการตรวจ ยิ่งตรวจเพิ่มขึ้นก็อาจพบเพิ่มขึ้น ส่วนที่นิวยอร์กซิตี เจ้าหน้าที่สาธารณสุขกำลังตรวจสอบสาเหตุการล้มป่วยของเด็กหลายคนด้วยอาการ คล้ายไข้หวัดใหญ่เมื่อวันพฤหัสฯ และวันศุกร์ รัฐบาลสหรัฐกล่าวว่า สถานการณ์ที่เกิดขึ้นถือเป็นเรื่องใหญ่ และกำลังติดตามเหตุการณ์อย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ โรคไข้หวัดใหญ่ได้ระบาดครั้งหลังสุดเมื่อปี 2511 โดย “หวัดใหญ่ฮ่องกง” ได้คร่าชีวิตพลโลกราว 1 ล้านคน. ”

                ข่าวจากกรมปศุสัตว์ได้รายงานว่า  หมอจุฬาฯ-ศิริราช-รามาฯ แจ้งพบผู้ป่วยไข้หวัดหมูจากการติดเชื้อ
สเตรปโตคอกคัส ซูอิส ไทป์ II 
เข้ารับการรักษาทุกปี ทั้งเชื้อรุนแรง-ไม่รุนแรง ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนสัมผัสกับหมู 
ชี้โอกาสโรครุนแรงเหมือนจีน "อาจ" เกิดขึ้นได้ จี้รัฐบาลแจ้งเตือนให้ความรู้คน ด้านกรมปศุสัตว์ทำหนังสือด่วนถึง
ปศุสัตว์จังหวัดทั่วประเทศ ขอให้ติดตามการตายของหมูเป็นพิเศษแล้ว เชื้อชนิดนี้เกิดจากการติดเชื้อ
สเตรปโตคอกคัส 
ซูอิส หรือ Streptococcus suis ไทป์ II หรือโรคไข้หวัดหมู ที่ติดจากหมูสู่คนในมณฑลเสฉวน สาธารณรัฐประชาชนจีน ส่วนรายงานทางการแพทย์ในประเทศไทยว่า ติดต่อสู่คนที่เกี่ยวข้องกับฟาร์ม-โรงฆ่า และเขียงหมู รวมไปถึงการบริโภคเนื้อหมู/เลือดหมูสดในอาหารจำพวกลาบดิบ/หลู้  และยังแจ้งอีกว่าผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อคือคนที่ฆ่าหมู

               ในปัจจุบันยังไม่มีใครทราบว่าปัจจัยอะไรที่ทำให้ สเตรปโตคอกคัส ซูอิส ไทป์ II  เกิดการระบาดที่รุนแรง ทำไมจึงมีคนอ่อนแอจำนวนมากที่ติดเชื้อแล้วเสียชีวิต ภูมิคุ้มกันที่เปลี่ยนไป หรือภูมิคุ้มกันลดลงเกิดจากอะไร

ความรู้เพิ่มเติม
   H และ N เป็นอักษรย่อของแอนติเจนของไวรัสไข้หวัดใหญ่ ซึ่งมีแอนติเจนที่สำคัญอยู่ 2 ชนิด คือ
1. ฮีแมกกลูตินิน (hemagglutinin, H) ทำหน้าที่ในการจับกับที่รับ (receptor site) บนผิวเซลล์ ทำให้ไวรัสสามารถเข้าสู่เซลได้ receptor site นี้พบได้ในเมือกที่ปกคลุมทางเดินหายใจ และพบบนผิวเม็ดเลือดแดงด้วย ฮีแมกกลูตินินมีคุณสมบัติในการทำให้เม็ดเลือดแดงของมนุษย์หมู่เลือดโอและสัตว์บางชนิด เช่น ไก่ และหนูตะเภา เกิดปฏิกิริยาเกาะกลุ่ม (agglutination) คุณสมบัตินี้นำมาใช้ตรวจหาไวรัสได้ แอนติบอดีต่อฮีแมกกลูตินินจัดเป็น neutralizing antibody และมีผลในการคุ้มกันโรค คือเป็น protective antibody ด้วย 
    ฮีแมกกลูตินินของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ type A แบ่งออกเป็น 15 subtypes คือ H1, H2, H3... H15 ทั้ง 15 subtypes พบได้ในนก แต่เชื้อที่พบในมนุษย์ในปัจจุบันมีอยู่ 3 subtypes คือ H1, H2, และ H3 ส่วน subtypes อื่นๆ มีการติดเชื้อในสัตว์ต่างๆ กัน เช่น สุกร ม้า แมวน้ำ และปลาวาฬ เชื้อไข้หวัดใหญ่ types B และ C ยังไม่มีการแบ่งฮีแมกกลูตินินออกเป็น subtype 
    2. นิวรามินิเดส (neuraninidase, N) เป็น receptor destroying enyme (RDE) คือเป็นเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ย่อยไกลโคโปรตีนซึ่งเป็น receptor site บนผิวเซลล์ทำให้ไวรัสหลุดเป็นอิสระจากเซลล์ เนื่องจากโมเลกุลของไกลโคโปรตีนนี้พบได้ในเมือกที่ปกคลุมทางเดินหายใจด้วย ทำให้ไวรัสถูกดักจับติดกับเมือกได้เมื่อเมือกจับไวรัสไว้ ไวรัสจะใช้เอนไซม์นี้ย่อยทำให้เมือกใสขึ้น ไวรัสจึงหลุดออกไปบุกรุกเซลล์เยื่อบุทางเดินหายใจที่อยู่ลึกลงไป แอนติบอดีต่อนิวรามินิเดสไม่ใช่ neutralizing antibody มีผลในการคุ้มกันโรคเพียงบางส่วน (partial immunity) โดยแอนติบอดีต่อนิวรามินิเดสยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสในขั้นตอนการปลดปล่อยไวรัสออกจากเซลส์ 
    ในปัจจุบันนี้ นิวรามินิเดสของเชื้อไข้หวัดใหญ่ type A แบ่งออกเป็น 9 subtypes ด้วยกัน คือจาก N1, N2, N3... N9 โดยเชื้อที่พบในมนุษย์เป็น N1 และ N2 ส่วนเชื้อไข้หวัดใหญ่ type B และ C ยังไม่มีการแบ่งนิวรามินิเดสออกเป็น subtype ในปฏิกิริยาเกาะกลุ่มเม็ดเลือดแดงของไวรัสไข้หวัดใหญ่ เมื่อผสมไวรัสกับเม็ดเลือดแดงแล้วทิ้งไว้ที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียสจะพบการเกาะกลุ่ม ถ้านำหลอดเม็ดเลือดแดงที่เกาะกลุ่มนี้มาไว้ที่ 37 องศาเซลเซียส จะพบว่าเม็ดเลือดหลุดจากกัน (elution) เนื่องจากเอนไซม์นิวรามินิเดสทำงานได้ดีที่อุณหภูมินี้จึงไปย่อยทำลาย receptor และปล่อยไวรัสออกเป็นอิสระ

สรุป
   แอนติเจน คือ สารอะไรก็ตามที่เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วสามารถกระตุ้นให้เกิดภาวะการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันขึ้นได้
        แอนติบอดี  คือ สิ่งที่ร่างกายสร้างขึ้นเพื่อตอบสนองต่อแอนติเจนอย่างจำเพาะเจาะจง
ชนิดและคุณสมบัติของแอนติบอดี

        อิมมูโมนโกลบูลินหรือแอนติบอดีย์ในระบบ humoral immunity แบ่งออกได้เป็น 5 กลุ่มใหญ่ๆคือ
IgG / IgA / IgM / IgD / IgE


H
  มีที่มาจากคำว่า ฮีมแมกกลูตินิน (Hemagglutinin)  แบ่งออกเป็น 15 ชนิดคือ H1 ถึง H15 
จัดเป็น แอนติเจน ซึ่งเป็นสิ่งแปลกปลอมสำหรับมนุษย์เรา  สามารถจับกับส่วนจับเฉพาะ (receptor) บนผิวเซลล์ที่มันเข้าไปอาศัยอยู่ (เช่น ผิวเซลล์ของคนเรา เป็นต้น) และกระตุ้นร่างกายของคนเราให้เกิดการตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน โดยการสร้างสารก่อภูมิคุ้มกัน หรือแอนติบอดี 

Hemagglutinin ของไวรัสเข้าจับกับ receptor ของเซลล์ที่มันเข้าไปอาศัยอยู่ แล้วก่อให้เกิดการติดเชื้อ

ส่วน  N  มาจาก นิวรามินิเดส (Neuraminidase) แบ่งออกเป็น 9 ชนิดคือ N1 ถึง N9

จัดเป็น แอนติเจนเหมือนกับ H และก็เป็นเอ็นไซม์สำคัญซึ่งสามารถย่อยเยื่อเมือกในระบบทางเดินหายใจ อีกทั้งสามารถย่อย receptor บนผิวเซลล์ ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกให้ไวรัสที่เกิดขึ้นใหม่แพร่กระจายไปทั่วร่างกายคนเราได้ง่ายขึ้น

คำถาม
การที่โรคต่างๆที่เกิดขึ้นใหม่ ๆ น่าจะมีสาเหตุมาจากอะไร เราควรมีวิธีการป้องกันหรือรอให้เกิดขึ้นแล้วจึงแก้ไข ?

เนื้อหาสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์   ช่วงชั้นที่ 
4   ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายภาค ชั้น ม. 4-6
6.  สังเกตสภาพแวดล้อม ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตที่อยู่ร่วมกันในสภาพแวดล้อมและสร้างสถานการณ์จำลองแสดงถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการอยู่รอดของสิ่งมีชีวิต ( ว 1.2–3 )
การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น  
- สาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพละศึกษา
- สาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
กิจกรรมเสนอแนะ 
ควรสืบค้นข้อมูลจากแหล่งหลากหลายเนื่องจากเกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตของทุกคน
ควรเฝ้าระวังในบ้าน ในชุมชนของตนว่าจะมีแนวโน้มการระบาดของโรคหรือไม่

แหล่งอ้างอิง
https://www.khonthai.com/Vitithai/konthai3.html
https://gibgae.com/health/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B9-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3-%E0%B8%A1%E0%B8%B2-2487/
https://www.biotec.or.th/biotechnology-th/newsdetail.asp?id=2666
https://www.suthichaiyoon.com/WS01_A001_news.php?newsid=10291
https://gibgae.com/wpcontent/uploads/2009/04/e0b8abe0b8a7e0b8b1e0b894e0b8abe0b8a1e0b8b91.jpg 
https://www.sudipan.net/phpBB2/viewtopic.php?t=3112&sid=b66b74e0fb0f932c8bc50a0672724e94
https://home.biotec.or.th/NewsCenter/my_documents/my_pictures/4F15D_fig2.gif
https://www.suthichaiyoon.com/thumb/10291_sflu15thumb3.jpg
https://www.suthichaiyoon.com/thumb/10291_sflu10thumb3.jpg
https://www.suthichaiyoon.com/thumb/10291_sflu11thumb3.jpg
https://www.suthichaiyoon.com/thumb/10291_sflu12thumb3.jpg
https://www.suthichaiyoon.com/thumb/10291_sflu13thumb3.jpg
https://www.suthichaiyoon.com/thumb/10291_sflu14thumb3.jpg

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=48

อัพเดทล่าสุด