https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
อาหารต้านอนุมูลอิสระ MUSLIMTHAIPOST

 

อาหารต้านอนุมูลอิสระ


942 ผู้ชม


ใครๆก็พูดถึงการกินอาหารที่ดีมีประโยชน์ เพื่ออนาคตที่ดีกว่า แล้วคุณรู้จักสารต้านอนุมูลอิสระหรือเปล่า มีอาหารอะไรบ้างที่ต้านอนุมูลอิสระได้ ลองศึกษาดูจากสาระความรู้ต่อไปนี้ดูนะคะ   

อาหารต้านอนุมูลอิสระ


        สารต้านอนุมูลอิสระหรือสารแอนติออกซิแดนซ์ (antioxidants) ได้แก่ วิตามินซี วิตามินอี ซีลีเนียม บีตาแคโรทีน วิตามินเอ พฤกษาเคมีต่างๆ (phytochemicals) เช่น สารประกอบฟีโนลิก (polyphenol) จากชาและสมุนไพรบางชนิด ไอโซฟลาโวน (isoflavones) จากถั่วเหลือง เป็นต้น เพื่อให้ร่างกายได้รับสารต้านอนุมูลอิสระพอเพียงกับความต้องการ เราควรกินผักผลไม้สีเข้มเป็นประจำโดยล้างให้สะอาดทุกครั้ง นอกจากจะได้รับสารต้านอนุมูลอิสระแล้ว ยังจะได้รับใยอาหารด้วย ร่างกายของเราจำเป็นต้องได้รับใยอาหารเช่นกัน เนื่องจากใยอาหาร ช่วยในการขับถ่าย ช่วยเพิ่มปริมาณอุจจาระ ช่วยป้องกัน อาการท้องผูก ช่วยนำโคเลสเตอรอลออกจากร่างกาย เร่งการนำสารพิษที่อาจทำให้เป็นมะเร็งบางชนิดออกจากร่างกายเร็วขึ้น  
       ร่างกายมีระบบต่อต้านอนุมูลอิสระ วิตามินที่ร่างกายได้รับที่มีคุณสมบัติในการต่อต้านอนุมูลอิสระ ได้แก่ แคโรทีนอยด์ (แหล่งกำเนิดของวิตามินเอ) วิตามินซี วิตามินอี และแร่ธาตุต่างๆ เช่น สังกะสี ซิลิเนียม และแมงกานีส โดยสารอาหารเหล่านี้จะทำหน้าที่ร่วมกับเอ็นไซม์ในร่างกายเพื่อป้องกันเซลล์ถูกทำลายจากอนุมูลอิสระ  ดังรายละเอียดต่อไปนี้
                                                                          อาหารต้านอนุมูลอิสระที่มาภาพ

       1.แคโรทีนอยด์
แคโรทีนอยด์ (แหล่งกำเนิดของวิตามินเอ) วิตามินซี วิตามินอี และแร่ธาตุ เช่น สังกะสี และซีลิเนียม ทำหน้าที่ต่อต้านอนุมูลอิสระ นอกจากนี้แคโรทีนอยด์ยังมีบทบาทในการเสริมภูมิคุ้มกันโรค สามารถช่วยทำให้ลูกของคุณมีสุขภาพที่ดี น้ำนมแม่นั้นอุดมไปด้วยสารอาหารที่ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จึงเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้ลูกของคุณได้รับสารอาหารเหล่านั้นเพื่อส่งเสริมเจริญเติบโตและพัฒนาการ


       2.วิตามินเอ
วิตามินเอ มีหน้าที่ในการดูแลรักษาความสมดุลของสุขภาพผิวหนัง เนื้อเยื่อ น้ำเมือก ต่อมไร้ท่อ และเนื้อเยื่อน้ำเหลืองที่เป็นส่วนประกอบสำคัญในระบบภูมิคุ้มกัน


       3.วิตามินซี
วิตามินซี  ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ต่อต้านเชื้อโรค และมีบทบาทในการป้องกันมะเร็งด้วย  นอกจากประโยชน์ในการเสริมภูมิคุ้มกันร่างกาย ช่วยป้องกันโรคหวัด และบรรเทาอาการภูมิแพ้แล้ว วิตามินซียังช่วยสร้างเนื้อเยื่อคอลลาเจน เพิ่มความยืดหยุ่นให้กับผิวพรรณ คลายความเครียด ความอ่อนเพลีย แก้สภาวะการเป็นหมันในผู้ชาย โดยช่วยเพิ่มความแข็งแรง และปริมาณของตัวอสุจิอีกด้วย


       4.วิตามินอี
 วิตามินอี มีคุณสมบัติต่อต้านอนุมูลอิสระ มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ช่วยป้องกันมะเร็งและโรคหัวใจ และส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยในเรื่องการบำรุงผิวพรรณ ป้องกันโรคหัวใจและการอุดตันของเส้นเลือดในหัวใจ ทั้งยังช่วยป้องกันการกลายพันธุ์ของเซลล์อันเป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งต่าง ๆ การรับประทานวิตามินอีในระยะยาวยังช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก และลดอัตราการตายของผู้ชายที่สูบบุหรี่จัด


      5.ซิลิเนียม
ซิลิเนียมเป็นแร่ธาตุที่จำเป็น มีหน้าที่สำคัญในการรักษาสุขภาพที่ดี สร้างเสริมภูมิคุ้มกัน และยังเป็นส่วนหนึ่งของเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ต่อต้านอนุมูลอิสระ  ช่วงวัยทารกและวัยเด็กมีความต้องการซิลิเนียม เนื่องจากอัตราการเจริญเติบโตที่รวดเร็ว ค่า RDA ของซิลิเนียมสำหรับวัยเด็กแรกเกิดถึง 6 เดือน คือ 10 ไมโครกรัม/วัน  และสำหรับเด็กอายุตั้งแต่ 6 เดือนถึง 12 เดือน คือ 15 ไมโครกรัม/วัน น้ำนมแม่เป็นแหล่งกำเนิดที่ดีของซิลิเนียม ปริมาณซิลิเนียมที่มีในนมแม่จะขึ้นอยู่กับการรับประทานอาหารของแม่ แหล่งอาหารที่มีซิลิเนียม คือ เนื้อสัตว์ ปลา และธัญพืช
 
สารต้านอนุมูลอิสระ

       1. สารสกัดจากเมล็ดองุ่น
  ได้รับการขนานนามว่าเป็นสารซุปเปอร์แอนตี้ออกซิแดนท์มานาน นื่องจากณสมบัติเด่นในด้านการกำจัดอนุมูลอิสระที่สูงกว่าสารแอนตี้ออกซิแดนท์อื่น ๆ โดยสูงกว่าวิตามินซี 20 เท่า และวิตามินอี 50 เท่า ทั้งยังคงอยู่ในกระแสเลือดได้นานถึง 72 ชม. สามารถป้องกันและลดการทำลายล้างจากสารอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นในร่างกายเราตลอดเวลาทั้งจากปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายใน อันเป็นสาเหตุของความเสื่อมและอ่อนแอของร่างกายโดยรวม โดยเฉพาะระบบหลอดเลือด หัวใจ ผิวหนัง และตา เมื่อรับประทานสารสกัดจากเมล็ดองุ่นเป็นประจำจะทำให้ได้รับสาร OPCs เข้าไปยับยั้งการเสื่อมสลายของคอลลาเจนใต้ผิวหนัง จึงช่วยชะลอการเสื่อมของผิวพรรณไม่ให้แก่ก่อนวัยอย่างตรงจุด  ปริมาณการใช้ วันละ 20-60 มก.

      2. ชาเขียว
  ในชาเขียวประกอบด้วยสารต้านอนุมูลอิสระประเภทฟลาโวนอยด์ ที่ทรงพลังหลายชนิด โดยเฉพาะสาร EGCG ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีฤทธิ์แรง โดยมีฤทธิ์มากกว่าวิตามินอีถึง 20 เท่า มีผลการวิจัยพบว่าชาเขียวสามารถลดอัตราการเป็นมะเร็งของอวัยวะต่าง ๆ ได้ดี โดยเฉพาะมะเร็งปอด, มะเร็งลำไส้, มะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งตับ นอกจากนี้ยังช่วยลดความเป็นพิษจากการสูบบุหรี่ เช่น นิโคติน และน้ำมันทาร์ เป็นต้น ปริมาณการใช้ วันละ 300-1,000 มก.

      3. สารสกัดจากเปลือกสนฝรั่งเศส
  เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ออกฤทธิ์ได้ดีอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งนอกจากประโยชน์ในการแก้ปัญหาเรื่องฝ้าด้วยการควบคุมการทำงานของกระบวนการสร้างเม็ดสีในร่างกายให้อยู่ในสภาวะที่สมดุล ไม่ผลิตเม็ดสีออกมาผิดปกติจนเป็นฝ้า, กระ แล้ว ยังมีประโยชน์ต่อผิวพรรณและสุขภาพร่างกายโดยรวมอีกด้วย ปริมาณการใช้ วันละ 75 มก.

       4. โคเอ็นไซน์คิวเท็น
  มีหน้าที่หลักในกระบวนการสร้างพลังงานในระดับเซลล์ เพื่อให้เซลล์ต่าง ๆ ของร่างกายทำงานได้อย่างปกติ หากร่างกายขาดโคเอ็นไซม์คิวเท็นถึง 75% ก็อาจเสียชีวิตได้ ทั้งนี้เซลล์ที่ต้องการพลังงานสูงและมีความต้องการโคเอ็นไซม์คิวเท็นมากเป็นพิเศษ ได้แก่ เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ เซลล์สมอง เพื่อให้มีความตื่นตัว เพิ่มทักษะในการจดจำและผ่อนคลายจากความตึงเครียด ส่วนเซลล์ผิวหนังต้องการโคเอ็นไซม์คิวเท็นเพื่อช่วยฟื้นฟูความสดใส ปริมาณการใช้ วันละ 6-15 มก.

       5. แนทเชอรัลเบต้าคาโรทีน
  เป็นสารตั้งต้นของวิตามินเอ นอกจากประโยชน์ในการบำรุงสายตาและผิวพรรณแล้ว เบต้าแคโรทีนยังช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งที่ปอดจากการสูบบุหรี่จัด ลดการก่อเซลล์มะเร็งที่ผิวหนัง และทำให้ผิวหนังสามารถต้านทานต่อแสงแดดได้นานยิ่งขึ้น เบต้าแคโรทีนจากธรรมชาติที่สกัดได้จากสาหร่าย D.Salina จะเป็นแหล่งของเบต้าแคโรทีนที่เข้มข้น และปลอดภัยกว่าชนิดทั่วไปที่เป็นเคมีสังเคราะห์ ปริมาณการใช้ วันละ 6-15 มก.

        6. ลูติน
  เป็นสารธรรมชาติพบได้มากในพืชผักที่มีสีเขียวเข้ม เช่น ผักกาดเขียว ใบหยิก ผักปวยเล้ง ในชีวิตประจำวันนอกจากจะต้องเผชิญกับรังสียูวีในแสงแดดที่กระทบต่อดวงตาโดยตรงแล้ว ยังต้องเจอกับแสงจ้าจากเครื่องคอมพิวเตอร์และทีวีวันละหลายชั่วโมง เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เซลล์ในตาอ่อนแอหรือเสื่อมสภาพและตาบอดได้ ซึ่งการรับประทานลูตินจะเป็นสารอาหารที่ช่วยป้องกันการเสื่อมของจุดรับภาพและจอประสาทตาได้ดี เพราะมีส่วนรวมในการทำงานของเอนไซม์ต่าง ๆ ที่สำคัญ  ปริมาณการใช้ วันละ 6-20 มก.

        7. กรดอัลฟ่าไลโปอิค
สารต้านอนุมูลอิสระธรรมชาตินี้ทำหน้าที่สำคัญ ๆ หลายอย่างในร่างกาย การใช้เป็นอาหารเสริมจะมีบทบาทสำคัญในการช่วยปรับปรุงกระบวนการเผาผลาญน้ำตาลให้เป็นพลังงาน จึงช่วยป้องกันและบรรเทาโรคแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวานได้ดี ปริมาณการใช้ วันละ 50-200 มก.

        8. สารสกัดจากใบแปะก๊วย
  ฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากใบแปะก๊วยเป็นผลมาจากสารในกลุ่มฟลาโวนไกลโคไซด์ ที่มีอยู่กว่า 20 ชนิดในใบแปะก๊วย ซึ่งช่วยต้านอนุมูลอิสระในร่างกายได้ ทั้งนี้นอกจากคุณสมบัติอันโดดเด่นในการป้องกันความเสื่อมของเซลล์สมองและช่วยบำรุงสุขภาพสมองอย่างมีประสิทธิภาพจนเป็นที่ยอมรับทั่วโลกแล้วนั้น คุณสมบัติในการเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตทั่วร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่สมองยังช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดอุดตันได้อย่างตรงจุดเช่นกัน ปริมาณการใช้ วันละ 40-80 มก.

        9. วิตามินซี
  นอกจากประโยชน์ในการเสริมภูมิคุ้มกันร่างกาย ช่วยป้องกันโรคหวัด และบรรเทาอาการภูมิแพ้แล้ว วิตามินซียังช่วยสร้างเนื้อเยื่อคอลลาเจน เพิ่มความยืดหยุ่นให้กับผิวพรรณ คลายความเครียด ความอ่อนเพลีย แก้สภาวะการเป็นหมันในผู้ชาย โดยช่วยเพิ่มความแข็งแรง และปริมาณของตัวอสุจิอีกด้วย  ปริมาณการใช้ วันละ 1,000-4,000 มก.

       10. วิตามินอี
  ช่วยในเรื่องการบำรุงผิวพรรณ ป้องกันโรคหัวใจและการอุดตันของเส้นเลือดในหัวใจ ทั้งยังช่วยป้องกันการกลายพันธุ์ของเซลล์อันเป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งต่าง ๆ การรับประทานวิตามินอีในระยะยาวยังช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก และลดอัตราการตายของผู้ชายที่สูบบุหรี่จัด  ปริมาณการใช้ วันละ 200-400 มก.

อาหารต้านอนุมูลอิสระที่มาภาพ

ข้อปฏิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี 
      1. กินผัก ผลไม้ ถั่ว โดยเฉพาะถั่วเหลือง เช่น (เต้าหู้หลอด เต้าหู้แผ่น) และธัญพืชเป็นประจำ
      2. ลดการกินไขมัน อย่าให้เกิน ร้อยละ ๓๐ ของพลังงานที่ได้รับต่อวัน ลดไขมันจากสัตว์ หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูปที่มีกรดไขมันกลุ่มทรานส์แฟตตีแอซิด (trans fatty acid) เช่น มาร์การีน เนยขาว โดนัต มันฝรั่งทอด เลือกใช้น้ำมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (monounsaturated fatty acid) สูง เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันงา น้ำมันมะกอก
      3. กินอาหารให้หลากหลาย กินปลา ถั่วเมล็ดแห้ง เต้าหู้ ลดปริมาณเนื้อแดงที่บริโภคลง
      4. ลดอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง ไม่ควรกินเกินวันละ ๓๐๐ มิลลิกรัม
      5. เพิ่มการกินคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น ข้าว ธัญพืช มันฝรั่ง
      6. ลดอาหารเค็ม ดื่มน้ำสะอาดวันละ ๑-๒ ลิตร
      7. ดื่มนมพร่องไขมัน
      8. รักษาน้ำหนักตัวให้เหมาะสม
      9. ไม่ควรงดอาหารมื้อใดมื้อหนึ่ง
    10. งดสูบบุหรี่และลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น สุรา เบียร์ ไวน์

เกี่ยวเนื่องหลักสูตร:  หลักสูตรการศึกษาปี 2544 และหลักสูตรการศึกษาปี 2551
แหล่งเรียนรู้:  เหมาะสำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3-4
เนื้อการเรียนรู้:   วิทยาศาสตร์อาหาร, เคมีชีวโมเลกุล ,ปฏิกิรยาในสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
วันที่: 2008-04-27

คำถามน่าคิด:

        ทำไมต้องแอนตี้ออกซิแดนท์  จำเป็นไหม
        บทบาทและความสำคัญของสารต้านอนุมูลอิสระ
        การวิเคราะห์สารแอนตี้ออกซิแดนท์  

ที่มา: 
https://www.foodsciencetoday.com/viewContent.php?content=textword&id=52
https://www.wyethnutrition.co.th/$$Antioxidant%20Nutrients.html?menu_id=215&menu_item_id=4
https://www.readersdigest.co.th/rd/rdhtml/th/communities/food_recipe.jsp?mccid=512&cid=2162
https://www.doctor.or.th/node/1346
http://www.thairunning.com/10antiradical.htm

 

อาหารต้านอนุมูลอิสระที่มาภาพ

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=111

อัพเดทล่าสุด