https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ทฤษฏืการกำเนิดระบบสุริยะ MUSLIMTHAIPOST

 

ทฤษฏืการกำเนิดระบบสุริยะ


713 ผู้ชม


การกำเนิดระบบสุริยะมีนักวิทยาศาสตร์หลายท่านได้ศึกษาและตั้งทฤษฎีตามข้อเท็จจริงที่สังเกตได้หรือจากอะไร   

ทฤษฏีการกำเนิดระบบสุริยะ

              เกริ่นนำ

ทฤษฎีเนบิวลา เป็นแนวความคิดของคานท์ และ ลาปลาซได้รวบรวมทฤษฎีที่ดีที่สุด 
ฮอยล์เสนอว่าแรกเริ่มมีก้อนก๊าซและฝุ่นหมุนรอบตัวเอง และยุบตัวลงที่ใจกลางเกิดดวงอาทิตย์ขึ้น 
ฝุ่นก๊าซที่เหลือจะแผ่แบนเป็นวงแหวนล้อมรอบโดยมีสนามแม่เหล็กเป็นเครื่องเชื่อมโยง 
ต่อมาเม็ดฝุ่นก่อตัวและใหญ่ขึ้นเรื่อยๆในวงแหวน กลายเป้นดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์
ระบบสุริยะประกอบด้วยดาวฤกษ์ ดวงอาทิตย์ และดาวเคราะห์ 9 ดวง

 มี  6 ทฤษฏีดังนี้ 

        1. ทฤษฏีจุดกำเนิดระบบสุริยะของบูฟง ( Georges Louis leclere Buffon) นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสเมื่อ
พ.ศ. 2288 เสนอว่า มีดาวฤกษ์ดวงหนึ่งเคลื่อนที่เข้าใกล้ดวงอาทิตย์มีขนาดใกล้เคียงกัน แล้วแรงดึงดูดระหว่างกันทำให้มวลส่วหนึ่งหลุดออกมากลายเป็นดาวเคราะห์ โลก และวัตถุอื่นๆในระบบสุริยะ

        2. ทฤษฏีจุดกำเนิดระบบสุริยะของ ลาพลาส โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสชื่อ ลสพลาส ( Pirer Simon Laplace) ได้ร่วมงานกับคานท์ เมื่อพ.ศ.2349 เสนอว่า ระบบสุริยะเกิดมาจากมวลของกลุ่มก๊าซฝุ่นละอองหมอกควัน ซึ่งมีขนาดใหญ่และร้อนจัด รวมกลุ้มกันหมุนรอบตัวเองอย่างช้าๆ ทำให้มีมวลขนาดใหญ่ขึ้น ยุบตัวลง อัดกันแน่นมากขึ้น หมุนเร็วมากขึ้น ทำให้มวลบางส่วนหลุดออกมาเป็นวงแหวนมีการหมุนจนหดตัวเป็นดาวเคราะห์ โลก และวัตถุอื่นๆในระบบสุริยะ จึงเรียกทฤษฏีของค่านท์และลาพลาสว่า "The Nebula Hypothesis" 

       3. ทฤษฏีจุดกำเนิดระบบสุริยะของเจมส์ ยีนส์ (Sir James Jeans ) นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ พ.ศ 2444 เสนอทฤษฎีว่าด้วยแรงดึงดูดระหว่างกัน ( Tidal Theory หรือ Two - star ) ก่อนหน้านั้น เมื่อ พ.ศ. 2443 มีนักวิทยาศาสตร์อเมริกัน 2 คน คือ โทมัน แซมเบอร์ลิน ( Thomas Chamberlin ) และ เอฟ. อาร์. โมลตัน ( F.R .Moulton )
โดยใช้หลักการของ บูฟง แลเชื่อว่าเนื้อสารของดวงอาทิตย์ในตอนแรกนั้นน่าจะกระจายเป็นชิ้นเล็กๆก่อนแล้วมารวมกันเป็นก้อนใหญ่ขึ้นและ  หลอมรวมกันเป็นดาวเคราะห์ โลก และวัตถุอื่นๆ ในระบบสุริยะ

        4. ทฤษฏีจุดกำเนิดระบบสุริยะของ เฟรด ฮอยล์ ( Fred Hoyle) และ ฮานส์ อัลเฟน ( Hans Alphen ) นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ พ.ศ. 2493 เสนอทฤษฏีว่าด้วยกลุ่มเมฆหมอก ( Interstellar Cloud Theory ) โดยกล่าวว่าสนับสนุน คานท์
 และลาพลาส แต่เชื่อว่ามีดวงอาทิตย์เกิดขึ้นก่อน แล้วมีแสงสว่างภายหลัง ส่วนกลุ่มเมฆหมอกที่อยู่รอบดวงอาทิตย์ก็จะหมุนและถูกดูดจนอัดแน่นรวมกันเป็นดาวเคราะห์ โลก และวัตถุอื่นๆในระบบสุริยะ

        5.ทฤษฏีการเปล่งแสง(Supernova Theory) หรือดาวแฝด ( Binary star ) กล่าวว่ามีดวงอาทิตย์ 2 ดวงดึงดูด
กันจนทำให้ดวงอาทิตย์อีกดวงเปล่งแสงมากขึ้นจนแตกเป็นชิ้นส่วนมากมาย และถูกแรงดึงดูดของดวงอาทิตย์ให้หมุนรอบจนรวมตัวกันแน่นเป็นดาวเคราะห์ โลก และวัตถุอื่นๆในระบบสุริยะ

       6. ทฤษฏีเกี่ยวกับขนาดและความถ่วงจำเพาะของดาวเคราะห์(Explaning the Size and Density of planets)
เสนอว่า มีสารคล้ายๆ รูปจักรเกิดขึ้นรอบๆเส้นศูนย์สูตรของดวงอาทิตย์และหมุนรอบดวงอาทิตย์เร็วขึ้นเรื่อยๆจนอัดแน่นทำให้มีความถ่วงจำเพาะมากขึ้นสะสมต่างๆมากขึ้นเช่น ไฮโดรเจน เป็นดาวเคราะห์ โลก และวัตถุอื่นๆในระบบสุริยะ
         

         ทฤษฏืการกำเนิดระบบสุริยะทฤษฏืการกำเนิดระบบสุริยะ

ที่มาของภาพ
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=184

อัพเดทล่าสุด