https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
รู้จักพอลิเมอร์(ตอนที่ 1 ) MUSLIMTHAIPOST

 

รู้จักพอลิเมอร์(ตอนที่ 1 )


781 ผู้ชม


สารที่พบในชีวิตประจำวันหลายชนิดจัดเป็นพอลิเมอร์ ท่านรู้หรือไม่ว่าพอลิเมอร์คืออะไร และมีความสำคัญต่อชีวิตท่านอย่างไร ลองติดตามดูซิแล้วท่านจะได้คำตอบ   

พทย์ไทยเจ๋ง  ผลิตไหมเส้นใยเย็บแผล   " ข่าวของไทยรัฐออนไลน์  5 พฤษภาคม 2552  >> อ่านรายละเอียด
        วิวัฒนาการและความก้าวหน้าของเทคโนโลยีมีไม่หยุดยั้ง  แพทย์ไทยสามารถผลิตเส้นใยเย็บแผลจากไหมด้แล้ว   ท่านสงสัยไหมว่าเหตุใดไหมสัตว์ตัวเล็กนิดเดียวจึงสามารถผลิตเส้นใยอันทรงคุณค่าได้มากมาย    แล้วถ้าหากไม่ใช้ไหมในการผลิตเราสามารถใช้วัสดุอื่นทดแทนได้หรือไม่   
        เส้นไหม  เป็น พอลิเมอร์ชนิดหนึ่งที่เรียกว่า เส้นใย   ก่อนที่เราจะทำความรู้จักกับเส้นใย  ลองมาทำความรู้จักกับพอลิเมอร์กันก่อนนะ
พอลิเมอร์คืออะไร
       พอลิเมอร์ คือสารโมเลกุลใหญ่  ที่เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างสารโมเลกุลเล็ก หรือที่เรียกว่ามอนอเมอร์   โดยในแต่และโมเลกุลของพอลิเมอร์จะมีโครงสร้างที่ซ้ำ ๆ กัน  เราเรียกว่า repeating unit
ปฏิกิริยาของพอลิเมอร์
            
พอลิเมอร์เกิดจากมอนอเมอร์มารวมตัวกันจำนวนมาก ๆ โดยต้องใช้ความร้อนและตัวเร่งปฏิกิริยา  เรียกว่า ปฏิกิริยาพอลิเมอร์ไรเซชัน   แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
1. ปฏิกิริยาพอลิเมอรไรเซชั่นแบบเติม ( Addition polymerization)    คือ ปฏิกิริยาที่เกิดจาก มอนอเมอร์ ชนิดไม่ไม่อิ่มตัว หรือวงแหวนมารวมตัวกันได้เป็นสารโมเลกุลใหญ่  เช่น พอลิเอทิลีน พอลีสไตรีน พอลิไวนิลคลอไรด์   เป็นต้น
ตัวอย่าง การเกิดพอลิเอทิลีน

      รู้จักพอลิเมอร์(ตอนที่ 1 )

2. ปฏิกิริยาพอลิเมอร์ไรเซชั่นแบบควบแน่น ( Condensation  polymerization )  เป็นปฏิกิริยาที่เกิดจากโมโนเมอร์ที่มีหมู่ฟังก์ชั่นมากกว่า 1 หมู่ฟังก์ชั่น มารวมกันหลายโมเลกุล แล้วเกิดสารโมเลกุลใหญ่ ขณะเดียวกันก็จะมีการปล่อยโมเลกุลเล็ก อาจเป็น H2O , HN, CH3OH หรือ HC1 เช่น ไนลอน 6,6 

     รู้จักพอลิเมอร์(ตอนที่ 1 )

โครงสร้างของพอลิเมอร์
      โครงสร้างของพอลิเมอร์ มี 3 แบบ คือ
1. แบบเส้นตรง ( แบบโซ่ยาว)    เป็นโครงสร้างที่โมเลกุลเรียงชิดติดกันมาก  ทำให้ความหนาแน่นสูง  จุดหลอมเหลวสูง  มีลักษณะแข็งเหนียวกว่า   เมื่อได้รับความร้อนจะอ่อนตัวและแข็งตัวเมื่ออุณหภูมิต่ำ   เช่น Polyethylene   , Polystyrene  เป็นต้น


               

รู้จักพอลิเมอร์(ตอนที่ 1 )


2. แบบกิ่ง ( แบบสาขา)   เป็นโครงสร้างที่มีความหนาแน่นต่ำ  ยึดหยุ่นได้  เนื่องจากมีโซ่แตกออกไปจากโซ่หลัก  ทำให้โมเลกลุไม่สามารถจัดเรียงตัวชิดกันได้  จุดเดือดจุดหลอมเหลวต่ำกว่าแบบเส้น  เช่น   LDPE

รู้จักพอลิเมอร์(ตอนที่ 1 )

3. แบบร่างแห   เป็นพอลิเมอร์ที่เกิดจากพอลิเมอร์แบบเส้นหรือแบบกิ่งมาเชื่อมต่อกันเป็นร่างแห  ถ้าพันธะเชื่อมระหว่างโซ่หลักมีน้อยก็จะยืดหยุ่นได้  แต่ถ้าเชื่อมมากจะแข็ง  ไม่ยืดหยุ่น  เช่น พวกเบกาไลต์  เมลานีน  เป็นต้น

                    

รู้จักพอลิเมอร์(ตอนที่ 1 )


ตัวอย่างพอลิเมอร์ที่ควรรู้จัก
1. พลาสติก
2. ยาง
3. 
เส้นใย
4. ซิลิโคน

คำถาม
1. ในชีวิตประจำวัน นักเรียนเกี่ยวข้องกับพอลิเมอร์ชนิดใดบ้าง
2. รู้หรือไม่ ยางรถยนต์ทำมาจากยางชนิดใด
3. เหตุใดพอลิเมอร์แต่ละชนิดจึงมีสมบัติที่แตกต่างกัน

ที่มา
https://61.19.145.8/student/m5year2006-2/502/group05/index.html


ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=207

อัพเดทล่าสุด