https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ลักษณะทางพันธุกรรมกับสิ่งแวดล้อม MUSLIMTHAIPOST

 

ลักษณะทางพันธุกรรมกับสิ่งแวดล้อม


791 ผู้ชม


ลักษณะทางพันธุกรรมจากบรรพบุรุษไปสู่รุ่นลูกหลานแบ่งเป็นลักษณะทางพันธุกรรมที่มีความแปรผันนื่องกับไม่ต่อเนื่อง   

ลักษณะทางพันธุกรรม หมายถึงลักษณะที่ถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งไปยังรุ่นต่อๆไป แบ่งเป็น 2 แบบคือ

1. ลักษณะทางพันธุกรรมที่มีความแปรผันต่อเนื่อง (  continuous variation) ได้แก่ น้ำหนัก ส่วนสูง สีผิวคน ระดับสติปัญญา จะไม่มีความแตกต่างกันจนไม่สามารถแยกออกจากกันได้เช่นลักษณะสีผิว จะเป็นลักษณะผิวดำมากที่สุด  ดำปานกลาง และดำน้อยที่สุด เกิดจากอิทธิจากจากสิ่งแวดล้อมมากกว่าพันธุกรรม เน้นด้านปริมาณมากกว่าคุณภาพถ้านำข้อมูลของลักษณะทางพันธุกรรมไปเขียนเป็นกราฟจะได้กราฟรูป พาราโบลา (ระฆังคว่ำ)

2. ลักษณะทางพันธุกรรมที่มีความแปรผันแบบไม่ต่อเนื่อง(Discontinuous variation) ได้แก่ ลักษณะทางพันธุกรรมที่มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน ตั้งแต่ 2 กลุ่มขึ้นไป  หมู่เลือด ผิวปกติ / ผิวเผือก  สูง / เตี้ย  หนังตาสองชั้น / หนังตาชั้นเดียว สีนัยน์ตา  ลักษณะเส้นผม  ทั้งนี้เพราะได้รับอิทธิพลจากยีน (พันธุกรรมมากกว่าสิ่งแวดล้อม) เน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณ เมื่อนำข้อมูลที่แตกต่างกันมาเขียนเป็นกราฟจะได้กราฟรูปแท่ง

โรคทางพันธุกรรม หมายถึงรคที่เกิดบนโครโมโซม 2 ชนิดคือ

1. โครโมโซมร่างกาย ( Autosomal ) มี จำนวน 22 คู่ที่เป็นโฮโมโลกัสโครโมโซม ,มี 2 ลักษณะที่แตกต่างกันคือ ลักษณะเด่น เช่น นิ้วเกิน ท้าวแสนปม ประสาทเสื่อมสันกระดูก ลักษณะด้อย  ทาลัสซีเมีย โรคโลหิตจางเข้าสู่เซลล์
ผิวเผือก เอนไซม์บกพร่อง

1. โครโมโซมเพศ ( Allosome ) มี 1 คู่ โดยที่เพศหญิงเป็นโฮโมโลกัสโครโมโซมคู่ที่ 23 ( XX ) เพศชายเป็นHemizygouschromosome คู่ที่ 23 ( XY ) ได้แก่ ตาบอดสี โลหิตไหลไม่หยุด (ฮีโมฟีเลีย ) โลหิตจาง (G-6-PD)
กล้ามเนื้อแขนขาลีบ (Muscular Distrophy) และเวลาถ่ายทอดจะไปกับโครโมโซม X

 โรคทางพันธุกรรมบางโรค เป็นปัญหาสำคัญ ที่ก่อให้เกิดความผิดปกติ 
ในการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่มารดาจะต้อง 
มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ โรคทางพันธุกรรมที่เป็นผลโดยตรงต่อการตั้งครรภ์

ลักษณะทางพันธุกรรมกับสิ่งแวดล้อม

โรคทางพันธุกรรม หมายถึง โรคที่มีความผิดปกติขององค์ประกอบของจีน 
และโครโมโซม ซึ่งจีนและโครโมโซมนี้เป็นตัวกำหนดลักษณะทางพันธุกรรม เมื่อมีความผิด 
ปกติเกิดขึ้นจะทำให้เกิดการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์จากพ่อแม่สู่ลูกโดยตรง 
ชนิดของโรคทางพันธุกรรม โรคทางพันธุกรรม จำแนกได้ 3 ชนิด คือ 
1. โรคทางพันธุกรรมที่เกิดความผิดปกติในการแบ่งตัวของโครโมโซม 
ขณะกำลังเกิดการปฏิสนธิ หรือขณะที่ไข่และอสุจิผสมกันเป็นตัวอ่อนแล้ว 
2. โรคทางพันธุกรรมที่มีความผิดปกติในการเรียงตัวของโครโมโซม 
3. โรคทางพันธุกรรมที่มีความผิดปกติในการแยกคู่ของโครโมโซมในระหว่าง 
การแบ่งตัว 

โรคทางพันธุกรรมที่มีผลต่อการตั้งครรภ์ โรคทางพันธุกรรมที่พบได้บ่อย ได้แก่ 
1. โรคทาลัสซีเมีย เป็นโรคทางพันธุกรรมที่มีความผิดปกติของสารสีแดงใน 
เม็ดเลือด ทำให้ผู้ป่วยมีอาการโลหิตจางเรื้อรัง 
2. โรคฮีโมฟีเลีย เป็นโรคทางพันธุกรรมที่ปัจจัยการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ 
ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเลือดออกไม่หยุดหรือหยุดยาก 
3. โรคดาว์นซินโดรม เป็นโรคทางพันธุกรรมที่เด็กจะมีอาการปัญญาอ่อน และ 
หน้าตาดูแปลกไปจากปกติ มักพบในเด็กที่แม่ตั้งครรภ์เมื่ออายุเกิน 35 ปี

         นอกจากโรคที่พบได้บ่อยทั้ง 3 โรค ดังกล่าวแล้ว โรคทางพันธุกรรมยังมีอีก 
หลายชนิด ซึ่งแต่ละโรคล้วนทำให้เกิดความผิดปกติต่อมารดาโดยตรง บางโรคอาจทำให้คลอดยาก 
มีภาวะแท้ง ภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ โรคหัวใจ เป็นต้น โรคบางโรคยังมีผลต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์มีผลต่อการเจริญ ของเซลล์สมอง อาจทำให้ทารกตายในครรภ์หรือพิการแต่กำเนิดได้ วิธีการป้องกันโรค เหล่านี้ ไม่ให้เกิดขึ้นกับทารกในครรภ์ คือการปรึกษาแพทย์หรือรับการตรวจร่างกายทั้งสามีและภรรยา 
ก่อนการตั้งครรภ์เสมอ

 ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=475

อัพเดทล่าสุด