https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
เจ้าจ๋อเรืองแสง MUSLIMTHAIPOST

 

เจ้าจ๋อเรืองแสง


2,612 ผู้ชม


ทีมวิจัยญี่ปุ่นประสบความสำเร็จในการสร้างลิงมาร์โมเซ็ทดัดแปลงพันธุกรรม ทำให้เรืองแสงได้ด้วยยีนในแมงกะพรุน นับเป็นลิงจีเอ็มโอตัวแรกของโลก ที่สามารถถ่ายทอดยีนเรืองแสงสู่รุ่นลูกได้ นักวิจัยหวังใช้เป็นทางสร้างลิงต้นแบบศึกษาโรคในคน   

ทีมวิจัยญี่ปุ่นประสบความสำเร็จในการสร้างลิงมาร์โมเซ็ทดัดแปลงพันธุกรรมทำให้เรืองแสงได้ด้วยยีนในแมงกะพรุน นับเป็นลิงจีเอ็มโอตัวแรกของโลก ที่สามารถถ่ายทอดยีนเรืองแสงสู่รุ่นลูกได้ นักวิจัยหวังใช้เป็นทางสร้างลิงต้นแบบศึกษาโรคในคน ด้านเอ็นจีโอหวั่นนำไปสู่การสร้างมนุษย์ตัดต่อยีนในอนาคต
(ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์ https://www.manager.co.th/Science/default.html วันที่ 28 พ.ค. 2552)

หากได้ติดตามข่าวคราวความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ในด้านการตัดต่อพันธุกรรม จะพบว่า ปัจจุบันนักวิจัยจากหลายประเทศประสบความสำเร็จในการตัดต่อพันธุกรรมสัตว์ โดยเฉพาะการจัดต่อพันธุกรรมที่มียีนเรืองแสง ซึ่งทำให้ผิวหนังของสัตว์สามารถเรืองแสงได้ภายใต้แสงยูวี

เราลองมาย้อนดูความสำเร็จของนักวิจัยเหล่านี้กันอีกครั้งนะคะ

1. ลิงเรืองแสง  เป็นความสำเร็จของนักวิจัยชาวญี่ปุ่นในการสร้างลิงดัดแปรพันธุกรรม โดยให้ผิวหนังสามารถเรืองแสงสีเขียวได้ภายใต้แสงยูวี

เจ้าจ๋อเรืองแสง

บรรดาเจ้าจ๋อเรืองแสงทั้ง ตัว ที่เพิ่งลืมตาดูโลกได้ไม่นานจากฝีมือของทีมวิจัยญี่ปุ่น โดยได้รับการตั้งชื่อให้ดังนี้ (a)  ฮิซึอิ(Hisui), (b) วาคาบะ (Wakaba), (c) บังโกะ (Banko), (d) เคอิ (Kei) (ซ้ายและ โค (Kou) (ขวา)

            ทีมวิจัยได้ทดลองเพาะเลี้ยงตัวอ่อนของลิงมาร์โมเซ็ทธรรมดา (common marmoset หรือ Callithrix jacchusในจานเพาะเลี้ยง ซึ่งเป็นลิงขนาดเล็กที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศบราซิล จากนั้นจึงใช้ไวรัสเป็นตัวนำยีนที่ควบคุมการแสดงออกของโปรตีนเรืองแสงสีเขียว หรือจีเอฟพี (green fluorescent protein: GFP) ใส่เข้าไปในเซลล์ตัวอ่อนหรือเอมบริโอของลิงมาร์โมเซ็ทธรรมดา
         
นักวิจัยนำตัวอ่อนของลิงที่ผ่านการดัดแปลงพันธุกรรมแล้ว ไปฝากในท้องแม่ลิงมาร์โมเซ็ทจำนวน 7 4 5 ทีมนักวิจัยระบุ ซึ่งก้าวต่อไปของงานวิจัย นักวิทยาศาสตร์จะทดลองสร้างลิงมาร์โมเซ็ทตัดต่อพันธุกรรมที่สามารถส่งต่อลักษณะเหล่านั้นไปถึงลูกหลานได้ โดยจะตัดต่อยีนให้มีการแสดงออกของโรคที่เกิดในมนุษย์ เช่น พาร์กินสันกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือเอแอลเอส(amyotrophic lateral sclerosis: ALS) เป็นต้น คลิ๊กเพื่ออ่านเพิ่มเติม

 2. สุนัขเรืองแสง  เป็นความสำเร็จของนักวิทยาศาสตร์ชาวเกาหลีใต้ ที่โชว์ผลงานโคลนนิง ลูกหมาพันธุ์บีเกิลเรืองแสง” 4 ตัว มองเห็นเป็นสีแดง หลังถูกแสงยูวี ซึ่งความสำเร็จนี้เป็นเทคนิคปรับแต่งยีน ที่สามารถแทรกคุณลักษณะจำเพาะได้ตามต้องการ หวังนำไปช่วยพัฒนาหนทางการรักษาโรคร้ายในมนุษย์ ลูกสุนัขเหล่านี้ในยามกลางวันก็ดูเหมือนบีเกิลเพื่อนร่วมสายพันธุ์อื่นๆ ทั่วไป หากเมื่อต้องแต่แสงอัลตราไวโอเล็ต (UV) ตัวของพวกมันก็จะเรืองแสงสีแดงออกมาทันที ไม่ว่าจะเป็นลำตัว บริเวณท้องที่มีผิวหนังบาง รวมทั้งเล็บและดวงตาก็ล้วนสีแดง

เจ้าจ๋อเรืองแสง

ลูกหมาโคลนนิงที่เหลือรอด 4 ตัวจากทั้งหมด 6 ตัว จะสังเกตเห็นว่าที่เล็บเป็นสีแดงเพราะมียีนเรืองแสงในตัว

               3. หมูเรืองแสง    เป็นความสำเร็จของนักวิจัยชาวไต้หวัน ซึ่งหวังเอาดีทางด้าน เรืองแสง” นอกจากจะเป็นตลาดใหญ่ส่งออกปลาเรืองแสงแล้ว ยังสร้าง หมูเรืองแสง” ออกมาได้อีก 3 ตัว ที่สามารถเรืองแสงสีเขียวได้ในที่มืด นับเป็นการทดลองที่ช่วยดึงงานวิจัยทางด้านสเต็มเซลล์ให้ก้าวหน้าไปอีกขั้น

เจ้าจ๋อเรืองแสง

          หมูเรืองแสง 3 ตัวแรกของโลก โดยทีมนักวิทยาศาสตร์ชาวไต้หวัน ประเทศผู้เชี่ยวชาญด้านปลาเรืองแสง

          ไต้หวันซึ่งได้รับการบันทึกว่าสามารถสร้างปลาเรืองแสงตัดต่อพันธุกรรมขึ้นได้เป็นครั้งแรกของโลกเมื่อปี 2003 จนสามารถเบิกตลาดส่งออกปลาเรืองแสงได้จำนวนมาก มาคราวนี้ทีมนักวิทยาศาสตร์ไต้หวันได้ลองฉีดโปรตีนที่สกัดจากแมงกะพรุนเข้าไปในนิวเคลียสของเซลล์ตัวอ่อนหมูเพื่อเพาะให้เกิดหมูที่มีการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมนั่นก็คือการสร้าง หมูเรืองแสง” ขึ้นนั่นเอง หมูเหล่านี้เรืองแสงมาจากอวัยวะภายใน การเรืองแสงเช่นนี้จะช่วยให้นักวิจัยเห็นพัฒนาการของเนื้อเยื่อ เมื่อนำสเต็มเซลล์ไปปลูกถ่ายเพื่อซ่อมแซมตามอวัยวะต่างๆ ซึ่งนี่นับเป็นงานทดลองที่สำคัญ เพราะจะช่วยให้ร่นเวลาให้กับการทดลองสเต็มเซลล์มนุษย์ในระบบคลินิก ซึ่งในวงวิทยาศาสตร์เชื่อว่าสภาพร่างกายของหมูมีความใกล้เคียงกับมนุษย์มากที่สุด คลิ๊กเพื่ออ่านเพิ่มเติม

อ่านมาถึงขณะนี้ท่านนึกสงสัยหรือไม่ว่าการเรืองแสงของสิ่งมีชีวิตคืออะไร ?

การเรืองแสงของสิ่งมีชีวิต

เจ้าจ๋อเรืองแสง เจ้าจ๋อเรืองแสง เจ้าจ๋อเรืองแสง
                    หิ่งห้อย                              แมลงปีกแข็งเรืองแสง                        ปลาหมึกเรืองแสง

ประเด็นศึกษา
      1.  ความเจริญก้าวหน้าของการตัดต่อพันธุกรรมสัตว์
      2.  ประโยชน์และโทษของการตัดต่อพันธุกรรมสัตว์
      3.  การเรืองแสงในสิ่งมีชีวิต

 อ้างอิง  
      1.   
https://guru.sanook.com/enc_preview.php?id=301
    2.  https://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9490000004794
    3.  https://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9520000048141

                  ทั้งนี้ ทีมวิจัยได้ระบุว่า พวกเขาโคลนนิงเซลล์สุนัขขึ้น จากการปรับแต่งยีน โดยนำเซลล์ผิวหนังของสุนัขบีเกิลมาใส่ยีนเรืองแสง และนำเซลล์ดังกล่าวใส่ลงไปในไข่ จากนั้นจึงนำไข่ไปฝากไว้ที่ท้องของสุนัขตัวเมีย และในเดือน ธ..ปี 2550 สุนัขบีเกิลตัวเมีย 6 ตัวก็ได้คลอดออกมา พร้อมทั้งมียีนโปรตีนเรืองแสงสีแดงบรรจุอยู่ในตัว แต่น่าเสียดายที่ลูกหมา 2 ตัวตายไปในไม่ช้าสุนัขเรืองแสงสีแดง แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ ในการแทรกยีนจำเพาะที่เกี่ยวเนื่องกับโรคร้ายของมนุษย์ลงไปในสุนัข ซึ่งโรคในสุนัขกว่า 224 ชนิดนั้นมีผลให้มนุษย์เจ็บป่วย” .ลีอธิบาย โดยทีมวิจัยของเขาก็ได้เดินหน้าใช้เทคนิคนี้ปลูกถ่ายยีนที่เกี่ยวเนื่องกับโรคต่างๆ อาทิ พาร์กินสันส์ คลิ๊กเพื่ออ่านเพิ่มเติม

               การเรืองแสงในสิ่งมีชีวิตนั้น ปรากฏในสัตว์กลุ่มสำคัญ ๆ แทบทุกกลุ่ม ทั้งที่อยู่ในน้ำทะเลและบนบก ตั้งแต่พวกสัตว์เซลล์เดียว ขึ้นมาถึงพวกฟองน้ำ แมลงกะพรุน ปะการัง หนอนทะเลต่าง ๆ หอย ปลาหมึก แมลงหลายชนิด จนกระทั่งถึงปลา และปรากฏในสิ่งที่มีชีวิต ชั้นต่ำ เช่น พวกเห็ด ราและบัคเตรีต่าง ๆ 
               สิ่งมีชีวิตกลุ่มสำคัญ ๆ ที่ยังไม่มีรายงานว่ามีผู้พบการเรืองแสง ได้แก่ พวกสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในน้ำจืด 
(ยกเว้นพวกบัคเตรี) และสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง กลุ่มสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน นกและสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม 
สัตว์มีชีวิตที่เรืองแสงได้แต่ละชนิด จะแสงลักษณะของการเรืองแสงแตกต่างกันออกไป เช่น สีของแสง ลวดลายของการเปล่งแสง ท ี่ตำแหน่งต่าง ๆของลำตัว และจังหวะกับช่วงเวลาในการเปล่งแสง เป็นต้น 
               สัตว์บางชนิดเปลี่ยนสีแสงได้ในบางเวลา การเปล่งแสงมีประโยชน์ในการล่อเพศตรงข้ามเพื่อการสืบพันธุ์ สัตว์บางชนิดก็ใช้แสงเพื่อล่อเหยื่อให้เข้ามาใกล้จะได้จับกินเป็นอาหาร นอกจากสัตว์แล้ว พืชจำพวกเห็นบางชนิดก็เรืองแสงได้เหมือนกัน การเรืองแสงเกิดจากเซลล์ของบัคเตรีที่อาศัยอยู่เป็นประจำในส่วนต่างๆ ของสัตว์หรือพืชที่เรืองแสง บริเวณเหล่านั้นจะประกอบด ้วยเนื้อเยื่อที่เจริญเป็นพิเศษเพื่อให้บัคเตรีนั้น ๆ เติบโตได้ 
              การเรืองแสงนับว่าเป็นขบวนการ ซึ่งเกิดขึ้นในระยะแรกเริ่มของสิ่งมีชีวิตในโลกเป็นวิธีการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตบางชนิด เพื่อให้สามารถขยายพันธุ์ และให้อยู่รอดมาได้จนถึงปัจจุบัน 

             เราจะลองพิจารณาเปรียบเทียบสิ่งมีชีวิตต่างๆ ตามลำดับขั้นวิวัฒนาการ เริ่มจากพวกที่มีวิวัฒนาการน้อยกว่า จนถึงพวกที่มีวิวัฒนาการขั้นสูงสุด คือ ตั้งแต่สัตว์พวกเซลล์ เดียวขึ้นมาถึงสัตว์ชั้นสูง
              สิ่งที่มีชีวิตเซลล์เดียวสามารถเปล่งแสงสีได้ สีของแสงที่เปล่งออกมานั้นอาจเปลี่ยนได้ตามสภาพแวดล้อม เช่น นอคติลูคา (noctiluca) ชนิดต่างๆ ตามปกติจะเปล่งแสง สีแดงจนทำให้ผิวทะเลที่มีสิ่งที่มีชีวิตนี้อาศัยอยู่อย่างหนาแน่นเป็นสีแดงเต็มไปหมด แต่ในเวลากลางคืน ถ้ามีคลื่นมารบกวนมาก นอคติลูคาจะเปล่งแสงเป็นสีน้ำเงินแทนสีแดง สิ่งที่มีชีวิตพวกเซลล์เดียวอีกชนิดหนึ่ง คือ โกนีออแลกซ์ (gonyaulax) มีความสามารถในการผลิตแสงได้มากที่สุดในเวลากลางคืน และน้อยที่สุดในเวลากลางวันไม่ว่าจะอยู่ในสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติของมันเองคือในทะเล หรือภายในสภาพห้องทดลองที่ห่างไกลจากทะเลหลายพันกิโลเมตรกำหนดเวลาของการเปลี่ยนแสงดังกล่าวนี้จะเที่ยงตรงราวกับมี "นาฬิกาตั้งไว้ภายในเซลล์ นอกจากนี้ บัคเตรีซึ่งก็เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวจะผลิตแสงสีน้ำเงินหรือน้ำเงินเขียว และตราบใดที่สภาพแวดล้อมเหมาะสมกับปฏิกิริยาเคมีภายในเซลล์ของมัน แสงที่เรืองนั้นจะต่อเนื่องกันโดยไม่หยุด
              ในสัตว์ทะเลพวกหนึ่งซึ่งมีขนาดและลำตัวคล้ายช่อดอกไม้เล็กๆ เช่น แคมพานูลาเรีย เฟลกซูโอสา (Campanularia flexuosa) การเรืองแสงเกิดในเซลล์ที่เป็นแกนในของลำตัว ผ่านผิวชั้นนอกซึ่งใสบาง ส่วนแมงกะพรุนซึ่งเป็นสัตว์กลุ่มใกล้เคียงกันถัดขึ้นมาในลำดับวิวัฒนาการ จะมีการเรืองแสงเกิดขึ้นตามกลุ่มเซลล์ที่กระจายอยู่ตามขอบร่ม เช่น เอควอเรีย เอควอร์ (Aequorea aequore)
               หนอนทะเลชนิดหนึ่งซึ่งเป็นสัตว์กลุ่มที่ใกล้เคียงมากกับไส้เดือนดิน และเป็นที่รู้จักกันดีในบริเวณหมู่เกาะอินเดียตะวันตก คือ โอดอนโตซิลลิส อีโนปลา (Odontosyllisenopla) จะมีการเรืองแสงเป็นหมู่ ประมาณ - วันหลังจากเดือนเพ็ญ พวกตัวเมียซึ่งมีไข่สุกและมีขนาดถึง  /.จะว่ายวนตามผิวน้ำเปล่งแสงสีเขียว เริ่มประมาณ  ชั่วโมง หลังจากตะวันตกดิน มีตัวผู้ซึ่งเปล่งแสงวาบๆ ว่ายตามมา และต่อมามีการปล่อยเซลล์สืบพันธุ์ทั้งสองฝ่ายออกผสมพันธุ์ในน้ำ
               ส่วนสัตว์ทะเลอีกชนิดหนึ่งซึ่งเป็นสัตว์คล้ายกับไรน้ำในน้ำจืด คือ ไรน้ำทะเล ไซปริดิน่า ฮิลเกนดอร์ฟิอิ (Cypridinae hilgendorfii) นี้ เป็นสัตว์ที่รู้จักกันดีในสมัยสงครามโลกครั้งที่  ทหารญี่ปุ่นได้นำมาใช้ประโยชน์ในการอ่านแผนที่ขณะที่มีการพรางไฟ สัตว์ชนิดนี้เมื่อนำมาตากให้แห้งจะเก็บไว้ได้นานในลักษณะเป็นผง เมื่อต้องการใช้ก็นำมาผสมกับน้ำจะได้แสงสีน้ำเงินที่สว่างพอที่จะอ่านแผนที่ได้โดยไม่ต้องกลัวว่าจะถูกเครื่องบินค้นพบ ได้มีผู้นำไรน้ำทะเลชนิดนี้มาศึกษาปฏิกิริยาชีวเคมีอย่างละเอียด
              ในสัตว์พวกแมลงที่เรืองแสง หิ่งห้อยหลายชนิด เช่น โฟทูริส ไพราลิส (Photurispyralis) และ พีเพนซิลวานิคัส (P. Pennsylvanicus) เป็นแมลงที่พบทั่วไปทั้งในยุโรป เอเชีย และอเมริกา มีการผลิตแสงสีเขียวเหลืองตรงปลายท้อง และมีการเปล่งแสงเป็นจังหวะ ตัวผู้ในฝูงเดียวกันจะเปล่งแสงเป็นจังหวะพร้อมกัน หิ่งห้อยต่างชนิดจะมีจังหวะแตกต่างกัน ส่วนตัวเมียปกติจะไม่เปล่งแสงก่อน แต่จะเปล่งแสงตอบต่อเมื่อได้รับแสงจากตัวผู้ชนิดเดียวกัน เป็นการบอกทิศทางให้ตัวผู้บินตามมา แมลงปีกแข็งไพโรโฟรัสนอคติลูคัส (Pyrophorus noctilucus) อีกชนิดหนึ่งซึ่งพบในอเมริกาเหนือและมีลักษณะภายนอกคล้ายกับหิ่งห้อย แต่มีการเรืองแสงที่ตำแหน่งต่างกันมาก คือ ที่จุด  จุด ตรงทรวงอกด้านบน ในประเทศบราซิลมีหนอนซึ่งเป็นตัวอ่อนของแมลงชนิดหนึ่ง มีลวดลายการเรืองแสงที่เหมาะสมกับชื่อของมัน คือ มีจุด เรืองแสงสีแดงที่เรืองแสงต่อเนื่องกันตลอดเวลา  จุดตรงหัว ส่วนตามลำตัว มีจุดเรืองแสง ๑๑ คู่ เรียงตามยาวลำตัวปล้องละ  คู่ จุดเหล่านี้ปกติไม่เปล่งแสง แต่หากถูกรบกวน หรือเมื่อเคลื่อนไหวจะเปล่งแสงสีเขียว จึงทำให้ได้สมญาว่า "หนอนรถไฟ"
                 สัตว์ทะเลกลุ่มหอย ได้แก่ หอยสองกาบ โฟลาส แดคติลุส 
(Pholas dactylus) และปลาหมึก เธามาโตแลมพัส ไดอะเดมา (Thaumatolampus diadema) ซึ่งเป็นสัตว์ที่ใกล้เคียงกับหอยมาก สัตว์สองชนิดนี้เป็นตัวอย่างของสัตว์ทะเลขนาดใหญ่ที่เรืองแสงขณะเคลื่อนไหว ปรากฏเห็นได้ชัดเจน
                 ในสัตว์ทะเลชั้นสูงจำพวกที่มีกระดูกสันหลังนั้น การเรืองแสงปรากฏเฉพาะในพวกปลา โดยเฉพาะปลาน้ำลึก ซึ่งแต่ละชนิดมีลวดลายบริเวณเรืองแสงบนลำตัวต่างกัน ในทะเลที่แสงแดดส่องไม่ถึง มันจะจำศัตรูหรือเพื่อนชนิดเดียวได้กันในที่มืดโดยทราบจากลวดลายการเรืองแสงบนลำตัว ปลาบางชนิดมีอวัยวะเรืองแสงลักษณะคล้ายคันเบ็ดที่ห้อยจากหัวลงมา เหนือบริเวณปากปลายสายเบ็ดนี้มีแสงเรืองล่อปลาขนาดเล็ก หรือสัตว์ทะเลอื่นๆ ให้เข้ามาใกล้ ปลาที่มีการเรืองแสงตามบริเวณต่างๆ เหล่านี้ส่วนมากมิได้มีเซลล์ของตนเองที่ผลิตแสงได้ดังสัตว์อื่นที่กล่าวข้างต้น การเรืองแสงเกิดจากเซลล์ของบัคเตรีที่มาอาศัยอยู่เป็นประจำในบริเวณเหล่านั้นซึ่งประกอบด้วยเนื้อเยื่อที่เจริญเป็นพิเศษ เพื่อการรองรับบัคเตรีเหล่านี้ เช่น โฟโตเบลฟารอน (Photoblepharon)
                 ในสิ่งมีชีวิตอื่นนอกจากสัตว์และจุลินทรีย์ที่ได้กล่าวข้างต้นแล้ว พืชจำพวกเห็ดที่เจริญตามพื้นดินในป่า หรือขอนไม้ผุชื้นก็เรืองแสงได้ แสงของมันจะมีสีเขียว
-เหลือง (ที่มา  https://guru.sanook.com/enc_preview.php?id=301)

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=495

อัพเดทล่าสุด