https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
พันธุศาสตร์ ตอนสารพันธุกรรม กรดนิวคลีอิก ( Nucleic acid) MUSLIMTHAIPOST

 

พันธุศาสตร์ ตอนสารพันธุกรรม กรดนิวคลีอิก ( Nucleic acid)


553 ผู้ชม


พันธุศาสตร์เป็นสาขาวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมทั้งที่เป็นไปตามกฏเกณฑ์และไม่เป็นไปตามกฏ   

กรดนิวคลีอิก ( Nucleic acid)

 กรดนิวคลีอิก ( Nucleic acid)เป็นสารโพลิเมอร์ธรรมชาติที่ประกอบด้วยหน่วยซ้ำๆกันของนิวคลีดอไทด์ (Nucleotide) ดังนั้นจึงถือว่ากรดนิวคลีอิกเป็นพอลินิวคลีโอไทด์ ( Polynucleotide) กรดแอลฟาอะมิโนเป็นกรดคาร์บอกซิลิกที่มีหมู่ จำนวนหน่วยของนิวคลีโอไทด์แตกต่างกันออกไปตามชนิดของกรดนิวคลีอิก ซึ่งมีขนาด <100 ไปจนถึงหลายล้านหน่วย

องค์ประกอบและโครงสร้างของกรดนิวคลีอิก เมื่อไฮโดรไลซ์กรดนิวคลีอิกด้วยสภาวะที่อ่อนจะให้
นิวคลีโอไทด์หลายหน่วย และเมื่อทำการไฮโดรไลซ์ต่อด้วยสภาวะที่แรงขึ้นจะได้กรดฟอสฟอริกและนิวคลีโอไทด์ แต่ถ้าใช้สภาวะที่แรงขึ้นไปอีกจะมีการไฮโดรไลซ์อย่างสมบูรณ์ โดนนิวคลีโอไซด์จะแตกออกเป็นเบสอินทรีย์และน้ำตาลไรโบสหรือดีออกซีไรโบส ดังนี้

                      กรดนิวคลีอิก ----------------------Polymer

                                                                     ไฮโดรลิซิสที่สภาวะอ่อน

                      นิวคลีโอไซด์---------------------- monomer

                                                                      ไฮโดรลิซิสที่สภาวะอ่อน

            นิวคลีไอไซต์  +  กรดฟอสฟอริก

                                    ไฮโดรลิซิสอย่างสมบูรณ์

            เบสอินทรีย์ + น้ำตาลไรโบสหรือดีออกซีไรโบส

กรดนิวคลีอิก ( Nucleic acid)แบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆคือ

1. DNA ( deoxyribonucleic acid ) เป็นสารพันธุกรรมเป็นพอลิเมอร์ของดีออกซีไรโบนิวคลีโอไทด์ (deoxyribonucleotide ) ซึ่งต่อเชื่อมกันด้วยพันธะโคเวเลนต์ แต่ละนิวคลีโอไทด์ (nucleotide)
ประกอบด้วยน้ำตาลดีออกซีไรโบส (2-deoxyribose) หมู่ฟอสเฟตและเบสไนโตรเจน ( nitrogenous base) DNA พบในนิวเคลียสและไมโตคอนเดรียของเซลล์

2. RNA (ribonucleic acid )เป็นพอลิเมอร์ของไรโบนิวคลีโอไทด์ (ribonucle0tide)แต่ละนิวคลีโอไทด์ประกอบด้วย น้ำตาลไรโบส ( ribose ) หมู่ฟอสเฟตและเบสไนโตรเจน RNA ทำหน้าที่ถ่ายทอดข้อมูลทางพันธุกรรมจาก DNA นำมาสร้างเป็นโปรตีนและเอนไซม์ RNA ส่วนใหญ่พบในไซโมพลาสซึมของเซลล์

การเปรียบเทียบ DNA และ RNA 
 

 

การเปรียบเทียบ

DNA

RNA

หน่วยย่อย นิวคลีโอไทด์ นิวคลีโอไทด์
น้ำตาล Deoxyribose ribose
ไนโตรเจนเบส

เบส 4 ชนิด
Adenine - A
Guanine- G 
Cytocine - C
Thymine - T

เบส 4 ชนิด
Adenine - A
Guanine- G
Cytocine - C
Uracil  - U

การเชื่อมของเบส

A = T พันธะไฮโดรเจน2 พันธะ
C = G พันธะไฮโดรเจน 3 พันธะ

A = U
หมู่ฟอสเฟต ฟอสเฟต ฟอสเฟต
โครงสร้าง นิวคลีโอไทด์ 2 สายพันกันเป็นเกลียว นิวคลีโอไทด์สายเดี่ยว
แหล่งที่พบ ในนิวเคลียส ในนิวเคลียสและไซโท
พลาสซึม
หน้าที่ เป็นสารพันธุกรรม สังเคราะห์โปรตีน
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=517

อัพเดทล่าสุด