https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ปลวก...แมลงร้ายใต้บ้านเรา MUSLIMTHAIPOST

 

ปลวก...แมลงร้ายใต้บ้านเรา


869 ผู้ชม


แทบทุกบ้านคงหนีไม่พ้นปัญหาเจ้าปลวกจอมวายร้ายที่แอบกัดกินทำลายบ้านเรา และต้องเผชิญปัญหานี้อย่างไม่รู้จักจบสิ้น วันนี้เรามาทำความรู้จักกับเจ้าแมลงร้ายชนิดนี้กันดีกว่าค่ะ   

          นักวิทยาศาสตร์ พบวิธีพิฆาตปลวกแบบไม่ใช้สารเคมี แต่เพียงใช้สารกลูโคสขัดขวางภูมิคุ้มกันของปลวกจากเชื้อรา และแบคทีเรียภายในรัง ที่อาจจะสังหารปลวกได้.... 
          นักวิทยาศาสตร์พบวิธีกำจัดปลวก โดยไม่ต้องใช้ยาฆ่าแล้ว เป็นการเปิดทางไปสู่การพัฒนาวิธีการป้องกันไม้และพืชผลให้รอดพ้นภัยของปลวกแบบธรรมชาติ  ผู้อำนวยการแผนกเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์สุขภาพ ของสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเสตต์ อาจารย์ราม ซาสีเสการานแจ้งว่า ได้พบวิธีใหม่ในการขัดขวางระบบภูมิคุ้มโรคของปลวกไม่ให้คุ้มกันตัวมันให้รอดพ้นอันตรายจากแบคทีเรียและเชื้อราภายในรังได้  ปลวกตามธรรมชาติจะพ่นโปรตีนซึ่งมียาฆ่าเชื้อรารูปหนึ่งภายในรัง เพื่อป้องกันการติดเชื้อซึ่งอาจสังหารมันได้ แต่บัดนี้นักวิทยาศาสตร์สามารถค้นพบอนุพันธุ์หนึ่งของกลูโคส ซึ่งจะขัดขวางภูมิคุ้มโรคไม่ให้ออกฤทธิ์ได้  เขากล่าวว่า สารกลูโคสนั้นสามารถสร้างขึ้นทางเคมีได้ไม่ยาก และยังอาจจะให้พืชที่ถูกตัดแต่งพันธุกรรมผลิตขึ้นได้ด้วย ซึ่งจะออกแบบมันขึ้นเพื่อเอาไปใช้ป้องกันสิ่งต่างๆ ให้รอดพ้นจากภัยปลวก  (
ข่าวจากไทยรัฐออนไลน์ -- วันพฤหัสที่  11 มิถุนายน 2552 - 05.00 น.)

ปลวก...แมลงร้ายใต้บ้านเรา
ภาพปลวก (ที่มา
ไทยรัฐออนไลน์)

          หลายคนคงยินดีกับความสำเร็จของนักวิทยาศาสตร์ท่านนี้เป็นอย่างยิ่ง เพราะแทบทุกบ้านย่อมมีปัญหาสัตว์ชนิดนี้ด้วยกันทั้งสิ้น  ปลวกเป็นสัตว์ที่มักแฝงตัวอยู่ภายในบ้านของเราและกำจัดได้ยาก  ทุกบ้านคงจะเบื่อและเหนื่อยหน่ายกับการที่จะต้องโทรศัพท์ไปหาบริษัทกำจัดปลวก หรือ ไปซื้อสารเคมีมากำจัดเองอยู่บ่อยครั้ง  ก่อนที่จะไปกำจัดปลวก  เราควรรู้เขารู้เรา  รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง ดังนั้นเราควรมาทำความรู้จักกับสัตว์ชนิดนี้กันก่อนดีกว่า

          ปลวกตัวแรกของโลกถือกำเนิดเมื่อประมาณ 220 ล้านปีมาแล้ว การขุดพบซากฟอสซิลของปลวก โดย E.M. Bordy แห่งมหาวิทยาลัย Witwatersrand ในแอฟริกาใต้ทำให้นักชีววิทยาสัตว์ดึกดำบรรพ์รู้ว่าปลวกโบราณมีรูปร่างที่ละม้ายคล้ายคลึงแมลงสาบปัจจุบันมาก แต่มีขนาดเล็กกว่า และมีผิวอ่อนนุ่มกว่า ถึงแม้โลกทุกวันนี้มีปลวกมากกว่า 2,000 ชนิด แต่ก็มีเพียงไม่กี่ชนิดที่ชอบอาศัยอยู่ในเนื้อไม้ของอาคารบ้านเรือน ซึ่งนับเป็นภัยต่อที่อยู่อาศัย เพราะปลวกจะกัดกินสรรพสิ่งที่ทำด้วยไม้จนหมด และนั่นก็หมายความว่า เจ้าของบ้านจะต้องอพยพออกจากบ้านในที่สุด (
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี)
          ปลวก  มีชื่อเรียกภาษาอังกฤษว่า เทอร์ไมต์ (termite)  หรือบางทีเรียกว่า มดสีขาว (white ant)  มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Odontotermes spp.   จัดเป็นแมลงอยู่ในอันดับ Isoptera  เราพบว่ามีปลวกประมาณ 2,000 ชนิด เฉพาะเอเชียตะวันออกมี 270 ชนิดพบในประเทศไทย 90 ชนิด  สำหรับปลวกที่มีผลทางเศรษฐกิจมี 11ชนิด  แยกได้ 2 ประเภท  คือ 
          1.ปลวกไม้แห้ง (dry wood termite )  เป็นปลวกที่อาศัยอยู่ในเนื้อไม้แห้งเมื่อปลวกกัดกินเนื้อไม้จะทิ้งมูลเป็นเม็ดเล็กๆ  คล้ายเมล็ดฝิ่นออกมาตามรูไม้ ในประเทศไทยพบ 2 ชนิด  คือ Cryptotermes Thailandis และ  Cryptotermes domesticus 
          2.ปลวกใต้ดิน (subterranean termite )  เป็นปลวกที่อาศัยอยู่ใต้ดินเกือบตลอดอายุขัยของมันและเป็นภัยร้ายแรงต่อสิ่งก่อสร้างต่างๆ  เพราะพบความเสียหายจากปลวกชนิดนี้
ถึง 95% 

ปลวก...แมลงร้ายใต้บ้านเรา

ภาพเปรียบเทียบระหว่างปลวกและ มด (ที่มา Teenee.com )


          ปลวกอาศัยอยู่รวมกันเป็นสังคมและแต่ละสังคม แบ่งเป็น 3  แบบตามรูปร่างและการทำงาน  คือ 
          1.  ปลวกพ่อรังและปลวกแม่รัง  (ปลวกราชาและปลวกราชินีหรือปลวกตัวผู้และปลวกตัวเมีย ) เป็นปลวกที่มีปีกบินได้มีหน้าที่กระจายพันธุ์  แมลงเม่าที่ผสมพันธุ์แล้วจะสลัดปีกออกและมุดลงดินเพื่อสร้างใหม่และจะพัฒนาตัวเองเป็นปลวกราชินีทำหน้าที่ออกไข่เพียงอย่างเดียว  มีอายุประมาณ 25ปีวางไข่ได้วันละ 30,000 ฟอง  ความสามารถในการวางไข่ขึ้นอยู่กับจำนวนปลวกกรรมกรในขณะไข่เจริญเป็นตัวอ่อนเป็นตัวแก่ภายในระยะ 30-50 นั้น  ปลวกราชินีจะเป็นตัวควบคุมตัวอ่อนให้มีหน้าที่บทบาทต่างๆ กัน
          2.  ปลวกกรรมกร  มีปริมาณมากที่สุดกว่า 90% ในลักษณะไม่มีปีก  ส่วนปากมีขาไกรกรรแบบฟันเลื่อยเหมาะสำหรับ ตัด เจาะไม้ ตัดไม้ มีหน้าที่ซ่อมแซมรังหาอาหารและดูแลปลวกตัวอื่นๆ ทั้งตัวแก่และตัวอ่อนภายในรังเดียวกันปลวกกรรมกรจะเป็นหมันสืบพันธุ์ไม่ได้ 
          3.  ปลวกทหาร  มีจำนวนน้อยมาก  มีลักษณะหัวโตกว่าไม่มีตาปากมีขากรรไกรขนาดใหญ่คล้ายคีมหรือดาบเหมาะใช้ในการต่อสู้จึงหน้าที่ป้องกันอันตรายให้ปลวกภายในรัง  ศัตรูที่สำคัญคือ มด  เมื่อศัตรูทำลายทางเดินหรือรังใหม่มันจะเอาส่วนหัวที่โตอุดช่องโหว่หรือขับไล่จนกว่าปลวกกรรมกรจะซ่อมแซมรังจนเรียบร้อยปลวก  บางชนิดสามารถกลั่นของเหลวที่มีพิษที่เป็นกรดเหนียวๆ ออกจากหัวของมันเมื่อมดมาถูกจะทำให้หนืดและหมดกำลัง  นอกจากนี้กรดนี้ยังสามารถใช้ในการเจาะโลหะหินปูนได้ดีอีกด้วย  

ปลวก...แมลงร้ายใต้บ้านเรา

ภาพเปรียบเทียบระหว่างราชินีปลวก (ด้านบน) และปลวกธรรมดา (ด้านล่าง) (ที่มา Teenee.com )

          ปลวกมีการแพร่พันธุ์อย่างรวดเร็วปลวกตัวผู้และตัวเมียที่มีอายุ 3 ปีจะกระจายพันธุ์ไปนอกรังเพื่อตั้งรังใหม่ปีละ 1-2 ครั้งในช่วงต้นฤดูฝนโดยบินจากรังเก่าในลักษณะของแมลงเม่าผสมพันธุ์แล้วสลัดปีกออกแล้วมุดลงดินเพื่อสร้างรังใหม่  อาหารหลักของปลวก  คือ เซลลูโลสจากเนื้อไม้ การกัดทำลายสิ่งที่มีเซลลูโลสเพื่อเป็นอาหารและสร้างที่อยู่อาศัย  นอกจากนี้ซากปลวกที่ลอกคราบหรือวัตถุเหลวตามตัวปลวกก็ใช้เป็นอาหารและนิสัยของปลวกชอบใช้การสื่อสารโดยการเลียสัมผัสกันตลอดเวลาจึงเป็นช่องทางในการกำจัดปลวก  หากปลวกได้สัมผัสสารเคมีที่ใช้กำจัดก็จะถ่ายทอดสารพิษติดต่อถึงกันโดยง่ายและจะตายไปทั้งหมด

ปลวก...แมลงร้ายใต้บ้านเรา
ภาพวัฎจักรปลวก (ที่มา https://www.ckpest.com)

ประเด็นคำถาม
              -  ปลวกมีผลดีและผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร
              -  วิธีในการกำจัดปลวกทำได้อย่างไรบ้าง

สามารถบูรณาการได้กับกลุ่มสาระวิชา : การงานอาชีพและเทคโนโลยี (อาชีพกำจัดปลวก)  ภาษาอังกฤษ (คำศัพท์และสำนวนที่เกี่ยวกับปลวก)  ภาษาไทย (ภาษาที่ใช้เกี่ยวกับปลวก)

กิจกรรมเสนอแนะ
            ให้นักเรียนหาวิธีกำจัดปลวกมาให้ได้มากที่สุด  จากนั้นเลือกและทดลองกำจัดปลวกด้วยวิธีการดังกล่าว  หรือ  อาจดัดแปลงสร้างสรรค์เป็นโครงงานเกี่ยวกับการกำจัดปลวก
          เนื้อหาของบทความนี้เหมาะสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  ระดับช่วงชั้นที่  2  ช่วงชั้นที่ 3  และผู้ที่สนใจทั่วไป

By : Teacher Jum ปลวก...แมลงร้ายใต้บ้านเรา

ข้อมูลอ้างอิง :
              1. 
ไทยรัฐออนไลน์
              2. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
              3. Teenee.com
              
ภาพประกอบจาก :
              1.  
Teenee.com
              2.  www.ckpest.com
              3.  
ไทยรัฐออนไลน์

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=737

อัพเดทล่าสุด