https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
อาณาจักรพืช ( Plant Kingdom ) MUSLIMTHAIPOST

 

อาณาจักรพืช ( Plant Kingdom )


818 ผู้ชม


สิ่งมีชีวิตที่จัดอยู่ในอาณาจักรนี้ ได้แก่ พืชสีเขียวทั้งหมด เท่าที่รู้จักกันในปัจจุบันมีมากกว่า 240,000 สปีชีส์ มีกระจายอยู่ทั่วไปทั้งบนบกและในน้ำ เป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ที่เรียงตัวเป็นเนื้อเยื่อ แต่ผนังเซลล์ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสารเซลลูโลสมีการดำรงชีพแบบออโต   

อาณาจักรพืช ( Plant   Kingdom )

สิ่งมีชีวิตที่จัดอยู่ในอาณาจักรนี้ ได้แก่ พืชสีเขียวทั้งหมด เท่าที่รู้จักกันในปัจจุบันมีมากกว่า 240,000 สปีชีส์ มีกระจายอยู่ทั่วไปทั้งบนบกและในน้ำ เป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ที่เรียงตัวเป็นเนื้อเยื่อ แต่ผนังเซลล์ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสารเซลลูโลสมีการดำรงชีพแบบออโตโทรป (autotroph) สามารถสร้างอาหารเองได้
นักชีววิทยาแบ่งพืชทั้งหมดออกเป็นหลายดิวิชัน (ในอาณาจักรพืชใช้ชื่อดิวิชันแทนไฟลัม)

 
 
อาณาจักรพืช ( Plant Kingdom )
 

Division Bryophyta
Division Psilophyta
Division Lycophyta
Division Spenophyta
Division Pterophyta
Division Coniferophyta
Division Cycadophyta
Division Anthophyta

 
อาณาจักรพืช ( Plant Kingdom )
อาณาจักรพืช ( Plant Kingdom )

ภาพตัวอย่างสิ่งมีชีวิตในดิวิชันต่างๆ ของอาณาจักรพืช


อาณาจักรพืช ( Plant Kingdom ) ดิวิชันไบรโอไฟตา (Division Bryophyta)
เป็นกลุ่มพืชที่ไม่มีระบบท่อลำเลียง มีประมาณ 20,000 สปีชีส์ ที่สำคัญ ได้แก่ มอส และ ลิเวอร์เวิร์ต เป็นพืชที่มีขนาดเล็ก ไม่มีระบบท่อลำเลียง ไม่มีราก ลำต้น และใบที่แท้จริง ส่วนใหญ่ชอบขึ้นตามที่ชุ่มชื้น
  • มอส มอสเป็นพืชขนาดเล็ก ขึ้นเรียงกันแน่นคล้ายพรมสีเขียวสด มักพบทั่วไปตามพื้นดิน อิฐ เปลือกไม้ กระถางกล้วยไม้ หรือตามที่มีความชุ่มชื้นเสมอ
    มอสมีส่วนที่ตั้งตรงคล้ายลำต้น ส่วนที่คล้ายใบขนาดเล็ก และส่วนที่คล้ายรากที่ฝังอยู่ในดิน เรียกว่าไรซอยด์ (rhizoid) ทำหน้าที่ยึดดินและดูดน้ำ
    (คลิกเพื่อดูภาพขนาดใหญ่)
    อาณาจักรพืช ( Plant Kingdom )
    มอส แสดงโครงสร้างที่สำคัญ
    มอสที่พบทั่วไปอยู่ในช่วงที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์ เรียกมอสช่วงนี้ว่า แกมีโทไฟต์ (gametophyte) ซึ่งจะสร้างเซลล์สืบพันธุ์ภายในอวัยวะที่อยู่ปลายยอด เมื่อเซลล์สืบพันธุ์ผสมกันแล้วก็จะเจริญเป็น สปอร์โรไฟต์ (sporophyte) ทำหน้าที่สร้างสปอร์อยู่บนปลายยอดของแกมีโทไฟต์เดิมนั่นเอง เมื่อสปอร์แก่จัด อับสปอร์จะแตกออก สปอร์ที่ตกลงไปในบริเวณที่มีความชุ่มชื้นก็จะงอกเป็นแกมีโทไฟต์ วนเวียนอยู่เช่นนี้
    มอสมีความสำคัญต่อระบบนิเวศมากในแง่ช่วยเก็บความชื้น ปกคลุมผิวดิน ป้องกันการสึกกร่อนของหน้าดิน และทำให้หินผุแตกสลายเป็นดิน มอสบางชนิด เช่น ข้าวตอกฤาษี หรือสแฟกนัมมอส ซึ่งมักขึ้นอยู่ในที่อากาศค่อนข้างเย็น ใกล้แอ่งน้ำ หรือในแอ่งน้ำ ซากของมอสพวกนี้เมื่อทับถมกันนานๆ นำมาใช้บำรุงดินได้ดี เพราะสามารถอุ้มน้ำไว้ได้ถึง 20 เท่าของน้ำหนักแห้ง จึงเก็บความชื้นไว้ได้มาก และช่วยเพิ่มภาวะเป็นกรดให้กับดิน ซึ่งจะยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียและเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคเน่าของต้นไม้
  • ลิเวอร์เวิรต์
    ส่วนของแกมีโทไฟต์มีลักษณะเป็นแผ่นบางๆ สีเขียว มีขนาดเล็ก เกาะติดอยู่กับพื้นดินหรือหินที่เปียกชื้น ด้านล่างของแผ่นบางๆ นี้มีไรซอยด์ทำหน้าที่เกาะยึดและดูดน้ำ มีสปอโรไฟต์เจริญติดอยู่บนแกมีโตไฟต์เช่นเดียวกับมอส
ต่อไปเป็นพืชที่มีระบบท่อลำเลียง พืชพวกนี้มีอยู่เป็นจำนวนมาก มีลักษณะแตกต่างกันออกไป แบ่งออกเป็นหลายดิวิชัน 
(คลิกเพื่อดูภาพขนาดใหญ่)
อาณาจักรพืช ( Plant Kingdom )
หวายทะนอย แสดงอับสปอร์
อาณาจักรพืช ( Plant Kingdom ) ดิวิชันไซโลไฟตา (Division Psilophyta) 
เป็นพืชที่ลำต้นมีขนาดเล็กเป็นเหลี่ยม บางส่วนอยู่ใต้ดิน บางส่วนอยู่เหนือดิน แตกกิ่งเป็นคู่ๆ มีอับสปอร์ที่กิ่ง ไม่มีใบ หรือมีใบที่เป็นเกล็ดเล็กๆ ติดอยู่ตามข้อ ไม่มีราก แต่มีไรซอยด์ดูดน้ำและเกลือแร่ พืชเหล่านี้ส่วนใหญ่สูญพันธุ์ไปแล้ว ที่ยังเหลืออยู่ ได้แก่ หวายทะนอยหรือไซโลตัม (psilotum)
อาณาจักรพืช ( Plant Kingdom ) ดิวิชันไลโคไฟตา (Division Lycophyta) 
พืชพวกนี้บางชนิดลำต้นตั้งตรงหรือเลื้อยไปตามพื้นดิน บางชนิดตกอยู่บนต้นไม้อื่น ชอบขึ้นตามที่ชุ่มชื้นและมีร่มเงา มีราก มีใบขนาดเล็ก ใบที่ยอดเรียงซ้อนกัน เรียกส่วนยอดนี้ว่า สโตรบิลลัส (strobilus) ซึ่งทำหน้าที่สร้างสปอร์ ตัวอย่างของพืชพวกนี้ได้แก่ ไลโคโปเดียม (Lycopodium) ได้แก่ ช้องนาคลี่ สร้อยสุกรม หางกระรอก กนกนารี และพวกตีนตุ๊กแก หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ซีแลกจิเนลลา (Seleginella) พืชในกลุ่มนี้มีประมาณ 200 ชนิด
(คลิกเพื่อดูภาพขนาดใหญ่)
อาณาจักรพืช ( Plant Kingdom )
หญ้าถอดปล้อง แสดงส่วนต่างๆ และสโตรบิลัส
อาณาจักรพืช ( Plant Kingdom ) ดิวิชันสฟีโนไฟตา (Division Spenophyta)
เป็นพืชที่มีลำต้นขนาดเล็ก สีเขียว มีลำต้นต่อกันเป็นข้อและปล้องเห็นได้ชัดเจน เมื่อเจริญเต็มที่ภายในกลวง ใบไม่มีสีเขียวมีลักษณะคล้ายเกล็ดแตกออกรอบๆ ข้อ มีสโตรบิลัสที่บริเวณปลายยอดที่ใช้สร้างสปอร์ มีรากเจริญจากข้อของลำต้นใต้ดิน มักจะขึ้นเป็นกอใหญ่ๆ ริมน้ำ ในหนองน้ำ หรือที่ลุ่มมีน้ำขัง ปัจจุบันพบอยู่ในสกุลเดียวคือ อิควิเซตัม (equisetum) หรือหญ้าถอดปล้อง หรือ หญ้าหางม้า
อาณาจักรพืช ( Plant Kingdom ) ดิวิชันเทอโรไฟตา (Division Pterophyta)
พืชในกลุ่มนี้ คือ เฟิน เป็นพืชที่มีจำนวนมากพวกหนึ่งในอาณาจักรพืช คือมีถึง 12,000 ชนิด ประมาณ 2 ใน 3 ของเฟินจะพบในเขตร้อน ลักษณะของเฟินมีขนาดใหญ่ อาจเป็นใบเดี่ยวหรือใบประกอบ มีโครงสร้างที่คล้ายคลึงกับใบไม้ทั่วไป ใบอ่อนจะม้วนจากปลายใบมายังโคนใบเป็นวง เฟินสืบพันธุ์โดยการสร้างสปอร์อยู่ภายในอับสปอร์จำนวนมากที่บริเวณใต้ใบ
เฟินมีขนาดแตกต่างกันหลายขนาดตั้งแต่ขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ เฟินบางชนิดมีลักษณะไม่เหมือนเฟินทั่วไป เช่น ผักแว่น ในธรรมชาติเราจะพบเฟินในแหล่งที่อยู่ต่างๆ กัน ส่วนใหญ่ชอบขึ้นในที่ชุ่มชื้นและมีเงา เช่น เฟินก้างปลา เฟินเกล็ดหอย บางชนิดเป็นพืชลอยน้ำ และมีลักษณะที่แตกต่างจากเฟินทั่วไป เช่น แหนแดง จอดหูหนู บางชนิดอยู่ในน้ำหรือที่ชื้นแฉะ เช่น ผักแว่น ผักกูดน้ำ บางชนิดเกาะอยู่ตามต้นไม้หรือกิ่งไม้ เช่น ชายผ้ามีดา
เฟินที่พบอยู่ทั่วไปอยู่ในช่วงสปอร์โรไฟต์ เมื่อสปอร์แก่และตกลงไปในที่ชุ่มชื้นจะเจริญเป็นแกมีโทไฟต์ซึ่งเป็นต้นที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์มีลักษณะเป็นแผ่นแบนขนาดเล็ก เมื่อเซลล์สืบพันธุ์ผสมกันแล้วจะเจริญเป็นสปอโรไฟต์อยู่บนแกมีโทไฟต์ ต่อมาแกมีโทไฟต์จะตายไป
(คลิกเพื่อดูภาพขนาดใหญ่)
อาณาจักรพืช ( Plant Kingdom )
สนและปรง เรียกรวมๆ กันว่าพวก gymnosperm
อาณาจักรพืช ( Plant Kingdom ) ดิวิชันโคนิเฟอโรไฟตา (Division Coniferophyta) 
พืชพวกนี้เป็นไม้ยืนต้นที่มีขนาดสูงใหญ่ แตกกิ่งก้านมาก ใบเป็นใบเดี่ยวมีขนาดเล็ก รูปคล้ายเข็มรวมกันอยู่เป็นกลุ่มๆ มีเมล็ดสำหรับสืบพันธุ์ เมล็ดไม่มีผนังรังไข่ห่อหุ้ม ติดอยู่กับส่วนที่มีลักษณะเป็นแผ่นแข็งสีน้ำตาล แผ่นเหล่านี้เรียงซ้อนกันแน่นเป็นอวัยวะที่เรียกว่า สโตรบิลัส หรือ โคน (cone) เช่น สนสองใบ สนสามใบ ซึ่งชอบขึ้นตามที่มีอากาศเย็น ในประเทศไทยพบมากที่ดอยอินทนนท์ ภูกระดึง และขุนตาล
อาณาจักรพืช ( Plant Kingdom ) ดิวิชันไซแคโดไฟตา (Division Cycadophyta)
เป็นพืชที่มีลำต้นใหญ่ เตี้ย มีขนาดเล็กกว่าสนและไม่แตกกิ่งก้านเหมือนสน ใบออกเป็นกระจุกอยู่ที่ยอดของลำต้น ใบมีขนาดใหญ่ ยาวเป็นใบประกอบ ใบย่อยมีขนาดเล็กแข็ง พืชในกลุ่มนี้คือ ปรง 
พืชพวกสนและปรง เรียกรวมๆ กันว่าเป็นพวก จิมโนสเปิร์ม (gymnosperm)
อาณาจักรพืช ( Plant Kingdom ) ดิวิชันแอนโทไฟตา (Division Anthophyta)
พืชในกลุ่มนี้ คือ พืชดอก เรียกว่าพวก แองจิโอสเปิร์ม (angiosperm) มีอยู่จำนวนมากถึง 3 เท่าของพืชชนิดอื่นรวมกัน ลักษณะสำคัญของพืชพวกนี้คือ มีดอกเป็นอวัยวะสืบพันธุ์ เมล็ดมีรังไข่ห่อหุ้ม บางชนิดดอกมีขนาดใหญ่เห็นได้ชัดเจน เช่น กุหลาบ ชบา แพงพวย บางชนิดดอกอาจจะมีขนาดเล็ก เช่น จอก แหน สนทะเล เป็นต้น บางชนิดก็ไม่ค่อยออกดอกให้เห็นบ่อยนัก เช่น ตะไคร้ พลูด่าง สาหร่ายหางกระรอก
พืชมีดอกหลากหลายชนิด กระจายอยู่ในระบบนิเวศต่างๆ บางชนิดอยู่ในน้ำ เช่น บัว กระจับ ผักตบ พืชดอกหลายชนิดขึ้นอยู่บนพื้นดิน บางชนิดก็เกาะอยู่กับต้นไม้อื่น เช่นกล้วยไม้บางชนิด เถาวัลย์ ฝอยทอง
พืชในดิวิชันนี้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย (Subdivision) คือพืชใบเลี้ยงคู่ (dicotyledon) กับพืชใบเลี้ยงเดี่ยว (monocotyledon)

(คลิกเพื่อดูภาพขนาดใหญ่)
พืชใบเลี้ยงเดี่ยว
(คลิกเพื่อดูภาพขนาดใหญ่)
พืชใบเลี้ยงคู่


ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=903

อัพเดทล่าสุด